มรภ.สงขลา วางแนวทางพัฒนานักศึกษายุค 4.0 ปรับบทบาทจากเน้นสอนเพื่อความรู้ เปลี่ยนเป็นใช้กิจกรรมสร้างประสบการณ์ เพิ่มภูมิคุ้มกันชีวิต หวังปั้นบัณฑิตเก่ง ดี มีคุณค่าต่อสังคม ป้อนตลาดแรงงาน
อาจารย์จิรภา คงเขียว รองอธิการบดีฝ่ายยุทธศาสตร์การพัฒนานักศึกษาและคุณลักษณะบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดเผยถึงการโครงการอบรมพัฒนานักศึกษา 4.0 เมื่อเร็วนี้ว่า มีจุดมุ่งหมายในการผลิตบัณฑิตให้สอดคล้องกับความต้องการพัฒนากำลังคนภายใต้โมเดล Thailand 4.0 เพื่อพัฒนาประเทศให้ก้าวสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน โดยปรับเปลี่ยนบทบาทจากการสอนเพื่อให้ความรู้ ไปเป็นการพัฒนานักศึกษาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในตัวผู้เรียน ผ่านทางกิจกรรมที่สร้างประสบการณ์การเรียนรู้ ควบคู่ไปกับจัดการศึกษาที่เน้นการลงมือปฏิบัติและสร้างคุณค่าจากสิ่งที่เรียนรู้ ซึ่งจะช่วยพัฒนาสังคมและการดำเนินชีวิตมากกว่าแค่การเรียนรู้ในศาสตร์เท่านั้น โดยได้รับเกียรติจากวิทยากร ดร.จิรวัฒน์ วีรังกร จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ แนะเทคนิคจุดเน้นการพัฒนานักศึกษาให้ทันยุค 4.0 พร้อมทั้งแนะนำการจัดทำแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนานักศึกษาแก่ผู้เข้าอบรม
อาจารย์จิรภา กล่าวว่า การพัฒนานักศึกษาจะต้องทำควบคู่ไปกับงานด้านวิชาการ ปรับตัวและเตรียมการรองรับความเปลี่ยนแปลงของสังคมยุคใหม่ สร้างความตระหนักให้นักศึกษาเห็นความสำคัญของการแก้ปัญหาด้านต่างๆ ของประเทศ โดยยึดฐานคิดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง รวมทั้งพัฒนานักศึกษาให้มีภูมิคุ้มกันในการดำเนินชีวิตที่เหมาะสม เริ่มตั้งแต่กำหนดนโยบาย วางแผนงาน โครงการ สนับสนุนงบประมาณ และพัฒนาบุคลากรด้านกิจการนักศึกษาให้เอื้อต่อการพัฒนานักศึกษาอย่างเหมาะสม ดังนั้น มรภ.สงขลา จึงจัดอบรมในครั้งนี้ขึ้น โดยเชิญกลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็นอาจารย์และเจ้าหน้าที่ที่ดูแลงานด้านพัฒนานักศึกษา เข้ารับข้อมูลข่าวสารและความรู้ใหม่ๆ เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนานักศึกษา และปรับกิจกรรมนักศึกษาในคณะ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันของประเทศ
ด้านผู้เข้าอบรมอย่าง ผศ.วีรชัย มัฏฐารักษ์ รองคณบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาและกิจการพิเศษ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มรภ.สงขลา กล่าวว่า ขอขอบคุณวิทยากรที่ชี้ให้เห็นถึงความท้าทายของการพัฒนานักศึกษาเพื่อเตรียมตัวเป็นพลเมืองโลก จากแนวคิดภาพอนาคตในตลาดงานสำหรับบัณฑิตที่มีแนวโน้มน้อยลง ทว่ากลับมีการแข่งขันกันสูงขึ้น ทำให้รู้สึกตื่นตัวมากขึ้นในฐานะอาจารย์ที่ต้องการให้บัณฑิตจบออกไปอย่างมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ไม่ว่าจะเป็นความรู้ความสามารถ บุคลิกภาพ การอยู่ร่วมกันในสังคม หรือทักษะทางด้านต่างๆ เช่น ภาษาในการสื่อสาร การใช้เทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ ตนในฐานะอาจารย์ผู้สอนที่มีผลต่อการพัฒนาคุณลักษณะบัณฑิต ก็ควรปรับบทบาทหรือแนวทางพัฒนานักศึกษาให้ทันต่อกระแสการเปลี่ยนแปลง ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ท้าทาย
