ค่ำวันที่ 18 พ.ย.60 อำเภอศีขรภูมิ ร่วมกับเทศบาลตำบลศีขรภูมิ จัดให้มีการแสดง แสง เสียง สืบสานตำนานพันปีปราสาทศีขรภูมิ ชุด ” ศีขรินทราเทวาลัย มนต์ไผทพุทธานุภาพ ” ซึ่งเป็นการจัดงานขึ้นเป็นประจำทุกปีของเดือน พ.ย. ซึ่งตรงกับงานช้างของจังหวัดสุรินทร์ ปีนี้จัดขึ้นในวันที่ 17-18 พ.ย.60 วัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดสุรินทร์และเป็นการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นให้คงอยู่สืบไป โดยมีนายอรรถพร สิงหวิชัย ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ เป็นประธานเปิดงาน
ทั้งนี้มีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติและคนไทยจากทั่วประเทศพากันมาชมองค์ปราสาท ซึ่งมีอายุมากกว่า 1 พันปี ในยุคสมัยขอมเรืองอำนาจ และจำหน่ายของฝากของที่ระลึกของดีศีขรภูมิภายในงานอีกด้วย โดยปีนี้ถือว่าจัดอย่างยิ่งใหญ่กว่าทุกปี มีขบวนแห่ศิลปวัฒนธรรมพื้นเมือง จำลองวิถีชีวิตกลุ่มชุมชนชาวเขมร ลาว กุย และ จีน มีพิธีบวงสรวงองค์ปราสาทศีขรภูมิ จัดนิทรรศการแสดงวิถีชีวิตวัฒนธรรมของชุมชนชาวพื้นเมืองดั้งเดิม มีการแสดงจากสถานศึกษาต่างๆ ในเขตเทศบาล การแสดงดนตรีไทยไฮไลท์ของงานคือ การแสดงประกอบ แสง สี เสียง ที่ยิ่งใหญ่อลังการ ในปีนี้มีชื่อว่า ชุด “ศีขรินทราเทวาลัย มนต์ไผทพุทธานุภาพ” ใช้นักแสดงกว่า 100 คน ซึ่งได้รับการกล่าวขานจากผู้ที่เข้าชมงานว่ามีความอ่อนช้อยและสวยงามเหมือนนางรำในยุคสมัยนั้น มาแสดงให้ชม ปราสาทศีขรภูมิหรือปราสาทบ้านระแงง ตั้งอยู่ที่บ้านปราสาท ต.ระแงง อ.ศีขรภูมิ ห่างจากตัวเมืองจังหวัดสุรินทร์ประมาณ 34 กิโลเมตร ถนนสุรินทร์-ศรีสะเกษ มีลักษณะเป็นปรางค์หมู่ 5 องค์ เป็นปราสาทก่ออิฐไม่สอปูนตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงเดียวกัน โดยตัวฐานก่อด้วยศิลาแลง กว้าง 25 เมตร ยาว 26 เมตร สูง 1.5 เมตร โดยมีคูน้ำกว้าง 125 เมตร ล้อมรอบสามด้าน โดยเว้นด้านตะวันออกอันเป็นทางเข้าไว้ ปรางค์ประธานสูงประมาณ 32 เมตร ทับหลังเป็นภาพพระศิวนาฏราชสิบกร ทรงฟ้อนรำอยู่เหนือเกียรติมุข ภายใต้วงโค้งลายท่อนมาลัย ซึ่งสลักเป็นภาพพระคเณศ พระพรหม พระวิษณุ และพระอุมา โดยทับหลังชิ้นนี้นับเป็นทับหลังที่มีความสวยงามและสมบูรณ์ที่สุดชิ้นหนึ่งของเมืองไทย บริเวณเสากรอบประตูสลักเป็นรูปนางอัปสรถือดอกบัว และทวารบาลยืนกุมกระบอง ซึ่งนางอัปสราที่ปราสาทศีขรภูมินี้มีลักษณะคล้ายกับนางอัปสราที่ปราสาทนครวัด ประเทศกัมพูชา ซึ่งไม่พบที่ปราสาทศิลปะเขมรโบราณแห่งใดอีกเลยในประเทศไทย พบที่ปราสาทศีขรภูมิเพียงแห่งเดียวเท่านั้นส่วนปรางค์บริเวณทับหลัง 2 ชิ้น ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย เป็นภาพกฤษณอวตารทั้ง 2 ชิ้น ชิ้นหนึ่งเป็นภาพกฤษณะฆ่าช้างและราชสีห์ ส่วนอีกชิ้นหนึ่งเป็นภาพกฤษณะฆ่าราชสีห์ มีลักษณะปนกันระหว่างศิลปะขอมแบบปาปวน (1550-1650) และแบบนครวัด (1650-1700) ปราสาทแห่งนี้สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษต้นสมัยนครวัด สร้างขึ้นในศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกาย มีการบูรณปฏิสังขรณ์ในราวพุทธศตวรรษที่ 22 ในสมัยอยุธยาตอนปลาย
