นักเรียนโรงเรียนอนุบาลสตูล ประดิษฐ์อุปกรณ์ปอกเปลือกกระเทียม คว้ารางวัลเหรียญทองอันดับ 2 การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ ประเภทสิ่งประดิษฐ์ ในงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ระดับชาติ ครั้งที่ 62 ภายใต้ชื่องาน “สุดยอดเด็กไทย มุ่งมั่น สร้างสรรค์แบบอย่างด้วยปัญญา” ซึ่ง สพฐ. จัดขึ้นระหว่างวันที่ 13-15 กุมภาพันธ์ 2556 ณ อิมแพคเมืองทองธานี จ.นนทบุรี เพื่อพัฒนาทักษะทางด้านวิชาการ วิชาชีพ ดนตรีนาฏศิลป์ ศิลปะ ของนักเรียนตามคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตร
เจ้าของผลงานอุปกรณ์ปอกเปลือกกระเทียม ประกอบด้วย ด.ช.มุฮ์มีน มูเก็ม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด.ญ.จุฑากร โลหะจินดา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ ด.ช.ธนภัทร คมคำ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่าว่า ความคิดประดิษฐ์อุปกรณ์ปอกกระเทียมเกิดจากการไปเห็นแม่ครัวของโรงเรียน ใช้มีดปอกเปลือกกระเทียมวันละ 2-3 กิโลกรัม เพื่อใช้เป็นส่วนประกอบของเครื่องปรุงต่าง ๆ ในการทำอาหารกลางวันของโรงเรียน ซึ่งต้องใช้เวลาในการประกอบอาหารค่อนข้างมาก พวกตนจึงช่วยกันคิดว่าจะช่วยเหลือแม่ครัวให้ลดเวลาในการปอกเปลือกกระเทียม และลดอันตรายจากการถูกมีดบาด แม่ครัวจะได้มีเวลาในการไปทำงานอื่น ๆ ได้อีกเยอะแยะ จึงได้นำความรู้จากการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ และการค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติม ออกแบบและประดิษฐ์เป็นเครื่องปอกเปลือกกระเทียม ที่อาศัยหลักการของแรงเสียดทาน ซึ่งมีอุปกรณ์ที่ใช้ในการประดิษฐ์ ได้แก่ แผ่นยางพารา น๊อต ไม้กระดานอัด สว่าน เลื่อย กรรไกร ค้อน ไขควง ตะปู
สำหรับเครื่องปอกเปลือกกระเทียม มีลักษณะเป็นแผ่นไม้ 2 แผ่น ประกับกัน แผ่นไม้ล่างมีรูปทรงคล้ายถาดตรงกลางมีเดือยไม้ยาว แผ่นไม้บนเป็นฝาปิดมีไม้เป็นมือจับ 2 ข้าง สำหรับหมุนไปหมุนมา เพื่อทำให้เปลือกกระเทียมหลุดออกมา โดยมีแผ่นยางพารารองบนแผ่นไม้ล่างและแผ่นไม้บน เพื่อเป็นการลดแรงเสียดทาน ทำให้ได้กระเทียมที่ปอกเปลือกสวยเหมือนการปอกเปลือกด้วยมีด
เด็ก ๆ เล่าต่อว่า การประดิษฐ์อุปกรณ์ปอกเปลือกกระเทียม ในขั้นตอนของการทำและทดลองพบปัญหาหลาย ๆ เรื่อง แต่ได้รับคำแนะนำจาก อ.สไบแพร ฉิมเกื้อ และ อ.นัฐญา ไหมฉิม ทำให้ผลงานชิ้นนี้สำเร็จขึ้นมาได้ จากการทดลองอุปกรณ์ปอกเปลือกกระเทียมไปใช้ปอกเปลือกกระเทียม ในเวลา 1 นาทีสามารถปอกกระเทียมได้ 99.5 กรัม ซึ่งเร็วกว่าการปอกเปลือกกระเทียมด้วยมีด ที่จะปอกเปลือกกระเทียมได้เพียง 32.5 กรัมเท่านั้น
สิ่งประดิษฐ์อุปกรณ์ปอกเปลือกกระเทียม เป็นการตอบโจทย์ของการจัดการศึกษาวิชาวิทยาศาสตร์โรงเรียนอนุบาลสตูล ที่สอนนักเรียนได้เกิดการเรียนรู้ นำไปสู่การวิจัยค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ในเบื้องต้น ทำให้การสอนวิทยาศาสตร์บรรลุจุดมุ่งหมาย และเป็นไปตามแนวทางของการปฏิรูปการศึกษาอย่างแท้จริง.
