บริษัทที่ปรึกษาจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียในการกำหนดขอบเขตและแนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (Public Scoping หรือ ค.1) โครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนกระบี่ (ส่วนขยาย ครั้งที่ 1) ตามขั้นตอนกฎหมาย เปิดให้ประชาทุกภาคส่วนร่วมแสดงความเห็นอย่างเปิดกว้าง เพื่อให้การศึกษาและจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) ครอบคลุมทุกข้อห่วงกังวลเกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มอย่างแท้จริง
วันที่ 28 มกราคม 2561 นายสมควร ขันเงิน รองผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ เป็นประธานเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียในการกำหนดขอบเขตและแนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (ค.1) โครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนกระบี่ (ส่วนขยาย ครั้งที่ 1) ซึ่งดำเนินการโดยบริษัท แอร์เซฟ จำกัด มีประชาชนในพื้นที่ 4 ตำบลใน อ.เหนือคลอง ได้แก่ ต.คลองขนาน ต.ปกาสัย รวมถึง ต.คลองท่อมใต้ และ ต.โคกยาง ที่ขยายขอบเขตการรับฟังตามกฎหมาย รวมทั้งผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน ทั้งหน่วยงานราชการ สถานศึกษา ศาสนสถาน องค์กรเอกชนด้านสิ่งแวดล้อม องค์กรพัฒนาเอกชน สื่อมวลชน ตลอดจนประชาชนผู้ที่สนใจเข้าร่วมรับฟังจำนวนมาก ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลคลองขนาน อ.เหนือคลอง จ.กระบี่
นายสมควร ขันเงิน รองผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ กล่าวว่า การจัดรับฟัง ค.1 เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มซึ่งเป็นไปตามกฎหมาย ในการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) โดยทุกความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของประชาชนในวันนี้ จะเป็นประโยชน์ในการกำหนดขอบเขตและแนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของโครงการ ให้ครบถ้วนรอบด้านครอบคลุมทุกข้อห่วงกังวลและเกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มอย่างแท้จริง พร้อมเปิดกว้างให้ทุกคนได้แสดงความคิดเห็นอย่างเปิดเผยและมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประเทศชาติและคนไทยทุกคน
การจัดรับฟังความคิดเห็น บริษัทและ กฟผ. ดำเนินการตามหนังสือของสำนักงานโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2560 ที่ให้ กฟผ. ศึกษาและจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) โครงการโรงไฟฟ้ากระบี่ใหม่ โดยเปิดกว้างให้ประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นอย่างโปร่งใส เพื่อให้การจัดทำรายงาน EHIA ครอบคลุมทุกข้อห่วงกังวล พร้อมทั้งนำข้อคิดเห็นของคณะกรรมการไตรภาคี คณะกรรมการศึกษาการดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินจังหวัดกระบี่ (คณะกรรมการไตรภาคี) รวมถึงข้อคิดเห็นจากคณะอนุกรรมการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมฯ ภาคประชาชน (คณะกรรมการไตรภาคี) มาศึกษาเพิ่มเติมด้วย
สำหรับโครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนกระบี่ (ส่วนขยาย ครั้งที่ 1) บรรจุอยู่ในแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย 2558-2579 (PDP 2015) ตั้งอยู่ในพื้นที่ของโรงไฟฟ้ากระบี่ปัจจุบัน ในตำบล คลองขนาน อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ มีขนาดกำลังผลิตติดตั้งประมาณ 870 เมกะวัตต์ ใช้ถ่านหินคุณภาพดีประเภทซับบิทูมินัสหรือบิทูมินัส นำเข้าจากต่างประเทศเป็นเชื้อเพลิงหลัก และเลือกใช้เทคโนโลยี ในการผลิตไฟฟ้าและระบบกำจัดมลสารที่มีประสิทธิภาพและทันสมัยในระดับสากล เพื่อลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและชุมชน และโครงการได้ออกแบบเพิ่มเติมให้สามารถใช้เชื้อเพลิงประเภทชีวมวลในอัตราส่วน ไม่เกินร้อยละ 2 เพื่อส่งเสริมอาชีพและนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรของชุมชนในพื้นที่มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งโรงไฟฟ้าใหม่ที่สร้างขึ้นจะให้พื้นที่มีไฟฟ้าเพียงพอต่อความต้องการใช้ รองรับการเติบโตด้านเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวของภาคใต้ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนเพื่อเสริมความมั่นคงของระบบไฟฟ้าในภาคใต้ ลดความเสี่ยงการเกิดไฟฟ้าดับจากการพึ่งพาพลังงานไฟฟ้าจากภาคกลางที่มีข้อจำกัดด้านระบบส่ง และการรับซื้อไฟฟ้าจากประเทศมาเลเซียที่มีราคาสูงและไม่มีความแน่นอน
ทั้งนี้ ก่อนการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ค.1 ในวันนี้ บริษัทที่ปรึกษาและ กฟผ.ได้สื่อสาร สร้างความรู้และความเข้าใจให้กับประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผ่านหลายช่องทาง เช่น แผ่นพับให้ความรู้ สถานีวิทยุชุมชน ป้ายประกาศ รถแห่ประชาสัมพันธ์ ประกาศทางเว็บไซต์สำนักนายกรัฐมนตรี เว็บไซต์ของ กฟผ. และบริษัทที่ปรึกษา รวมถึงช่องทางสื่อสารออนไลน์และสื่อโซเชียลมีเดีย พร้อมทั้งส่งจดหมายเชิญไปยังผู้มีส่วนได้เสียทุกครัวเรือนที่อยู่ในรัศมี 5 กิโลเมตร เพื่อให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมและแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง ครบถ้วนในทุกประเด็น
สำหรับผู้สนใจที่มาร่วมงานในวันนี้หรือที่ไม่ได้มาร่วม ยังคงสามารถแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม ผ่านทางแบบสอบถามความคิดเห็น หรือติดต่อ คุณณัฏฐิดา ประดับ บริษัท แอร์เซฟ จำกัด เลขที่ 235/14 ถนนราษฎร์พัฒนา แขวงสะพานสูง เขตสะพานสูง กรุงเทพฯ 10240 โทรศัพท์ 02-540-0055 และ 089-793-8090 โทรสาร 02-917-0020 หรือไปรษณีย์อิเล็คทรอนิกส์ (E-Mail) : as.public.consult@gmail.com ภายในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2561 โดยข้อคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะของท่านจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการศึกษาและประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพที่จะดำเนินการต่อไป
นอกจากการศึกษาและจัดทำรายงาน EHIA โครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนกระบี่ (ส่วนขยาย ครั้งที่ 1) แล้ว บริษัท แอร์เซฟ จำกัด บริษัทที่ปรึกษาที่ได้รับใบอนุญาตและมีสิทธิ์จัดทำรายงาน EHIA และ EIA จาก สผ. จะต้องจัดทำรายงาน EIA โครงการท่าเทียบเรือบ้านคลองรั้ว อีกด้วย โดยจะศึกษาและจัดทำรายงานของทั้ง 2 โครงการ แยกออกจากกัน คาดว่าใช้เวลาการศึกษาและจัดทำรายงานทั้ง 2 ฉบับประมาณ 1 ปี ทั้งนี้ บริษัทกำหนดจัดเวทีรับฟังความคิดเห็น ค.1 โครงการท่าเทียบเรือบ้านคลองรั้วในวันอาทิตย์ที่ 25 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา 13.00 น. เป็นต้นไป ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลคลองขนานเช่นเดียวกัน.
