มรภ.สงขลา ทำโครงการสร้างความเข้าใจกลุ่มเครือข่ายชายแดนใต้ พัฒนาการประชาสัมพันธ์ออนไลน์สำหรับเยาวชน หวังสร้างต้นแบบการสื่อสารเชิงบวก นำไปสู่ความรักในพื้นที่ปลายด้ามขวาน
ดร.อาชารินทร์ แป้นสุข ผู้จัดการองค์กรพิเศษเครือข่ายภาคประชาสังคมเยาวชนการสื่อสารชายแดนใต้สู่สันติสุข มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ น.ส.ทิพวรรณ ศรีแก้ว นักศึกษาชั้นปีที่ 2 โปรแกรมนิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มรภ.สงขลา และคณะ ได้รับงบประมาณสนับสนุนในประเด็นที่ 3 งานสร้างความเข้าใจทั้งในและต่างประเทศและเรื่องสิทธิมนุษยชน เป็นเงิน 250,000 บาท จากผลงานโครงการ “การสร้างความเข้าใจกลุ่มเครือข่ายชายแดนใต้ในการพัฒนาการประชาสัมพันธ์ออนไลน์สำหรับเยาวชนในการประชาสัมพันธ์เชิงบวกของเครือข่ายภาคประชาสังคม” ซึ่งเป็นโครงการที่ 1 จาก 856 โครงการ ที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) และผู้แทนพิเศษคณะรัฐมนตรี ภายใต้การสนับสนุนของอธิการบดี ผศ.ดร.นิวัต กลิ่นงาม และตนในฐานะที่ปรึกษาฯ
ดร.อาชารินทร์ กล่าวว่า การสื่อสารมวลชนภาคประชาสังคมของเยาวชนในพื้นที่ เป็นการสื่อสารเพื่อก่อเกิดความรักความเข้าใจ นำไปสู่สันติสุขในชายแดนใต้ ก่อเกิดวัฒนธรรม การปรองดอง การประนีประนอม และเป็นช่องทางหนึ่งของการแก้ไขวิกฤต ซึ่งจะต้องเริ่มต้นและจบลงด้วยความรัก ทั้งนี้ กลุ่มเครือข่ายชายแดนใต้ฯ ประกอบด้วย เครือข่ายเยาวชนมหาวิทยาลัยที่มีภูมิลำเนาหรืออาศัยในพื้นที่ จ.ยะลา ปัตตานี และ นราธิวาส จำนวน 230 คน ในบริบทของการสนับสนุนนโยบายการแก้ไขปัญหาและพัฒนาพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ (จชต.) ของรัฐบาล เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์สื่อกลางของการพูดคุยเพื่อสันติสุข ซึ่งเป็นวาระแห่งชาติของสื่อภาคประชาสังคมเยาวชนในพื้นที่ ทำให้การพูดคุยเพื่อสันติสุขระหว่างรัฐและกลุ่มผู้เห็นต่างได้มีการสื่อประชาสัมพันธ์ในการรับรู้ข่าวสาร โดยมีเป้าหมายเมื่อทั้งสองฝ่ายบรรลุข้อตกลงร่วมกันแล้ว คือการดำเนินสื่อประชาสัมพันธ์เชิงบวกขององค์กรภาคประชาสังคมภาคเยาวชน ที่สามารถเชื่อมโยงกับองค์กรภาคประชาคมต่างๆ และชายแดนใต้
ประธานที่ปรึกษาคณะทำงานโครงการสร้างความเข้าใจกลุ่มเครือข่ายชายแดนใต้ฯ กล่าวอีกว่า โดยเฉพาะการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รับทราบข่าวสารผ่านเครือข่ายเยาวชน เพื่อหนุนเสริมกระบวนการพูดคุย อีกทั้งสร้างสภาวะแวดล้อมให้เกื้อกูลต่อการพูดคุยเพื่อสันติสุข ตามกรอบกระบวนการสันติภาพสากลโดยการสื่อสาร กลุ่มเป้าหมายคือกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและประชาชนทั่วไปได้ทราบและสร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อพื้นที่ชายแดนใต้ ดังนั้น การสื่อสารทำให้องค์กรภาคประชาสังคมลงไปรับฟังความคิดเห็นและความต้องการของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและประชาชน รวมทั้งสร้างการมีส่วนร่วมโดยตรงในหมู่บ้านให้มากที่สุด จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการสร้างสภาวะแวดล้อมให้เกื้อกูลต่อการพูดคุยในห้วงต่อไป เพื่อให้บรรลุผลในการพูดคุย
