สสค. ร่วมมูลนิธิร่มฉัตร เดินสายขยายผล “บวรโมเดล” จากระดับชุมชนสู่ 4 จังหวัด 4 ภูมิภาค ชี้ภาคใต้แรงงานต่างชาติสะพัด ร่วม 3 แสนคน ขณะที่ “สงขลา” ติดจังหวัดอันดับ 2 ที่แรงงานต่างชาตินิยมทำงาน ด้านแรงงานไทยสะพัดไปมาเลเซียกว่า 1.5 แสนคน ทำเงินปีละไม่ต่ำ 3 พันล้าน ประธานหอการค้าสงขลาทุ่มงบ 16 ล้าน ชู 5 นโยบายหลักเตรียมพร้อม AEC ย้ำ “ภาษาค้าขาย” กลายเป็นทักษะจำเป็นเร่งด่วนคนไทย
13 มีนาคม 2556 ณ โรงเรียนบ้านน้ำกระจาย จังหวัดสงขลา สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) ร่วมกับมูลนิธิร่มฉัตร วัดไตรมิตรวิทยาราม วรวิหาร โดยพระธรรมภาวนาวิกรม ประธานมูลนิธิร่มฉัตรและรองเจ้าอาวาสวัดไตรมิตรวิทยารามฯ ให้เกียรติเป็นประธานจัดประชุม “ทำความเข้าใจเพื่อให้เกิดภาคีเครือข่ายความร่วมมือในรูปแบบ “บวรโมเดล” เพื่อขยายผลโครงการการขยายผลชุมชนต้นแบบและการสื่อสารการเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 4 ภูมิภาค ได้แก่ จังหวัดสงขลา เชียงราย สมุทรสาคร และจังหวัดอุบลราชธานี ระหว่างวันที่ 13-20 มีนาคมนี้ โดยมีพระเทพญาณโมลี เจ้าคณะจังหวัดสงขลา นายวิโรจน์ ทัฬหะวาสน์ ปลัดจังหวัดสงขลา นายปราโมทย์ ส่งสิงห์ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสงขลา เขต 1 นายอุบล เล่นวารี อดีตที่ปรึกษา สพฐ กรรมการที่ปรึกษา สสค. นายสุนันท์ เทพศรี อดีตรองเลขาธิการ อาชีวะฯ ประธานหอการค้าจังหวัดสงขลา แกนนำชุมชน ทั้งภาครัฐและเอกชนเข้าร่วมงาน
พระธรรมภาวนาวิกรม ประธานมูลนิธิร่มฉัตร กล่าวว่า เพื่อเตรียมความพร้อมประเทศไทยสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน จึงเป็นที่มาในการขยายผล “ชุมชนต้นเยาวราช” สู่โมเดลระดับจังหวัด ครอบคลุมพื้นที่ 4 ภูมิภาค เช่น จังหวัดสงขลาเป็นศูนย์กลางการค้าขายสำคัญของภาคใต้ มีประชากรไทยไปใช้แรงงานในประเทศมาเลเซียไม่ต่ำกว่า 150,000 คน/ปี และนำรายได้กลับประเทศไม่ต่ำกว่าปีละ 3,000 ล้านบาท ขณะที่ข้อมูลศูนย์ข่าวสารแรงงานจังหวัดสงขลา เดือนพฤษภาคม 2555 ระบุว่ามีแรงงานต่างด้าวที่มาทำงานในภาคใต้ทั้งสิ้น 298,028 คน โดย 3 จังหวัดแรกที่แรงงานต่างชาตินิยมไปใช้แรงงานคือ 1. จังหวัดสุราษฏร์ธานีจำนวน 70,130 คน 2. จังหวัดสงขลาจำนวน 49,549 คน และ 3. จังหวัดระนองจำนวน 48,937 คน สะท้อนให้เห็นถึงแรงงานที่ไหลเข้าออกระหว่างประเทศอย่างชัดเจน จังหวัดจึงต้องร่วมกับประชาสังคมวิเคราะห์จุดอ่อนแข็งของจังหวัดเพื่อใช้เป็นยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนจังหวัดอย่างไรในการเตรียมพร้อมการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
