กฟผ.เร่งระดมความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยอย่างต่อเนื่อง พร้อมติดตามสถานการณ์น้ำของเขื่อนอุบลรัตน์อย่างต่อเนื่อง ขออย่าได้ตื่นตระหนกกับข่าวลือ ยันปล่อยน้ำตามมติของคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำ จ.ขอนแก่น ไม่ได้ปล่อยแบบเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วแต่อย่างใด
เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2560 ที่บ้านท่ากระเสริม ต.ท่ากระเสริม อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น นายณัฐวุฒิ แจ่มแจ้ง ผู้ช่วยผู้ว่าการโรงไฟฟ้าพลังน้ำ การไฟฟ้าแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และนายวรวิทย์ นิภาพงศ์ ผู้อำนวยการโรงไฟฟ้าพลังน้ำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กฟผ., นายณรงค์ ไตรกิจวัฒนกุล ผู้อำนวยการโรงไฟฟ้าน้ำพอง พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร กฟผ.ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และผู้ปฏิบัติงาน จิตอาสา กฟผ.ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร่วมลงพื้นที่เยี่ยมเยียนให้กำลังใจราษฎรผู้ประสบภัย และรับทราบสถานการณ์น้ำ ผลกระทบจากน้ำท่วม พร้อมให้การช่วยเหลือราษฎรพื้นที่ประสบอุทกภัย ตามพื้นที่จุดต่างๆ และได้มอบถุงยังชีพ กฟผ. จำนวน 1,000 ถุง และน้ำดื่ม ให้กับผู้ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยน้ำท่วม เพื่อเป็นการช่วยเหลือในเบื้องต้น โดยมีนายศุภชัย ลีเขาสูง นายอำเภอน้ำพอง เป็นผู้รับมอบ พร้อมกับได้นำไปมอบให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ที่บ้านท่ากระเสริม ต.ท่ากระเสริม อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น
นายวรวิทย์ นิภาพงศ์ ผู้อำนวยการโรงไฟฟ้าพลังน้ำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กฟผ. เปิดเผยว่า ปีนี้สภาพอากาศในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้รับผลกระทบจากพายุโซนร้อน และหย่อมความกดอากาศต่ำ ส่งผลให้มีฝนตกหนักมาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ทำให้ปริมาณน้ำที่ไหลเข้าเขื่อนอุบลรัตน์ 435 ล้าน ลบ.ม. ในเดือนมิถุนายนอีก 367 ล้าน ลบ.ม. และเมื่อเดือนกรกฎาคม เริ่มจากพายุโซนร้อน “ตาลัส” ตามด้วยพายุ “เซินกา” จากอิทธิพลพายุทั้งสองลูก ทำให้มีน้ำไหลเข้าเขื่อนในเดือนกรกฎาคมอีก 669 ล้าน ลบ.ม. ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมอย่างหนักในพื้นที่ภาคอีสาน และช่วงเดือนสิงหาคม มีพายุไต้ฝุ่น “ฮาโตะ” และพายุโซนร้อน “ปาข่า” ซึ่งไม่ได้เคลื่อนตัวเข้าประเทศไทยโดยตรง แต่ส่งผลกระทบทางอ้อม ทำให้เกิดหย่อมความกดอากาศต่ำและมีฝนตกในพื้นที่ภาคอีสาน มีน้ำไหลเข้าเขื่อนถึง 785 ล้าน ลบ.ม. และเมื่อวันที่ 15 กันยายน พายุไต้ฝุ่น “ทกซูรี” เข้าสู่ประเทศไทย ตามด้วยพายุไต้ฝุ่น “ขนุน” ซึ่งสลายตัวก่อนเข้าถึงประเทศไทย ทำให้ปริมาณน้ำในเขื่อนเพิ่มขึ้น 860 ล้าน ลบ.ม.