“ผลที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการคือ ก่อเกิดเยาวชนต้นแบบการสื่อสารกลุ่มเครือข่ายชายแดนใต้ฯนำไปสู่ความรักในพื้นที่ปลายด้ามขวาน และการสร้างสภาวะแวดล้อมให้เกื้อกูลต่อการพูดคุยเพื่อสันติสุขและองค์ความรู้สื่อภาคประชาสังคมของเยาวชนในพื้นที่บนฐานความรับฟังความคิดเห็น ความกังวล ความคาดหวังและข้อเสนอแนะ รวมทั้งสร้างการรับรู้ต่อกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุขในพื้นที่กับกลุ่มเป้าหมายหลักคือ กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้แก่ พี่น้องพุทธ มุสลิม ผู้นำศาสนา ผู้นำท้องที่ ผู้นำท้องถิ่น นักวิชาการ ภาคประชาสังคม NGOs กลุ่มสตรี เยาวชน นักธุรกิจ ผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ นักการเมือง นักธุรกิจ สื่อสารมวลชน ประชาชนระดับรากหญ้า และต้นแบบการสื่อสารในกระบวนทัศน์ใหม่ของกลุ่มเครือข่ายชายแดนใต้ในการพัฒนาการประชาสัมพันธ์ออนไลน์ รวมถึงมีเพจสำหรับการติดต่อสื่อสารสำหรับเยาวชนในการประชาสัมพันธ์เชิงบวกของเครือข่ายภาคประชาสังคม” ดร.อาชารินทร์ กล่าว.
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
November 20, 2024
November 18, 2024
November 13, 2024
November 11, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
มรภ.สงขลา สร้างความเข้าใจกลุ่มเครือข่ายชายแดนใต้ ปั้นเยาวชนต้นแบบทำประชาสัมพันธ์ออนไลน์เชิงบวก
มรภ.สงขลา ทำโครงการสร้างความเข้าใจกลุ่มเครือข่ายชายแดนใต้ พัฒนาการประชาสัมพันธ์ออนไลน์สำหรับเยาวชน หวังสร้างต้นแบบการสื่อสารเชิงบวก นำไปสู่ความรักในพื้นที่ปลายด้ามขวาน
ดร.อาชารินทร์ แป้นสุข ผู้จัดการองค์กรพิเศษเครือข่ายภาคประชาสังคมเยาวชนการสื่อสารชายแดนใต้สู่สันติสุข มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ น.ส.ทิพวรรณ ศรีแก้ว นักศึกษาชั้นปีที่ 2 โปรแกรมนิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มรภ.สงขลา และคณะ ได้รับงบประมาณสนับสนุนในประเด็นที่ 3 งานสร้างความเข้าใจทั้งในและต่างประเทศและเรื่องสิทธิมนุษยชน เป็นเงิน 250,000 บาท จากผลงานโครงการ “การสร้างความเข้าใจกลุ่มเครือข่ายชายแดนใต้ในการพัฒนาการประชาสัมพันธ์ออนไลน์สำหรับเยาวชนในการประชาสัมพันธ์เชิงบวกของเครือข่ายภาคประชาสังคม” ซึ่งเป็นโครงการที่ 1 จาก 856 โครงการ ที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) และผู้แทนพิเศษคณะรัฐมนตรี ภายใต้การสนับสนุนของอธิการบดี ผศ.ดร.นิวัต กลิ่นงาม และตนในฐานะที่ปรึกษาฯ
ดร.อาชารินทร์ กล่าวว่า การสื่อสารมวลชนภาคประชาสังคมของเยาวชนในพื้นที่ เป็นการสื่อสารเพื่อก่อเกิดความรักความเข้าใจ นำไปสู่สันติสุขในชายแดนใต้ ก่อเกิดวัฒนธรรม การปรองดอง การประนีประนอม และเป็นช่องทางหนึ่งของการแก้ไขวิกฤต ซึ่งจะต้องเริ่มต้นและจบลงด้วยความรัก ทั้งนี้ กลุ่มเครือข่ายชายแดนใต้ฯ ประกอบด้วย เครือข่ายเยาวชนมหาวิทยาลัยที่มีภูมิลำเนาหรืออาศัยในพื้นที่ จ.ยะลา ปัตตานี และ นราธิวาส จำนวน 230 คน ในบริบทของการสนับสนุนนโยบายการแก้ไขปัญหาและพัฒนาพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ (จชต.) ของรัฐบาล เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์สื่อกลางของการพูดคุยเพื่อสันติสุข ซึ่งเป็นวาระแห่งชาติของสื่อภาคประชาสังคมเยาวชนในพื้นที่ ทำให้การพูดคุยเพื่อสันติสุขระหว่างรัฐและกลุ่มผู้เห็นต่างได้มีการสื่อประชาสัมพันธ์ในการรับรู้ข่าวสาร โดยมีเป้าหมายเมื่อทั้งสองฝ่ายบรรลุข้อตกลงร่วมกันแล้ว คือการดำเนินสื่อประชาสัมพันธ์เชิงบวกขององค์กรภาคประชาสังคมภาคเยาวชน ที่สามารถเชื่อมโยงกับองค์กรภาคประชาคมต่างๆ และชายแดนใต้
