วันที่ 8 มีนาคม 2561 เวลา 12.00 น. เครือข่ายคนเทพาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน นำโดยนายพณวรรธน์ พงศ์ประยูร เลขาเครือข่ายคนเทพาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน นายหลี สาเมาะ ประธานฯ จำนวน 80 คนเดินทางไปยื่นหนังสือเพื่อให้นายกรัฐมนตรีที่ทำเนียบรัฐบาล เพื่อแสดงจุดยืนของชาวเทพาสนับสนุนโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา โดยมีนายพันศักดิ์ เจริญ ผู้อำนวยการส่วนประสานงานมวลชน ทำเนียบรัฐบาล เป็นผู้รับมอบหนังสือ
นายพณวรรธน์ พงศ์ประยูร เลขาเครือข่ายคนเทพาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน นายหลี สาเมาะ ประธานฯ กล่าวว่า ขอประกาศจุดยืนอีกครั้ง คือ คัดค้าน ไม่ยอมรับ และไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งกับคำสั่งที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานลงนามในบันทึกข้อตกลงกัลเอ็นจีโอเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ และ เรื่องการแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับการศึกษาการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ สำหรับพื้นที่จัดตั้งโรงไฟฟ้าถ่านหินในภาคใต้ (SEA) เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2561 การเดินทางมาในครั้งนี้ มีจุดประสงค์เพื่อขอพบและขอโอกาสจากนายกรัฐมนตรี เพื่อให้เครือข่ายคนเทพาฯ ได้เสนอความคิดเห็นอีกด้านหนึ่งของคนในพื้นที่จากกรณีที่ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้ลงนาม MOU และให้เลื่อนโครงการโรงไฟฟ้าเทพาออกไปอีก 3 ปี ซึ่งชาวเทพาที่เดินทางมาในครั้งนี้เดินทางมากันเองและทำโดยสุจริต ไม่ต้องการให้เกิดความไม่สงบวุ่นวาย และไม่มีผู้สนับสนุนแต่อย่างใด ที่ผ่านมาเครือข่ายชาวเทพาฯ ได้ติดตามข่าวสารดังกล่าวด้วยความห่วงใย เพราะเห็นว่าข้อมูลที่ปรากฏตามข่าวมีการนำเสนอข้อมูลไม่ถูกต้องไม่ครบถ้วน ดังนั้น จึงอยากให้ชาวเทพาได้มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลอย่างครบถ้วน ซึ่งเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์ต่อการนำไปประกอบการพิจารณา ขอความกรุณาให้ท่านนายกรัฐมนตรีได้ลงมาพบเครือข่าย ซึ่งเชื่อว่าจะช่วยให้เกิดความเข้าใจกันและเกิดความปรองดองกันได้
ด้าน นายสืบพงษ์ บูรณศิรินทร์ รองผู้ว่าการกิจการสังคม (รวค.) ทำการแทน ผู้ว่าการ กฟผ. ชี้แจงว่า กฟผ. ได้ติดตามสถานการณ์มาต่อเนื่อง และมีการประสานความร่วมมือกับฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อพยายามคลี่คลายสถานการณ์ที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งได้รายงานให้ผู้บริหารกระทรวงพลังงานและประธานกรรมการ กฟผ. ทราบเป็นระยะๆ รวมทั้งได้มีการชี้แจงสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับเหตุการณ์ การดำเนินงาน และประเด็นต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับ สร.กฟผ. ผู้บริหาร และผู้ปฏิบัติงาน เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง อย่างไรก็ตามสถานการณ์ในครั้งนี้เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน การดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด ต้องพิจารณาดำเนินการด้วยความรอบคอบ และต้องสร้างความเข้าใจกับทุกฝ่าย โดยเฉพาะพี่น้องชาวเทพาที่มาชุมนุมที่จะต้องเข้าใจและดูแลตามความเหมาะสม โดยยึดหลักการความถูกต้องและหลักมนุษยธรรม”ต่อสถานการณ์ดังกล่าว กฟผ. ได้ให้ความสำคัญกับการสร้างความเข้าใจ การสร้างความความปรองดอง การดูแลความสงบเรียบร้อย รวมถึงพยายามคลี่คลายสถานการณ์ที่เกิดขึ้นให้ดีที่สุด” รองผู้ว่าการ กฟผ.ในตอนท้าย.