และตั้งแต่เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2560 เป็นต้นมา พื้นที่รับน้ำของเขื่อนอุบลรัตน์ทั้งหมด 1,200 ตาราง กม. ตั้งแต่ภูกระดึง จ.เลย ซึ่งเป็นต้นน้ำของลำน้ำพอง จ.หนองบัวลำภู ต้นน้ำของลำน้ำพะเนียง และต้นน้ำเชิญ แถบเทือกเขาน้ำหนาว ได้เกิดฝนตกหนักมาก ทำให้น้ำไหลเข้าเขื่อนถึงวันละกว่า 100 ล้าน ลบ.ม. โดยข้อมูลจากระบบโทรมาตรของเขื่อนอุบลรัตน์ ซึ่งได้ติดตั้งสถานีวัดน้ำฝนกระจายทั่วทั้งลุ่มน้ำพอง พบว่า มีปริมาณน้ำฝนที่ตกหนักไหลเข้าเขื่อนอุบลรัตน์ตั้งแต่วันที่ 11 ตุลาคม 2560 อย่างต่อเนื่อง โดยไม่มีแนวโน้มว่าจะลดลง และมีปริมาณเพิ่มสูงขึ้นวัดได้ 104 มม. ณ สถานีวัดน้ำ อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู (ลำพะเนียง) 60 มม. ณ สถานีวัดน้ำ อ.สีชมพู (ลำน้ำพอง) และ 37 มม. ณ สถานีวัดน้ำ อ.บ้านแท่น จ.ชัยภูมิ (ลำน้ำเชิญ) ลำน้ำหลักทั้งสามสายที่ไหลเข้าเขื่อนอุบลรัตน์ ทำให้ปริมาณสูงเกินกว่า 100 ล้าน ลบ.ม./วัน ต่อเนื่อง 7 วัน มีน้ำไหลเข้าถึง 141 ล้าน ลบ.ม./วัน และเกินความจุเขื่อน 100% เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2560 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน
ผอ.โรงไฟฟ้าพลังน้ำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กล่าวต่อไปว่า สำหรับการบริหารจัดการน้ำของเขื่อนอุบลรัตน์ จะดำเนินการภายใต้การควบคุมดูแลของคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำ จ.ขอนแก่น โดยมี ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น และ ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองบัวลำภู เป็นประธานและที่ปรึกษา มี รองผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น ด้านป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เป็นประธานคณะกรรมการฯ หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยขอนแก่น เป็นเลขานุการ และหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ ชลประทาน นายอำเภอ ทั้งเหนือเขื่อนและท้ายเขื่อน เกษตร อุตุนิยมวิทยา ท้องถิ่นจังหวัด รวมทั้ง กฟผ. ร่วมเป็นคณะกรรมการฯ ซึ่งจะพิจารณากำหนดปริมาณการระบายน้ำของเขื่อนอุบลรัตน์ และประเมินสถานการณ์ทั้งแม่น้ำพองและแม่น้ำชีในเขตพื้นที่ของจังหวัดขอนแก่น
จากสถานการณ์น้ำปัจจุบัน คณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้พิจารณาอย่างเหมาะสม เพื่อให้เกิดความสมดุลทั้งเหนือเขื่อนและท้ายเขื่อน โดยยังมีปริมาณน้ำไหลเข้าเขื่อน 78 ล้าน ลบ.ม.ปริมาณน้ำไหลออก 50 ล้าน ลบ.ม. ดังนั้น สถานการณ์น้ำเขื่อนอุบลรัตน์ ยังต้องเฝ้าระวังและติดตามอย่างใกล้ชิด
“เขื่อนอุบลรัตน์ มีความจำเป็นปล่อยน้ำตามมติคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำ จ.ขอนแก่น ซึ่งมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ทั้งด้านเหนือเขื่อนและท้ายเขื่อน หน่วยงานด้านท้องถิ่น นายอำเภอ ชลประทาน และฝ่ายป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เข้าประชุมตั้งแต่วันที่ 14 ตุลาคม ที่ผ่านมา เพื่อให้เกิดความสมดุลทั้งด้านเหนือเขื่อนและด้านท้ายเขื่อน การปล่อยน้ำจาก 50 ล้าน ลบ.ม. เป็น 54 ล้าน ลบ.ม. เป็นการเพิ่มขึ้นตามเกณฑ์ขั้นบันได และเป็นปริมาณน้ำที่เป็นไปตามการคาดการณ์”
ผอ.โรงไฟฟ้าพลังน้ำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กล่าวต่อไปว่า ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับทราบและเตรียมการให้ความช่วยเหลือรวมทั้งแจ้งเตือนว่าจะมีการปล่อยน้ำในปริมาณเท่านี้มาตั้งแต่วันประชุมแล้ว ซึ่งมิได้เป็นการปล่อยน้ำแบบเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วแต่อย่างใด ขอประชาชนอย่าได้ตื่นตระหนกกับข่าวลือ ดังกล่าว
ทั้งนี้ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม หรือต้องการทราบสถานการณ์น้ำในเขื่อนอุบลรัตน์ สามารถติดตามได้ที่ application EGAT WATER ใน Smart Phone และทางเวบไซต์ http://nehcc-inter.egat.co.th และสามารถติดต่อสอบถามทางโทรศัพท์ได้ตลอด 24 ชม. ที่ 043-446 393.
