มรภ.สงขลา ลงนามข้อตกลงสถาบันวิทยาลัยชุมชน ร่วมสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการ พัฒนาหลักสูตร เปิดช่องให้ผู้เรียนเทียบโอนหน่วยกิตได้ หวังสร้างโอกาสทางการศึกษา ยกระดับคุณภาพชีวิต
ผศ.ดร.นิวัติ กลิ่นงาม อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ มรภ.สงขลา นำโดย ศ.ดร.จรัส สุวรรณมาลา นายกสภาฯ พร้อมด้วยอธิการบดี ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือว่าด้วยการสนับสนุน ส่งเสริมความเข้มแข็งด้านวิชาการ ระหว่าง มรภ.สงขลา กับสถาบันวิทยาลัยชุมชน (วชช.) นำโดย ดร.สิริกร มณีรินทร์ นายกสภา วชช. และ นายวีระชัย กวีธีระวัฒน์ ผู้อำนวยการฯ ซึ่งทั้งสองฝ่ายมีวัตถุประสงค์ที่จะร่วมกันพัฒนาหลักสูตรการจัดการศึกษาร่วม สำหรับเทียบโอนหน่วยกิตในแต่ละสาขา รวมทั้งประสานความร่วมมือสนับสนุน ส่งเสริมความเข้มแข็งด้านวิชาการ ที่สอดคล้องกับความต้องการของสังคม สร้างโอกาสทางการศึกษาให้แก่นักศึกษาในชุมชน และพัฒนาสังคมสู่ความเข้มแข็งและยั่งยืน ตลอดจนสนับสนุนการศึกษาวิจัย บริการวิชาการ ศิลปะและวัฒนธรรม เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้และการอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุขในสังคมพหุวัฒนธรรมในพื้นที่หรือจังหวัดต่างๆ ของภาคใต้ ส่งเสริมการประกอบอาชีพ การท่องเที่ยว และอื่นๆ ตามความเหมาะสม โดยทั้งสองฝ่ายจัดให้มีผู้แทนของแต่ละฝ่าย อย่างน้อยฝ่ายละ 1 คน ร่วมจัดทำแผนบริหารจัดการในระดับต่างๆ การประสานงาน รวมทั้งการติดตาม ประเมินผล และปรับปรุงแผนการบริหารจัดการ
ผศ.ดร.นิวัติ กล่าวว่า มรภ.สงขลา เข้ามามีส่วนร่วมในการทำงานร่วมกับ วชช. ตั้งแต่ พ.ศ.2549 โดยมีผู้แทนผู้บริหารในตำแหน่งรองอธิการ มีโอกาสเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการสภา วชช.สตูล วชช.สงขลา และคณาจารย์บางส่วนเข้าทำงานในบทบาทคณะกรรมการสภาวิชาการฯ วิทยากรประจำหลักสูตรการอบรมระยะสั้น และในฐานะผู้ทรงคุณวุฒิในภารกิจต่างๆ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการทำงานร่วมกันมาตั้งแต่ต้น คือ ผศ.ดร.ป้องศักดิ์ ทองเนื้อแข็ง รองอธิการบดีฝ่ายยุทธศาสตร์การสร้างความเข้มแข็งของชุมชน และ ดร.บรรจง ทองสร้าง ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา ตัวอย่างอย่างร่วมมือระหว่าง มรภ.สงขลา กับ วชช.สตูล อาทิ จัดอบรมมัคคุเทศก์เฉพาะ (ทางชายฝั่ง ตั้งแต่ รุ่นที่ 1-13 ในปัจจุบัน) ตัวแทนโปรแกรมวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว คณะวิทยาการจัดการ พัฒนาหลักสูตรการท่องเที่ยวขึ้นเป็นครั้งแรก และได้รับการประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้ผู้สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรดังกล่าว ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมัคคุเทศก์ทั่วไปภาษาต่างประเทศ เป็นที่แรกของประเทศไทย ขับเคลื่อนอุทยานธรณีสตูล จัดอบรมหลักสูตรการจัดการโฮมสเตย์ในพื้นที่ต่างๆ
“นอกจากนั้น มรภ.สงขลา ยังร่วมมือกับวิทยาลัยชุมชนอื่นๆ ในภาคใต้ อย่างเช่น พัฒนาหลักสูตรอบรมมัคคุเทศก์เฉพาะ (ต่างประเทศ เฉพาะพื้นที่) ให้กับ วชช.พังงา จัดโครงการจัดการท่องเที่ยวชุมชน ให้กับ วชช.ยะลา จัดโครงการศึกษาวิจัย ศักยภาพการจัดการท่องเที่ยวชุมชน พัฒนาทักษะการเขียนบทความวิชาการ ร่วมกับ วชช.ปัตตานี จัดโครงการท่องเที่ยวชุมชน และวิพากษ์หลักสูตรอนุปริญญาศิลปศาสตร์ สาขาการท่องเที่ยว ร่วมกับ วชช.นราธิวาส เป็นต้น” อธิการบดี มรภ.สงขลา กล่าว.
