วันพุธที่ 26 กรกฎาคม 2560 เวลา 12.00-12.30 น. นำโดยนายชาญชัย ขุนเพชร พัฒนาการอำเภอนาทวี นายนิคมสุสานนท์พัฒนากรประจำตำบลฉางร่วมกับ ผู้ใหญ่บ้าน,ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน , แพทย์ประจำตำบลฉาง และบัณฑิตอาสาฯ ร่วมเยี่ยมชม การทำสวนเกษตรแบบพอเพียง (เกษตรแบบผสมผสาน) ในเนื้อที่ 1 ไร่ ของนางปลื้มจิต รัตนวิสุทธิ์ ชาวบ้าน บ้านโพรงจระเข้ หมู่ที่ 5 ตำบลฉาง อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา
เกษตรผสมผสาน เป็นระบบเกษตรที่มีการปลูกพืชหรือมีการเลี้ยงสัตว์ที่หลากหลาย ในพื้นที่เดียวกันโดยกิจกรรมแต่ละชนิดจะต้องเกื้อกูลประโยชน์ต่อกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างเหมาะสมเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดและเพิ่มพูนความอดุมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ เป็นแนวคิดที่ทำได้จริงและสามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตได้เป็นเป็นอย่างดี ระบบเกษตรผสมผสานจึงเป็นรูปแบบหนึ่งของระบบเกษตรกรรมที่มีกิจกรรมตั้งแต่ 2 กิจกรรมขึ้นไปในพื้นที่เดียวกัน และกิจกรรมเหล่านี้จะมีการเกื้อกูลประโยชน์ซึ่งกันและกันไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ดังนั้น จึงเป็นระบบที่นำไปสู่ การเกษตร แบบยั่งยืน (Sustainable Agriculture) จึงก่อให้เกิดผลดีและประโยชน์ในด้านต่าง ๆ เช่น 1. ลดความเสี่ยงจากความแปรปรวนของสภาพลม ฟ้า อากาศ จากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่มีความแปรปรวนในแต่ละปี เช่น เกิดภาวะฝนแล้ง ฝนทิ้งช่วง น้ำท่วมฉับพลัน เป็นต้น เป็นปัญหาที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อเกษตรกรที่มีกิจกรรมการเกษตรเพียง อย่างเดียว 2. ช่วยเพิ่มรายได้และกระจายรายได้ตลอดปี การดำเนินระบบเกษตรผสมผสานซึ่งมีกิจกรรมหลายกิจกรรม ในพื้นที่เดียวกัน ทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นและมีรายได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจเป็นรายได้ รายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน และรายได้ประจำฤดูกาล 3. ช่วยให้เกษตรกรมีอาหารเพียงพอต่อการบริโภคภายในครัวเรือน ในการดำเนินระบบเกษตรผสมผสานที่มีหลายกิจกรรมช่วยทำให้เกษตรกรสามารถมีอาหารไว้บริโภคในครอบครัวครบทุกหมู่ 4. ลดความเสี่ยงจากความผันแปรของราคาผลผลิต ในการดำเนินระบบการเกษตรที่มีเพียงกิจกรรมเดียว ที่มีการผลิตเป็นจำนวนมาก ผลผลิตที่ได้เมื่อออกสู่ตลาดพร้อมกัน เมื่อมีปริมาณ เกินความต้องการของตลาดย่อมทำให้ราคาของผลผลิตต่ำลง 5.ช่วยกระจายการใช้แรงงาน ทำให้มีงานทำตลอดปี 6.ช่วยก่อให้เกิดการหมุนเวียน ของกิจกรรมต่างๆ 7.ช่วยอนุรักษ์ทรัพยากรไม่ให้เสื่อมสลายหรือถูกใช้ให้หมดอย่างรวดเร็ว
ซึ่งทางไร่บัวปัณณ์ ออร์แกนิค (ตามโครงการเกษตรผสมผสาน ตามรอยเท้าพ่อ 1 ไร่ ได้หลายแสน) ของนางปลื้มจิต รัตนวิสุทธ์ เป็นตัวอย่างแหล่งเรียนรู้ของคนในชุมชน ที่มีการทำเกษตรผสมผสาน โดยการเพาะปลูกพืชผักที่หลากหลายชนิด เช่น มะเขือกินใบ,มันญี่ปุ่นกินใบ,ชะอม,มะนาว,ผักน้ำ(watercrep),ผักบุ้ง,แคร์แดง,กระเจี๊ยบแดง เป็นต้น มีการเลี้ยงปลาในกระชังหลากหลายชนิด เช่น ปลาดุก ปลานิล ปลาทับทิม ปลาตะเพียน ปลาสวาย เป็นต้น เป็นการทำเกษตรผสมผสาน โดยใช้พื้นที่เดียวกัน เพียง 1 ไร่ อย่างครบวงจร.
