กฟผ. เปิดศูนย์ฯ เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์น้ำของเขื่อนอุบลรัตน์อย่างใกล้ชิดตลอด 24 ชั่วโมง เนื่องจากปริมาณน้ำกักเก็บสูงเกินเกณฑ์ควบคุมอุทกภัย จึงจำเป็นต้องระบายน้ำเพิ่มขึ้น เพื่อเป็นไปตามกฎความมั่นคงปลอดภัยเขื่อน และเตรียมรองรับมวลน้ำก้อนใหม่จากมรสุมในช่วง 12 – 17 ตุลาคมนี้ พร้อมลงพื้นที่เร่งช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยอย่างต่อเนื่อง
นายณัฐวุฒิ แจ่มแจ้ง ผู้ช่วยผู้ว่าการโรงไฟฟ้าพลังน้ำ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้เขื่อนอุบลรัตน์มีปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำสูงถึง 2,754 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 113 (ข้อมูล ณ วันที่ 13 ตุลาคม 2560) ซึ่งสูงเกินเกณฑ์ควบคุมอุทกภัย รวมถึงยังมีปริมาณน้ำไหลเข้าเขื่อนอย่างต่อเนื่องมากกว่าวันละ 100 ล้านลูกบาศก์เมตร และจากสถานการณ์ดังกล่าว เขื่อนอุบลรัตน์จึงจำเป็นต้องเพิ่มการระบายน้ำ จากเดิมวันละ 34 ล้าน ลบ.ม. เป็นวันละ 37, 40, 43 และ 45 ล้าน ลบ.ม. ตามมติคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำจังหวัดขอนแก่น ให้ระบายได้ ระหว่างวันที่ 13 – 16 ต.ค. 2560 จนกว่าสถานการณ์จะกลับเข้าสู่สภาวะปกติ เพื่อรักษาเสถียรภาพของตัวเขื่อน และป้องกันไม่ให้น้ำเอ่อล้นข้ามคันดินไปยังพื้นที่เหนือเขื่อน ต.โนนสังข์ จ.หนองบัวลำภู ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อประชาชนมากกว่า 38,000 ครัวเรือน แต่หากปริมาณน้ำของเขื่อนเพิ่มสูงขึ้นจนถึงระดับ 183 ม.รทก. คณะกรรมการฯ จะประชุมประเมินสถานการณ์ เพื่อดำเนินการตามกฎความมั่นคงปลอดภัยของเขื่อน (Dam Safety) ต่อไป ทั้งนี้ การระบายน้ำดังกล่าว อาจส่งผลกระทบต่อประชาชนในพื้นท้ายเขื่อน ทั้งลำน้ำพอง ลำพะเนียง และแม่น้ำชี
ปัจจุบัน กฟผ. เขื่อนอุบลรัตน์ ได้เปิดศูนย์อำนวยการเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์น้ำท่วมตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมทั้งส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยอย่างต่อเนื่อง เบื้องต้นได้มอบถุงยังชีพให้แก่ชุมชนโดยรอบเขื่อนอุบลรัตน์ 700 ชุด และชุมชนโดยรอบเขื่อนจุฬาภรณ์ 300 ชุด รวมทั้งสิ้น 1,000 ชุด เรียบร้อยแล้ว
ผู้ช่วยผู้ว่าการโรงไฟฟ้าพลังน้ำ กล่าวเพิ่มเติมว่า ช่วงเดือน ก.ค.- ต.ค. ที่ผ่านมา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้รับอิทธิพลของพายุ “ตาลัส”, “เซินกา” และหย่อมความกดอากาศต่ำที่สลายตัวจากพายุ “ฮาโตะ” ประกอบกับระหว่างวันที่ 12-17 ตุลาคม 2560 จะมีมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมประเทศไทย บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่งผลให้ยังคงมีฝนตกหนักในพื้นที่ลุ่มน้ำพองอย่างต่อเนื่อง ทำให้สถานการณ์น้ำของเขื่อน กฟผ. ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือส่วนใหญ่ มีปริมาณน้ำสูงกว่าเกณฑ์ควบคุม ได้แก่ เขื่อนจุฬาภรณ์ มีปริมาณน้ำใน อ่างเก็บน้ำ 168 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 102, เขื่อนสิรินธร มีปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำ 1,642 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 83 และเขื่อนน้ำพุง มีปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำ 167 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 101
