คณะมนุษยศาสตร์ฯ มรภ.สงขลา เดินหน้าสร้างเครือข่ายทางวิชาการกับต่างประเทศ เล็งลงนามความร่วมมือ ม.อุตระมาเลเซีย แลกเปลี่ยนนักศึกษา บุคลากร ลงทุนทำวิจัยร่วมกัน
ผศ.นาถนเรศ อาคาสุวรรณ คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดเผยถึงการเดินทางไปสร้างความร่วมมือทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยอุตระมาเลเซีย (Universiti Utara Malaysia) เมื่อเร็วๆ นี้ว่า วัตถุประสงค์เพื่อสร้างเครือข่ายด้านวิชาการและกิจกรรมอื่นๆ ทั้งยังเป็นโอกาสในการศึกษาแนวทางการบริหารและการจัดการทางวิชาการขององค์กรต่างประเทศ และเป็นแนวทางปฏิบัติในการยกระดับคุณภาพและมาตรฐานการจัดการศึกษาสู่สากล ซึ่งคณะผู้บริหารของคณะมนุษยศาสตร์ฯ เข้าพบกับ รศ.ดร.มูฮัมหมัด ฟาไรซอล ราเจมี่ ผู้อำนวยการศูนย์วิเทศสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างประเทศ (Centre of International Affairs and Cooperation : CIAC) และคณะ โดยได้หารือในหลายประเด็นของความร่วมมือที่สามารถเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ ได้แก่ การลงนามความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) ระหว่างคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มรภ.สงขลา กับมหาวิทยาลัยอุตระมาเลเซีย เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือที่ชัดเจนและมีหลักการ โดยทางมหาวิทยาลัยอุตระมาเลเซีย จะส่งร่าง MOU มาให้ มรภ.สงขลา ตรวจสอบในรายละเอียดข้อกำหนดต่างๆ เมื่อเป็นที่ตกลงระหว่างสองสถาบันแล้วจะดำเนินการลงนามในระดับมหาวิทยาลัยต่อไป
ผศ.นาถนเรศ กล่าวว่า ในโอกาสเดียวกันนี้ยังมีการหารือเกี่ยวกับกิจกรรมที่สามารถดำเนินภายใต้การลงนามความร่วมมือทางวิชาการ ซึ่งมหาวิทยาลัยอุตระมาเลเซียเสนอกิจกรรมต่างๆ ที่สามารถทำความร่วมมือระหว่างกันได้ เนื่องด้วยทั้งสองสถาบันตั้งอยู่ในระยะค่อนข้างใกล้กัน จึงง่ายต่อการดำเนินการ ซึ่งกิจกรรมที่ว่านี้คือ การแลกเปลี่ยนนักศึกษาระหว่างสองสถาบัน โดยให้นักศึกษาจาก มรภ.สงขลา เข้าเรียนและพักอาศัยในมหาวิทยาลัยอุตระมาเลเซียเป็นระยะเวลา 1 ภาคการศึกษา โดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายในเรื่องค่าลงทะเบียนและค่าที่พัก ขณะเดียวกันมหาวิทยาลัยอุตระมาเลเซียจะส่งนักศึกษาในจำนวนที่เท่ากันเพื่อเข้าเรียนและพักอาศัยใน มรภ.สงขลา โดยทาง มรภ.สงขลา จำเป็นต้องมีหนึ่งรายวิชาที่ดำเนินการเรียนการสอนโดยใช้ภาษาอังกฤษตลอดภาคการศึกษา และจะไม่เก็บค่าใช้จ่ายในเรื่องค่าลงทะเบียนและค่าที่พักกับนักศึกษามหาวิทยาลัยอุตระมาเลเซียเช่นกัน
ด้าน อ.ตะวัน รัตนประเสริฐ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ คณะมนุษยศาสตร์ฯ มรภ.สงขลา กล่าวบ้างว่า คณะจาก มรภ.สงขลา ที่เดินทางไปครั้งนี้ประกอบด้วย คณบดีคณะมนุษยศาสตร์ฯ รองคณบดีฝ่ายวิชาการและประกันคุณภาพการศึกษา รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ รองคณบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษา ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ ประธานโปรแกรมวิชาภาษาต่างประเทศ และ นักวิชาการโสตทัศนศึกษา โดยได้ร่วมหารือในเรื่องการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านบุคลากร ซึ่งมหาวิทยาลัยอุตระมาเลเซียยินดีที่จะให้บุคลากรของ มรภ.