สสส. ชู 5 พื้นที่อีสาน ใช้ยุทธศาสตร์เมือง 3 ดี สื่อดี พื้นที่ดี ภูมิดี ดึงเด็ก-เยาวชน ครอบครัว และชุมชน สร้างพลังเชิงบวก ปลุก ปรับ เปลี่ยนเมืองให้น่าอยู่ ผ่านปฏิบัติการ ปลุก-ใจ-เมือง Spark U ต่อยอดเป็นพื้นที่ต้นแบบ สร้างแรงบันดาลใจให้กับพื้นที่อื่นๆ หันมาจุดประกาย ค้นหาและเปลี่ยนแปลงชุมชนของตนเอง
เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2560 ที่ห้องโถงฝั่งทิศตะวันตก ศูนย์ประชุมอเนกประสงค์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยขอนแก่น นายธวัชชัย รื่นรมย์สิริ รองนายกเทศมนตรีนครขอนแก่น เป็น ประธานเปิดนิทรรศการ Spark you ปลุก-ใจ-เมือง โดยมี พระครูบุญชยากร เจ้าอาวาสวัดไชยศรี, นายมานพ แย้มอุทัย กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สสส., นายดนัย หวังบุญชัย ผู้จัดการแผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สสส., ผศ.ดร.ศิริพงษ์ เพียศิริ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายสื่อสารองค์กร มข.,นายบัญชา พระพล ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายศิลปวัฒนธรรมและชุมชนสัมพันธ์ มข., นายพิสุทธิ์ อนุตรอังกูร นายกเทศมนตรีตำบลท่าพระ, พ.ท.พิสิษฐ์ ชาญเจริญ นายกสมาคมสื่อมวลชนจังหวัดขอนแก่น, คุณสุดใจ พรมเกิด ผจก.แผนงานสร้างเสริมฯ และตัวแทนชุมชนเครือข่าย ร่วมพิธีเปิด
ซึ่งการจัดงานครั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากแผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), เครือข่ายสื่อศิลปวัฒนธรรมชุมชนภาคอีสาน, มหาวิทยาลัยขอนแก่น, สมาคมสื่อมวลชนจังหวัดขอนแก่น, เทศบาลนครขอนแก่น, เทศบาลตำบลท่าพระ, ชาวชุมชนสาวะถี, กลุ่มหน่อไม้หวาน, คณะหมอลำหุ่นเด็กเทวดา มหาสารคาม และ เครือข่ายศิลปินภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
นายมานพ แย้มอุทัย กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สสส. กล่าวว่า หลังจากที่โครงการมหกรรมการเรียนรู้ สื่อและพื้นที่สร้างสรรค์ ปฏิบัติการ ปลุก-ใจ-เมือง(SPARK U) โครงการภายใต้การทำงานสร้างเสริมสุขภาวะเด็กและเยาวชน ใช้กระบวนการสื่อสร้างสรรค์และสร้างวิถีสุขภาวะทางปัญญา สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ที่ขับเคลื่อนงานด้วย 3 แผนงานหลัก คือแผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ, แผนงานสื่อสร้างสุขภาวะเด็กและเยาวชน และแผนงานการสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน ได้ดึงพลังเชิงบวกของเด็กเยาวชน ครอบครัว และทุกฝ่ายในชุมชนมาร่วมขับเคลื่อนงานในมิติและประเด็นต่างๆ ใน 3 ภูมิภาค คือ ภาคเหนือ ภาคอีสาน และภาคใต้ โดยแผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ เป็นผู้รับผิดชอบหลักของการดำเนินงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(ภาคอีสาน) และได้เลือกจังหวัดขอนแก่นเป็นพื้นที่ปฏิบัติการ พร้อมดึงเด็ก-เยาวชน และชุมชนมามีส่วนร่วมในการปรับและเปลี่ยนเมือง ปลุกให้ทุกคนในชุมชน ในสังคม ได้ลุกขึ้นมาค้นหาและเปลี่ยนแปลงชุมชนของตนเอง
