คณะวิทยาศาสตร์ฯ มรภ.สงขลา คว้า 2 รางวัลนำเสนอผลงานวิชาการระดับชาติ จากงานวิจัยดีเด่นเรื่อง แบบจำลองการระบาดที่เกี่ยวข้องกับการฉีดวัคซีนฯ และรางวัลชมเชยจากการศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในสารสกัดจากผลจำปาดะพื้นที่ จ.สตูล
เมื่อเร็วๆ นี้ คณาจารย์และนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เดินทางไปร่วมนำเสนอผลงานวิชาการในงานประชุมระดับชาติ วิทยาศาสตร์วิจัย ครั้งที่ 9 ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ผลปรากฏว่างานวิจัยเรื่อง แบบจำลองการระบาดที่เกี่ยวข้องกับการฉีดวัคซีนและคัดแยก ของ น.ส.มาริษา สวนนิ่ม และ น.ส.จิรนันท์ คุ่มเคี้ยม นักศึกษาโปรแกรมวิชาคณิตศาสตร์ ที่มี นายอดิศักดิ์ เด็นเพ็ชรหน๋อง เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา ได้รับรางวัลระดับดีเด่น การนำเสนอผลงานแบบโปสเตอร์ กลุ่มสาขาคณิตศาสตร์ สถิติ และคณิตศาสตร์ศึกษา งานวิจัยดังกล่าวพัฒนาแบบจำลองการระบาดเมื่อมีการฉีดวัคซีนและการกักกัน แบ่งประชากรออกเป็น 6 กลุ่มคือ กลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อ กลุ่มฟักเชื้อ กลุ่มติดเชื้อ กลุ่มที่หายจากการติดเชื้อ กลุ่มที่ได้รับการฉีดวัคซีน และ กลุ่มที่ถูกกักกันหรือคัด โดยนำมาใช้ในการพยากรณ์การระบาดของโรคอีสุกอีใส ปี 2559 ในพื้นที่ จ.สงขลา พร้อมทั้งเปรียบเทียบจำนวนผู้ติดเชื้อที่ได้จากการพยากรณ์กับข้อมูลที่เกิดขึ้นจริง พบว่าแบบจำลองพยากรณ์ได้ค่อนข้างแม่นยำ ซึ่งสามารถใช้เป็นเครื่องมือสำคัญในการศึกษาการแพร่ระบาดของโรค ในการพยากรณ์ถึงจำนวนผู้ที่ติดเชื้อ และช่วงเวลาของการระบาด เพื่อสร้างวัคซีนป้องกันโรคที่เพียงพอต่อการแพร่ระบาด รวมถึงสามารถควบคุมการระบาดของโรคด้วยวิธีกักกันหรือการคัดแยก เพื่อลดพื้นที่เสี่ยงต่อประชากรที่ติดเชื้อจากพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคไปยังอีกที่หนึ่งได้
ในงานเดียวกัน มรภ.สงขลา ยังได้รับรางวัลชมเชย กลุ่มเคมี เครื่องมือวัสดุ และเคมีศึกษา จากการนำเสนอผลงานแบบบรรยายเรื่อง ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในสารสกัดจากผลจำปาดะในพื้นที่ จ.สตูล ของ น.ส.นันธิดา ลิ่มเสฎโฐ อาจารย์ประจำโปรแกรมวิชาเคมีและเคมีประยุกต์ โดยมีทีมนักศึกษาเป็นผู้ร่วมวิจัย ประกอบด้วย นายนูรุดดีน กอเฉม น.ส.เพียงใจ ไกรแก้ว น.ส.ภัสราภรณ์ ทองเอื้อย และ นายศรันต์ สุวรรณโณ งานวิจัยเรื่องนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากกองทุนวิจัย มรภ.สงขลา ที่ร่วมมือกับ อบจ.สตูล ซึ่งที่ผ่านมายังไม่มีการศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในจำปาดะ พืชท้องถิ่นของจังหวัด ดังนั้น งานวิจัยนี้จึงหาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในจำปาดะสายพันธุ์พื้นเมืองและสายพันธุ์น้ำดอกไม้ โดยศึกษาในส่วนของเนื้อ เมล็ด ขน เปลือก และแกน เพื่อพัฒนาคุณค่าผลิตภัณฑ์จากจำปาดะให้กับชุมชน.
