4 เมษายน 2556 ณ โรงแรมหรรษา เจบี อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา สถาบันวิจัยระบบพลังงาน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จัดพิธีส่งมอบสัญญารับการสนับสนุนสร้างระบบผลิตก๊าซชีวภาพจากกองทุนส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน ภายใต้โครงการส่งเสริมสาธิตการผลิตก๊าซชีวภาพในสหกรณ์กองทุนสวนยาง ระยะที่ 1 โดยมีนายสิทธิโชติ วันทวิน ผู้อำนวยการสำนักนโยบายอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทน และ ผศ.ธีรวัฒน์ หังสพฤกษ์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วย รศ.ดร.สุเมธ ไชยประพัทธ์ ผู้อำนวยการโครงการจัดตั้งสถาบันวิจัยระบบพลังงาน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในฐานะผู้อำนวยการโครงการเป็นผู้กล่าวรายงาน
โครงการส่งเสริมสาธิตการผลิตก๊าซชีวภาพในสหกรณ์กองทุนสวนยาง ระยะที่ 1 นี้ เกิดจากการที่สหกรณ์โรงอบ/รมยาง เกิดปัญหาระบบบำบัดน้ำเสียที่เป็นระบบบ่อ ซึ่งมีการใช้งานมาอย่างยาวนานและทำให้เกิดปัญหาการอุดตันของเศษยางในเครื่องเติมอากาศ ส่งผลไปถึงปัญหากลิ่นเหม็นในบ่อน้ำทิ้งและไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานน้ำทิ้งของกรมโรงงานอุตสาหกรรม จนเกิดเป็นเทคโนโลยีระบบบำบัดแบบไร้อากาศ โดยใช้ระบบบ่อหมักร่วมไร้อากาศแบบแผ่นคลุมประยุกต์ มาใช้สำหรับปรับปรุงระบบบำบัดน้ำเสียเดิมของสหกรณ์ฯ
ซึ่งจากความสำเร็จในการขยายผลการวิจัยในสหกรณ์กองทุนสวนยาง สถาบันวิจัยระบบพลังงาน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้เล็งเห็นถึงศักยภาพที่จะขยายผลไปยังกลุ่มสหกรณ์กองทุนสวนยางอื่น ๆ อีกกว่า 400 แห่งทั่วประเทศ รวมไปถึงกลุ่มสหกรณ์ด้านยางพาราประเภทอื่นที่มีศักยภาพอยู่ในระดับเดียวกัน และกลายเป็นโครงการส่งเสริมสาธิตการผลิตก๊าซชีวภาพในสหกรณ์กองทุนสวนยาง ระยะที่ 1 ที่มีเป้าหมายคือการก่อสร้างและติดตั้งระบบผลิตก๊าซชีวภาพจากน้ำเสียจากการทำยางแผ่นรมควัน 5,000,000 กิโลกรัมต่อปี หรือประมาณ 10 สหกรณ์ โดยได้รับการสนับสนุนจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ผ่านทางสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน
จากเป้าหมายปริมาณยางแผ่นรมควัน 5,000,000 กิโลกรัมต่อปีนี้เมื่อติดตั้งระบบผลิตก๊าซชีวภาพแล้วเสร็จจะสามารถผลิตก๊าซชีวภาพได้สูงสุดประมาณ 105,000 ลูกบาศก์เมตรต่อปี และคาดว่าจะสามารถนำไปทดแทนไม้ฟืนที่ใช้ในการรมควันยางได้ถึง 2 ล้านกิโลกรัมต่อปี ลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงได้ถึง 800 ตันต่อปี และลดต้นทุนการผลิตยางแผ่นรมควันซึ่งเป็นภาระและความเสี่ยงแก่กลุ่มเกษตรกรที่เกิดจากความผันผวนของราคาไม้ฟืนลงได้ และทำให้เกิดความมั่นคงด้านทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ สังคม และอาชีพของเกษตรกรชาวสวนยาง ซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการสร้างรายได้ให้กับประเทศต่อไป
โดยในช่วงเช้าเป็นการประชุมพิจารณาคัดเลือกสหกรณ์กองทุนสวนยางเข้าร่วมโครงการ จำนวน 10 แห่ง ในช่วงบ่ายจึงมีการมอบประกาศนียบัตรให้กับสหกรณ์กองทุนสวนยางที่ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการดังกล่าวด้วย ซึ่งตอนนี้โครงการดังกล่าวได้ดำเนินการไปแล้วตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา และจะมีการอบรมให้ความรู้กับสหกรณ์ที่เข้าร่วมโครงการนี้ต่อไป.