“ในด้านการศึกษามาเลเซียเป็นจุดสนใจของนักเรียนต่างชาติทั่วเอเชีย โดยเดอะอีโคโนมิสต์ระบุว่า มีนักเรียนต่างชาติมาศึกษาต่อในประเทศมาเลเซียสูงถึง 86,000 คน เมื่อเปรียบเทียบจากจำนวนประชากรมาเลเซียซึ่งมีเพียง 28 ล้านคน จึงเป็นจำนวนที่สูงมาก และหากยกให้สิงคโปร์เป็นฮับการศึกษาของอาเซียนแล้ว มาเลเซียถือเป็นฮับทางการศึกษาของประเทศแถบตะวันออกกลาง จึงเป็นที่มาว่าทำไม “ห้องศึกษาอาเซียน” ที่จังหวัดสงขลาจึงต้องมีการเรียนการสอน “ภาษามลายู” และจัดมุม Let’s speak English เพราะเป็น 2 ภาษาหลักที่จำเป็นในการสื่อสารของคนใต้กับคนมาเลเซีย เพื่อใช้ในการติดต่อค้าขาย เป็นต้น”
ดร.สุรชัย จิตภักดีบดินทร์ ประธานหอการค้าจังหวัดสงขลา กล่าวว่า แผนงบประมาณปี 2556-2557 จังหวัดสงขลาได้เตรียมความพร้อมการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเอาไว้ 5 โครงการหลัก ได้แก่ 1. การอบรมเรื่องภาษาทางการตลาด 2. การพัฒนาผลิตภัณฑ์ 3. การจัดแสดงสินค้า 4. การจับคู่ธุรกิจเรื่องการเจรจาการค้าระหว่างประเทศไทยกับประเทศใกล้เคียง และ 5. การดูงานกลุ่มอาเซียน โดยมีงบประมาณไม่ต่ำกว่า 16 ล้านบาท ทั้งนี้คู่ค้าสำคัญของภาคใต้ก็คือมาเลเซีย ภาษามลายู และภาษาอังกฤษ ซึ่งถือเป็นภาษากลางในการสื่อสารจึงเป็นความจำเป็นเร่งด่วนที่คนไทยจำเป็นต้องเรียนรู้ จึงเป็นที่มาของการจัดอบรมภาษาทางการตลาดขึ้น.
ภาพ/ข่าว วาสนา ปรีชา
ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์บ้านข่าว
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
สสค.ร่วมมูลนิธิร่มฉัตร เดินทางทำความเข้าใจ “บวรโมเดล” ชุมชนพร้อมรับ AEC สู่ระดับจังหวัด 4 ภูมิภาค เริ่มสงขลา 13 มีนาคมนี้
สสค. ร่วมมูลนิธิร่มฉัตร เดินสายขยายผล “บวรโมเดล” จากระดับชุมชนสู่ 4 จังหวัด 4 ภูมิภาค ชี้ภาคใต้แรงงานต่างชาติสะพัด ร่วม 3 แสนคน ขณะที่ “สงขลา” ติดจังหวัดอันดับ 2 ที่แรงงานต่างชาตินิยมทำงาน ด้านแรงงานไทยสะพัดไปมาเลเซียกว่า 1.5 แสนคน ทำเงินปีละไม่ต่ำ 3 พันล้าน ประธานหอการค้าสงขลาทุ่มงบ 16 ล้าน ชู 5 นโยบายหลักเตรียมพร้อม AEC ย้ำ “ภาษาค้าขาย” กลายเป็นทักษะจำเป็นเร่งด่วนคนไทย
13 มีนาคม 2556 ณ โรงเรียนบ้านน้ำกระจาย จังหวัดสงขลา สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) ร่วมกับมูลนิธิร่มฉัตร วัดไตรมิตรวิทยาราม วรวิหาร โดยพระธรรมภาวนาวิกรม ประธานมูลนิธิร่มฉัตรและรองเจ้าอาวาสวัดไตรมิตรวิทยารามฯ ให้เกียรติเป็นประธานจัดประชุม “ทำความเข้าใจเพื่อให้เกิดภาคีเครือข่ายความร่วมมือในรูปแบบ “บวรโมเดล” เพื่อขยายผลโครงการการขยายผลชุมชนต้นแบบและการสื่อสารการเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 4 ภูมิภาค ได้แก่ จังหวัดสงขลา เชียงราย สมุทรสาคร และจังหวัดอุบลราชธานี ระหว่างวันที่ 13-20 มีนาคมนี้ โดยมีพระเทพญาณโมลี เจ้าคณะจังหวัดสงขลา นายวิโรจน์ ทัฬหะวาสน์ ปลัดจังหวัดสงขลา นายปราโมทย์ ส่งสิงห์ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสงขลา เขต 1 นายอุบล เล่นวารี อดีตที่ปรึกษา สพฐ กรรมการที่ปรึกษา สสค. นายสุนันท์ เทพศรี อดีตรองเลขาธิการ อาชีวะฯ ประธานหอการค้าจังหวัดสงขลา แกนนำชุมชน ทั้งภาครัฐและเอกชนเข้าร่วมงาน