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
นวัตกรรมปอกเปลือกกระเทียม น.ร.อนุบาลสตูล
นักเรียนโรงเรียนอนุบาลสตูล ประดิษฐ์อุปกรณ์ปอกเปลือกกระเทียม คว้ารางวัลเหรียญทองอันดับ 2 การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ ประเภทสิ่งประดิษฐ์ ในงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ระดับชาติ ครั้งที่ 62 ภายใต้ชื่องาน “สุดยอดเด็กไทย มุ่งมั่น สร้างสรรค์แบบอย่างด้วยปัญญา” ซึ่ง สพฐ. จัดขึ้นระหว่างวันที่ 13-15 กุมภาพันธ์ 2556 ณ อิมแพคเมืองทองธานี จ.นนทบุรี เพื่อพัฒนาทักษะทางด้านวิชาการ วิชาชีพ ดนตรีนาฏศิลป์ ศิลปะ ของนักเรียนตามคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตร
เจ้าของผลงานอุปกรณ์ปอกเปลือกกระเทียม ประกอบด้วย ด.ช.มุฮ์มีน มูเก็ม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด.ญ.จุฑากร โลหะจินดา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ ด.ช.ธนภัทร คมคำ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่าว่า ความคิดประดิษฐ์อุปกรณ์ปอกกระเทียมเกิดจากการไปเห็นแม่ครัวของโรงเรียน ใช้มีดปอกเปลือกกระเทียมวันละ 2-3 กิโลกรัม เพื่อใช้เป็นส่วนประกอบของเครื่องปรุงต่าง ๆ ในการทำอาหารกลางวันของโรงเรียน ซึ่งต้องใช้เวลาในการประกอบอาหารค่อนข้างมาก พวกตนจึงช่วยกันคิดว่าจะช่วยเหลือแม่ครัวให้ลดเวลาในการปอกเปลือกกระเทียม และลดอันตรายจากการถูกมีดบาด แม่ครัวจะได้มีเวลาในการไปทำงานอื่น ๆ ได้อีกเยอะแยะ จึงได้นำความรู้จากการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ และการค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติม ออกแบบและประดิษฐ์เป็นเครื่องปอกเปลือกกระเทียม ที่อาศัยหลักการของแรงเสียดทาน ซึ่งมีอุปกรณ์ที่ใช้ในการประดิษฐ์ ได้แก่ แผ่นยางพารา น๊อต ไม้กระดานอัด สว่าน เลื่อย กรรไกร ค้อน ไขควง ตะปู
สำหรับเครื่องปอกเปลือกกระเทียม มีลักษณะเป็นแผ่นไม้ 2 แผ่น ประกับกัน แผ่นไม้ล่างมีรูปทรงคล้ายถาดตรงกลางมีเดือยไม้ยาว แผ่นไม้บนเป็นฝาปิดมีไม้เป็นมือจับ 2 ข้าง สำหรับหมุนไปหมุนมา เพื่อทำให้เปลือกกระเทียมหลุดออกมา โดยมีแผ่นยางพารารองบนแผ่นไม้ล่างและแผ่นไม้บน เพื่อเป็นการลดแรงเสียดทาน ทำให้ได้กระเทียมที่ปอกเปลือกสวยเหมือนการปอกเปลือกด้วยมีด
เด็ก ๆ เล่าต่อว่า การประดิษฐ์อุปกรณ์ปอกเปลือกกระเทียม ในขั้นตอนของการทำและทดลองพบปัญหาหลาย ๆ เรื่อง แต่ได้รับคำแนะนำจาก อ.สไบแพร ฉิมเกื้อ และ อ.นัฐญา ไหมฉิม ทำให้ผลงานชิ้นนี้สำเร็จขึ้นมาได้ จากการทดลองอุปกรณ์ปอกเปลือกกระเทียมไปใช้ปอกเปลือกกระเทียม ในเวลา 1 นาทีสามารถปอกกระเทียมได้ 99.5 กรัม ซึ่งเร็วกว่าการปอกเปลือกกระเทียมด้วยมีด ที่จะปอกเปลือกกระเทียมได้เพียง 32.5 กรัมเท่านั้น
สิ่งประดิษฐ์อุปกรณ์ปอกเปลือกกระเทียม เป็นการตอบโจทย์ของการจัดการศึกษาวิชาวิทยาศาสตร์โรงเรียนอนุบาลสตูล ที่สอนนักเรียนได้เกิดการเรียนรู้ นำไปสู่การวิจัยค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ในเบื้องต้น ทำให้การสอนวิทยาศาสตร์บรรลุจุดมุ่งหมาย และเป็นไปตามแนวทางของการปฏิรูปการศึกษาอย่างแท้จริง.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
There is no related posts.