ดร.พิพัฒน์ ลิมปนะพิทยาธร คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ทางคณะฯ ได้เชิญ Prof. Philippe Daniel รองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ จากมหาวิทยาลัย du Maine ประเทศฝรั่งเศส เป็นวิทยากรบรรยายเรื่อง Raman Spectroscopy and Its Applications for Scientific Research ซึ่งส่วนหนึ่งของเนื้อหาการบรรยาย ได้จากผลการวิจัยที่ดำเนินการไปแล้วภายใต้โครงการความร่วมมือไทย-ฝรั่งเศส นอกจากนั้น ยังมีการแนะนำมหาวิทยาลัย ตลอดจนการศึกษาระดับปริญญาเอกด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในประเทศฝรั่งเศส ให้อาจารย์และบุคลากรของ มรภ.สงขลา ได้รับทราบ รวมทั้งเสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อขยายผลความร่วมมือของโครงการวิจัย ที่ต่อเนื่องจากที่เคยดำเนินการมาแล้ว โดยเปิดโอกาสให้นักวิจัยที่สนใจ เข้าร่วมโครงการพัฒนางานวิจัยใหม่ๆ และมีความเป็นไปได้ที่จะสร้างความร่วมมือในรูปแบบอื่นๆ เช่น การพัฒนาอาจารย์และบุคลากร ซึ่งจากความร่วมมือดังกล่าวจะส่งผลให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตลอดจนมีโอกาสได้สร้างผลงานร่วมกับนักวิจัยที่มีชื่อเสียงระดับนานาชาติ
ด้าน ดร.พลพัฒน์ รวมเจริญ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มรภ.สงขลา กล่าวว่า ที่ผ่านมาตนได้รับการสนับสนุนจากทางคณะฯ ทำงานวิจัยในโครงการความร่วมมือไทย-ฝรั่งเศส เป็นระยะเวลา 4 ปี ภายใต้โครงการวิจัย 2 โครงการ โดยในช่วงระยะเวลา 2 ปีแรก (พ.ศ.2552-2553) ได้รับอนุมัติงบประมาณให้ทำโครงการวิจัยเรื่อง An insight of functional polymers for nano-detection of food pathogens พร้อมกับคณะนักวิจัยฝ่ายไทยจาก มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ มรภ.สงขลา สำหรับประเทศฝรั่งเศส ได้แก่ มหาวิทยาลัย du Maine, Nantes และ Reims ผลสืบเนื่องจากการดำเนินการภายใต้โครงการดังกล่าว ทำให้มีกิจกรรมทางวิชาการเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก โดยคณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี มรภ.สงขลา ได้เชิญ Prof. Philippe Daniel ซึ่งเป็นหัวหน้าโครงการ ขณะนั้นดำรงตำแหน่งรองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัย du Maine พร้อมด้วยคณะวิทยากรฝรั่งเศส 4 ท่าน บรรยายให้ความรู้แก่อาจารย์และบุคลากรของคณะฯ เกี่ยวกับงานวิจัยที่กำลังดำเนินการอยู่ โดยจัดขึ้นเมื่อวันที่ 26-27 พฤศจิกายน 2552 ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่ทางคณะฯ จัดสัมมนาโดยเชิญนักวิจัยจากประเทศฝรั่งเศส เป็นวิทยากร ขณะเดียวกันได้เปิดโอกาสให้ตนเองเดินทางไปทำวิจัยที่ประเทศฝรั่งเศส ในช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2553
ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ มรภ.สงขลา กล่าวอีกว่า ในปี 2554-2555 คณะผู้วิจัยยังได้รับทุนสนับสนุนให้ดำเนินการวิจัยเรื่อง Functional silica nano-particle aiming at bulk modification and functional coating of polymeric materials and fibers และจากโครงการความร่วมมือครั้งที่ 2 นี้ เป็นโอกาสให้ตนเองได้ทางไปทำวิจัยที่มหาวิทยาลัย du Maine อีกครั้ง ในปี 2555 ซึ่งการเดินทางไปครั้งนี้ นอกจากจะได้ทำวิจัยแล้ว ยังมีโอกาสได้เยี่ยมชมการดำเนินงานด้านการวิจัยที่มหาวิทยาลัย Nancy ด้วย คาดว่าทางคณะฯ จะสร้างความร่วมมือทางวิชาการกับมหาวิทยาลัย Nancy ในอนาคต ทั้งนี้ ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศมหาอำนาจทางการศึกษาของยุโรป มีความสัมพันธ์ที่ดีกับประเทศไทยเป็นเวลาอันยาวนาน ทั้งสองประเทศได้มีโครงการความร่วมมือหลายโครงการ ซึ่งโครงการวิจัยร่วมระหว่างไทย-ฝรั่งเศส เป็นโครงการที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนาความร่วมมือว่าด้วยอุดมศึกษาและการวิจัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการส่งเสริมการแลกเปลี่ยนนักวิจัย และนักศึกษา ซึ่งโครงการที่ได้รับเลือกจะได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากฝ่ายไทยและฝรั่งเศส.