สงขลา เข้าศึกษาดูงานในด้านการดำเนินงานของศูนย์วิเทศสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างประเทศเป็นเวลา 1 สัปดาห์ พร้อมทั้งจัดหาที่พักในมหาวิทยาลัยให้โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ส่วนเรื่องความร่วมมือด้านการดำเนินงานวิจัย จะเป็นการรวมทุนการวิจัยระหว่างสถาบัน (Matching grant) กล่าว คือ แต่ละสถาบันจะให้เงินทุนการวิจัยในจำนวนที่เท่ากัน เช่น หาก มรภ.สงขลา ตกลงร่วมมือด้านการวิจัยกับมหาวิทยาลัยอุตระมาเลเซีย แต่ละสถาบันจะต้องร่วมลงทุนการวิจัยสถาบันละ 1,000 USD แล้วดำเนินการวิจัยร่วมกัน เป็นต้น
“ในส่วนของการแลกเปลี่ยนนักศึกษานั้น อาจมีโครงการฝึกอบรมระยะสั้นที่นักศึกษาสามารถเข้าร่วมได้ เป็นโครงการอบรมระยะสั้นในระยะเวลา 2-3 สัปดาห์ โดยเปิดโอกาสให้นักศึกษาเข้าอบรมเพื่อรับความรู้เพิ่มเติมในแง่ของภาษา รวมทั้งมีประสบการณ์ในการใช้ชีวิตต่างแดน” อ.ตะวัน กล่าว.
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
November 20, 2024
November 18, 2024
November 13, 2024
November 11, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
มรภ.สงขลา สร้างเครือข่ายทางวิชาการ ม.อุตระมาเลเซีย เล็งทำความร่วมมือแลกเปลี่ยนบุคลากร-งานวิจัย
คณะมนุษยศาสตร์ฯ มรภ.สงขลา เดินหน้าสร้างเครือข่ายทางวิชาการกับต่างประเทศ เล็งลงนามความร่วมมือ ม.อุตระมาเลเซีย แลกเปลี่ยนนักศึกษา บุคลากร ลงทุนทำวิจัยร่วมกัน
ผศ.นาถนเรศ อาคาสุวรรณ คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดเผยถึงการเดินทางไปสร้างความร่วมมือทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยอุตระมาเลเซีย (Universiti Utara Malaysia) เมื่อเร็วๆ นี้ว่า วัตถุประสงค์เพื่อสร้างเครือข่ายด้านวิชาการและกิจกรรมอื่นๆ ทั้งยังเป็นโอกาสในการศึกษาแนวทางการบริหารและการจัดการทางวิชาการขององค์กรต่างประเทศ และเป็นแนวทางปฏิบัติในการยกระดับคุณภาพและมาตรฐานการจัดการศึกษาสู่สากล ซึ่งคณะผู้บริหารของคณะมนุษยศาสตร์ฯ เข้าพบกับ รศ.ดร.มูฮัมหมัด ฟาไรซอล ราเจมี่ ผู้อำนวยการศูนย์วิเทศสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างประเทศ (Centre of International Affairs and Cooperation : CIAC) และคณะ โดยได้หารือในหลายประเด็นของความร่วมมือที่สามารถเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ ได้แก่ การลงนามความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) ระหว่างคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มรภ.สงขลา กับมหาวิทยาลัยอุตระมาเลเซีย เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือที่ชัดเจนและมีหลักการ โดยทางมหาวิทยาลัยอุตระมาเลเซีย จะส่งร่าง MOU มาให้ มรภ.สงขลา ตรวจสอบในรายละเอียดข้อกำหนดต่างๆ เมื่อเป็นที่ตกลงระหว่างสองสถาบันแล้วจะดำเนินการลงนามในระดับมหาวิทยาลัยต่อไป
