วันที่ 16 มิถุนายน 2560 ณ ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสงขลา ถนนนางงาม อําเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา มีนายอนุรัฐ ไทยตรง รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เป็นประธานในพิธีเปิด พร้อมด้วยนายนิพนธ์ บุญญามณี นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา ดร. สมศักดิ์ ตันติเศรณี นายกเทศมนตรีนครสงขลา นายกีรติ เอื้อวิวัฒน์สกุล นายกสมาคมฮกเกี้ยนอำเภอเมืองสงขลา พร้อมด้วยนายไพโรจน์สุวรรณจินดารองนายกเทศมนตรีนครสงขลาคณะผู้บริหารเทศบาล สมาชิกสภาเทศบาล พนักงาน ร่วมกิจกรรม
โดยศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสงขลา ถือเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์และเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนไทยเชื้อสายจีนทั้งในพื้นที่จังหวัดสงขลาและจังหวัดใกล้เคียง ซึ่งได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของกรมศิลปากร นับจากอดีตถึงปัจจุบัน ทุกๆ ปีของช่วงเทศกาลตรุษจีนและวันคล้ายวันเกิดของเจ้าพ่อหลักเมืองจะมีการจัดงานเฉลิมฉลอง โดยในปีนี้เทศบาลนครสงขลาได้ร่วมกับจังหวัดสงขลา สมาคมฮกเกี้ยนอำเภอเมืองสงขลา คณะกรรมการศาลเจ้าพ่อหลักเมือง คณะกรรมการชุมชนย่านเมืองเก่า ภาคีคนรักเมืองสงขลาสมาคม สถาบันการศึกษา ตลอดจนหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในพื้นที่ ร่วมกันจัดงาน “สมโภช 175 ปี เจ้าพ่อหลักเมืองสงขลา” และเทศกาลเมืองเก่าสงขลา ขึ้น ระหว่างวันที่ 16 – 22 มิถุนายน 2560 เพื่อเป็นการสืบทอดวัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่นอันดีงาม เป็นการฟื้นฟูการค้าขาย และกระตุ้นเศรษฐกิจระดับเมือง โดยมีเป้าหมายหลัก คือ ประชาชนและนักท่องเที่ยวได้มีโอกาสสักการบูชาเจ้าพ่อหลักเมืองสงขลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้ร่วมกันจัดงานสมโภชศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสงขลาปีละ 1 ครั้ง
สำหรับกิจกรรมภายในงานมีกิจกรรมงานถนนคนเดินนางงาม ยามค่ำคืน ร่วมฟังเรื่องเล่า แต่แรก รับฟังการเสวนา “สงขลาสู่เมืองมรดกโลก” พร้อมกิจกรรมไหว้พระหลักเมือง ชิมของหรอยเมืองบ่อยาง การแสดงริมถนน ชมขบวนแห่พระรอบเมือง ภาคกลางคืน พิธีเวียนเทียนสะเดาะเคราะห์ เสริมดวงชะตา กิจกรรมการแสดงบนเวที และการแสดงอุปรากรจีน (งิ้ว) ในช่วงกลางคืนของทุกวัน นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรม “อิ่มท้อง อิ่มบุญ 9 ห้อง 9 บาท”ในวันที่ 21 มิถุนายนนี้ ซึ่งถือเป็นคล้ายวันประสูติเจ้าพ่อหลักเมืองสงขลา ณ ถนนหนองจิก ตรงข้ามกับศาลเทพเจ้ากวนอู ซึ่งจะมีหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน นำอาหารและเครื่องดื่มมาร่วมจำหน่ายในราคา 9 บาท และรายได้ทั้งหมดจะนำไปทำบุญและทำนุบำรุงศาลหลักเมืองสงขลาต่อไป
ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสงขลา เป็นศาลเก่าแก่ที่อยู่คู่เมืองสงขลามายาวนานถึง 175 ปี ตั้งอยู่บนถนนนางงาม ซึ่งในอดีตเป็นที่อยู่อาศัยและย่านการค้าเก่าแก่แห่งหนึ่งของชาวจีนในจังหวัดสงขลา ศาลหลักเมืองก่อสร้างในสมัยพระยาวิเชียรคีรี (เถี้ยนเส้ง ณ สงขลา) ผู้สำเร็จราชการเมืองสงขลาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานหลักเมือง ทำด้วยไม้ชัยพฤกษ์ ที่ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ในปี พ.ศ. 2385 โดยทรงพระราชทานไม้ชัยพฤกษ์หลักชัยต้นหนึ่ง และเทียนชัยเล่มหนึ่ง พร้อมด้วยเครื่องไทยทานต่างๆ และโปรดเกล้าฯ ให้พระอุดมปิฏก ออกไปเป็นประธานด้านพุทธพิธี พร้อมด้วยฐานานุกรมเปรียญ 8 รูป และโปรดเกล้าฯ ให้พระครูอัฏฏาจารย์พราหมณ์ออกไปเป็นประธานฝ่ายพิธีพราหมณ์ 8 นาย งานฝังหลักชัยเริ่มด้วยพระยาวิเชียรคีรี (เถี้ยนเส้ง ณ สงขลา) ผู้สำเร็จราชการเมืองสงขลา ได้เกณฑ์กรมการและไพร่ จัดการทำโรงพิธีใหญ่ขึ้นกลางเมืองสงขลา คือ หน้าศาลเจ้าหลักเมือง ถนนนางงาม โดยตั้งโรงพิธี 4 ทิศ ในวันพิธีได้จัดขบวนแห่หลักไม้ชัยพฤกษ์กับเทียนชัยเป็นขบวนใหญ่ มีทั้งชาวจีนและชาวไทย แห่ไปยังโรงพิธีพระสงฆ์ราชา คณะฐานานุกรมเจริญพระปริตร พร้อมกับพระครูสวดตามไสยเวท เมื่อได้เวลาอุดมฤกษ์ เดือน 4 ขึ้น 10 ค่ำ ปีขาล จัตวาศก จุลศักราช 1204 (พ.ศ.2385) เวลา 7 นาฬิกา 10 นาที ตรงกับวันศุกร์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2385 พระยาวิเชียรคีรี (เถี้ยนเส้ง ณ สงขลา) กับพระครูอัษฏาจารย์พราหมณ์ ได้อัญเชิญหลักไม้ชัยพฤกษ์ลงฝังที่ใจกลางเมืองสงขลา ซึ่งเรียกกันว่า “หลักเมือง” จากนั้นได้ให้ช่างสร้างตึกคร่อมหลักเมืองไว้ 3 หลัง เป็นทรงจีนและสร้างศาลเจ้าเสื้อเมืองอีกหนึ่งหลัง ต่อมาในปีพ.ศ. 2460 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้ากรมขุนลพบุรีราเมศวร์ อุปราชมณฑลปักษ์ใต้ ได้มีลายพระหัตถ์แจ้งว่าหลักเมืองจังหวัดสงขลาปลวกกัดชำรุด พ่อค้าและประชาชนจังหวัดสงขลา ช่วยกันออกเงินทำเสาหลักเมืองด้วยซีเมนต์คอนกรีต เพื่อจะได้อยู่อย่างถาวร อุดมฤกษ์ในการวางเสาหลักเมือง ตรงกับวันศุกร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2460 ตรงกับเดือน 4 แรม 4 ค่ำ เวลา 7 นาฬิกา 22 นาที 36 วินาที ก่อนเที่ยง โหร 4 คน ถือก้อนดินยืนประจำทั้ง 4 ทิศ แล้ววางก้อนดินลงในหลุมหลักเมือง จากนั้นจึงเชิญเสาหลักลงหลุมแล้วกลบดินเป็นปฐมฤกษ์ จนถึงเวลา 8 นาฬิกา กับ 41 นาที 36 วินาที ก่อนเที่ยง ถือเป็นฤกษ์ดีที่สุด เสาหลักเมือง จึงเป็นสถานที่อันสำคัญ ที่อยู่คู่เมืองสงขลา เป็นศูนย์รวมจิตใจ และเป็นที่เคารพสักการะของชาวไทยทุกเชื้อชาทศติในจังหวัดสงขลา ตจทุกวันนี้ กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนศาลเจ้าหลักเมือง.
