วันที่ 14 ก.ค. 60 เวลา 09.00 น. พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคง ของมนุษย์ (รมว.พม.) เป็นประธานการประชุมติดตามสถานการณ์การค้ามนุษย์ในพื้นที่ชายแดนด่านช่องจอม อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ และประธานพิธีประกาศเจตนารมณ์ “ประชารัฐร่วมใจต่อต้านการค้ามนุษย์” เพื่อขับเคลื่อนการบูรณาการความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม โดยมีนายอรรถพร สิงหวิชัย ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ ผู้แทนจาก กองกำลังสุรนารี ตำรวจภูธรจังหวัดสุรินทร์ ตำรวจตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดสุรินทร์ ด่านศุลกากรช่องจอม หน่วยประสานงานชายแดนประจำพื้นที่ 2 พร้อมทั้งตัวแทนจากจังหวัดอุดรมีชัย ประเทศกัมพูชา นำโดยพลเอกซอ ทาวี ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรมีชัย และผู้แทนสถานเอกอัครราชฑูตประเทศสมาชิกอาเซียน ประจำประเทศไทย รวมทั้งผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และเครือข่ายประชารัฐจังหวัดสุรินทร์ จำนวนทั้งสิ้น 350 คน เข้าร่วมงาน ณ บริเวณหน้าด่านตรวจคนเข้าเมืองช่องจอม อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์
พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว กล่าวว่า รัฐบาลไทยได้ให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ โดยกำหนดเป็นวาระแห่งชาติ เนื่องจากการค้ามนุษย์เป็นการกระทำที่ลดทอนศักดิ์ศรีและคุณค่าความเป็นมนุษย์ และนำไปสู่ปัญหาอื่นๆ รวมทั้งปัญหาการขอทานข้ามชาติ ที่จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องดำเนินการแก้ไขอย่างเร่งด่วนทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ด้วยการบูรณาการความร่วมมือจากทุกภาคส่วนของสังคมทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ตามแนวทาง “ประชารัฐ” ของรัฐบาล รวมทั้งประสานความร่วมมือระหว่างประเทศในกลุ่มอาเซียน เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงและขจัดปัญหาการค้ามนุษย์ให้หมดสิ้นไป สำหรับปัญหาการขอทานข้ามชาติ ประเทศไทยได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติควบคุม การขอทาน พ.ศ. 2559 มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2559 ที่ผ่านมา ซึ่งกระทรวงการพัฒนาสังคมและ ความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) โดยกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ (พส.) ได้ดำเนินการจัดระเบียบขอทานตั้งแต่ เดือนตุลาคม 2557 จนถึงปัจจุบัน พบว่ามีขอทานจำนวน 5,573 ราย แบ่งเป็นขอทานไทย จำนวน 3,548 ราย และขอทานต่างด้าว จำนวน 2,025 ราย โดยได้ขับเคลื่อนการดำเนินงานป้องกันแก้ไขปัญหาดังกล่าวตั้งแต่พื้นที่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ อย่างครบวงจร
พลตำรวจเอก อดุลย์ฯ กล่าวต่อไปว่า กระทรวง พม. โดย พส. จึงได้ดำเนินโครงการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามกรอบความร่วมมืออาเซียน “ประชารัฐร่วมใจต่อต้านการค้ามนุษย์” ระหว่างวันที่ 12 –14 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 ณ จังหวัดสุรินทร์ เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นของการป้องกันปัญหาการค้ามนุษย์ โดยสนับสนุนอาสาสมัครให้มีบทบาท สำคัญในการขับเคลื่อนงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การทำงานด้านการค้ามนุษย์ อีกทั้งกำหนดเจตนารมณ์ในการที่จะขจัดปัญหาขอทานให้หมดสิ้นไปจากภูมิภาคอาเซียน.
