วันที่ 13 กรกฎาคม 2560) เวลา 11.00 น. ที่บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดนครศรีธรรมราช (หลังใหม่) เครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางจังหวัดนครศรีธรรมราช ประมาณ 60 คน ยื่นหนังสือเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาราคายาง ถึงนายกรัฐมนตรี ผ่านท่านผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยมีนายสกล จันทรักษ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นตัวแทนรับมอบพร้อมมอบหมายให้ทางศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดนครศรีธรรมราชนำไปดำเนินการ และกล่าวกับเครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง ว่า พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นห่วงพี่น้องเกษตรกรชาวสวนยางพาราเป็นอย่างยิ่ง และต้องการแก้ไขปัญหาราคายางพาราให้พี่น้องเกษตรกรชาวสวนยางอยู่ดีกินดี มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ในส่วนของการเรียกเรียกร้องของพี่น้องชาวสวนยางพาราที่ต้องการให้ทุกหน่วยงานเช่น อปท., อบจ.,เทศบาล, อบต. กรมทางหลวง และกรมทางหลวงชนบท กำหนดสเปคการสร้างและซ่อมถนนลาดยางทุกเส้นทาง ให้ผสมยางพารา ร้อยละ 5 กับยางมะตอย เป็นผิวถนนแบบพาราแอสฟัลต์คอนกรีต แทนที่จะเป็นผิวถนนแบบแอสฟัลต์คอนกรีตที่มีมาตรฐานและราคากำหนดไว้แล้ว หน่วยงานที่สร้างหรือซ่อมแซมถนนลาดยางทุกหน่วยปรับลดระยะทางหรือปริมาณงานลงให้สอดคล้องกับราคาที่เพิ่มขึ้นตามราคามาตรฐานของสำนักงบประมาณภายในวงเงินงบประมาณเดิมทั้งนี้ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2561 เป็นต้นไป ทางจังหวัดจะประสานไปยังองค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้นำไปดำเนินการต่อไป
นายวิสูตร สุชาฎา ประธานเครือข่ายฯ กล่าวว่า ปัจจุบันเกษตรชาวสวนยางพาราในพื้นที่ต่างๆ ได้รับผลกระทบจากราคายางพาราตกต่ำ จึงยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี ผ่านท่านผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช เรียกร้องให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาราคายางพารา พร้อมเสนอแนวทางมาตรการเพื่อแก้ไขปัญหาราคายางได้เร็วขึ้นโดยการนำน้ำยางพาราไปใช้ในประเทศ ด้วยการทำถนนลาดยางแบบพาราแอสฟัลต์คอนกรีต แทนที่จะเป็นผิวถนนแบบแอสฟัลต์คอนกรีต เพื่อให้ประชาชนผู้ใช้ถนนที่มีคุณภาพที่ดีกว่าเดิมสามารถนำงบประมาณที่ลดลงจากการซ่อมแซมไปใช้ประโยชน์ในการก่อสร้างสะพานข้ามแยกหรือสร้างถนนใหม่ได้มากขึ้น เป็นการลดปริมาณยางพาราได้มากและจะส่งผลให้ราคายางพาราสูงขึ้นเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางอย่างยั่งยืน พร้อมทั้งให้รัฐบาลทำ MOU กับสถาบันเกษตรกร เพื่อรับซื้อยางจากสถาบันเกษตรกรส่งให้บริษัทผู้ผลิต พาราแอสฟัลต์คอนกรีต โดยรับซื้อเฉพาะที่ใช้เท่านั้นไม่เก็บสต๊อกแต่อย่างใด ส่วนสถาบันเกษตรกรเป็นผู้ผลิตยางอยู่แล้ว และไม่เรียกร้องให้รัฐบาลช่วยเหลือโดยรับซื้อยางในราคาที่สูงกว่าตลาดแต่อย่างใด เพราะเห็นว่าเป็นการแก้ปัญหาที่ไม่ยั่งยืน และจะก่อให้เกิดปัญหาระยะยาวภายหลังต่อไปอีก อีกทั้งเข้าใจดีว่ารัฐบาลเองก็ไม่อาจรับภาระเรื่องงบประมาณค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมากได้ เนื่องจากมีภารกิจอื่นของประเทศที่เร่งด่วนและจำเป็นอีกมากด้วย.