ผศ.วีรชัย กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับแนวคิดเบื้องต้นในการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน ในฐานะที่ตนเป็นประธานหลักสูตรเทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรม (ทล.บ.) ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการปรับปรุงหลักสูตรในปีนี้ มีแนวคิดในการตอบโจทย์ไทยแลนด์ 4.0 เช่น เพิ่มเติมรายวิชาหรือเนื้อหาสาระที่เกี่ยวกับนวัตกรรม/เทคโนโลยีในหลักสูตร เดิมมีรายวิชาการเพิ่มผลผลิตในงานอุตสาหกรรม ปรับเป็นรายวิชาการเพิ่มผลผลิตและนวัตกรรมทางเทคโนโลยี รวมทั้งจัดรูปแบบการเรียนการสอนในรายวิชาโครงงานพิเศษเทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรมและรายวิชาอื่นๆ ในหลักสูตร ให้มีจุดเน้นนำเสนอนวัตกรรม ความคิดสร้างสรรค์ การจัดการแบบสมัยใหม่ ส่วนการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ของนักศึกษา ได้เสนอโครงการเพื่อการจัดการเรียนการสอน โดยในปีงบประมาณ 2561 นำเสนอโครงการจัดการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐาน ภายใต้ชื่อ SPOT (Tech Student Project One Tambon) มีแนวคิดมาจากโมเดล OTOP ซึ่งไทยได้แนวคิดมาจากโมเดล OVOP ของญี่ปุ่น คาดว่าจะสามารถตอบโจทย์การพัฒนานักศึกษา 4.0 ได้ในระดับหนึ่ง
ขณะที่ นายแวอัซมัน แวมูซอ นักวิชาการศึกษา รับผิดชอบงานด้านพัฒนานักศึกษา ประจำคณะวิทยาการจัดการ มรภ.สงขลา ผู้เข้าอบรมอีกคนหนึ่ง กล่าวว่า หลักคิด Thailand 4.0 ง่ายๆ คือ มั่นคง มั่งคั่ง ยั่นยืน หากนำมาเปรียบกับสถาบันการศึกษาแล้ว อาจเทียบได้กับการพัฒนาบัณฑิตที่สามารถก้าวทันเทคโนโลยีแห่งยุค ก้าวทันนวัตกรรมใหม่ๆ ทั้งทางด้านการศึกษา การดำรงชีวิต และสังคม เพื่อให้บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาออกไปสู่โลกแห่งความเป็นจริงสามารถดำรงอยู่ได้ด้วยความมั่นคง และสามารถดำรงตนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว การนำแนวคิด Thailand 4.0 มาประยุกต์ใช้กับการพัฒนานักศึกษาภายในคณะ ทำได้ด้วยการปรับเปลี่ยนกิจกรรมที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัยและสอดแทรกนวัตกรรม เทคโนโลยี และหลักคิดในการพึ่งตนเองตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เพื่อให้นักศึกษาได้รับความรู้ของคำว่า พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน พร้อมทั้งมีคุณธรรมจริยธรรมในตัวเอง
นายแวอัซมัน กล่าวอีกว่า จากการเข้าประชุมอบรมในครั้งนี้ ทำให้ตนได้แนวคิดในการพัฒนานักศึกษา โดยจำแนกออกตามชั้นปี ดังนี้ ปี 1 สอดแทรกกิจกรรม Student Skill (ทักษะการเรียนรู้) การเป็นพลเมืองของสถาบัน การปฐมนิเทศระดับหลักสูตร การปรับพื้นความรู้ในการศึกษาสาขาวิชานั้น ๆ เพื่อให้นักศึกษาใหม่ตกออก หรือมีอัตราการลาออกน้อยลง และการจัดกิจกรรมสานสัมพันธ์ระหว่างบุคคลให้มากขึ้นเพื่อให้มีเพื่อนในการประคับประคอง