ภาพ/ข่าว อดิเรก วรรณมณี / สุจินต์ ชูแสง
ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์บ้านข่าว
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
สถาบันวิจัยระบบพลังงาน ม.อ. จัดพิธีส่งมอบสัญญารับการสนับสนุนสร้างระบบผลิตก๊าซชีวภาพจากกองทุนส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน สนพ. ภายใต้โครงการส่งเสริมสาธิตการผลิตก๊าซชีวภาพในสหกรณ์กองทุนสวนยาง ระยะที่ 1
4 เมษายน 2556 ณ โรงแรมหรรษา เจบี อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา สถาบันวิจัยระบบพลังงาน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จัดพิธีส่งมอบสัญญารับการสนับสนุนสร้างระบบผลิตก๊าซชีวภาพจากกองทุนส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน ภายใต้โครงการส่งเสริมสาธิตการผลิตก๊าซชีวภาพในสหกรณ์กองทุนสวนยาง ระยะที่ 1 โดยมีนายสิทธิโชติ วันทวิน ผู้อำนวยการสำนักนโยบายอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทน และ ผศ.ธีรวัฒน์ หังสพฤกษ์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วย รศ.ดร.สุเมธ ไชยประพัทธ์ ผู้อำนวยการโครงการจัดตั้งสถาบันวิจัยระบบพลังงาน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในฐานะผู้อำนวยการโครงการเป็นผู้กล่าวรายงาน
โครงการส่งเสริมสาธิตการผลิตก๊าซชีวภาพในสหกรณ์กองทุนสวนยาง ระยะที่ 1 นี้ เกิดจากการที่สหกรณ์โรงอบ/รมยาง เกิดปัญหาระบบบำบัดน้ำเสียที่เป็นระบบบ่อ ซึ่งมีการใช้งานมาอย่างยาวนานและทำให้เกิดปัญหาการอุดตันของเศษยางในเครื่องเติมอากาศ ส่งผลไปถึงปัญหากลิ่นเหม็นในบ่อน้ำทิ้งและไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานน้ำทิ้งของกรมโรงงานอุตสาหกรรม จนเกิดเป็นเทคโนโลยีระบบบำบัดแบบไร้อากาศ โดยใช้ระบบบ่อหมักร่วมไร้อากาศแบบแผ่นคลุมประยุกต์ มาใช้สำหรับปรับปรุงระบบบำบัดน้ำเสียเดิมของสหกรณ์ฯ
ซึ่งจากความสำเร็จในการขยายผลการวิจัยในสหกรณ์กองทุนสวนยาง สถาบันวิจัยระบบพลังงาน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้เล็งเห็นถึงศักยภาพที่จะขยายผลไปยังกลุ่มสหกรณ์กองทุนสวนยางอื่น ๆ อีกกว่า 400 แห่งทั่วประเทศ รวมไปถึงกลุ่มสหกรณ์ด้านยางพาราประเภทอื่นที่มีศักยภาพอยู่ในระดับเดียวกัน และกลายเป็นโครงการส่งเสริมสาธิตการผลิตก๊าซชีวภาพในสหกรณ์กองทุนสวนยาง ระยะที่ 1 ที่มีเป้าหมายคือการก่อสร้างและติดตั้งระบบผลิตก๊าซชีวภาพจากน้ำเสียจากการทำยางแผ่นรมควัน 5,000,000 กิโลกรัมต่อปี หรือประมาณ 10 สหกรณ์ โดยได้รับการสนับสนุนจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ผ่านทางสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน
จากเป้าหมายปริมาณยางแผ่นรมควัน 5,000,000 กิโลกรัมต่อปีนี้เมื่อติดตั้งระบบผลิตก๊าซชีวภาพแล้วเสร็จจะสามารถผลิตก๊าซชีวภาพได้สูงสุดประมาณ 105,000 ลูกบาศก์เมตรต่อปี และคาดว่าจะสามารถนำไปทดแทนไม้ฟืนที่ใช้ในการรมควันยางได้ถึง 2 ล้านกิโลกรัมต่อปี ลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงได้ถึง 800 ตันต่อปี และลดต้นทุนการผลิตยางแผ่นรมควันซึ่งเป็นภาระและความเสี่ยงแก่กลุ่มเกษตรกรที่เกิดจากความผันผวนของราคาไม้ฟืนลงได้ และทำให้เกิดความมั่นคงด้านทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ สังคม และอาชีพของเกษตรกรชาวสวนยาง ซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการสร้างรายได้ให้กับประเทศต่อไป
โดยในช่วงเช้าเป็นการประชุมพิจารณาคัดเลือกสหกรณ์กองทุนสวนยางเข้าร่วมโครงการ จำนวน 10 แห่ง ในช่วงบ่ายจึงมีการมอบประกาศนียบัตรให้กับสหกรณ์กองทุนสวนยางที่ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการดังกล่าวด้วย ซึ่งตอนนี้โครงการดังกล่าวได้ดำเนินการไปแล้วตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา และจะมีการอบรมให้ความรู้กับสหกรณ์ที่เข้าร่วมโครงการนี้ต่อไป.
ภาพ/ข่าว อดิเรก วรรณมณี / สุจินต์ ชูแสง
ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์บ้านข่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
There is no related posts.