วันที่ 6 พฤศจิกายน 2560 เวลา 11.45 นาฬิกา ณ ห้องโถง ชั้น 1 อาคารรัฐสภา 2 ศาสตราจารย์พิเศษพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ รับหนังสือจาก นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย และคณะ ขอให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติเร่งรัดดำเนินการเพื่อให้การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม ซึ่งเป็น 1 ในการปฏิรูปประเทศในด้านต่าง ๆ 11 ด้านของรัฐบาลปรากฏผลเป็นรูปธรรมโดยเร็ว โดยเฉพาะการปฏิรูปศาลและวิธีพิจารณาคดีของศาลยุติธรรมซึ่งพบว่ามีการวิพากษ์วิจารณ์เป็นอย่างมากถึงปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการใช้อำนาจของศาลหรือผู้พิพากษา ไม่ว่าจะเป็นการใช้ดุลยพินิจอย่างอิสระและกว้างขวางโดยไม่กรอบจำกัด การใช้อำนาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาทั้งๆ ที่อ่านคำพิพากษาต่อหน้าคู่กรณีแล้ว การจัดทำคำพิพากษาที่ล่าช้าเกินสมควร เป็นต้น โดยคณะฯ ได้มีข้อเสนอ 4 ประการ ดังนี้ 1. สร้างความโปร่งใสในการดำเนินงานของศาลยุติธรรมและคำพิพากษาที่ให้ประชาชนเข้าใจได้ง่าย 2. สร้างระบบการรับเข้าทำงานอย่างโปร่งใสและระบบการให้ออกจากงานของผู้พิพากษาและตุลาการอย่างเด็ดขาด 3. สร้างระบบยุติธรรมที่มีความเป็นมืออาชีพและเป็นกลาง 4. สร้างกลไกการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตรวจสอบระบบการพิจารณาคดี ทั้งนี้ ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ กล่าวว่า ฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารไม่สามารถเข้าไปแทรกแซงการทำงานของศาลได้ เนื่องจากรัฐธรรมนูญรับประกันความเป็นอิสระในการทำงานของศาลในการพิจารณาคดี อย่างไรก็ตาม หากพบว่าผู้พิพากษาประพฤติมิชอบก็มีกระบวนการดำเนินการพิจารณาลงโทษอยู่แล้ว สำหรับคดีความต่างๆ หากพบปัญหาไม่ได้รับความยุติธรรมก็ไปยื่นเรื่องต่อองค์กรที่ดูแลอยู่ เช่น สภาทนายความได้.
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
November 21, 2024
November 20, 2024
November 19, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
สนช. รับหนังสือจากเลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย และคณะ ขอให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติเร่งรัดดำเนินการเพื่อให้การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม
วันที่ 6 พฤศจิกายน 2560 เวลา 11.45 นาฬิกา ณ ห้องโถง ชั้น 1 อาคารรัฐสภา 2 ศาสตราจารย์พิเศษพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ รับหนังสือจาก นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย และคณะ ขอให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติเร่งรัดดำเนินการเพื่อให้การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม ซึ่งเป็น 1 ในการปฏิรูปประเทศในด้านต่าง ๆ 11 ด้านของรัฐบาลปรากฏผลเป็นรูปธรรมโดยเร็ว โดยเฉพาะการปฏิรูปศาลและวิธีพิจารณาคดีของศาลยุติธรรมซึ่งพบว่ามีการวิพากษ์วิจารณ์เป็นอย่างมากถึงปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการใช้อำนาจของศาลหรือผู้พิพากษา ไม่ว่าจะเป็นการใช้ดุลยพินิจอย่างอิสระและกว้างขวางโดยไม่กรอบจำกัด การใช้อำนาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาทั้งๆ ที่อ่านคำพิพากษาต่อหน้าคู่กรณีแล้ว การจัดทำคำพิพากษาที่ล่าช้าเกินสมควร เป็นต้น โดยคณะฯ ได้มีข้อเสนอ 4 ประการ ดังนี้
1. สร้างความโปร่งใสในการดำเนินงานของศาลยุติธรรมและคำพิพากษาที่ให้ประชาชนเข้าใจได้ง่าย
2. สร้างระบบการรับเข้าทำงานอย่างโปร่งใสและระบบการให้ออกจากงานของผู้พิพากษาและตุลาการอย่างเด็ดขาด
3. สร้างระบบยุติธรรมที่มีความเป็นมืออาชีพและเป็นกลาง
4. สร้างกลไกการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตรวจสอบระบบการพิจารณาคดี
ทั้งนี้ ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ กล่าวว่า ฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารไม่สามารถเข้าไปแทรกแซงการทำงานของศาลได้ เนื่องจากรัฐธรรมนูญรับประกันความเป็นอิสระในการทำงานของศาลในการพิจารณาคดี อย่างไรก็ตาม หากพบว่าผู้พิพากษาประพฤติมิชอบก็มีกระบวนการดำเนินการพิจารณาลงโทษอยู่แล้ว สำหรับคดีความต่างๆ หากพบปัญหาไม่ได้รับความยุติธรรมก็ไปยื่นเรื่องต่อองค์กรที่ดูแลอยู่ เช่น สภาทนายความได้.
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมสืบสานประเพณีลอยกระทง สร้างความสุขทั่วอำเภอขนอม
November 21, 2024
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมส่งเสริมสุขภาพชุมชน สนับสนุนอบรม อสม.ใหม่/ทดแทน
November 21, 2024
อบจ.สงขลา ร่วมรับรางวัลประกาศเกียรติคุณ “ค่าของแผ่นดิน” ประจำปี 2566 ด้านการพัฒนาสังคมและส่งเสริมคุณภาพชีวิต จากโครงการ ...
November 20, 2024
อโกด้าเผย หาดใหญ่คว้าแชมป์เมืองท่องเที่ยวที่คุ้มค่าที่สุดในไทย ช่วงเทศกาลส่งท้ายปี
November 19, 2024