ช่วยเหลือกันจนจบการศึกษา ส่วนปี 2 สอดแทรกกิจกรรม Survival Skill (การเอาตัวรอด) และ Multi Skill (ทักษะที่หลากหลาย) ทั้งในด้านจิตอาสา คุณธรรมจริยธรรม วิชาการ และนันทนาการ เพื่อให้มีภูมิคุ้มกัน ภูมิรู้ในการเอาตัวรอด ปี 3 สอดแทรกกิจกรรมด้านการสื่อสาร Soft Skill (ทักษะความเป็นมนุษย์) และ Hard Skill (ทักษะทางวิชาการ) เพื่อให้นักศึกษาสามารถต่อยอดในการเตรียมฝึกประสบการณ์ และ ปี 4 สอดแทรกกิจกรรม Creative & Critical & Analysis Thinking Skill (ทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์) การใช้คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ภายในสำนักงาน เพื่อให้สามารถนำไปใช้ในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ/สหกิจศึกษา ซึ่งตนจะนำเสนอแนวคิดนี้ให้ทางคณะฯ พิจารณา เพื่อพัฒนานักศึกษาให้สามารถปรับตัวได้ตามสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป นำความรู้ที่ได้จากการศึกษาเล่าและทำกิจกรรมต่อยอด เอาตัวรอดในตลาดแรงงานได้.
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
November 20, 2024
November 18, 2024
November 13, 2024
November 11, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
มรภ.สงขลา วางกรอบพัฒนานักศึกษา 4.0 ชูกิจกรรมสร้างประสบการณ์เรียนรู้-มีภูมิคุ้มกันชีวิต
มรภ.สงขลา วางแนวทางพัฒนานักศึกษายุค 4.0 ปรับบทบาทจากเน้นสอนเพื่อความรู้ เปลี่ยนเป็นใช้กิจกรรมสร้างประสบการณ์ เพิ่มภูมิคุ้มกันชีวิต หวังปั้นบัณฑิตเก่ง ดี มีคุณค่าต่อสังคม ป้อนตลาดแรงงาน
อาจารย์จิรภา คงเขียว รองอธิการบดีฝ่ายยุทธศาสตร์การพัฒนานักศึกษาและคุณลักษณะบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดเผยถึงการโครงการอบรมพัฒนานักศึกษา 4.0 เมื่อเร็วนี้ว่า มีจุดมุ่งหมายในการผลิตบัณฑิตให้สอดคล้องกับความต้องการพัฒนากำลังคนภายใต้โมเดล Thailand 4.0 เพื่อพัฒนาประเทศให้ก้าวสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน โดยปรับเปลี่ยนบทบาทจากการสอนเพื่อให้ความรู้ ไปเป็นการพัฒนานักศึกษาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในตัวผู้เรียน ผ่านทางกิจกรรมที่สร้างประสบการณ์การเรียนรู้ ควบคู่ไปกับจัดการศึกษาที่เน้นการลงมือปฏิบัติและสร้างคุณค่าจากสิ่งที่เรียนรู้ ซึ่งจะช่วยพัฒนาสังคมและการดำเนินชีวิตมากกว่าแค่การเรียนรู้ในศาสตร์เท่านั้น โดยได้รับเกียรติจากวิทยากร ดร.จิรวัฒน์ วีรังกร จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ แนะเทคนิคจุดเน้นการพัฒนานักศึกษาให้ทันยุค 4.0 พร้อมทั้งแนะนำการจัดทำแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนานักศึกษาแก่ผู้เข้าอบรม