เว็บไซต์ Bankaonews.com
November 21, 2024
November 20, 2024
November 19, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
บรรยากาศพิธีเปิดงานสมโภช 175 ปี เจ้าพ่อหลักเมืองสงขลา ประจำปี 2560
วันที่ 16 มิถุนายน 2560 ณ ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสงขลา ถนนนางงาม อําเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา มีนายอนุรัฐ ไทยตรง รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เป็นประธานในพิธีเปิด พร้อมด้วยนายนิพนธ์ บุญญามณี นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา ดร. สมศักดิ์ ตันติเศรณี นายกเทศมนตรีนครสงขลา นายกีรติ เอื้อวิวัฒน์สกุล นายกสมาคมฮกเกี้ยนอำเภอเมืองสงขลา พร้อมด้วยนายไพโรจน์สุวรรณจินดารองนายกเทศมนตรีนครสงขลาคณะผู้บริหารเทศบาล สมาชิกสภาเทศบาล พนักงาน ร่วมกิจกรรม
โดยศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสงขลา ถือเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์และเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนไทยเชื้อสายจีนทั้งในพื้นที่จังหวัดสงขลาและจังหวัดใกล้เคียง ซึ่งได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของกรมศิลปากร นับจากอดีตถึงปัจจุบัน ทุกๆ ปีของช่วงเทศกาลตรุษจีนและวันคล้ายวันเกิดของเจ้าพ่อหลักเมืองจะมีการจัดงานเฉลิมฉลอง โดยในปีนี้เทศบาลนครสงขลาได้ร่วมกับจังหวัดสงขลา สมาคมฮกเกี้ยนอำเภอเมืองสงขลา คณะกรรมการศาลเจ้าพ่อหลักเมือง คณะกรรมการชุมชนย่านเมืองเก่า ภาคีคนรักเมืองสงขลาสมาคม สถาบันการศึกษา ตลอดจนหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในพื้นที่ ร่วมกันจัดงาน “สมโภช 175 ปี เจ้าพ่อหลักเมืองสงขลา” และเทศกาลเมืองเก่าสงขลา ขึ้น ระหว่างวันที่ 16 – 22 มิถุนายน 2560 เพื่อเป็นการสืบทอดวัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่นอันดีงาม เป็นการฟื้นฟูการค้าขาย และกระตุ้นเศรษฐกิจระดับเมือง โดยมีเป้าหมายหลัก คือ ประชาชนและนักท่องเที่ยวได้มีโอกาสสักการบูชาเจ้าพ่อหลักเมืองสงขลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้ร่วมกันจัดงานสมโภชศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสงขลาปีละ 1 ครั้ง
สำหรับกิจกรรมภายในงานมีกิจกรรมงานถนนคนเดินนางงาม ยามค่ำคืน ร่วมฟังเรื่องเล่า แต่แรก รับฟังการเสวนา “สงขลาสู่เมืองมรดกโลก” พร้อมกิจกรรมไหว้พระหลักเมือง ชิมของหรอยเมืองบ่อยาง การแสดงริมถนน ชมขบวนแห่พระรอบเมือง ภาคกลางคืน พิธีเวียนเทียนสะเดาะเคราะห์ เสริมดวงชะตา กิจกรรมการแสดงบนเวที และการแสดงอุปรากรจีน (งิ้ว) ในช่วงกลางคืนของทุกวัน นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรม “อิ่มท้อง อิ่มบุญ 9 ห้อง 9 บาท”ในวันที่ 21 มิถุนายนนี้ ซึ่งถือเป็นคล้ายวันประสูติเจ้าพ่อหลักเมืองสงขลา ณ ถนนหนองจิก ตรงข้ามกับศาลเทพเจ้ากวนอู ซึ่งจะมีหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน นำอาหารและเครื่องดื่มมาร่วมจำหน่ายในราคา 9 บาท และรายได้ทั้งหมดจะนำไปทำบุญและทำนุบำรุงศาลหลักเมืองสงขลาต่อไป
ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสงขลา เป็นศาลเก่าแก่ที่อยู่คู่เมืองสงขลามายาวนานถึง 175 ปี ตั้งอยู่บนถนนนางงาม ซึ่งในอดีตเป็นที่อยู่อาศัยและย่านการค้าเก่าแก่แห่งหนึ่งของชาวจีนในจังหวัดสงขลา ศาลหลักเมืองก่อสร้างในสมัยพระยาวิเชียรคีรี (เถี้ยนเส้ง ณ สงขลา) ผู้สำเร็จราชการเมืองสงขลาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานหลักเมือง ทำด้วยไม้ชัยพฤกษ์ ที่ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ในปี พ.ศ. 2385 โดยทรงพระราชทานไม้ชัยพฤกษ์หลักชัยต้นหนึ่ง และเทียนชัยเล่มหนึ่ง พร้อมด้วยเครื่องไทยทานต่างๆ และโปรดเกล้าฯ ให้พระอุดมปิฏก ออกไปเป็นประธานด้านพุทธพิธี พร้อมด้วยฐานานุกรมเปรียญ 8 รูป และโปรดเกล้าฯ ให้พระครูอัฏฏาจารย์พราหมณ์ออกไปเป็นประธานฝ่ายพิธีพราหมณ์ 8 นาย งานฝังหลักชัยเริ่มด้วยพระยาวิเชียรคีรี (เถี้ยนเส้ง ณ สงขลา) ผู้สำเร็จราชการเมืองสงขลา ได้เกณฑ์กรมการและไพร่ จัดการทำโรงพิธีใหญ่ขึ้นกลางเมืองสงขลา คือ หน้าศาลเจ้าหลักเมือง ถนนนางงาม โดยตั้งโรงพิธี 4 ทิศ ในวันพิธีได้จัดขบวนแห่หลักไม้ชัยพฤกษ์กับเทียนชัยเป็นขบวนใหญ่ มีทั้งชาวจีนและชาวไทย แห่ไปยังโรงพิธีพระสงฆ์ราชา คณะฐานานุกรมเจริญพระปริตร พร้อมกับพระครูสวดตามไสยเวท เมื่อได้เวลาอุดมฤกษ์ เดือน 4 ขึ้น 10 ค่ำ ปีขาล จัตวาศก จุลศักราช 1204 (พ.ศ.2385) เวลา 7 นาฬิกา 10 นาที ตรงกับวันศุกร์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2385 พระยาวิเชียรคีรี (เถี้ยนเส้ง ณ สงขลา) กับพระครูอัษฏาจารย์พราหมณ์ ได้อัญเชิญหลักไม้ชัยพฤกษ์ลงฝังที่ใจกลางเมืองสงขลา ซึ่งเรียกกันว่า “หลักเมือง” จากนั้นได้ให้ช่างสร้างตึกคร่อมหลักเมืองไว้ 3 หลัง เป็นทรงจีนและสร้างศาลเจ้าเสื้อเมืองอีกหนึ่งหลัง ต่อมาในปีพ.ศ. 2460 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้ากรมขุนลพบุรีราเมศวร์ อุปราชมณฑลปักษ์ใต้ ได้มีลายพระหัตถ์แจ้งว่าหลักเมืองจังหวัดสงขลาปลวกกัดชำรุด พ่อค้าและประชาชนจังหวัดสงขลา ช่วยกันออกเงินทำเสาหลักเมืองด้วยซีเมนต์คอนกรีต เพื่อจะได้อยู่อย่างถาวร อุดมฤกษ์ในการวางเสาหลักเมือง ตรงกับวันศุกร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2460 ตรงกับเดือน 4 แรม 4 ค่ำ เวลา 7 นาฬิกา 22 นาที 36 วินาที ก่อนเที่ยง โหร 4 คน ถือก้อนดินยืนประจำทั้ง 4 ทิศ แล้ววางก้อนดินลงในหลุมหลักเมือง จากนั้นจึงเชิญเสาหลักลงหลุมแล้วกลบดินเป็นปฐมฤกษ์ จนถึงเวลา 8 นาฬิกา กับ 41 นาที 36 วินาที ก่อนเที่ยง ถือเป็นฤกษ์ดีที่สุด เสาหลักเมือง จึงเป็นสถานที่อันสำคัญ ที่อยู่คู่เมืองสงขลา เป็นศูนย์รวมจิตใจ และเป็นที่เคารพสักการะของชาวไทยทุกเชื้อชาทศติในจังหวัดสงขลา ตจทุกวันนี้ กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนศาลเจ้าหลักเมือง.
เว็บไซต์ Bankaonews.com
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมสืบสานประเพณีลอยกระทง สร้างความสุขทั่วอำเภอขนอม
November 21, 2024
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมส่งเสริมสุขภาพชุมชน สนับสนุนอบรม อสม.ใหม่/ทดแทน
November 21, 2024
อบจ.สงขลา ร่วมรับรางวัลประกาศเกียรติคุณ “ค่าของแผ่นดิน” ประจำปี 2566 ด้านการพัฒนาสังคมและส่งเสริมคุณภาพชีวิต จากโครงการ ...
November 20, 2024
อโกด้าเผย หาดใหญ่คว้าแชมป์เมืองท่องเที่ยวที่คุ้มค่าที่สุดในไทย ช่วงเทศกาลส่งท้ายปี
November 19, 2024