ซึ่งการแสดงในครั้งนี้ ได้ร้อยเรียงเรื่องราว ปราสาทศีขรภูมิ ตั้งแต่ยุคแรกของการก่อสร้าง ในศาสนาฮินดู เชิดชู นางอัปสรา จำหลักองค์เดียว ในปราสาทขอม ที่มีในประเทศไทยของเรา มาถึงยุคของ พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ซึ่งปราสาทศีขรภูมิแห่งนี้เป็นศูนย์กลางในการส่งสมุนไพร และพิธีกรรมต่างๆทางพระพุทธศาสนา นิกายมหายาน ก้าวสู่ยุคลานช้าง มีการจารึกอักษรธรรม ในองค์ปราสาท เล่าถึงการบูรณะ องค์ปราสาท ให้เป็นวัฒนธรรมลาว เพื่อส่งเสริมให้เป็นพระพุทธศนาสนา นิกายเถระวาท จากเปลี่ยนอิทธิพลลานช้าง มาสู่อิทธิพลของกรุงศรีอยุธยา ซึ่งปราสาทศีขรภูมิได้ปรับปรุงมาเป็นวัด และมีเจ้าเมือง มาปกครอง และเรื่องสุดท้ายเป็นเรื่องราวของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวกูย ชาวลาว และชาวเขมร อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ทำให้สามารถรักษาองค์ปราสาทศีขรภูมิเอาไว้ได้อย่างยั่งยืนตลอดไป และคงอยู่คู่ประเทศไทย.
ประนนท์ ไม้หอม / ส.ปชส.สุรินทร์/รายงาน
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
November 21, 2024
November 20, 2024
November 19, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
สุดอลังการการแสดง แสง เสียง สืบสานตำนานพันปีปราสาทศีขรภูมิ จ.สุรินทร์ ชุด ” ศีขรินทราเทวาลัย มนต์ไผทพุทธานุภาพ”
ค่ำวันที่ 18 พ.ย.60 อำเภอศีขรภูมิ ร่วมกับเทศบาลตำบลศีขรภูมิ จัดให้มีการแสดง แสง เสียง สืบสานตำนานพันปีปราสาทศีขรภูมิ ชุด ” ศีขรินทราเทวาลัย มนต์ไผทพุทธานุภาพ ” ซึ่งเป็นการจัดงานขึ้นเป็นประจำทุกปีของเดือน พ.ย. ซึ่งตรงกับงานช้างของจังหวัดสุรินทร์ ปีนี้จัดขึ้นในวันที่ 17-18 พ.ย.60 วัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดสุรินทร์และเป็นการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นให้คงอยู่สืบไป โดยมีนายอรรถพร สิงหวิชัย ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ เป็นประธานเปิดงาน
ทั้งนี้มีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติและคนไทยจากทั่วประเทศพากันมาชมองค์ปราสาท ซึ่งมีอายุมากกว่า 1 พันปี ในยุคสมัยขอมเรืองอำนาจ และจำหน่ายของฝากของที่ระลึกของดีศีขรภูมิภายในงานอีกด้วย โดยปีนี้ถือว่าจัดอย่างยิ่งใหญ่กว่าทุกปี มีขบวนแห่ศิลปวัฒนธรรมพื้นเมือง จำลองวิถีชีวิตกลุ่มชุมชนชาวเขมร ลาว กุย และ จีน มีพิธีบวงสรวงองค์ปราสาทศีขรภูมิ จัดนิทรรศการแสดงวิถีชีวิตวัฒนธรรมของชุมชนชาวพื้นเมืองดั้งเดิม มีการแสดงจากสถานศึกษาต่างๆ ในเขตเทศบาล การแสดงดนตรีไทยไฮไลท์ของงานคือ การแสดงประกอบ แสง สี เสียง ที่ยิ่งใหญ่อลังการ ในปีนี้มีชื่อว่า ชุด “ศีขรินทราเทวาลัย มนต์ไผทพุทธานุภาพ” ใช้นักแสดงกว่า 100 คน ซึ่งได้รับการกล่าวขานจากผู้ที่เข้าชมงานว่ามีความอ่อนช้อยและสวยงามเหมือนนางรำในยุคสมัยนั้น มาแสดงให้ชม