‘มรภ.สงขลา-ฝรั่งเศส’ จับมือสร้างงานวิจัย
คณะวิทย์ฯ มรภ.สงขลา จับมือมหาวิทยาลัยในฝรั่งเศส ปั้นนักวิจัยหน้าใหม่ เตรียมขยายผลสร้างงานวิชาการ ร่วมกับนักวิจัยที่มีชื่อเสียงระดับนานาชาติ
ดร.พิพัฒน์ ลิมปนะพิทยาธร คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ทางคณะฯ ได้เชิญ Prof. Philippe Daniel รองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ จากมหาวิทยาลัย du Maine ประเทศฝรั่งเศส เป็นวิทยากรบรรยายเรื่อง Raman Spectroscopy and Its Applications for Scientific Research ซึ่งส่วนหนึ่งของเนื้อหาการบรรยาย ได้จากผลการวิจัยที่ดำเนินการไปแล้วภายใต้โครงการความร่วมมือไทย-ฝรั่งเศส นอกจากนั้น ยังมีการแนะนำมหาวิทยาลัย ตลอดจนการศึกษาระดับปริญญาเอกด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในประเทศฝรั่งเศส ให้อาจารย์และบุคลากรของ มรภ.สงขลา ได้รับทราบ รวมทั้งเสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อขยายผลความร่วมมือของโครงการวิจัย ที่ต่อเนื่องจากที่เคยดำเนินการมาแล้ว โดยเปิดโอกาสให้นักวิจัยที่สนใจ เข้าร่วมโครงการพัฒนางานวิจัยใหม่ๆ และมีความเป็นไปได้ที่จะสร้างความร่วมมือในรูปแบบอื่นๆ เช่น การพัฒนาอาจารย์และบุคลากร ซึ่งจากความร่วมมือดังกล่าวจะส่งผลให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตลอดจนมีโอกาสได้สร้างผลงานร่วมกับนักวิจัยที่มีชื่อเสียงระดับนานาชาติ
ด้าน ดร.พลพัฒน์ รวมเจริญ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มรภ.สงขลา กล่าวว่า ที่ผ่านมาตนได้รับการสนับสนุนจากทางคณะฯ ทำงานวิจัยในโครงการความร่วมมือไทย-ฝรั่งเศส เป็นระยะเวลา 4 ปี ภายใต้โครงการวิจัย 2 โครงการ โดยในช่วงระยะเวลา 2 ปีแรก (พ.ศ.2552-2553) ได้รับอนุมัติงบประมาณให้ทำโครงการวิจัยเรื่อง An insight of functional polymers for nano-detection of food pathogens พร้อมกับคณะนักวิจัยฝ่ายไทยจาก มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ มรภ.สงขลา สำหรับประเทศฝรั่งเศส ได้แก่ มหาวิทยาลัย du Maine, Nantes และ Reims ผลสืบเนื่องจากการดำเนินการภายใต้โครงการดังกล่าว ทำให้มีกิจกรรมทางวิชาการเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก โดยคณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี มรภ.สงขลา ได้เชิญ Prof. Philippe Daniel ซึ่งเป็นหัวหน้าโครงการ ขณะนั้นดำรงตำแหน่งรองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัย du Maine พร้อมด้วยคณะวิทยากรฝรั่งเศส 4 ท่าน บรรยายให้ความรู้แก่อาจารย์และบุคลากรของคณะฯ เกี่ยวกับงานวิจัยที่กำลังดำเนินการอยู่ โดยจัดขึ้นเมื่อวันที่ 26-27 พฤศจิกายน 2552 ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่ทางคณะฯ จัดสัมมนาโดยเชิญนักวิจัยจากประเทศฝรั่งเศส เป็นวิทยากร ขณะเดียวกันได้เปิดโอกาสให้ตนเองเดินทางไปทำวิจัยที่ประเทศฝรั่งเศส ในช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2553
ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ มรภ.สงขลา กล่าวอีกว่า ในปี 2554-2555 คณะผู้วิจัยยังได้รับทุนสนับสนุนให้ดำเนินการวิจัยเรื่อง Functional silica nano-particle aiming at bulk modification and functional coating of polymeric materials and fibers และจากโครงการความร่วมมือครั้งที่ 2 นี้ เป็นโอกาสให้ตนเองได้ทางไปทำวิจัยที่มหาวิทยาลัย du Maine อีกครั้ง ในปี 2555 ซึ่งการเดินทางไปครั้งนี้ นอกจากจะได้ทำวิจัยแล้ว ยังมีโอกาสได้เยี่ยมชมการดำเนินงานด้านการวิจัยที่มหาวิทยาลัย Nancy ด้วย คาดว่าทางคณะฯ จะสร้างความร่วมมือทางวิชาการกับมหาวิทยาลัย Nancy ในอนาคต ทั้งนี้ ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศมหาอำนาจทางการศึกษาของยุโรป มีความสัมพันธ์ที่ดีกับประเทศไทยเป็นเวลาอันยาวนาน ทั้งสองประเทศได้มีโครงการความร่วมมือหลายโครงการ ซึ่งโครงการวิจัยร่วมระหว่างไทย-ฝรั่งเศส เป็นโครงการที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนาความร่วมมือว่าด้วยอุดมศึกษาและการวิจัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการส่งเสริมการแลกเปลี่ยนนักวิจัย และนักศึกษา ซึ่งโครงการที่ได้รับเลือกจะได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากฝ่ายไทยและฝรั่งเศส.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
There is no related posts.