ประธานที่ปรึกษาคณะทำงานโครงการสร้างความเข้าใจกลุ่มเครือข่ายชายแดนใต้ฯ กล่าวอีกว่า โดยเฉพาะการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รับทราบข่าวสารผ่านเครือข่ายเยาวชน เพื่อหนุนเสริมกระบวนการพูดคุย อีกทั้งสร้างสภาวะแวดล้อมให้เกื้อกูลต่อการพูดคุยเพื่อสันติสุข ตามกรอบกระบวนการสันติภาพสากลโดยการสื่อสาร กลุ่มเป้าหมายคือกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและประชาชนทั่วไปได้ทราบและสร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อพื้นที่ชายแดนใต้ ดังนั้น การสื่อสารทำให้องค์กรภาคประชาสังคมลงไปรับฟังความคิดเห็นและความต้องการของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและประชาชน รวมทั้งสร้างการมีส่วนร่วมโดยตรงในหมู่บ้านให้มากที่สุด จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการสร้างสภาวะแวดล้อมให้เกื้อกูลต่อการพูดคุยในห้วงต่อไป เพื่อให้บรรลุผลในการพูดคุย
“ผลที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการคือ ก่อเกิดเยาวชนต้นแบบการสื่อสารกลุ่มเครือข่ายชายแดนใต้ฯนำไปสู่ความรักในพื้นที่ปลายด้ามขวาน และการสร้างสภาวะแวดล้อมให้เกื้อกูลต่อการพูดคุยเพื่อสันติสุขและองค์ความรู้สื่อภาคประชาสังคมของเยาวชนในพื้นที่บนฐานความรับฟังความคิดเห็น ความกังวล ความคาดหวังและข้อเสนอแนะ รวมทั้งสร้างการรับรู้ต่อกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุขในพื้นที่กับกลุ่มเป้าหมายหลักคือ กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้แก่ พี่น้องพุทธ มุสลิม ผู้นำศาสนา ผู้นำท้องที่ ผู้นำท้องถิ่น นักวิชาการ ภาคประชาสังคม NGOs กลุ่มสตรี เยาวชน นักธุรกิจ ผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ นักการเมือง นักธุรกิจ สื่อสารมวลชน ประชาชนระดับรากหญ้า และต้นแบบการสื่อสารในกระบวนทัศน์ใหม่ของกลุ่มเครือข่ายชายแดนใต้ในการพัฒนาการประชาสัมพันธ์ออนไลน์ รวมถึงมีเพจสำหรับการติดต่อสื่อสารสำหรับเยาวชนในการประชาสัมพันธ์เชิงบวกของเครือข่ายภาคประชาสังคม” ดร.อาชารินทร์ กล่าว.
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ เปิด”มุมหนังสือนายกสภามหาวิทยาลัย” ณ ห้องสมุด ศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล
November 20, 2024
มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ จับมือ WeStride เปิดตัว “FutureX” หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ออนไลน์ ...
November 18, 2024
โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดรับสมัครนักเรียนระดับบ้านสาธิตปฐมวัยและระดับปฐมวัย (อนุบาล 1) ปีการศึกษา ...
November 13, 2024
มรภ.สงขลา นำผลงานนวัตกรรม นศ.เกษตร “เครื่องหยอดเมล็ดข้าว-กิมจิเห็ดนางฟ้า-ข้าวเกรียบเห็ดรสกิมจิ” ถ่ายทอดสู่ชุมชน
November 11, 2024