ลูกๆๆให้หลวงพ่อพามานมัสการมรดกโลก เมือมาถึงแล้วก็อดถ่ายทอดความรู้สำหรับลูกๆๆที่ไม่ได้ไปสักครั้งมีบุญมีเงินอาจจะได้ไปกับเขาบ้าง
บุโรพุทโธ (Borobudur-โบโรบูดูร์ หรือ บรมพุทโธ) หนึ่งในสัญลักษณ์ของประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งได้รับการยกย่องให้เป็นมรดกโลกจากองค์การยูเนสโกตั้งแต่ปี ค.ศ.1991 ตามประวัติสันนิษฐานว่าบุโรพุทโธน่าจะสร้างขึ้นระหว่าง ค.ศ.778 ถึง ค.ศ.850 โดยกษัตริย์ราชวงศ์ไศเลนทร์
คำว่า “Borobudur” มาจากการผสมกันระหว่างคำว่า “Boro” และ “Budur” คำว่า “Boro” หมายถึงวัดหรือศาลเจ้า ที่มาจากคำว่า Byara ในภาษาสันสกฤต ส่วน “Budur” มาจากคำว่า Beduhur ในภาษาบาหลี ที่หมายถึงภูเขา “บุโรพุทโธ” จึงมีความหมายโดยรวมว่า วัดที่สร้างบนภูเขา
ทางเดินขึ้นสู่บุโรพุทโธ
บุโรพุทโธ เป็นพุทธสถานแบบฮินดูชวา ผสมผสานกับศิลปะแบบอินเดียและอินโดนีเซียเข้าด้วยกัน โดยสร้างจากหินภูเขาไฟ เป็นรูปทรงขั้นบันไดแบบปิรามิดบนฐานสี่เหลี่ยม องค์เจดีย์มีลักษณะเป็นรูปทรงดอกบัว ซึ่งสื่อถึงสัญลักษณ์ของพระพุทธศาสนา ตามหลักฐานในประวัติศาสตร์ สถานที่แห่งนี้และบริเวณโดยรอบเป็นที่ลุ่มและถูกล้อมรอบด้วยน้ำที่ท่วมมาจากแม่น้ำโปรโก ทำให้บุโรพุทโธเปรียบเสมือนดอกบัวลอยอยู่ในน้ำ
รอบวิหารบุโรพุทโธเต็มไปด้วยหินสลักนูนต่ำ ซ้อนกันเป็นชั้นๆลดหลั่นกันไป แต่ละชั้นแสดงคติธรรมทางพุทธศาสนา ชั้นแรก เป็นชั้นที่มีความหมายถึงการที่มนุษย์ยังเกาะเกี่ยวอยู่กับการเวียนว่ายตายเกิด และวนเวียนอยู่กับกิเลส ตัณหา กามราคะ ที่เรียกว่าชั้น“กามธาตุ” ชั้นนี้มีภาพสลักที่น่าสนใจอยู่ถึง 160 ภาพ เป็นการเล่าเรื่องราวตาม “คัมภีร์ธรรมวิวังค์” ว่าด้วยเรื่อง “กฎแห่งกรรม” ซึ่งก็คือเรื่องของบาป บุญ คุณ โทษนั่นเอง
ภาพหินสลักนูนต่ำในแต่ละชั้น
ชั้นที่สอง คือ “รูปธาตุ” มีลักษณะเป็นขั้น บันไดรูปกลม ฐาน 6 ขั้น สูงกว่าชั้นกามธาตุเล็กน้อย แสดงถึงการที่มนุษย์หลุดพ้นจากกิเลส ทางโลกได้บ้าง แต่ก็ยังมีส่วนที่ยึดติดกับทางโลกอยู่ และชั้นสุดท้าย คือ “อรูปธาตุ” เป็นชั้นของการปฏิบัติขั้นสูงหลุดพ้นจากกิเลส ตัณหา ทั้งภวตัณหาและวิภวตัณหา ชั้นอรูปธาตุนี้มีรูปสลักนูนต่ำที่แสดงถึงพุทธประวัติถึงเกือบ 1,400 ภาพ