ปราสาทศีขรภูมิหรือปราสาทบ้านระแงง ตั้งอยู่ที่บ้านปราสาท ต.ระแงง อ.ศีขรภูมิ ห่างจากตัวเมืองจังหวัดสุรินทร์ประมาณ 34 กิโลเมตร ถนนสุรินทร์-ศรีสะเกษ มีลักษณะเป็นปรางค์หมู่ 5 องค์ เป็นปราสาทก่ออิฐไม่สอปูนตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงเดียวกัน โดยตัวฐานก่อด้วยศิลาแลง กว้าง 25 เมตร ยาว 26 เมตร สูง 1.5 เมตร โดยมีคูน้ำกว้าง 125 เมตร ล้อมรอบสามด้าน โดยเว้นด้านตะวันออกอันเป็นทางเข้าไว้ ปรางค์ประธานสูงประมาณ 32 เมตร ทับหลังเป็นภาพพระศิวนาฏราชสิบกร ทรงฟ้อนรำอยู่เหนือเกียรติมุข ภายใต้วงโค้งลายท่อนมาลัย ซึ่งสลักเป็นภาพพระคเณศ พระพรหม พระวิษณุ และพระอุมา โดยทับหลังชิ้นนี้นับเป็นทับหลังที่มีความสวยงามและสมบูรณ์ที่สุดชิ้นหนึ่งของเมืองไทย บริเวณเสากรอบประตูสลักเป็นรูปนางอัปสรถือดอกบัว และทวารบาลยืนกุมกระบอง ซึ่งนางอัปสราที่ปราสาทศีขรภูมินี้มีลักษณะคล้ายกับนางอัปสราที่ปราสาทนครวัด ประเทศกัมพูชา ซึ่งไม่พบที่ปราสาทศิลปะเขมรโบราณแห่งใดอีกเลยในประเทศไทย พบที่ปราสาทศีขรภูมิเพียงแห่งเดียวเท่านั้นส่วนปรางค์บริเวณทับหลัง 2 ชิ้น ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย เป็นภาพกฤษณอวตารทั้ง 2 ชิ้น ชิ้นหนึ่งเป็นภาพกฤษณะฆ่าช้างและราชสีห์ ส่วนอีกชิ้นหนึ่งเป็นภาพกฤษณะฆ่าราชสีห์ มีลักษณะปนกันระหว่างศิลปะขอมแบบปาปวน (1550-1650) และแบบนครวัด (1650-1700) ปราสาทแห่งนี้สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษต้นสมัยนครวัด สร้างขึ้นในศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกาย มีการบูรณปฏิสังขรณ์ในราวพุทธศตวรรษที่ 22 ในสมัยอยุธยาตอนปลาย
ซึ่งการแสดงในครั้งนี้ ได้ร้อยเรียงเรื่องราว ปราสาทศีขรภูมิ ตั้งแต่ยุคแรกของการก่อสร้าง ในศาสนาฮินดู เชิดชู นางอัปสรา จำหลักองค์เดียว ในปราสาทขอม ที่มีในประเทศไทยของเรา มาถึงยุคของ พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ซึ่งปราสาทศีขรภูมิแห่งนี้เป็นศูนย์กลางในการส่งสมุนไพร และพิธีกรรมต่างๆทางพระพุทธศาสนา นิกายมหายาน ก้าวสู่ยุคลานช้าง มีการจารึกอักษรธรรม ในองค์ปราสาท เล่าถึงการบูรณะ องค์ปราสาท ให้เป็นวัฒนธรรมลาว เพื่อส่งเสริมให้เป็นพระพุทธศนาสนา นิกายเถระวาท จากเปลี่ยนอิทธิพลลานช้าง มาสู่อิทธิพลของกรุงศรีอยุธยา ซึ่งปราสาทศีขรภูมิได้ปรับปรุงมาเป็นวัด และมีเจ้าเมือง มาปกครอง และเรื่องสุดท้ายเป็นเรื่องราวของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวกูย ชาวลาว และชาวเขมร อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ทำให้สามารถรักษาองค์ปราสาทศีขรภูมิเอาไว้ได้อย่างยั่งยืนตลอดไป และคงอยู่คู่ประเทศไทย.
ประนนท์ ไม้หอม / ส.ปชส.สุรินทร์/รายงาน
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมสืบสานประเพณีลอยกระทง สร้างความสุขทั่วอำเภอขนอม
November 21, 2024
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมส่งเสริมสุขภาพชุมชน สนับสนุนอบรม อสม.ใหม่/ทดแทน
November 21, 2024
อบจ.สงขลา ร่วมรับรางวัลประกาศเกียรติคุณ “ค่าของแผ่นดิน” ประจำปี 2566 ด้านการพัฒนาสังคมและส่งเสริมคุณภาพชีวิต จากโครงการ ...
November 20, 2024
อโกด้าเผย หาดใหญ่คว้าแชมป์เมืองท่องเที่ยวที่คุ้มค่าที่สุดในไทย ช่วงเทศกาลส่งท้ายปี
November 19, 2024