พ.ท.พิสิษฐ์ ชาญเจริญ นายกสมาคมสื่อมวลชนขอนแก่น กล่าวว่า จากการดำเนินงานที่ผ่านมา สมาคมสื่อมวลชนขอนแก่น หนึ่งในภาคีเครือข่ายที่ทำงานปลุกใจเมือง การทำงานระยะแรกในภาคอีสานนั้น ได้เกิดเครือข่ายการทำงานด้านศิลปวัฒนธรรมขึ้น 3 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดเลย จังหวัดมหาสารคาม และจังหวัดขอนแก่น มาทำโครงการ Spark U ปลุก-ใจ-เมือง เพื่อปลุกให้ทุกคนในชุมชน ในสังคม ได้ลุกขึ้นมาค้นหาและเปลี่ยนแปลงชุมชนของตนเอง
ที่จังหวัดเลย กลุ่มหน่อไม้หวาน ได้ทำโครงการ “ปลุกใจไทเชียงคาน” ที่ลุกขึ้นมาถามคนอำเภอเชียงคานว่า เชียงคานที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ดีแล้วหรือ และหากไม่ดีจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขอย่างไร? ผ่านการใช้กระบวนการสืบค้น ถามหารากเหง้าและหาของดีประจำถิ่นตัวเอง ที่จังหวัดมหาสารคาม ได้ทำโครงการ “ปลุกใจไทนาดูน” โดยมีการถามคนอำเภอนาดูนเรื่องคุณธรรม จริยธรรม หลังจากมีการทุจริตคอร์รัปชั่นเต็มบ้านเต็มเมืองไปหมดผ่านการใช้กระบวนการละครหน้ากากเข้าไปปลุกใจ
ในขณะที่จังหวัดขอนแก่น ได้ดำเนินการใน 3 พื้นที่ ประกอบด้วย สาวะถี ท่าพระ และเทศบาลนครขอนแก่น แต่ละพื้นที่ก็ทำกิจกรรมแตกต่างกันออกไป ที่ชุมชนสาวะถี ลุกขึ้นมาแก้ปัญหาขยะ ชุมชนท่าพระ ลุกมาขอสถานีรถไฟไปเป็นศูนย์เรียนรู้ชุมชน ส่วนที่เทศบาลนครขอนแก่น ชาวชุมชนศรีฐาน ลุกขึ้นมาสืบค้นเมืองเก่าบ้านเราศรีฐาน
“ซึ่งผลสัมฤทธิ์ของแต่ละพื้นที่ได้ผลออกมาเป็นที่น่าพอใจ และได้นำมาเสนอให้เห็นการทำงานในรูปแบบนิทรรศการ Spark U ปลุก-ใจ-เมือง ขึ้นที่ห้องโถงฝั่งทิศตะวันตก ศูนย์ประชุมอเนกประสงค์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยเครือข่ายสื่อศิลปวัฒนธรรมชุมชนภาคอีสาน, เทศบาลนครขอนแก่น, เทศบาลตำบลท่าพระ, ชาวชุมชนสาวะถี, กลุ่มหน่อไม้หวาน จังหวัดเลย, คณะหมอลำหุ่นเด็กเทวดา จังหวัดมหาสารคาม, เครือข่ายศิลปินภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และสมาคมสื่อมวลชนจังหวัดขอนแก่น ด้วยการสนับสนุนจากแผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ซึ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะทำให้เกิดการเรียนรู้ และนำไปสู่การต่อยอดในการปลุกพื้นที่อื่นๆ ให้ลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลงอะไรบางอย่าง เพื่อให้ชุมชนของตนเองดีขึ้น มีพื้นที่สร้างสรรค์สำหรับทุกคน และทำให้คนในสังคมนั้นเป็นสุข” พ.ท.พิสิษฐ์ กล่าว ด้านนายธวัชชัย รื่นรมย์ศิริ รองนายกเทศมนตรีเทศบาลนครขอนแก่น กล่าวว่า ผลสัมฤทธิ์ที่เกิดจากการร่วมมือกันทำงานทั้งของชุมชน ผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นักเรียน และครูทั้ง 5 พื้นที่ถือเป็นโครงการที่ดี ที่เปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนได้ทำงานร่วมกัน รวมไปถึงเป็นกิจกรรมดีๆ ที่เกิดขึ้นทำให้ชุมชนได้คิดค้น เปลี่ยนแปลงให้ชุมชนดีขึ้นเพื่อประโยชน์กับท้องถิ่นอย่างยั่งยืน สำหรับ โครงการมหกรรมการเรียนรู้ สื่อและพื้นที่สร้างสรรค์ ปฏิบัติการ ปลุก-ใจ-เมือง(SPARK U) ภาคอีสาน ทำให้เกิดพื้นที่และกิจกรรมต้นแบบขึ้นแล้วจำนวน 5 พื้นที่ ซึ่งทั้งหมดนี้จะนำไปสู่การเปิดโอกาสให้เด็กเยาวชนได้มีส่วนร่วมในกระบวนการสื่อและพื้นที่สร้างสรรค์ เกิดเป็นพลเมืองตื่นรู้ และปลุกใจของคนทั้งเมืองให้ลุกขึ้นมาทำในสิ่งเดียวกัน จนนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีกว่าต่อไป
ทั้งหมดนี้เป็นโมเดลและพื้นที่ต้นแบบที่เกิดขึ้นแล้วในปีนี้ สำหรับพื้นที่อื่นๆ ที่สนใจนำไปเป็นต้นแบบให้กับพื้นที่ของตัวเองหรือพื้นที่ใกล้เคียง สามารถเข้ามาเรียนรู้การดำเนินงานได้โดยตรงใน 5 พื้นที่นี้ หรือติดต่อมายังโครงการมหกรรมการเรียนรู้ สื่อและพื้นที่สร้างสรรค์ ปฏิบัติการ ปลุก-ใจ-เมือง (SPARK U) ภาคอีสาน ได้ที่ www.artculture4health.com และที่ www.facebook.com/DekBandanJai
มาร่วมกันสร้างสรรค์พื้นที่สุขภาวะเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงให้ครอบคลุมทั่วทั้งประเทศร่วมกัน.
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
November 21, 2024
November 20, 2024
November 19, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
Spark U “ปลุก-ใจ-เมือง”อีสาน ลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลงชุมชนให้น่าอยู่
สสส. ชู 5 พื้นที่อีสาน ใช้ยุทธศาสตร์เมือง 3 ดี สื่อดี พื้นที่ดี ภูมิดี ดึงเด็ก-เยาวชน ครอบครัว และชุมชน สร้างพลังเชิงบวก ปลุก ปรับ เปลี่ยนเมืองให้น่าอยู่ ผ่านปฏิบัติการ ปลุก-ใจ-เมือง Spark U ต่อยอดเป็นพื้นที่ต้นแบบ สร้างแรงบันดาลใจให้กับพื้นที่อื่นๆ หันมาจุดประกาย ค้นหาและเปลี่ยนแปลงชุมชนของตนเอง
เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2560 ที่ห้องโถงฝั่งทิศตะวันตก ศูนย์ประชุมอเนกประสงค์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยขอนแก่น นายธวัชชัย รื่นรมย์สิริ รองนายกเทศมนตรีนครขอนแก่น เป็น ประธานเปิดนิทรรศการ Spark you ปลุก-ใจ-เมือง โดยมี พระครูบุญชยากร เจ้าอาวาสวัดไชยศรี, นายมานพ แย้มอุทัย กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สสส., นายดนัย หวังบุญชัย ผู้จัดการแผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สสส., ผศ.ดร.ศิริพงษ์ เพียศิริ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายสื่อสารองค์กร มข.,นายบัญชา พระพล ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายศิลปวัฒนธรรมและชุมชนสัมพันธ์ มข., นายพิสุทธิ์ อนุตรอังกูร นายกเทศมนตรีตำบลท่าพระ, พ.ท.พิสิษฐ์ ชาญเจริญ นายกสมาคมสื่อมวลชนจังหวัดขอนแก่น, คุณสุดใจ พรมเกิด ผจก.แผนงานสร้างเสริมฯ และตัวแทนชุมชนเครือข่าย ร่วมพิธีเปิด
ซึ่งการจัดงานครั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากแผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), เครือข่ายสื่อศิลปวัฒนธรรมชุมชนภาคอีสาน, มหาวิทยาลัยขอนแก่น, สมาคมสื่อมวลชนจังหวัดขอนแก่น, เทศบาลนครขอนแก่น, เทศบาลตำบลท่าพระ, ชาวชุมชนสาวะถี, กลุ่มหน่อไม้หวาน, คณะหมอลำหุ่นเด็กเทวดา มหาสารคาม และ เครือข่ายศิลปินภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