พระธรรมภาวนาวิกรม ประธานมูลนิธิร่มฉัตร กล่าวว่า เพื่อเตรียมความพร้อมประเทศไทยสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน จึงเป็นที่มาในการขยายผล “ชุมชนต้นเยาวราช” สู่โมเดลระดับจังหวัด ครอบคลุมพื้นที่ 4 ภูมิภาค เช่น จังหวัดสงขลาเป็นศูนย์กลางการค้าขายสำคัญของภาคใต้ มีประชากรไทยไปใช้แรงงานในประเทศมาเลเซียไม่ต่ำกว่า 150,000 คน/ปี และนำรายได้กลับประเทศไม่ต่ำกว่าปีละ 3,000 ล้านบาท ขณะที่ข้อมูลศูนย์ข่าวสารแรงงานจังหวัดสงขลา เดือนพฤษภาคม 2555 ระบุว่ามีแรงงานต่างด้าวที่มาทำงานในภาคใต้ทั้งสิ้น 298,028 คน โดย 3 จังหวัดแรกที่แรงงานต่างชาตินิยมไปใช้แรงงานคือ 1. จังหวัดสุราษฏร์ธานีจำนวน 70,130 คน 2. จังหวัดสงขลาจำนวน 49,549 คน และ 3. จังหวัดระนองจำนวน 48,937 คน สะท้อนให้เห็นถึงแรงงานที่ไหลเข้าออกระหว่างประเทศอย่างชัดเจน จังหวัดจึงต้องร่วมกับประชาสังคมวิเคราะห์จุดอ่อนแข็งของจังหวัดเพื่อใช้เป็นยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนจังหวัดอย่างไรในการเตรียมพร้อมการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
“ในด้านการศึกษามาเลเซียเป็นจุดสนใจของนักเรียนต่างชาติทั่วเอเชีย โดยเดอะอีโคโนมิสต์ระบุว่า มีนักเรียนต่างชาติมาศึกษาต่อในประเทศมาเลเซียสูงถึง 86,000 คน เมื่อเปรียบเทียบจากจำนวนประชากรมาเลเซียซึ่งมีเพียง 28 ล้านคน จึงเป็นจำนวนที่สูงมาก และหากยกให้สิงคโปร์เป็นฮับการศึกษาของอาเซียนแล้ว มาเลเซียถือเป็นฮับทางการศึกษาของประเทศแถบตะวันออกกลาง จึงเป็นที่มาว่าทำไม “ห้องศึกษาอาเซียน” ที่จังหวัดสงขลาจึงต้องมีการเรียนการสอน “ภาษามลายู” และจัดมุม Let’s speak English เพราะเป็น 2 ภาษาหลักที่จำเป็นในการสื่อสารของคนใต้กับคนมาเลเซีย เพื่อใช้ในการติดต่อค้าขาย เป็นต้น”
ดร.สุรชัย จิตภักดีบดินทร์ ประธานหอการค้าจังหวัดสงขลา กล่าวว่า แผนงบประมาณปี 2556-2557 จังหวัดสงขลาได้เตรียมความพร้อมการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเอาไว้ 5 โครงการหลัก ได้แก่ 1. การอบรมเรื่องภาษาทางการตลาด 2. การพัฒนาผลิตภัณฑ์ 3. การจัดแสดงสินค้า 4. การจับคู่ธุรกิจเรื่องการเจรจาการค้าระหว่างประเทศไทยกับประเทศใกล้เคียง และ 5. การดูงานกลุ่มอาเซียน โดยมีงบประมาณไม่ต่ำกว่า 16 ล้านบาท ทั้งนี้คู่ค้าสำคัญของภาคใต้ก็คือมาเลเซีย ภาษามลายู และภาษาอังกฤษ ซึ่งถือเป็นภาษากลางในการสื่อสารจึงเป็นความจำเป็นเร่งด่วนที่คนไทยจำเป็นต้องเรียนรู้ จึงเป็นที่มาของการจัดอบรมภาษาทางการตลาดขึ้น.
ภาพ/ข่าว วาสนา ปรีชา
ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์บ้านข่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
There is no related posts.