ในบางตำราตีความว่าแผนผังของบุโรพุทโธน่าจะหมายถึง “จักรวาล” และอำนาจของ “พระอาทิพุทธเจ้า” ซึ่งเป็นพระพุทธเจ้าผู้ทรงสร้างโลกในพุทธศาสนาลัทธิมหายาน ซึ่งในส่วนของพระเจดีย์องค์ใหญ่ที่อยู่บนยอดสูงสุดของ “บุโรพุทโธ” นั้น กล่าวกันว่า เป็นสัญลักษณ์แทนองค์ “พระอาทิพุทธเจ้า” ที่ในคติความเชื่อพระพุทธศาสนานิกายมหายานเชื่อว่าพระองค์คือผู้สร้างสรรพสิ่งนั่นเอง
เจดีย์ทรงระฆังโปร่ง ฉลุเป็นช่องสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด สัญลักษณ์ของบุโรพุทโธ
ในชั้นบนสุดของบุโรพุทโธ ที่ถือว่าเป็นส่วนยอดสุดของวิหาร มีลักษณะเป็นฐานวงกลมใหญ่ของเจดีย์องค์ประธาน เวลาที่มองมาจากที่ไกล จะเห็นเป็นเหมือนดอกบัวขนาดใหญ่ ตั้งตระหง่านอยู่กลางหุบเขา มีผู้อุปมาภาพที่ปรากฏนี้ว่าเป็นดั่งสรวงสวรรค์ ที่แสดงถึงการหลุดพ้นจากทุกสรรพสิ่งในโลก หรือที่เรียกว่านิพพาน อันเป็นจุดหมายสูงสุดของศาสนาพุทธ
อีกสิ่งหนึ่งที่เปรียบเสมือนสัญลักษณ์ของ บุโรพุทโธ ก็คือ เจดีย์ทรงระฆังโปร่ง ฉลุเป็นช่องสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด เรียงรายอยู่โดยรอบ ในเจดีย์จะมีองค์พระพุทธรูปอยู่ข้างใน ซึ่งเชื่อกันว่า ถ้าใครสามารถยื่นมือไปสัมผัสองค์พระพุทธรูปในนั้นได้จะสมหวังและโชคดี
ในแต่ละวัน จะมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวอินโดนีเซียและนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ทั้งที่เป็นชาวพุทธและต่างศาสนา แวะเวียนมาชมความงดงามและอลังการของบุโรพุทโธกันอย่างไม่ขาดสาย นับว่าเป็นศาสนสถานสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่เผยแผ่แก่นแท้ของศาสนา ผสมผสานไปกับความงดงามทางศิลปะได้อย่างกลมกลืน
เจดีย์หิน วัดป่ากุง
บุโรพุทโธเมืองไทย ส่วนในประเทศไทยเราเอง ก็มีศาสนสถานที่ละม้ายคล้ายคลึงกับบุโรพุทโธที่ประเทศอินโดนีเซียเช่นกัน นั่นคือ “พระเจดีย์หิน” หรือ “บุโรพุทโธจำลอง” ที่ วัดป่ากุง (วัดประชาคมวนาราม) อ.ศรีสมเด็จ จ.ร้อยเอ็ด
เจดีย์แห่งนี้สร้างขึ้นจากคำปรารภของหลวงปู่ศรี มหาวีโร (พระเทพวิสุทธิมงคล) พระเกจิชื่อดังของจังหวัดร้อยเอ็ด หลวงปู่ต้องการให้ก่อสร้างเจดีย์ด้วยหินทรายธรรมชาติ แต่นำมาประยุกต์ให้มีความเหมาะสมกับสถานที่ ผสมผสานกับความเป็นไทยและลักษณะภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยให้มีรูปทรงคล้ายกับเจดีย์บุโรพุทโธ แต่ภายในมีพื้นที่สำหรับประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุที่อัญเชิญมาจากประเทศอินเดีย เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้สักการะ.