นายมานพ แย้มอุทัย กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สสส. กล่าวว่า หลังจากที่โครงการมหกรรมการเรียนรู้ สื่อและพื้นที่สร้างสรรค์ ปฏิบัติการ ปลุก-ใจ-เมือง(SPARK U) โครงการภายใต้การทำงานสร้างเสริมสุขภาวะเด็กและเยาวชน ใช้กระบวนการสื่อสร้างสรรค์และสร้างวิถีสุขภาวะทางปัญญา สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ที่ขับเคลื่อนงานด้วย 3 แผนงานหลัก คือแผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ, แผนงานสื่อสร้างสุขภาวะเด็กและเยาวชน และแผนงานการสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน ได้ดึงพลังเชิงบวกของเด็กเยาวชน ครอบครัว และทุกฝ่ายในชุมชนมาร่วมขับเคลื่อนงานในมิติและประเด็นต่างๆ ใน 3 ภูมิภาค คือ ภาคเหนือ ภาคอีสาน และภาคใต้ โดยแผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ เป็นผู้รับผิดชอบหลักของการดำเนินงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(ภาคอีสาน) และได้เลือกจังหวัดขอนแก่นเป็นพื้นที่ปฏิบัติการ พร้อมดึงเด็ก-เยาวชน และชุมชนมามีส่วนร่วมในการปรับและเปลี่ยนเมือง ปลุกให้ทุกคนในชุมชน ในสังคม ได้ลุกขึ้นมาค้นหาและเปลี่ยนแปลงชุมชนของตนเอง
พ.ท.พิสิษฐ์ ชาญเจริญ นายกสมาคมสื่อมวลชนขอนแก่น กล่าวว่า จากการดำเนินงานที่ผ่านมา สมาคมสื่อมวลชนขอนแก่น หนึ่งในภาคีเครือข่ายที่ทำงานปลุกใจเมือง การทำงานระยะแรกในภาคอีสานนั้น ได้เกิดเครือข่ายการทำงานด้านศิลปวัฒนธรรมขึ้น 3 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดเลย จังหวัดมหาสารคาม และจังหวัดขอนแก่น มาทำโครงการ Spark U ปลุก-ใจ-เมือง เพื่อปลุกให้ทุกคนในชุมชน ในสังคม ได้ลุกขึ้นมาค้นหาและเปลี่ยนแปลงชุมชนของตนเอง
ที่จังหวัดเลย กลุ่มหน่อไม้หวาน ได้ทำโครงการ “ปลุกใจไทเชียงคาน” ที่ลุกขึ้นมาถามคนอำเภอเชียงคานว่า เชียงคานที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ดีแล้วหรือ และหากไม่ดีจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขอย่างไร? ผ่านการใช้กระบวนการสืบค้น ถามหารากเหง้าและหาของดีประจำถิ่นตัวเอง ที่จังหวัดมหาสารคาม ได้ทำโครงการ “ปลุกใจไทนาดูน” โดยมีการถามคนอำเภอนาดูนเรื่องคุณธรรม จริยธรรม หลังจากมีการทุจริตคอร์รัปชั่นเต็มบ้านเต็มเมืองไปหมดผ่านการใช้กระบวนการละครหน้ากากเข้าไปปลุกใจ
ในขณะที่จังหวัดขอนแก่น ได้ดำเนินการใน 3 พื้นที่ ประกอบด้วย สาวะถี ท่าพระ และเทศบาลนครขอนแก่น แต่ละพื้นที่ก็ทำกิจกรรมแตกต่างกันออกไป ที่ชุมชนสาวะถี ลุกขึ้นมาแก้ปัญหาขยะ ชุมชนท่าพระ ลุกมาขอสถานีรถไฟไปเป็นศูนย์เรียนรู้ชุมชน ส่วนที่เทศบาลนครขอนแก่น ชาวชุมชนศรีฐาน ลุกขึ้นมาสืบค้นเมืองเก่าบ้านเราศรีฐาน