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
November 21, 2024
November 20, 2024
November 19, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
กฟผ.เร่งระดมช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม เตือนอย่าตื่นตระหนกกับข่าวลือ
กฟผ.เร่งระดมความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยอย่างต่อเนื่อง พร้อมติดตามสถานการณ์น้ำของเขื่อนอุบลรัตน์อย่างต่อเนื่อง ขออย่าได้ตื่นตระหนกกับข่าวลือ ยันปล่อยน้ำตามมติของคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำ จ.ขอนแก่น ไม่ได้ปล่อยแบบเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วแต่อย่างใด
เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2560 ที่บ้านท่ากระเสริม ต.ท่ากระเสริม อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น นายณัฐวุฒิ แจ่มแจ้ง ผู้ช่วยผู้ว่าการโรงไฟฟ้าพลังน้ำ การไฟฟ้าแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และนายวรวิทย์ นิภาพงศ์ ผู้อำนวยการโรงไฟฟ้าพลังน้ำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กฟผ., นายณรงค์ ไตรกิจวัฒนกุล ผู้อำนวยการโรงไฟฟ้าน้ำพอง พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร กฟผ.ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และผู้ปฏิบัติงาน จิตอาสา กฟผ.ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร่วมลงพื้นที่เยี่ยมเยียนให้กำลังใจราษฎรผู้ประสบภัย และรับทราบสถานการณ์น้ำ ผลกระทบจากน้ำท่วม พร้อมให้การช่วยเหลือราษฎรพื้นที่ประสบอุทกภัย ตามพื้นที่จุดต่างๆ และได้มอบถุงยังชีพ กฟผ. จำนวน 1,000 ถุง และน้ำดื่ม ให้กับผู้ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยน้ำท่วม เพื่อเป็นการช่วยเหลือในเบื้องต้น โดยมีนายศุภชัย ลีเขาสูง นายอำเภอน้ำพอง เป็นผู้รับมอบ พร้อมกับได้นำไปมอบให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ที่บ้านท่ากระเสริม ต.ท่ากระเสริม อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น
นายวรวิทย์ นิภาพงศ์ ผู้อำนวยการโรงไฟฟ้าพลังน้ำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กฟผ. เปิดเผยว่า ปีนี้สภาพอากาศในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้รับผลกระทบจากพายุโซนร้อน และหย่อมความกดอากาศต่ำ ส่งผลให้มีฝนตกหนักมาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ทำให้ปริมาณน้ำที่ไหลเข้าเขื่อนอุบลรัตน์ 435 ล้าน ลบ.ม. ในเดือนมิถุนายนอีก 367 ล้าน ลบ.ม. และเมื่อเดือนกรกฎาคม เริ่มจากพายุโซนร้อน “ตาลัส” ตามด้วยพายุ “เซินกา” จากอิทธิพลพายุทั้งสองลูก ทำให้มีน้ำไหลเข้าเขื่อนในเดือนกรกฎาคมอีก 669 ล้าน ลบ.ม. ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมอย่างหนักในพื้นที่ภาคอีสาน และช่วงเดือนสิงหาคม มีพายุไต้ฝุ่น “ฮาโตะ” และพายุโซนร้อน “ปาข่า” ซึ่งไม่ได้เคลื่อนตัวเข้าประเทศไทยโดยตรง แต่ส่งผลกระทบทางอ้อม ทำให้เกิดหย่อมความกดอากาศต่ำและมีฝนตกในพื้นที่ภาคอีสาน มีน้ำไหลเข้าเขื่อนถึง 785 ล้าน ลบ.ม. และเมื่อวันที่ 15 กันยายน พายุไต้ฝุ่น “ทกซูรี” เข้าสู่ประเทศไทย ตามด้วยพายุไต้ฝุ่น “ขนุน” ซึ่งสลายตัวก่อนเข้าถึงประเทศไทย ทำให้ปริมาณน้ำในเขื่อนเพิ่มขึ้น 860 ล้าน ลบ.ม.