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
November 21, 2024
November 20, 2024
November 19, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
บุโรพุทโธ (Borobudur-โบโรบูดูร์ หรือ บรมพุทโธ) หนึ่งในสัญลักษณ์ของประเทศอินโดนีเซีย
ลูกๆๆให้หลวงพ่อพามานมัสการมรดกโลก เมือมาถึงแล้วก็อดถ่ายทอดความรู้สำหรับลูกๆๆที่ไม่ได้ไปสักครั้งมีบุญมีเงินอาจจะได้ไปกับเขาบ้าง
บุโรพุทโธ (Borobudur-โบโรบูดูร์ หรือ บรมพุทโธ) หนึ่งในสัญลักษณ์ของประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งได้รับการยกย่องให้เป็นมรดกโลกจากองค์การยูเนสโกตั้งแต่ปี ค.ศ.1991 ตามประวัติสันนิษฐานว่าบุโรพุทโธน่าจะสร้างขึ้นระหว่าง ค.ศ.778 ถึง ค.ศ.850 โดยกษัตริย์ราชวงศ์ไศเลนทร์
คำว่า “Borobudur” มาจากการผสมกันระหว่างคำว่า “Boro” และ “Budur” คำว่า “Boro” หมายถึงวัดหรือศาลเจ้า ที่มาจากคำว่า Byara ในภาษาสันสกฤต ส่วน “Budur” มาจากคำว่า Beduhur ในภาษาบาหลี ที่หมายถึงภูเขา “บุโรพุทโธ” จึงมีความหมายโดยรวมว่า วัดที่สร้างบนภูเขา
ทางเดินขึ้นสู่บุโรพุทโธ
บุโรพุทโธ เป็นพุทธสถานแบบฮินดูชวา ผสมผสานกับศิลปะแบบอินเดียและอินโดนีเซียเข้าด้วยกัน โดยสร้างจากหินภูเขาไฟ เป็นรูปทรงขั้นบันไดแบบปิรามิดบนฐานสี่เหลี่ยม องค์เจดีย์มีลักษณะเป็นรูปทรงดอกบัว ซึ่งสื่อถึงสัญลักษณ์ของพระพุทธศาสนา ตามหลักฐานในประวัติศาสตร์ สถานที่แห่งนี้และบริเวณโดยรอบเป็นที่ลุ่มและถูกล้อมรอบด้วยน้ำที่ท่วมมาจากแม่น้ำโปรโก ทำให้บุโรพุทโธเปรียบเสมือนดอกบัวลอยอยู่ในน้ำ
รอบวิหารบุโรพุทโธเต็มไปด้วยหินสลักนูนต่ำ ซ้อนกันเป็นชั้นๆลดหลั่นกันไป แต่ละชั้นแสดงคติธรรมทางพุทธศาสนา ชั้นแรก เป็นชั้นที่มีความหมายถึงการที่มนุษย์ยังเกาะเกี่ยวอยู่กับการเวียนว่ายตายเกิด และวนเวียนอยู่กับกิเลส ตัณหา กามราคะ ที่เรียกว่าชั้น“กามธาตุ” ชั้นนี้มีภาพสลักที่น่าสนใจอยู่ถึง 160 ภาพ เป็นการเล่าเรื่องราวตาม “คัมภีร์ธรรมวิวังค์” ว่าด้วยเรื่อง “กฎแห่งกรรม” ซึ่งก็คือเรื่องของบาป บุญ คุณ โทษนั่นเอง
ภาพหินสลักนูนต่ำในแต่ละชั้น
ชั้นที่สอง คือ “รูปธาตุ” มีลักษณะเป็นขั้น บันไดรูปกลม ฐาน 6 ขั้น สูงกว่าชั้นกามธาตุเล็กน้อย แสดงถึงการที่มนุษย์หลุดพ้นจากกิเลส ทางโลกได้บ้าง แต่ก็ยังมีส่วนที่ยึดติดกับทางโลกอยู่ และชั้นสุดท้าย คือ “อรูปธาตุ” เป็นชั้นของการปฏิบัติขั้นสูงหลุดพ้นจากกิเลส ตัณหา ทั้งภวตัณหาและวิภวตัณหา ชั้นอรูปธาตุนี้มีรูปสลักนูนต่ำที่แสดงถึงพุทธประวัติถึงเกือบ 1,400 ภาพ
ในบางตำราตีความว่าแผนผังของบุโรพุทโธน่าจะหมายถึง “จักรวาล” และอำนาจของ “พระอาทิพุทธเจ้า” ซึ่งเป็นพระพุทธเจ้าผู้ทรงสร้างโลกในพุทธศาสนาลัทธิมหายาน ซึ่งในส่วนของพระเจดีย์องค์ใหญ่ที่อยู่บนยอดสูงสุดของ “บุโรพุทโธ” นั้น กล่าวกันว่า เป็นสัญลักษณ์แทนองค์ “พระอาทิพุทธเจ้า” ที่ในคติความเชื่อพระพุทธศาสนานิกายมหายานเชื่อว่าพระองค์คือผู้สร้างสรรพสิ่งนั่นเอง