สำหรับการบริหารจัดการน้ำเขื่อนของ กฟผ. ที่ผ่านมาเป็นไปตามแผนการระบายน้ำของกรมชลประทานและคณะอนุกรรมการฯ รวมทั้งของคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำแต่ละจังหวัด ซึ่งคำนึงถึงผลกระทบต่อประชาชนเป็นสำคัญ การระบายน้ำในแต่ละครั้ง กฟผ. ได้ดำเนินการจัดส่งหนังสือแจ้งให้แก่ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้นำท้องถิ่น และมีการประกาศแจ้งเตือนประชาชนในพื้นที่ให้ทราบล่วงหน้า เพื่อเตรียมพร้อมและป้องกันผลกระทบจากการระบายน้ำ เป็นไปตามข้อกำหนดและการปฏิบัติเรื่องการระบายน้ำ
“กฟผ. ได้เพิ่มช่องทางการสื่อสารเพื่อให้ประชาชนสามารถติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด โดยติดตามข่าวสารผ่านทางเว็บไซต์ WATER.EGAT.CO.TH และแอพพลิเคชั่น EGAT Water ซึ่งสามารถดาวน์โหลดค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำได้อย่าง Real Time ตลอด 24 ชั่วโมง รวมทั้งมีการถ่ายทอดสดจากกล้อง CCTV ของแต่ละเขื่อนอีกด้วย” ผู้ช่วยผู้ว่าการโรงไฟฟ้าพลังน้ำ กฟผ. กล่าว.
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
November 21, 2024
November 20, 2024
November 19, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
กฟผ. เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำเขื่อนอุบลรัตน์สูงกว่าเกณฑ์ควบคุม ชี้จำเป็นต้องระบายน้ำเพิ่มขึ้น พร้อมเร่งช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยอย่างต่อเนื่อง
กฟผ. เปิดศูนย์ฯ เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์น้ำของเขื่อนอุบลรัตน์อย่างใกล้ชิดตลอด 24 ชั่วโมง เนื่องจากปริมาณน้ำกักเก็บสูงเกินเกณฑ์ควบคุมอุทกภัย จึงจำเป็นต้องระบายน้ำเพิ่มขึ้น เพื่อเป็นไปตามกฎความมั่นคงปลอดภัยเขื่อน และเตรียมรองรับมวลน้ำก้อนใหม่จากมรสุมในช่วง 12 – 17 ตุลาคมนี้ พร้อมลงพื้นที่เร่งช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยอย่างต่อเนื่อง
นายณัฐวุฒิ แจ่มแจ้ง ผู้ช่วยผู้ว่าการโรงไฟฟ้าพลังน้ำ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้เขื่อนอุบลรัตน์มีปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำสูงถึง 2,754 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 113 (ข้อมูล ณ วันที่ 13 ตุลาคม 2560) ซึ่งสูงเกินเกณฑ์ควบคุมอุทกภัย รวมถึงยังมีปริมาณน้ำไหลเข้าเขื่อนอย่างต่อเนื่องมากกว่าวันละ 100 ล้านลูกบาศก์เมตร และจากสถานการณ์ดังกล่าว เขื่อนอุบลรัตน์จึงจำเป็นต้องเพิ่มการระบายน้ำ จากเดิมวันละ 34 ล้าน ลบ.ม. เป็นวันละ 37, 40, 43 และ 45 ล้าน ลบ.ม. ตามมติคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำจังหวัดขอนแก่น ให้ระบายได้ ระหว่างวันที่ 13 – 16 ต.ค. 2560 จนกว่าสถานการณ์จะกลับเข้าสู่สภาวะปกติ เพื่อรักษาเสถียรภาพของตัวเขื่อน และป้องกันไม่ให้น้ำเอ่อล้นข้ามคันดินไปยังพื้นที่เหนือเขื่อน ต.โนนสังข์ จ.หนองบัวลำภู ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อประชาชนมากกว่า 38,000 ครัวเรือน แต่หากปริมาณน้ำของเขื่อนเพิ่มสูงขึ้นจนถึงระดับ 183 ม.รทก. คณะกรรมการฯ จะประชุมประเมินสถานการณ์ เพื่อดำเนินการตามกฎความมั่นคงปลอดภัยของเขื่อน (Dam Safety) ต่อไป ทั้งนี้ การระบายน้ำดังกล่าว อาจส่งผลกระทบต่อประชาชนในพื้นท้ายเขื่อน ทั้งลำน้ำพอง ลำพะเนียง และแม่น้ำชี