อาจารย์จิรภา กล่าวว่า การพัฒนานักศึกษาจะต้องทำควบคู่ไปกับงานด้านวิชาการ ปรับตัวและเตรียมการรองรับความเปลี่ยนแปลงของสังคมยุคใหม่ สร้างความตระหนักให้นักศึกษาเห็นความสำคัญของการแก้ปัญหาด้านต่างๆ ของประเทศ โดยยึดฐานคิดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง รวมทั้งพัฒนานักศึกษาให้มีภูมิคุ้มกันในการดำเนินชีวิตที่เหมาะสม เริ่มตั้งแต่กำหนดนโยบาย วางแผนงาน โครงการ สนับสนุนงบประมาณ และพัฒนาบุคลากรด้านกิจการนักศึกษาให้เอื้อต่อการพัฒนานักศึกษาอย่างเหมาะสม ดังนั้น มรภ.สงขลา จึงจัดอบรมในครั้งนี้ขึ้น โดยเชิญกลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็นอาจารย์และเจ้าหน้าที่ที่ดูแลงานด้านพัฒนานักศึกษา เข้ารับข้อมูลข่าวสารและความรู้ใหม่ๆ เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนานักศึกษา และปรับกิจกรรมนักศึกษาในคณะ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันของประเทศ
ด้านผู้เข้าอบรมอย่าง ผศ.วีรชัย มัฏฐารักษ์ รองคณบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาและกิจการพิเศษ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มรภ.สงขลา กล่าวว่า ขอขอบคุณวิทยากรที่ชี้ให้เห็นถึงความท้าทายของการพัฒนานักศึกษาเพื่อเตรียมตัวเป็นพลเมืองโลก จากแนวคิดภาพอนาคตในตลาดงานสำหรับบัณฑิตที่มีแนวโน้มน้อยลง ทว่ากลับมีการแข่งขันกันสูงขึ้น ทำให้รู้สึกตื่นตัวมากขึ้นในฐานะอาจารย์ที่ต้องการให้บัณฑิตจบออกไปอย่างมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ไม่ว่าจะเป็นความรู้ความสามารถ บุคลิกภาพ การอยู่ร่วมกันในสังคม หรือทักษะทางด้านต่างๆ เช่น ภาษาในการสื่อสาร การใช้เทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ ตนในฐานะอาจารย์ผู้สอนที่มีผลต่อการพัฒนาคุณลักษณะบัณฑิต ก็ควรปรับบทบาทหรือแนวทางพัฒนานักศึกษาให้ทันต่อกระแสการเปลี่ยนแปลง ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ท้าทาย
ผศ.วีรชัย กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับแนวคิดเบื้องต้นในการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน ในฐานะที่ตนเป็นประธานหลักสูตรเทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรม (ทล.บ.) ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการปรับปรุงหลักสูตรในปีนี้ มีแนวคิดในการตอบโจทย์ไทยแลนด์ 4.0 เช่น เพิ่มเติมรายวิชาหรือเนื้อหาสาระที่เกี่ยวกับนวัตกรรม/เทคโนโลยีในหลักสูตร เดิมมีรายวิชาการเพิ่มผลผลิตในงานอุตสาหกรรม ปรับเป็นรายวิชาการเพิ่มผลผลิตและนวัตกรรมทางเทคโนโลยี รวมทั้งจัดรูปแบบการเรียนการสอนในรายวิชาโครงงานพิเศษเทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรมและรายวิชาอื่นๆ ในหลักสูตร ให้มีจุดเน้นนำเสนอนวัตกรรม ความคิดสร้างสรรค์ การจัดการแบบสมัยใหม่ ส่วนการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ของนักศึกษา ได้เสนอโครงการเพื่อการจัดการเรียนการสอน โดยในปีงบประมาณ 2561 นำเสนอโครงการจัดการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐาน ภายใต้ชื่อ SPOT (Tech Student Project One Tambon) มีแนวคิดมาจากโมเดล OTOP ซึ่งไทยได้แนวคิดมาจากโมเดล OVOP ของญี่ปุ่น คาดว่าจะสามารถตอบโจทย์การพัฒนานักศึกษา 4.0 ได้ในระดับหนึ่ง