“ซึ่งผลสัมฤทธิ์ของแต่ละพื้นที่ได้ผลออกมาเป็นที่น่าพอใจ และได้นำมาเสนอให้เห็นการทำงานในรูปแบบนิทรรศการ Spark U ปลุก-ใจ-เมือง ขึ้นที่ห้องโถงฝั่งทิศตะวันตก ศูนย์ประชุมอเนกประสงค์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยเครือข่ายสื่อศิลปวัฒนธรรมชุมชนภาคอีสาน, เทศบาลนครขอนแก่น, เทศบาลตำบลท่าพระ, ชาวชุมชนสาวะถี, กลุ่มหน่อไม้หวาน จังหวัดเลย, คณะหมอลำหุ่นเด็กเทวดา จังหวัดมหาสารคาม, เครือข่ายศิลปินภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และสมาคมสื่อมวลชนจังหวัดขอนแก่น ด้วยการสนับสนุนจากแผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ซึ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะทำให้เกิดการเรียนรู้ และนำไปสู่การต่อยอดในการปลุกพื้นที่อื่นๆ ให้ลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลงอะไรบางอย่าง เพื่อให้ชุมชนของตนเองดีขึ้น มีพื้นที่สร้างสรรค์สำหรับทุกคน และทำให้คนในสังคมนั้นเป็นสุข” พ.ท.พิสิษฐ์ กล่าว
ด้านนายธวัชชัย รื่นรมย์ศิริ รองนายกเทศมนตรีเทศบาลนครขอนแก่น กล่าวว่า ผลสัมฤทธิ์ที่เกิดจากการร่วมมือกันทำงานทั้งของชุมชน ผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นักเรียน และครูทั้ง 5 พื้นที่ถือเป็นโครงการที่ดี ที่เปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนได้ทำงานร่วมกัน รวมไปถึงเป็นกิจกรรมดีๆ ที่เกิดขึ้นทำให้ชุมชนได้คิดค้น เปลี่ยนแปลงให้ชุมชนดีขึ้นเพื่อประโยชน์กับท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
สำหรับ โครงการมหกรรมการเรียนรู้ สื่อและพื้นที่สร้างสรรค์ ปฏิบัติการ ปลุก-ใจ-เมือง(SPARK U) ภาคอีสาน ทำให้เกิดพื้นที่และกิจกรรมต้นแบบขึ้นแล้วจำนวน 5 พื้นที่ ซึ่งทั้งหมดนี้จะนำไปสู่การเปิดโอกาสให้เด็กเยาวชนได้มีส่วนร่วมในกระบวนการสื่อและพื้นที่สร้างสรรค์ เกิดเป็นพลเมืองตื่นรู้ และปลุกใจของคนทั้งเมืองให้ลุกขึ้นมาทำในสิ่งเดียวกัน จนนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีกว่าต่อไป
ทั้งหมดนี้เป็นโมเดลและพื้นที่ต้นแบบที่เกิดขึ้นแล้วในปีนี้ สำหรับพื้นที่อื่นๆ ที่สนใจนำไปเป็นต้นแบบให้กับพื้นที่ของตัวเองหรือพื้นที่ใกล้เคียง สามารถเข้ามาเรียนรู้การดำเนินงานได้โดยตรงใน 5 พื้นที่นี้ หรือติดต่อมายังโครงการมหกรรมการเรียนรู้ สื่อและพื้นที่สร้างสรรค์ ปฏิบัติการ ปลุก-ใจ-เมือง (SPARK U) ภาคอีสาน ได้ที่ www.artculture4health.com และที่ www.facebook.com/DekBandanJai
มาร่วมกันสร้างสรรค์พื้นที่สุขภาวะเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงให้ครอบคลุมทั่วทั้งประเทศร่วมกัน.
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมสืบสานประเพณีลอยกระทง สร้างความสุขทั่วอำเภอขนอม
November 21, 2024
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมส่งเสริมสุขภาพชุมชน สนับสนุนอบรม อสม.ใหม่/ทดแทน
November 21, 2024
อบจ.สงขลา ร่วมรับรางวัลประกาศเกียรติคุณ “ค่าของแผ่นดิน” ประจำปี 2566 ด้านการพัฒนาสังคมและส่งเสริมคุณภาพชีวิต จากโครงการ ...
November 20, 2024
อโกด้าเผย หาดใหญ่คว้าแชมป์เมืองท่องเที่ยวที่คุ้มค่าที่สุดในไทย ช่วงเทศกาลส่งท้ายปี
November 19, 2024