นักศึกษาคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คว้ารางวัลสหกิจศึกษาดีเด่น ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระดับเครือข่ายภาคใต้ตอนล่าง ด้วยผลงาน “การเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการตัดแต่งชิ้นส่วนสุกร” จากการนำเสนอผลงานสหกิจศึกษาดีเด่น ประจำปีการศึกษา 2555 เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2556 เตรียมเข้ารับพิจารณาคัดเลือกสหกิจศึกษาดีเด่นระดับชาติกลางปีนี้
นางสาวจิรันดา เบญจปัญญาวงศ์ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เจ้าของผลงาน กล่าวว่า ตนเองได้เข้าร่วมโครงการสหกิจศึกษากับบริษัทเบทาโกรภาคใต้ จำกัด โรงงานแปรรูปสุกรพัทลุง เป็นระยะเวลา 16 สัปดาห์และได้นำเสนอโครงการการเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการตัดแต่งชิ้นส่วนสุกร (Efficiency Improvement in Swine Cutting Up Process) ให้แก่บริษัท โดยมีแนวคิดว่า การตัดแต่งชิ้นส่วนสุกรเป็นกระบวนการที่ต้องใช้พนักงานเป็นหลัก เมื่อค่าแรงของพนักงานมีการปรับสูงขึ้น ทำให้ต้นทุนในการตัดแต่งชิ้นส่วนสุกรเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย การใช้ทรัพยากรบุคคลให้คุ้มค่าจึงเป็นแนวทางหนึ่งที่สามารถช่วยลดต้นทุนการผลิต และเพิ่มประสิทธิภาพการตัดแต่งชิ้นส่วนสุกรได้
นางสาวจิรันดา เล่าว่า แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการตัดแต่งชิ้นส่วนสุกร ที่ได้รับคัดเลือกให้ได้รับรางวัลในครั้งนี้ เริ่มจากการคิดวิเคราะห์และวางแผนขั้นตอนการทำงานของพนักงานให้ง่ายและรวดเร็วขึ้น ลดขั้นตอนที่ยุ่งยากและไม่จำเป็น โดยปรับเปลี่ยนการจัดลำดับงาน การมอบหมายงานให้แก่พนักงาน การกำหนดตำแหน่งการยืนของพนักงานขณะปฏิบัติงาน ซึ่งทั้งหมดนี้ใช้หลักการวิเคราะห์เครื่องมือทางการจัดการที่เรียกว่า ECRS ที่ประกอบด้วยการกำจัด (Eliminate) การรวมกัน (Combine) การจัดใหม่ (Rearrange) และการทำให้ง่าย (Simplify) ซึ่งเป็นหลักการง่ายๆ ที่สามารถใช้ในการลดความสูญเปล่าลงได้เป็นอย่างดี
โดยหลังจากที่พนักงานของบริษัทได้ทดลองใช้วิธีการดังกล่าวแล้วพบว่าสามารถลดเวลาในการตัดแต่งชิ้นส่วนสุกรจาก 222 วินาทีต่อตัว เหลือเพียง 196 วินาทีต่อตัว และสามารถเพิ่มอัตราการผลิตจาก 45 ตัวต่อชั่วโมง เป็น 53 ตัวต่อชั่วโมง ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้สูงขึ้นกว่าเดิมถึง 20% อย่างไรก็ตามประสิทธิภาพการตัดแต่งชิ้นส่วนสุกรที่ได้จากการปรับเปลี่ยนกระบวนการตามแนวทางดังกล่าวจะมีสูงขึ้นมากน้อยเพียงไรนั้นขึ้นอยู่กับกรรมวิธีเฉพาะของแต่ละสถานประกอบการด้วย นางสาวจิรันดา กล่าว
โครงการนำเสนอผลงานสหกิจศึกษาดีเด่น ประจำปีการศึกษา 2555 จัดโดยเครือข่ายพัฒนาสหกิจศึกษาภาคใต้ตอนล่าง ประกอบด้วยการนำเสนอผลงานรวมทั้งสิ้น 4 ด้าน ได้แก่ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ด้านนวัตกรรมสหกิจศึกษา ด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และการจัดการ ด้านสหกิจศึกษานานาชาติ โดยโครงการ “การเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการตัดแต่งชิ้นส่วนสุกร” ของนักศึกษาคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จะได้รับพิจารณาตามเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา เพื่อเสนอชื่อเข้ารับการพิจารณาคัดเลือกสหกิจศึกษาดีเด่นระดับชาติที่จะจัดประกวดขึ้นในเดือนมิถุนายน 2556.