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
November 21, 2024
November 20, 2024
November 19, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
ตำบลฉาง อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลาเยี่ยมชมไร่บัวปัณณ์ ออร์แกนิค (ตามโครงการเกษตรผสมผสาน ตามรอยเท้าพ่อ 1 ไร่ ได้หลายแสน)
วันพุธที่ 26 กรกฎาคม 2560 เวลา 12.00-12.30 น. นำโดยนายชาญชัย ขุนเพชร พัฒนาการอำเภอนาทวี นายนิคมสุสานนท์พัฒนากรประจำตำบลฉางร่วมกับ ผู้ใหญ่บ้าน,ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน , แพทย์ประจำตำบลฉาง และบัณฑิตอาสาฯ ร่วมเยี่ยมชม การทำสวนเกษตรแบบพอเพียง (เกษตรแบบผสมผสาน) ในเนื้อที่ 1 ไร่ ของนางปลื้มจิต รัตนวิสุทธิ์ ชาวบ้าน บ้านโพรงจระเข้ หมู่ที่ 5 ตำบลฉาง อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา
เกษตรผสมผสาน เป็นระบบเกษตรที่มีการปลูกพืชหรือมีการเลี้ยงสัตว์ที่หลากหลาย ในพื้นที่เดียวกันโดยกิจกรรมแต่ละชนิดจะต้องเกื้อกูลประโยชน์ต่อกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างเหมาะสมเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดและเพิ่มพูนความอดุมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ เป็นแนวคิดที่ทำได้จริงและสามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตได้เป็นเป็นอย่างดี
ระบบเกษตรผสมผสานจึงเป็นรูปแบบหนึ่งของระบบเกษตรกรรมที่มีกิจกรรมตั้งแต่ 2 กิจกรรมขึ้นไปในพื้นที่เดียวกัน และกิจกรรมเหล่านี้จะมีการเกื้อกูลประโยชน์ซึ่งกันและกันไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ดังนั้น จึงเป็นระบบที่นำไปสู่ การเกษตร แบบยั่งยืน (Sustainable Agriculture) จึงก่อให้เกิดผลดีและประโยชน์ในด้านต่าง ๆ เช่น
1. ลดความเสี่ยงจากความแปรปรวนของสภาพลม ฟ้า อากาศ จากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่มีความแปรปรวนในแต่ละปี เช่น เกิดภาวะฝนแล้ง ฝนทิ้งช่วง น้ำท่วมฉับพลัน เป็นต้น เป็นปัญหาที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อเกษตรกรที่มีกิจกรรมการเกษตรเพียง อย่างเดียว
2. ช่วยเพิ่มรายได้และกระจายรายได้ตลอดปี การดำเนินระบบเกษตรผสมผสานซึ่งมีกิจกรรมหลายกิจกรรม ในพื้นที่เดียวกัน ทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นและมีรายได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจเป็นรายได้ รายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน และรายได้ประจำฤดูกาล
3. ช่วยให้เกษตรกรมีอาหารเพียงพอต่อการบริโภคภายในครัวเรือน ในการดำเนินระบบเกษตรผสมผสานที่มีหลายกิจกรรมช่วยทำให้เกษตรกรสามารถมีอาหารไว้บริโภคในครอบครัวครบทุกหมู่
4. ลดความเสี่ยงจากความผันแปรของราคาผลผลิต ในการดำเนินระบบการเกษตรที่มีเพียงกิจกรรมเดียว ที่มีการผลิตเป็นจำนวนมาก ผลผลิตที่ได้เมื่อออกสู่ตลาดพร้อมกัน เมื่อมีปริมาณ เกินความต้องการของตลาดย่อมทำให้ราคาของผลผลิตต่ำลง
5.ช่วยกระจายการใช้แรงงาน ทำให้มีงานทำตลอดปี
6.ช่วยก่อให้เกิดการหมุนเวียน ของกิจกรรมต่างๆ
7.ช่วยอนุรักษ์ทรัพยากรไม่ให้เสื่อมสลายหรือถูกใช้ให้หมดอย่างรวดเร็ว
ซึ่งทางไร่บัวปัณณ์ ออร์แกนิค (ตามโครงการเกษตรผสมผสาน ตามรอยเท้าพ่อ 1 ไร่ ได้หลายแสน) ของนางปลื้มจิต รัตนวิสุทธ์ เป็นตัวอย่างแหล่งเรียนรู้ของคนในชุมชน ที่มีการทำเกษตรผสมผสาน โดยการเพาะปลูกพืชผักที่หลากหลายชนิด เช่น มะเขือกินใบ,มันญี่ปุ่นกินใบ,ชะอม,มะนาว,ผักน้ำ(watercrep),ผักบุ้ง,แคร์แดง,กระเจี๊ยบแดง เป็นต้น มีการเลี้ยงปลาในกระชังหลากหลายชนิด เช่น ปลาดุก ปลานิล ปลาทับทิม ปลาตะเพียน ปลาสวาย เป็นต้น เป็นการทำเกษตรผสมผสาน โดยใช้พื้นที่เดียวกัน เพียง 1 ไร่ อย่างครบวงจร.
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมสืบสานประเพณีลอยกระทง สร้างความสุขทั่วอำเภอขนอม
November 21, 2024
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมส่งเสริมสุขภาพชุมชน สนับสนุนอบรม อสม.ใหม่/ทดแทน
November 21, 2024
อบจ.สงขลา ร่วมรับรางวัลประกาศเกียรติคุณ “ค่าของแผ่นดิน” ประจำปี 2566 ด้านการพัฒนาสังคมและส่งเสริมคุณภาพชีวิต จากโครงการ ...
November 20, 2024
อโกด้าเผย หาดใหญ่คว้าแชมป์เมืองท่องเที่ยวที่คุ้มค่าที่สุดในไทย ช่วงเทศกาลส่งท้ายปี
November 19, 2024