พรรณี กลสามัญ/ภาพ-ข่าว ปณิดา/ภาพ สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดนครศรีธรรมราช
November 24, 2024
November 21, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
เครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางจังหวัดนครศรีธรรมราช ยื่นหนังสือเรียกร้องรัฐบาลแก้ไขปัญหาราคายาง ถึงนายกรัฐมนตรี ผ่านผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช
วันที่ 13 กรกฎาคม 2560) เวลา 11.00 น. ที่บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดนครศรีธรรมราช (หลังใหม่) เครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางจังหวัดนครศรีธรรมราช ประมาณ 60 คน ยื่นหนังสือเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาราคายาง ถึงนายกรัฐมนตรี ผ่านท่านผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยมีนายสกล จันทรักษ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นตัวแทนรับมอบพร้อมมอบหมายให้ทางศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดนครศรีธรรมราชนำไปดำเนินการ และกล่าวกับเครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง ว่า พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นห่วงพี่น้องเกษตรกรชาวสวนยางพาราเป็นอย่างยิ่ง และต้องการแก้ไขปัญหาราคายางพาราให้พี่น้องเกษตรกรชาวสวนยางอยู่ดีกินดี มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ในส่วนของการเรียกเรียกร้องของพี่น้องชาวสวนยางพาราที่ต้องการให้ทุกหน่วยงานเช่น อปท., อบจ.,เทศบาล, อบต. กรมทางหลวง และกรมทางหลวงชนบท กำหนดสเปคการสร้างและซ่อมถนนลาดยางทุกเส้นทาง ให้ผสมยางพารา ร้อยละ 5 กับยางมะตอย เป็นผิวถนนแบบพาราแอสฟัลต์คอนกรีต แทนที่จะเป็นผิวถนนแบบแอสฟัลต์คอนกรีตที่มีมาตรฐานและราคากำหนดไว้แล้ว หน่วยงานที่สร้างหรือซ่อมแซมถนนลาดยางทุกหน่วยปรับลดระยะทางหรือปริมาณงานลงให้สอดคล้องกับราคาที่เพิ่มขึ้นตามราคามาตรฐานของสำนักงบประมาณภายในวงเงินงบประมาณเดิมทั้งนี้ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2561 เป็นต้นไป ทางจังหวัดจะประสานไปยังองค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้นำไปดำเนินการต่อไป
นายวิสูตร สุชาฎา ประธานเครือข่ายฯ กล่าวว่า ปัจจุบันเกษตรชาวสวนยางพาราในพื้นที่ต่างๆ ได้รับผลกระทบจากราคายางพาราตกต่ำ จึงยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี ผ่านท่านผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช เรียกร้องให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาราคายางพารา พร้อมเสนอแนวทางมาตรการเพื่อแก้ไขปัญหาราคายางได้เร็วขึ้นโดยการนำน้ำยางพาราไปใช้ในประเทศ ด้วยการทำถนนลาดยางแบบพาราแอสฟัลต์คอนกรีต แทนที่จะเป็นผิวถนนแบบแอสฟัลต์คอนกรีต เพื่อให้ประชาชนผู้ใช้ถนนที่มีคุณภาพที่ดีกว่าเดิมสามารถนำงบประมาณที่ลดลงจากการซ่อมแซมไปใช้ประโยชน์ในการก่อสร้างสะพานข้ามแยกหรือสร้างถนนใหม่ได้มากขึ้น เป็นการลดปริมาณยางพาราได้มากและจะส่งผลให้ราคายางพาราสูงขึ้นเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางอย่างยั่งยืน พร้อมทั้งให้รัฐบาลทำ MOU กับสถาบันเกษตรกร เพื่อรับซื้อยางจากสถาบันเกษตรกรส่งให้บริษัทผู้ผลิต พาราแอสฟัลต์คอนกรีต โดยรับซื้อเฉพาะที่ใช้เท่านั้นไม่เก็บสต๊อกแต่อย่างใด ส่วนสถาบันเกษตรกรเป็นผู้ผลิตยางอยู่แล้ว และไม่เรียกร้องให้รัฐบาลช่วยเหลือโดยรับซื้อยางในราคาที่สูงกว่าตลาดแต่อย่างใด เพราะเห็นว่าเป็นการแก้ปัญหาที่ไม่ยั่งยืน และจะก่อให้เกิดปัญหาระยะยาวภายหลังต่อไปอีก อีกทั้งเข้าใจดีว่ารัฐบาลเองก็ไม่อาจรับภาระเรื่องงบประมาณค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมากได้ เนื่องจากมีภารกิจอื่นของประเทศที่เร่งด่วนและจำเป็นอีกมากด้วย.
พรรณี กลสามัญ/ภาพ-ข่าว
ปณิดา/ภาพ สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดนครศรีธรรมราช
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลภาคที่ 2 ช่วยเหลือเหตุเรืออับปางในทะเล บริเวณทางทิศตะวันออกของร่องน้ำสงขลา
November 24, 2024
JUBILEE DIAMOND ฉลองครบรอบ 95 ปี เปิดบ้าน THE ...
November 24, 2024
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมสืบสานประเพณีลอยกระทง สร้างความสุขทั่วอำเภอขนอม
November 21, 2024
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมส่งเสริมสุขภาพชุมชน สนับสนุนอบรม อสม.ใหม่/ทดแทน
November 21, 2024