ภาพ/ข่าว นางสาวพรรณภัทร ประทุมศรี
นักประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
นศ. อุตสาหกรรมเกษตร ม.อ. โชว์ผลงาน คว้ารางวัลสหกิจศึกษาดีเด่นภาคใต้ตอนล่าง
นักศึกษาคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คว้ารางวัลสหกิจศึกษาดีเด่น ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระดับเครือข่ายภาคใต้ตอนล่าง ด้วยผลงาน “การเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการตัดแต่งชิ้นส่วนสุกร” จากการนำเสนอผลงานสหกิจศึกษาดีเด่น ประจำปีการศึกษา 2555 เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2556 เตรียมเข้ารับพิจารณาคัดเลือกสหกิจศึกษาดีเด่นระดับชาติกลางปีนี้
นางสาวจิรันดา เบญจปัญญาวงศ์ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เจ้าของผลงาน กล่าวว่า ตนเองได้เข้าร่วมโครงการสหกิจศึกษากับบริษัทเบทาโกรภาคใต้ จำกัด โรงงานแปรรูปสุกรพัทลุง เป็นระยะเวลา 16 สัปดาห์และได้นำเสนอโครงการการเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการตัดแต่งชิ้นส่วนสุกร (Efficiency Improvement in Swine Cutting Up Process) ให้แก่บริษัท โดยมีแนวคิดว่า การตัดแต่งชิ้นส่วนสุกรเป็นกระบวนการที่ต้องใช้พนักงานเป็นหลัก เมื่อค่าแรงของพนักงานมีการปรับสูงขึ้น ทำให้ต้นทุนในการตัดแต่งชิ้นส่วนสุกรเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย การใช้ทรัพยากรบุคคลให้คุ้มค่าจึงเป็นแนวทางหนึ่งที่สามารถช่วยลดต้นทุนการผลิต และเพิ่มประสิทธิภาพการตัดแต่งชิ้นส่วนสุกรได้
นางสาวจิรันดา เล่าว่า แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการตัดแต่งชิ้นส่วนสุกร ที่ได้รับคัดเลือกให้ได้รับรางวัลในครั้งนี้ เริ่มจากการคิดวิเคราะห์และวางแผนขั้นตอนการทำงานของพนักงานให้ง่ายและรวดเร็วขึ้น ลดขั้นตอนที่ยุ่งยากและไม่จำเป็น โดยปรับเปลี่ยนการจัดลำดับงาน การมอบหมายงานให้แก่พนักงาน การกำหนดตำแหน่งการยืนของพนักงานขณะปฏิบัติงาน ซึ่งทั้งหมดนี้ใช้หลักการวิเคราะห์เครื่องมือทางการจัดการที่เรียกว่า ECRS ที่ประกอบด้วยการกำจัด (Eliminate) การรวมกัน (Combine) การจัดใหม่ (Rearrange) และการทำให้ง่าย (Simplify) ซึ่งเป็นหลักการง่ายๆ ที่สามารถใช้ในการลดความสูญเปล่าลงได้เป็นอย่างดี
โดยหลังจากที่พนักงานของบริษัทได้ทดลองใช้วิธีการดังกล่าวแล้วพบว่าสามารถลดเวลาในการตัดแต่งชิ้นส่วนสุกรจาก 222 วินาทีต่อตัว เหลือเพียง 196 วินาทีต่อตัว และสามารถเพิ่มอัตราการผลิตจาก 45 ตัวต่อชั่วโมง เป็น 53 ตัวต่อชั่วโมง ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้สูงขึ้นกว่าเดิมถึง 20% อย่างไรก็ตามประสิทธิภาพการตัดแต่งชิ้นส่วนสุกรที่ได้จากการปรับเปลี่ยนกระบวนการตามแนวทางดังกล่าวจะมีสูงขึ้นมากน้อยเพียงไรนั้นขึ้นอยู่กับกรรมวิธีเฉพาะของแต่ละสถานประกอบการด้วย นางสาวจิรันดา กล่าว
โครงการนำเสนอผลงานสหกิจศึกษาดีเด่น ประจำปีการศึกษา 2555 จัดโดยเครือข่ายพัฒนาสหกิจศึกษาภาคใต้ตอนล่าง ประกอบด้วยการนำเสนอผลงานรวมทั้งสิ้น 4 ด้าน ได้แก่ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ด้านนวัตกรรมสหกิจศึกษา ด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และการจัดการ ด้านสหกิจศึกษานานาชาติ โดยโครงการ “การเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการตัดแต่งชิ้นส่วนสุกร” ของนักศึกษาคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จะได้รับพิจารณาตามเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา เพื่อเสนอชื่อเข้ารับการพิจารณาคัดเลือกสหกิจศึกษาดีเด่นระดับชาติที่จะจัดประกวดขึ้นในเดือนมิถุนายน 2556.
ภาพ/ข่าว นางสาวพรรณภัทร ประทุมศรี
นักประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
There is no related posts.