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
November 21, 2024
November 20, 2024
November 19, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
แอร์เซฟ เปิดเวที ค.1 โครงการโรงไฟฟ้ากระบี่ตามขั้นตอนกฎหมาย เปิดรับฟังความคิดเห็นของประชาชนอย่างเปิดกว้าง โปร่งใสและมีส่วนร่วม
บริษัทที่ปรึกษาจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียในการกำหนดขอบเขตและแนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (Public Scoping หรือ ค.1) โครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนกระบี่ (ส่วนขยาย ครั้งที่ 1) ตามขั้นตอนกฎหมาย เปิดให้ประชาทุกภาคส่วนร่วมแสดงความเห็นอย่างเปิดกว้าง เพื่อให้การศึกษาและจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) ครอบคลุมทุกข้อห่วงกังวลเกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มอย่างแท้จริง
วันที่ 28 มกราคม 2561 นายสมควร ขันเงิน รองผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ เป็นประธานเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียในการกำหนดขอบเขตและแนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (ค.1) โครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนกระบี่ (ส่วนขยาย ครั้งที่ 1) ซึ่งดำเนินการโดยบริษัท แอร์เซฟ จำกัด มีประชาชนในพื้นที่ 4 ตำบลใน อ.เหนือคลอง ได้แก่ ต.คลองขนาน ต.ปกาสัย รวมถึง ต.คลองท่อมใต้ และ ต.โคกยาง ที่ขยายขอบเขตการรับฟังตามกฎหมาย รวมทั้งผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน ทั้งหน่วยงานราชการ สถานศึกษา ศาสนสถาน องค์กรเอกชนด้านสิ่งแวดล้อม องค์กรพัฒนาเอกชน สื่อมวลชน ตลอดจนประชาชนผู้ที่สนใจเข้าร่วมรับฟังจำนวนมาก ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลคลองขนาน อ.เหนือคลอง จ.กระบี่
นายสมควร ขันเงิน รองผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ กล่าวว่า การจัดรับฟัง ค.1 เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มซึ่งเป็นไปตามกฎหมาย ในการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) โดยทุกความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของประชาชนในวันนี้ จะเป็นประโยชน์ในการกำหนดขอบเขตและแนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของโครงการ ให้ครบถ้วนรอบด้านครอบคลุมทุกข้อห่วงกังวลและเกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มอย่างแท้จริง พร้อมเปิดกว้างให้ทุกคนได้แสดงความคิดเห็นอย่างเปิดเผยและมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประเทศชาติและคนไทยทุกคน
การจัดรับฟังความคิดเห็น บริษัทและ กฟผ. ดำเนินการตามหนังสือของสำนักงานโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2560 ที่ให้ กฟผ. ศึกษาและจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) โครงการโรงไฟฟ้ากระบี่ใหม่ โดยเปิดกว้างให้ประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นอย่างโปร่งใส เพื่อให้การจัดทำรายงาน EHIA ครอบคลุมทุกข้อห่วงกังวล พร้อมทั้งนำข้อคิดเห็นของคณะกรรมการไตรภาคี คณะกรรมการศึกษาการดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินจังหวัดกระบี่ (คณะกรรมการไตรภาคี) รวมถึงข้อคิดเห็นจากคณะอนุกรรมการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมฯ ภาคประชาชน (คณะกรรมการไตรภาคี) มาศึกษาเพิ่มเติมด้วย
สำหรับโครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนกระบี่ (ส่วนขยาย ครั้งที่ 1) บรรจุอยู่ในแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย 2558-2579 (PDP 2015) ตั้งอยู่ในพื้นที่ของโรงไฟฟ้ากระบี่ปัจจุบัน ในตำบล คลองขนาน อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ มีขนาดกำลังผลิตติดตั้งประมาณ 870 เมกะวัตต์ ใช้ถ่านหินคุณภาพดีประเภทซับบิทูมินัสหรือบิทูมินัส นำเข้าจากต่างประเทศเป็นเชื้อเพลิงหลัก และเลือกใช้เทคโนโลยี ในการผลิตไฟฟ้าและระบบกำจัดมลสารที่มีประสิทธิภาพและทันสมัยในระดับสากล เพื่อลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและชุมชน และโครงการได้ออกแบบเพิ่มเติมให้สามารถใช้เชื้อเพลิงประเภทชีวมวลในอัตราส่วน ไม่เกินร้อยละ 2 เพื่อส่งเสริมอาชีพและนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรของชุมชนในพื้นที่มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งโรงไฟฟ้าใหม่ที่สร้างขึ้นจะให้พื้นที่มีไฟฟ้าเพียงพอต่อความต้องการใช้ รองรับการเติบโตด้านเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวของภาคใต้ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนเพื่อเสริมความมั่นคงของระบบไฟฟ้าในภาคใต้ ลดความเสี่ยงการเกิดไฟฟ้าดับจากการพึ่งพาพลังงานไฟฟ้าจากภาคกลางที่มีข้อจำกัดด้านระบบส่ง และการรับซื้อไฟฟ้าจากประเทศมาเลเซียที่มีราคาสูงและไม่มีความแน่นอน
ทั้งนี้ ก่อนการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ค.1 ในวันนี้ บริษัทที่ปรึกษาและ กฟผ.ได้สื่อสาร สร้างความรู้และความเข้าใจให้กับประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผ่านหลายช่องทาง เช่น แผ่นพับให้ความรู้ สถานีวิทยุชุมชน ป้ายประกาศ รถแห่ประชาสัมพันธ์ ประกาศทางเว็บไซต์สำนักนายกรัฐมนตรี เว็บไซต์ของ กฟผ. และบริษัทที่ปรึกษา รวมถึงช่องทางสื่อสารออนไลน์และสื่อโซเชียลมีเดีย พร้อมทั้งส่งจดหมายเชิญไปยังผู้มีส่วนได้เสียทุกครัวเรือนที่อยู่ในรัศมี 5 กิโลเมตร เพื่อให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมและแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง ครบถ้วนในทุกประเด็น
สำหรับผู้สนใจที่มาร่วมงานในวันนี้หรือที่ไม่ได้มาร่วม ยังคงสามารถแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม ผ่านทางแบบสอบถามความคิดเห็น หรือติดต่อ คุณณัฏฐิดา ประดับ บริษัท แอร์เซฟ จำกัด เลขที่ 235/14 ถนนราษฎร์พัฒนา แขวงสะพานสูง เขตสะพานสูง กรุงเทพฯ 10240 โทรศัพท์ 02-540-0055 และ 089-793-8090 โทรสาร 02-917-0020 หรือไปรษณีย์อิเล็คทรอนิกส์ (E-Mail) : as.public.consult@gmail.com ภายในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2561 โดยข้อคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะของท่านจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการศึกษาและประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพที่จะดำเนินการต่อไป
นอกจากการศึกษาและจัดทำรายงาน EHIA โครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนกระบี่ (ส่วนขยาย ครั้งที่ 1) แล้ว บริษัท แอร์เซฟ จำกัด บริษัทที่ปรึกษาที่ได้รับใบอนุญาตและมีสิทธิ์จัดทำรายงาน EHIA และ EIA จาก สผ. จะต้องจัดทำรายงาน EIA โครงการท่าเทียบเรือบ้านคลองรั้ว อีกด้วย โดยจะศึกษาและจัดทำรายงานของทั้ง 2 โครงการ แยกออกจากกัน คาดว่าใช้เวลาการศึกษาและจัดทำรายงานทั้ง 2 ฉบับประมาณ 1 ปี ทั้งนี้ บริษัทกำหนดจัดเวทีรับฟังความคิดเห็น ค.1 โครงการท่าเทียบเรือบ้านคลองรั้วในวันอาทิตย์ที่ 25 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา 13.00 น. เป็นต้นไป ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลคลองขนานเช่นเดียวกัน.
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมสืบสานประเพณีลอยกระทง สร้างความสุขทั่วอำเภอขนอม
November 21, 2024
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมส่งเสริมสุขภาพชุมชน สนับสนุนอบรม อสม.ใหม่/ทดแทน
November 21, 2024
อบจ.สงขลา ร่วมรับรางวัลประกาศเกียรติคุณ “ค่าของแผ่นดิน” ประจำปี 2566 ด้านการพัฒนาสังคมและส่งเสริมคุณภาพชีวิต จากโครงการ ...
November 20, 2024
อโกด้าเผย หาดใหญ่คว้าแชมป์เมืองท่องเที่ยวที่คุ้มค่าที่สุดในไทย ช่วงเทศกาลส่งท้ายปี
November 19, 2024