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
November 20, 2024
November 18, 2024
November 13, 2024
November 11, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
มรภ.สงขลา ลงนามความร่วมมือ วชช. รุกสร้างความเข้มแข็งวิชาการ
มรภ.สงขลา ลงนามข้อตกลงสถาบันวิทยาลัยชุมชน ร่วมสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการ พัฒนาหลักสูตร เปิดช่องให้ผู้เรียนเทียบโอนหน่วยกิตได้ หวังสร้างโอกาสทางการศึกษา ยกระดับคุณภาพชีวิต
ผศ.ดร.นิวัติ กลิ่นงาม อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ มรภ.สงขลา นำโดย ศ.ดร.จรัส สุวรรณมาลา นายกสภาฯ พร้อมด้วยอธิการบดี ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือว่าด้วยการสนับสนุน ส่งเสริมความเข้มแข็งด้านวิชาการ ระหว่าง มรภ.สงขลา กับสถาบันวิทยาลัยชุมชน (วชช.) นำโดย ดร.สิริกร มณีรินทร์ นายกสภา วชช. และ นายวีระชัย กวีธีระวัฒน์ ผู้อำนวยการฯ ซึ่งทั้งสองฝ่ายมีวัตถุประสงค์ที่จะร่วมกันพัฒนาหลักสูตรการจัดการศึกษาร่วม สำหรับเทียบโอนหน่วยกิตในแต่ละสาขา รวมทั้งประสานความร่วมมือสนับสนุน ส่งเสริมความเข้มแข็งด้านวิชาการ ที่สอดคล้องกับความต้องการของสังคม สร้างโอกาสทางการศึกษาให้แก่นักศึกษาในชุมชน และพัฒนาสังคมสู่ความเข้มแข็งและยั่งยืน ตลอดจนสนับสนุนการศึกษาวิจัย บริการวิชาการ ศิลปะและวัฒนธรรม เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้และการอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุขในสังคมพหุวัฒนธรรมในพื้นที่หรือจังหวัดต่างๆ ของภาคใต้ ส่งเสริมการประกอบอาชีพ การท่องเที่ยว และอื่นๆ ตามความเหมาะสม โดยทั้งสองฝ่ายจัดให้มีผู้แทนของแต่ละฝ่าย อย่างน้อยฝ่ายละ 1 คน ร่วมจัดทำแผนบริหารจัดการในระดับต่างๆ การประสานงาน รวมทั้งการติดตาม ประเมินผล และปรับปรุงแผนการบริหารจัดการ
ผศ.ดร.นิวัติ กล่าวว่า มรภ.สงขลา เข้ามามีส่วนร่วมในการทำงานร่วมกับ วชช. ตั้งแต่ พ.ศ.2549 โดยมีผู้แทนผู้บริหารในตำแหน่งรองอธิการ มีโอกาสเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการสภา วชช.สตูล วชช.สงขลา และคณาจารย์บางส่วนเข้าทำงานในบทบาทคณะกรรมการสภาวิชาการฯ วิทยากรประจำหลักสูตรการอบรมระยะสั้น และในฐานะผู้ทรงคุณวุฒิในภารกิจต่างๆ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการทำงานร่วมกันมาตั้งแต่ต้น คือ ผศ.ดร.ป้องศักดิ์ ทองเนื้อแข็ง รองอธิการบดีฝ่ายยุทธศาสตร์การสร้างความเข้มแข็งของชุมชน และ ดร.บรรจง ทองสร้าง ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา ตัวอย่างอย่างร่วมมือระหว่าง มรภ.สงขลา กับ วชช.สตูล อาทิ จัดอบรมมัคคุเทศก์เฉพาะ (ทางชายฝั่ง ตั้งแต่ รุ่นที่ 1-13 ในปัจจุบัน) ตัวแทนโปรแกรมวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว คณะวิทยาการจัดการ พัฒนาหลักสูตรการท่องเที่ยวขึ้นเป็นครั้งแรก และได้รับการประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้ผู้สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรดังกล่าว ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมัคคุเทศก์ทั่วไปภาษาต่างประเทศ เป็นที่แรกของประเทศไทย ขับเคลื่อนอุทยานธรณีสตูล จัดอบรมหลักสูตรการจัดการโฮมสเตย์ในพื้นที่ต่างๆ
“นอกจากนั้น มรภ.สงขลา ยังร่วมมือกับวิทยาลัยชุมชนอื่นๆ ในภาคใต้ อย่างเช่น พัฒนาหลักสูตรอบรมมัคคุเทศก์เฉพาะ (ต่างประเทศ เฉพาะพื้นที่) ให้กับ วชช.พังงา จัดโครงการจัดการท่องเที่ยวชุมชน ให้กับ วชช.ยะลา จัดโครงการศึกษาวิจัย ศักยภาพการจัดการท่องเที่ยวชุมชน พัฒนาทักษะการเขียนบทความวิชาการ ร่วมกับ วชช.ปัตตานี จัดโครงการท่องเที่ยวชุมชน และวิพากษ์หลักสูตรอนุปริญญาศิลปศาสตร์ สาขาการท่องเที่ยว ร่วมกับ วชช.นราธิวาส เป็นต้น” อธิการบดี มรภ.สงขลา กล่าว.
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ เปิด”มุมหนังสือนายกสภามหาวิทยาลัย” ณ ห้องสมุด ศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล
November 20, 2024
มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ จับมือ WeStride เปิดตัว “FutureX” หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ออนไลน์ ...
November 18, 2024
โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดรับสมัครนักเรียนระดับบ้านสาธิตปฐมวัยและระดับปฐมวัย (อนุบาล 1) ปีการศึกษา ...
November 13, 2024
มรภ.สงขลา นำผลงานนวัตกรรม นศ.เกษตร “เครื่องหยอดเมล็ดข้าว-กิมจิเห็ดนางฟ้า-ข้าวเกรียบเห็ดรสกิมจิ” ถ่ายทอดสู่ชุมชน
November 11, 2024