ภาพ/ข่าว เครือข่ายคนเทพาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
November 21, 2024
November 20, 2024
November 19, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
เครือข่ายคนเทพาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ได้ขอเข้าพบเพื่อยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี วอนขอมีส่วนร่วมและรับฟังคนในพื้นที่
วันที่ 8 มีนาคม 2561 เวลา 12.00 น. เครือข่ายคนเทพาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน นำโดยนายพณวรรธน์ พงศ์ประยูร เลขาเครือข่ายคนเทพาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน นายหลี สาเมาะ ประธานฯ จำนวน 80 คนเดินทางไปยื่นหนังสือเพื่อให้นายกรัฐมนตรีที่ทำเนียบรัฐบาล เพื่อแสดงจุดยืนของชาวเทพาสนับสนุนโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา โดยมีนายพันศักดิ์ เจริญ ผู้อำนวยการส่วนประสานงานมวลชน ทำเนียบรัฐบาล เป็นผู้รับมอบหนังสือ
นายพณวรรธน์ พงศ์ประยูร เลขาเครือข่ายคนเทพาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน นายหลี สาเมาะ ประธานฯ กล่าวว่า ขอประกาศจุดยืนอีกครั้ง คือ คัดค้าน ไม่ยอมรับ และไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งกับคำสั่งที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานลงนามในบันทึกข้อตกลงกัลเอ็นจีโอเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ และ เรื่องการแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับการศึกษาการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ สำหรับพื้นที่จัดตั้งโรงไฟฟ้าถ่านหินในภาคใต้ (SEA) เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2561 การเดินทางมาในครั้งนี้ มีจุดประสงค์เพื่อขอพบและขอโอกาสจากนายกรัฐมนตรี เพื่อให้เครือข่ายคนเทพาฯ ได้เสนอความคิดเห็นอีกด้านหนึ่งของคนในพื้นที่จากกรณีที่ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้ลงนาม MOU และให้เลื่อนโครงการโรงไฟฟ้าเทพาออกไปอีก 3 ปี ซึ่งชาวเทพาที่เดินทางมาในครั้งนี้เดินทางมากันเองและทำโดยสุจริต ไม่ต้องการให้เกิดความไม่สงบวุ่นวาย และไม่มีผู้สนับสนุนแต่อย่างใด ที่ผ่านมาเครือข่ายชาวเทพาฯ ได้ติดตามข่าวสารดังกล่าวด้วยความห่วงใย เพราะเห็นว่าข้อมูลที่ปรากฏตามข่าวมีการนำเสนอข้อมูลไม่ถูกต้องไม่ครบถ้วน ดังนั้น จึงอยากให้ชาวเทพาได้มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลอย่างครบถ้วน ซึ่งเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์ต่อการนำไปประกอบการพิจารณา ขอความกรุณาให้ท่านนายกรัฐมนตรีได้ลงมาพบเครือข่าย ซึ่งเชื่อว่าจะช่วยให้เกิดความเข้าใจกันและเกิดความปรองดองกันได้
ด้าน นายสืบพงษ์ บูรณศิรินทร์ รองผู้ว่าการกิจการสังคม (รวค.) ทำการแทน ผู้ว่าการ กฟผ. ชี้แจงว่า กฟผ. ได้ติดตามสถานการณ์มาต่อเนื่อง และมีการประสานความร่วมมือกับฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อพยายามคลี่คลายสถานการณ์ที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งได้รายงานให้ผู้บริหารกระทรวงพลังงานและประธานกรรมการ กฟผ. ทราบเป็นระยะๆ รวมทั้งได้มีการชี้แจงสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับเหตุการณ์ การดำเนินงาน และประเด็นต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับ สร.กฟผ. ผู้บริหาร และผู้ปฏิบัติงาน เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง อย่างไรก็ตามสถานการณ์ในครั้งนี้เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน การดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด ต้องพิจารณาดำเนินการด้วยความรอบคอบ และต้องสร้างความเข้าใจกับทุกฝ่าย โดยเฉพาะพี่น้องชาวเทพาที่มาชุมนุมที่จะต้องเข้าใจและดูแลตามความเหมาะสม โดยยึดหลักการความถูกต้องและหลักมนุษยธรรม”ต่อสถานการณ์ดังกล่าว กฟผ. ได้ให้ความสำคัญกับการสร้างความเข้าใจ การสร้างความความปรองดอง การดูแลความสงบเรียบร้อย รวมถึงพยายามคลี่คลายสถานการณ์ที่เกิดขึ้นให้ดีที่สุด” รองผู้ว่าการ กฟผ.ในตอนท้าย.
ภาพ/ข่าว เครือข่ายคนเทพาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมสืบสานประเพณีลอยกระทง สร้างความสุขทั่วอำเภอขนอม
November 21, 2024
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมส่งเสริมสุขภาพชุมชน สนับสนุนอบรม อสม.ใหม่/ทดแทน
November 21, 2024
อบจ.สงขลา ร่วมรับรางวัลประกาศเกียรติคุณ “ค่าของแผ่นดิน” ประจำปี 2566 ด้านการพัฒนาสังคมและส่งเสริมคุณภาพชีวิต จากโครงการ ...
November 20, 2024
อโกด้าเผย หาดใหญ่คว้าแชมป์เมืองท่องเที่ยวที่คุ้มค่าที่สุดในไทย ช่วงเทศกาลส่งท้ายปี
November 19, 2024