สนช.เข้าร่วมการเสวนาระดับภูมิภาคว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการลักลอบค้าสัตว์ป่าและพืชป่าที่ผิดกฎหมาย ครั้งที่ 4 (4th Regional Dialogue on Combating Trafficking of Wild Fauna and Flora)
สนช.เข้าร่วมการเสวนาระดับภูมิภาคว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการลักลอบค้าสัตว์ป่าและพืชป่าที่ผิดกฎหมาย ครั้งที่ 4 (4th Regional Dialogue on Combating Trafficking of Wild Fauna and Flora)
สนช.เข้าร่วมการเสวนาระดับภูมิภาคว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการลักลอบค้าสัตว์ป่าและพืชป่าที่ผิดกฎหมาย ครั้งที่ 4 (4th Regional Dialogue on Combating Trafficking of Wild Fauna and Flora)
วันที่ 13 กันยายน 2560 ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ กรุงเทพฯ พลโทชัยยุทธ พร้อมสุข ประธานคณะกรรมาธิการการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สภานิติบัญญัติแห่งชาติ เข้าร่วมการเสวนาระดับภูมิภาคว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการลักลอบค้าสัตว์ป่าและพืชป่าที่ผิดกฎหมาย ครั้งที่ 4 (4th Regional Dialogue on Combating Trafficking of Wild Fauna and Flora) ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 13-14 กันยายน 2560 ตามคำเชิญของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช โดยมี พลเอก สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานเปิดการประชุม ซึ่งได้มีผู้เข้าร่วมประชุมจากประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ตลอดจนตัวแทนขององค์การระหว่างประเทศ และองค์กรภาคประชาสังคม (NGOs) ต่างประเทศ ซึ่งร่วมสนับสนุนการจัดการประชุมในครั้งนี้ ได้แก่ USAID, IUCN, Freeland, WCS, WWF, FAO, WCS และ ZSL เป็นต้น
การจัดประชุมระดับภูมิภาคครั้งนี้เป็นการประชุมระหว่างประเทศที่ต่อยอดจากการประชุมระดับภูมิภาคว่าด้วยการป้องกันการลักลอบตัดและค้าไม้พะยูงที่ผิดกฎหมาย ซึ่งได้จัดมาแล้ว 3 ครั้ง โดยมีประเทศไทยเป็นผู้ผลักดัน สำหรับการประชุมครั้งที่ 4 นี้ได้ขยายหัวข้อเพิ่มเติมจากไม้พะยูงให้ครอบคลุมชนิดพันธุ์สัตว์ป่าที่กำลังเป็นประเด็นปัญหาของภูมิภาคในปัจจุบันอีก 4 รายการ ได้แก่ งาช้าง นอแรด เสือโคร่ง และตัวนิ่ม โดยการประชุมระดับภูมิภาคครั้งนี้มีรูปแบบการประชุมทั้งการประชุมแบบเต็มคณะ (plenary) และการประชุมกลุ่มย่อยแยกตามชนิดพันธุ์สัตว์และพืช (species-based group discussion) โดยมีความมุ่งหมาย 4 ประการ ดังนี้
1. เปิดโอกาสให้ทั้ง 11 ประเทศ นำเสนอรายงานผลความคืบหน้าของประเทศตน (country report) ในการดำเนินการป้องกันและปราบปรามการลักลอบค้าสัตว์ป่าและพืชป่าที่ผิดกฎหมายในช่วงที่ผ่านมา
2. เพื่อกระชับและเสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างประเทศของเจ้าหน้าที่ของรัฐในภูมิภาค
3. เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ การปฏิบัติที่ดี (best practice) และถอดบทเรียนในการออกนโยบายและใช้มาตรการต่าง ๆ ในการป้องกันและปราบปรามการลักลอบค้าสัตว์ป่าและพืชป่าฯ โดยแบ่งออก เป็น 4 ด้าน ได้แก่
3.1 การลดอุปสงค์ความต้องการในการบริโภค
3.2 การบังคับใช้กฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
3.3 การปรับปรุงทบทวนนโยบายและการปฏิรูปกฎหมาย
3.4 การรณรงค์สร้างความตระหนักรู้แก่สาธารณชน
4. เพื่ออภิปรายระดมความคิดเห็นเพื่อประเมินแผนยุทธศาสตร์ระดับภูมิภาคในการจัดการปัญหาการลักลอบค้าสัตว์ป่าฯ แบบบูรณาการ ซึ่งได้แก่ Action Plan for ASEAN Cooperation on CITES and Wildlife enforcement (2016-2020).
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมสืบสานประเพณีลอยกระทง สร้างความสุขทั่วอำเภอขนอม
November 21, 2024
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมส่งเสริมสุขภาพชุมชน สนับสนุนอบรม อสม.ใหม่/ทดแทน
November 21, 2024
อบจ.สงขลา ร่วมรับรางวัลประกาศเกียรติคุณ “ค่าของแผ่นดิน” ประจำปี 2566 ด้านการพัฒนาสังคมและส่งเสริมคุณภาพชีวิต จากโครงการ ...
November 20, 2024
อโกด้าเผย หาดใหญ่คว้าแชมป์เมืองท่องเที่ยวที่คุ้มค่าที่สุดในไทย ช่วงเทศกาลส่งท้ายปี
November 19, 2024