เจดีย์ทรงระฆังโปร่ง ฉลุเป็นช่องสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด สัญลักษณ์ของบุโรพุทโธ
ในชั้นบนสุดของบุโรพุทโธ ที่ถือว่าเป็นส่วนยอดสุดของวิหาร มีลักษณะเป็นฐานวงกลมใหญ่ของเจดีย์องค์ประธาน เวลาที่มองมาจากที่ไกล จะเห็นเป็นเหมือนดอกบัวขนาดใหญ่ ตั้งตระหง่านอยู่กลางหุบเขา มีผู้อุปมาภาพที่ปรากฏนี้ว่าเป็นดั่งสรวงสวรรค์ ที่แสดงถึงการหลุดพ้นจากทุกสรรพสิ่งในโลก หรือที่เรียกว่านิพพาน อันเป็นจุดหมายสูงสุดของศาสนาพุทธ
อีกสิ่งหนึ่งที่เปรียบเสมือนสัญลักษณ์ของ บุโรพุทโธ ก็คือ เจดีย์ทรงระฆังโปร่ง ฉลุเป็นช่องสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด เรียงรายอยู่โดยรอบ ในเจดีย์จะมีองค์พระพุทธรูปอยู่ข้างใน ซึ่งเชื่อกันว่า ถ้าใครสามารถยื่นมือไปสัมผัสองค์พระพุทธรูปในนั้นได้จะสมหวังและโชคดี
ในแต่ละวัน จะมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวอินโดนีเซียและนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ทั้งที่เป็นชาวพุทธและต่างศาสนา แวะเวียนมาชมความงดงามและอลังการของบุโรพุทโธกันอย่างไม่ขาดสาย นับว่าเป็นศาสนสถานสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่เผยแผ่แก่นแท้ของศาสนา ผสมผสานไปกับความงดงามทางศิลปะได้อย่างกลมกลืน
เจดีย์หิน วัดป่ากุง
บุโรพุทโธเมืองไทย
ส่วนในประเทศไทยเราเอง ก็มีศาสนสถานที่ละม้ายคล้ายคลึงกับบุโรพุทโธที่ประเทศอินโดนีเซียเช่นกัน นั่นคือ “พระเจดีย์หิน” หรือ “บุโรพุทโธจำลอง” ที่ วัดป่ากุง (วัดประชาคมวนาราม) อ.ศรีสมเด็จ จ.ร้อยเอ็ด
เจดีย์แห่งนี้สร้างขึ้นจากคำปรารภของหลวงปู่ศรี มหาวีโร (พระเทพวิสุทธิมงคล) พระเกจิชื่อดังของจังหวัดร้อยเอ็ด หลวงปู่ต้องการให้ก่อสร้างเจดีย์ด้วยหินทรายธรรมชาติ แต่นำมาประยุกต์ให้มีความเหมาะสมกับสถานที่ ผสมผสานกับความเป็นไทยและลักษณะภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยให้มีรูปทรงคล้ายกับเจดีย์บุโรพุทโธ แต่ภายในมีพื้นที่สำหรับประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุที่อัญเชิญมาจากประเทศอินเดีย เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้สักการะ.
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมสืบสานประเพณีลอยกระทง สร้างความสุขทั่วอำเภอขนอม
November 21, 2024
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมส่งเสริมสุขภาพชุมชน สนับสนุนอบรม อสม.ใหม่/ทดแทน
November 21, 2024
อบจ.สงขลา ร่วมรับรางวัลประกาศเกียรติคุณ “ค่าของแผ่นดิน” ประจำปี 2566 ด้านการพัฒนาสังคมและส่งเสริมคุณภาพชีวิต จากโครงการ ...
November 20, 2024
อโกด้าเผย หาดใหญ่คว้าแชมป์เมืองท่องเที่ยวที่คุ้มค่าที่สุดในไทย ช่วงเทศกาลส่งท้ายปี
November 19, 2024