ขอขอบคุณข้อมูล/ภาพ ประนนท์ ไม้หอม /ส.ปชส.สุรินทร์
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
November 24, 2024
November 21, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
รมว.พม. ติดตามสถานการณ์การค้ามนุษย์ในพื้นที่ชายแดนด่านช่องจอม จ.สุรินทร์พร้อมประกาศเจตนารมณ์ “ประชารัฐร่วมใจต่อต้านการค้ามนุษย์” เพื่อบูรณาการความร่วมมือในการต่อต้านการค้ามนุษย์กับทุกภาคส่วน โดยเฉพาะในภูมิภาคอาเซียน
วันที่ 14 ก.ค. 60 เวลา 09.00 น. พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคง ของมนุษย์ (รมว.พม.) เป็นประธานการประชุมติดตามสถานการณ์การค้ามนุษย์ในพื้นที่ชายแดนด่านช่องจอม อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ และประธานพิธีประกาศเจตนารมณ์ “ประชารัฐร่วมใจต่อต้านการค้ามนุษย์” เพื่อขับเคลื่อนการบูรณาการความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม โดยมีนายอรรถพร สิงหวิชัย ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ ผู้แทนจาก กองกำลังสุรนารี ตำรวจภูธรจังหวัดสุรินทร์ ตำรวจตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดสุรินทร์ ด่านศุลกากรช่องจอม หน่วยประสานงานชายแดนประจำพื้นที่ 2 พร้อมทั้งตัวแทนจากจังหวัดอุดรมีชัย ประเทศกัมพูชา นำโดยพลเอกซอ ทาวี ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรมีชัย และผู้แทนสถานเอกอัครราชฑูตประเทศสมาชิกอาเซียน ประจำประเทศไทย รวมทั้งผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และเครือข่ายประชารัฐจังหวัดสุรินทร์ จำนวนทั้งสิ้น 350 คน เข้าร่วมงาน ณ บริเวณหน้าด่านตรวจคนเข้าเมืองช่องจอม อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์
พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว กล่าวว่า รัฐบาลไทยได้ให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ โดยกำหนดเป็นวาระแห่งชาติ เนื่องจากการค้ามนุษย์เป็นการกระทำที่ลดทอนศักดิ์ศรีและคุณค่าความเป็นมนุษย์ และนำไปสู่ปัญหาอื่นๆ รวมทั้งปัญหาการขอทานข้ามชาติ ที่จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องดำเนินการแก้ไขอย่างเร่งด่วนทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ด้วยการบูรณาการความร่วมมือจากทุกภาคส่วนของสังคมทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ตามแนวทาง “ประชารัฐ” ของรัฐบาล รวมทั้งประสานความร่วมมือระหว่างประเทศในกลุ่มอาเซียน เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงและขจัดปัญหาการค้ามนุษย์ให้หมดสิ้นไป สำหรับปัญหาการขอทานข้ามชาติ ประเทศไทยได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติควบคุม การขอทาน พ.ศ. 2559 มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2559 ที่ผ่านมา ซึ่งกระทรวงการพัฒนาสังคมและ ความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) โดยกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ (พส.) ได้ดำเนินการจัดระเบียบขอทานตั้งแต่ เดือนตุลาคม 2557 จนถึงปัจจุบัน พบว่ามีขอทานจำนวน 5,573 ราย แบ่งเป็นขอทานไทย จำนวน 3,548 ราย และขอทานต่างด้าว จำนวน 2,025 ราย โดยได้ขับเคลื่อนการดำเนินงานป้องกันแก้ไขปัญหาดังกล่าวตั้งแต่พื้นที่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ อย่างครบวงจร
พลตำรวจเอก อดุลย์ฯ กล่าวต่อไปว่า กระทรวง พม. โดย พส. จึงได้ดำเนินโครงการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามกรอบความร่วมมืออาเซียน “ประชารัฐร่วมใจต่อต้านการค้ามนุษย์” ระหว่างวันที่ 12 –14 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 ณ จังหวัดสุรินทร์ เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นของการป้องกันปัญหาการค้ามนุษย์ โดยสนับสนุนอาสาสมัครให้มีบทบาท สำคัญในการขับเคลื่อนงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การทำงานด้านการค้ามนุษย์ อีกทั้งกำหนดเจตนารมณ์ในการที่จะขจัดปัญหาขอทานให้หมดสิ้นไปจากภูมิภาคอาเซียน.
ขอขอบคุณข้อมูล/ภาพ ประนนท์ ไม้หอม /ส.ปชส.สุรินทร์
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลภาคที่ 2 ช่วยเหลือเหตุเรืออับปางในทะเล บริเวณทางทิศตะวันออกของร่องน้ำสงขลา
November 24, 2024
JUBILEE DIAMOND ฉลองครบรอบ 95 ปี เปิดบ้าน THE ...
November 24, 2024
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมสืบสานประเพณีลอยกระทง สร้างความสุขทั่วอำเภอขนอม
November 21, 2024
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมส่งเสริมสุขภาพชุมชน สนับสนุนอบรม อสม.ใหม่/ทดแทน
November 21, 2024