ผศ.นาถนเรศ กล่าวว่า ในโอกาสเดียวกันนี้ยังมีการหารือเกี่ยวกับกิจกรรมที่สามารถดำเนินภายใต้การลงนามความร่วมมือทางวิชาการ ซึ่งมหาวิทยาลัยอุตระมาเลเซียเสนอกิจกรรมต่างๆ ที่สามารถทำความร่วมมือระหว่างกันได้ เนื่องด้วยทั้งสองสถาบันตั้งอยู่ในระยะค่อนข้างใกล้กัน จึงง่ายต่อการดำเนินการ ซึ่งกิจกรรมที่ว่านี้คือ การแลกเปลี่ยนนักศึกษาระหว่างสองสถาบัน โดยให้นักศึกษาจาก มรภ.สงขลา เข้าเรียนและพักอาศัยในมหาวิทยาลัยอุตระมาเลเซียเป็นระยะเวลา 1 ภาคการศึกษา โดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายในเรื่องค่าลงทะเบียนและค่าที่พัก ขณะเดียวกันมหาวิทยาลัยอุตระมาเลเซียจะส่งนักศึกษาในจำนวนที่เท่ากันเพื่อเข้าเรียนและพักอาศัยใน มรภ.สงขลา โดยทาง มรภ.สงขลา จำเป็นต้องมีหนึ่งรายวิชาที่ดำเนินการเรียนการสอนโดยใช้ภาษาอังกฤษตลอดภาคการศึกษา และจะไม่เก็บค่าใช้จ่ายในเรื่องค่าลงทะเบียนและค่าที่พักกับนักศึกษามหาวิทยาลัยอุตระมาเลเซียเช่นกัน
ด้าน อ.ตะวัน รัตนประเสริฐ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ คณะมนุษยศาสตร์ฯ มรภ.สงขลา กล่าวบ้างว่า คณะจาก มรภ.สงขลา ที่เดินทางไปครั้งนี้ประกอบด้วย คณบดีคณะมนุษยศาสตร์ฯ รองคณบดีฝ่ายวิชาการและประกันคุณภาพการศึกษา รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ รองคณบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษา ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ ประธานโปรแกรมวิชาภาษาต่างประเทศ และ นักวิชาการโสตทัศนศึกษา โดยได้ร่วมหารือในเรื่องการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านบุคลากร ซึ่งมหาวิทยาลัยอุตระมาเลเซียยินดีที่จะให้บุคลากรของ มรภ.สงขลา เข้าศึกษาดูงานในด้านการดำเนินงานของศูนย์วิเทศสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างประเทศเป็นเวลา 1 สัปดาห์ พร้อมทั้งจัดหาที่พักในมหาวิทยาลัยให้โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ส่วนเรื่องความร่วมมือด้านการดำเนินงานวิจัย จะเป็นการรวมทุนการวิจัยระหว่างสถาบัน (Matching grant) กล่าว คือ แต่ละสถาบันจะให้เงินทุนการวิจัยในจำนวนที่เท่ากัน เช่น หาก มรภ.สงขลา ตกลงร่วมมือด้านการวิจัยกับมหาวิทยาลัยอุตระมาเลเซีย แต่ละสถาบันจะต้องร่วมลงทุนการวิจัยสถาบันละ 1,000 USD แล้วดำเนินการวิจัยร่วมกัน เป็นต้น
“ในส่วนของการแลกเปลี่ยนนักศึกษานั้น อาจมีโครงการฝึกอบรมระยะสั้นที่นักศึกษาสามารถเข้าร่วมได้ เป็นโครงการอบรมระยะสั้นในระยะเวลา 2-3 สัปดาห์ โดยเปิดโอกาสให้นักศึกษาเข้าอบรมเพื่อรับความรู้เพิ่มเติมในแง่ของภาษา รวมทั้งมีประสบการณ์ในการใช้ชีวิตต่างแดน” อ.ตะวัน กล่าว.
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ เปิด”มุมหนังสือนายกสภามหาวิทยาลัย” ณ ห้องสมุด ศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล
November 20, 2024
มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ จับมือ WeStride เปิดตัว “FutureX” หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ออนไลน์ ...
November 18, 2024
โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดรับสมัครนักเรียนระดับบ้านสาธิตปฐมวัยและระดับปฐมวัย (อนุบาล 1) ปีการศึกษา ...
November 13, 2024
มรภ.สงขลา นำผลงานนวัตกรรม นศ.เกษตร “เครื่องหยอดเมล็ดข้าว-กิมจิเห็ดนางฟ้า-ข้าวเกรียบเห็ดรสกิมจิ” ถ่ายทอดสู่ชุมชน
November 11, 2024