ปัจจุบัน กฟผ. เขื่อนอุบลรัตน์ ได้เปิดศูนย์อำนวยการเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์น้ำท่วมตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมทั้งส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยอย่างต่อเนื่อง เบื้องต้นได้มอบถุงยังชีพให้แก่ชุมชนโดยรอบเขื่อนอุบลรัตน์ 700 ชุด และชุมชนโดยรอบเขื่อนจุฬาภรณ์ 300 ชุด รวมทั้งสิ้น 1,000 ชุด เรียบร้อยแล้ว
ผู้ช่วยผู้ว่าการโรงไฟฟ้าพลังน้ำ กล่าวเพิ่มเติมว่า ช่วงเดือน ก.ค.- ต.ค. ที่ผ่านมา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้รับอิทธิพลของพายุ “ตาลัส”, “เซินกา” และหย่อมความกดอากาศต่ำที่สลายตัวจากพายุ “ฮาโตะ” ประกอบกับระหว่างวันที่ 12-17 ตุลาคม 2560 จะมีมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมประเทศไทย บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่งผลให้ยังคงมีฝนตกหนักในพื้นที่ลุ่มน้ำพองอย่างต่อเนื่อง ทำให้สถานการณ์น้ำของเขื่อน กฟผ. ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือส่วนใหญ่ มีปริมาณน้ำสูงกว่าเกณฑ์ควบคุม ได้แก่ เขื่อนจุฬาภรณ์ มีปริมาณน้ำใน อ่างเก็บน้ำ 168 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 102, เขื่อนสิรินธร มีปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำ 1,642 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 83 และเขื่อนน้ำพุง มีปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำ 167 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 101
สำหรับการบริหารจัดการน้ำเขื่อนของ กฟผ. ที่ผ่านมาเป็นไปตามแผนการระบายน้ำของกรมชลประทานและคณะอนุกรรมการฯ รวมทั้งของคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำแต่ละจังหวัด ซึ่งคำนึงถึงผลกระทบต่อประชาชนเป็นสำคัญ การระบายน้ำในแต่ละครั้ง กฟผ. ได้ดำเนินการจัดส่งหนังสือแจ้งให้แก่ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้นำท้องถิ่น และมีการประกาศแจ้งเตือนประชาชนในพื้นที่ให้ทราบล่วงหน้า เพื่อเตรียมพร้อมและป้องกันผลกระทบจากการระบายน้ำ เป็นไปตามข้อกำหนดและการปฏิบัติเรื่องการระบายน้ำ
“กฟผ. ได้เพิ่มช่องทางการสื่อสารเพื่อให้ประชาชนสามารถติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด โดยติดตามข่าวสารผ่านทางเว็บไซต์ WATER.EGAT.CO.TH และแอพพลิเคชั่น EGAT Water ซึ่งสามารถดาวน์โหลดค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำได้อย่าง Real Time ตลอด 24 ชั่วโมง รวมทั้งมีการถ่ายทอดสดจากกล้อง CCTV ของแต่ละเขื่อนอีกด้วย” ผู้ช่วยผู้ว่าการโรงไฟฟ้าพลังน้ำ กฟผ. กล่าว.
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมสืบสานประเพณีลอยกระทง สร้างความสุขทั่วอำเภอขนอม
November 21, 2024
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมส่งเสริมสุขภาพชุมชน สนับสนุนอบรม อสม.ใหม่/ทดแทน
November 21, 2024
อบจ.สงขลา ร่วมรับรางวัลประกาศเกียรติคุณ “ค่าของแผ่นดิน” ประจำปี 2566 ด้านการพัฒนาสังคมและส่งเสริมคุณภาพชีวิต จากโครงการ ...
November 20, 2024
อโกด้าเผย หาดใหญ่คว้าแชมป์เมืองท่องเที่ยวที่คุ้มค่าที่สุดในไทย ช่วงเทศกาลส่งท้ายปี
November 19, 2024