ขณะที่ นายแวอัซมัน แวมูซอ นักวิชาการศึกษา รับผิดชอบงานด้านพัฒนานักศึกษา ประจำคณะวิทยาการจัดการ มรภ.สงขลา ผู้เข้าอบรมอีกคนหนึ่ง กล่าวว่า หลักคิด Thailand 4.0 ง่ายๆ คือ มั่นคง มั่งคั่ง ยั่นยืน หากนำมาเปรียบกับสถาบันการศึกษาแล้ว อาจเทียบได้กับการพัฒนาบัณฑิตที่สามารถก้าวทันเทคโนโลยีแห่งยุค ก้าวทันนวัตกรรมใหม่ๆ ทั้งทางด้านการศึกษา การดำรงชีวิต และสังคม เพื่อให้บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาออกไปสู่โลกแห่งความเป็นจริงสามารถดำรงอยู่ได้ด้วยความมั่นคง และสามารถดำรงตนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว การนำแนวคิด Thailand 4.0 มาประยุกต์ใช้กับการพัฒนานักศึกษาภายในคณะ ทำได้ด้วยการปรับเปลี่ยนกิจกรรมที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัยและสอดแทรกนวัตกรรม เทคโนโลยี และหลักคิดในการพึ่งตนเองตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เพื่อให้นักศึกษาได้รับความรู้ของคำว่า พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน พร้อมทั้งมีคุณธรรมจริยธรรมในตัวเอง
นายแวอัซมัน กล่าวอีกว่า จากการเข้าประชุมอบรมในครั้งนี้ ทำให้ตนได้แนวคิดในการพัฒนานักศึกษา โดยจำแนกออกตามชั้นปี ดังนี้ ปี 1 สอดแทรกกิจกรรม Student Skill (ทักษะการเรียนรู้) การเป็นพลเมืองของสถาบัน การปฐมนิเทศระดับหลักสูตร การปรับพื้นความรู้ในการศึกษาสาขาวิชานั้น ๆ เพื่อให้นักศึกษาใหม่ตกออก หรือมีอัตราการลาออกน้อยลง และการจัดกิจกรรมสานสัมพันธ์ระหว่างบุคคลให้มากขึ้นเพื่อให้มีเพื่อนในการประคับประคอง ช่วยเหลือกันจนจบการศึกษา ส่วนปี 2 สอดแทรกกิจกรรม Survival Skill (การเอาตัวรอด) และ Multi Skill (ทักษะที่หลากหลาย) ทั้งในด้านจิตอาสา คุณธรรมจริยธรรม วิชาการ และนันทนาการ เพื่อให้มีภูมิคุ้มกัน ภูมิรู้ในการเอาตัวรอด ปี 3 สอดแทรกกิจกรรมด้านการสื่อสาร Soft Skill (ทักษะความเป็นมนุษย์) และ Hard Skill (ทักษะทางวิชาการ) เพื่อให้นักศึกษาสามารถต่อยอดในการเตรียมฝึกประสบการณ์ และ ปี 4 สอดแทรกกิจกรรม Creative & Critical & Analysis Thinking Skill (ทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์) การใช้คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ภายในสำนักงาน เพื่อให้สามารถนำไปใช้ในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ/สหกิจศึกษา ซึ่งตนจะนำเสนอแนวคิดนี้ให้ทางคณะฯ พิจารณา เพื่อพัฒนานักศึกษาให้สามารถปรับตัวได้ตามสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป นำความรู้ที่ได้จากการศึกษาเล่าและทำกิจกรรมต่อยอด เอาตัวรอดในตลาดแรงงานได้.
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ เปิด”มุมหนังสือนายกสภามหาวิทยาลัย” ณ ห้องสมุด ศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล
November 20, 2024
มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ จับมือ WeStride เปิดตัว “FutureX” หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ออนไลน์ ...
November 18, 2024
โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดรับสมัครนักเรียนระดับบ้านสาธิตปฐมวัยและระดับปฐมวัย (อนุบาล 1) ปีการศึกษา ...
November 13, 2024
มรภ.สงขลา นำผลงานนวัตกรรม นศ.เกษตร “เครื่องหยอดเมล็ดข้าว-กิมจิเห็ดนางฟ้า-ข้าวเกรียบเห็ดรสกิมจิ” ถ่ายทอดสู่ชุมชน
November 11, 2024