และตั้งแต่เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2560 เป็นต้นมา พื้นที่รับน้ำของเขื่อนอุบลรัตน์ทั้งหมด 1,200 ตาราง กม. ตั้งแต่ภูกระดึง จ.เลย ซึ่งเป็นต้นน้ำของลำน้ำพอง จ.หนองบัวลำภู ต้นน้ำของลำน้ำพะเนียง และต้นน้ำเชิญ แถบเทือกเขาน้ำหนาว ได้เกิดฝนตกหนักมาก ทำให้น้ำไหลเข้าเขื่อนถึงวันละกว่า 100 ล้าน ลบ.ม. โดยข้อมูลจากระบบโทรมาตรของเขื่อนอุบลรัตน์ ซึ่งได้ติดตั้งสถานีวัดน้ำฝนกระจายทั่วทั้งลุ่มน้ำพอง พบว่า มีปริมาณน้ำฝนที่ตกหนักไหลเข้าเขื่อนอุบลรัตน์ตั้งแต่วันที่ 11 ตุลาคม 2560 อย่างต่อเนื่อง โดยไม่มีแนวโน้มว่าจะลดลง และมีปริมาณเพิ่มสูงขึ้นวัดได้ 104 มม. ณ สถานีวัดน้ำ อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู (ลำพะเนียง) 60 มม. ณ สถานีวัดน้ำ อ.สีชมพู (ลำน้ำพอง) และ 37 มม. ณ สถานีวัดน้ำ อ.บ้านแท่น จ.ชัยภูมิ (ลำน้ำเชิญ) ลำน้ำหลักทั้งสามสายที่ไหลเข้าเขื่อนอุบลรัตน์ ทำให้ปริมาณสูงเกินกว่า 100 ล้าน ลบ.ม./วัน ต่อเนื่อง 7 วัน มีน้ำไหลเข้าถึง 141 ล้าน ลบ.ม./วัน และเกินความจุเขื่อน 100% เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2560 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน
ผอ.โรงไฟฟ้าพลังน้ำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กล่าวต่อไปว่า สำหรับการบริหารจัดการน้ำของเขื่อนอุบลรัตน์ จะดำเนินการภายใต้การควบคุมดูแลของคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำ จ.ขอนแก่น โดยมี ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น และ ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองบัวลำภู เป็นประธานและที่ปรึกษา มี รองผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น ด้านป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เป็นประธานคณะกรรมการฯ หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยขอนแก่น เป็นเลขานุการ และหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ ชลประทาน นายอำเภอ ทั้งเหนือเขื่อนและท้ายเขื่อน เกษตร อุตุนิยมวิทยา ท้องถิ่นจังหวัด รวมทั้ง กฟผ. ร่วมเป็นคณะกรรมการฯ ซึ่งจะพิจารณากำหนดปริมาณการระบายน้ำของเขื่อนอุบลรัตน์ และประเมินสถานการณ์ทั้งแม่น้ำพองและแม่น้ำชีในเขตพื้นที่ของจังหวัดขอนแก่น
จากสถานการณ์น้ำปัจจุบัน คณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้พิจารณาอย่างเหมาะสม เพื่อให้เกิดความสมดุลทั้งเหนือเขื่อนและท้ายเขื่อน โดยยังมีปริมาณน้ำไหลเข้าเขื่อน 78 ล้าน ลบ.ม.ปริมาณน้ำไหลออก 50 ล้าน ลบ.ม. ดังนั้น สถานการณ์น้ำเขื่อนอุบลรัตน์ ยังต้องเฝ้าระวังและติดตามอย่างใกล้ชิด
“เขื่อนอุบลรัตน์ มีความจำเป็นปล่อยน้ำตามมติคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำ จ.ขอนแก่น ซึ่งมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ทั้งด้านเหนือเขื่อนและท้ายเขื่อน หน่วยงานด้านท้องถิ่น นายอำเภอ ชลประทาน และฝ่ายป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เข้าประชุมตั้งแต่วันที่ 14 ตุลาคม ที่ผ่านมา เพื่อให้เกิดความสมดุลทั้งด้านเหนือเขื่อนและด้านท้ายเขื่อน การปล่อยน้ำจาก 50 ล้าน ลบ.ม. เป็น 54 ล้าน ลบ.ม. เป็นการเพิ่มขึ้นตามเกณฑ์ขั้นบันได และเป็นปริมาณน้ำที่เป็นไปตามการคาดการณ์”
ผอ.โรงไฟฟ้าพลังน้ำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กล่าวต่อไปว่า ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับทราบและเตรียมการให้ความช่วยเหลือรวมทั้งแจ้งเตือนว่าจะมีการปล่อยน้ำในปริมาณเท่านี้มาตั้งแต่วันประชุมแล้ว ซึ่งมิได้เป็นการปล่อยน้ำแบบเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วแต่อย่างใด ขอประชาชนอย่าได้ตื่นตระหนกกับข่าวลือ ดังกล่าว
ทั้งนี้ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม หรือต้องการทราบสถานการณ์น้ำในเขื่อนอุบลรัตน์ สามารถติดตามได้ที่ application EGAT WATER ใน Smart Phone และทางเวบไซต์ http://nehcc-inter.egat.co.th และสามารถติดต่อสอบถามทางโทรศัพท์ได้ตลอด 24 ชม. ที่ 043-446 393.
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมสืบสานประเพณีลอยกระทง สร้างความสุขทั่วอำเภอขนอม
November 21, 2024
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมส่งเสริมสุขภาพชุมชน สนับสนุนอบรม อสม.ใหม่/ทดแทน
November 21, 2024
อบจ.สงขลา ร่วมรับรางวัลประกาศเกียรติคุณ “ค่าของแผ่นดิน” ประจำปี 2566 ด้านการพัฒนาสังคมและส่งเสริมคุณภาพชีวิต จากโครงการ ...
November 20, 2024
อโกด้าเผย หาดใหญ่คว้าแชมป์เมืองท่องเที่ยวที่คุ้มค่าที่สุดในไทย ช่วงเทศกาลส่งท้ายปี
November 19, 2024