July 18, 2025
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
มรภ.สงขลา คว้ารางวัลนำเสนอผลงานระดับชาติ “วิทยาศาสตร์วิจัย”
คณะวิทยาศาสตร์ฯ มรภ.สงขลา คว้า 2 รางวัลนำเสนอผลงานวิชาการระดับชาติ จากงานวิจัยดีเด่นเรื่อง แบบจำลองการระบาดที่เกี่ยวข้องกับการฉีดวัคซีนฯ และรางวัลชมเชยจากการศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในสารสกัดจากผลจำปาดะพื้นที่ จ.สตูล
เมื่อเร็วๆ นี้ คณาจารย์และนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เดินทางไปร่วมนำเสนอผลงานวิชาการในงานประชุมระดับชาติ วิทยาศาสตร์วิจัย ครั้งที่ 9 ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ผลปรากฏว่างานวิจัยเรื่อง แบบจำลองการระบาดที่เกี่ยวข้องกับการฉีดวัคซีนและคัดแยก ของ น.ส.มาริษา สวนนิ่ม และ น.ส.จิรนันท์ คุ่มเคี้ยม นักศึกษาโปรแกรมวิชาคณิตศาสตร์ ที่มี นายอดิศักดิ์ เด็นเพ็ชรหน๋อง เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา ได้รับรางวัลระดับดีเด่น การนำเสนอผลงานแบบโปสเตอร์ กลุ่มสาขาคณิตศาสตร์ สถิติ และคณิตศาสตร์ศึกษา งานวิจัยดังกล่าวพัฒนาแบบจำลองการระบาดเมื่อมีการฉีดวัคซีนและการกักกัน แบ่งประชากรออกเป็น 6 กลุ่มคือ กลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อ กลุ่มฟักเชื้อ กลุ่มติดเชื้อ กลุ่มที่หายจากการติดเชื้อ กลุ่มที่ได้รับการฉีดวัคซีน และ กลุ่มที่ถูกกักกันหรือคัด โดยนำมาใช้ในการพยากรณ์การระบาดของโรคอีสุกอีใส ปี 2559 ในพื้นที่ จ.สงขลา พร้อมทั้งเปรียบเทียบจำนวนผู้ติดเชื้อที่ได้จากการพยากรณ์กับข้อมูลที่เกิดขึ้นจริง พบว่าแบบจำลองพยากรณ์ได้ค่อนข้างแม่นยำ ซึ่งสามารถใช้เป็นเครื่องมือสำคัญในการศึกษาการแพร่ระบาดของโรค ในการพยากรณ์ถึงจำนวนผู้ที่ติดเชื้อ และช่วงเวลาของการระบาด เพื่อสร้างวัคซีนป้องกันโรคที่เพียงพอต่อการแพร่ระบาด รวมถึงสามารถควบคุมการระบาดของโรคด้วยวิธีกักกันหรือการคัดแยก เพื่อลดพื้นที่เสี่ยงต่อประชากรที่ติดเชื้อจากพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคไปยังอีกที่หนึ่งได้
ในงานเดียวกัน มรภ.สงขลา ยังได้รับรางวัลชมเชย กลุ่มเคมี เครื่องมือวัสดุ และเคมีศึกษา จากการนำเสนอผลงานแบบบรรยายเรื่อง ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในสารสกัดจากผลจำปาดะในพื้นที่ จ.สตูล ของ น.ส.นันธิดา ลิ่มเสฎโฐ อาจารย์ประจำโปรแกรมวิชาเคมีและเคมีประยุกต์ โดยมีทีมนักศึกษาเป็นผู้ร่วมวิจัย ประกอบด้วย นายนูรุดดีน กอเฉม น.ส.เพียงใจ ไกรแก้ว น.ส.ภัสราภรณ์ ทองเอื้อย และ นายศรันต์ สุวรรณโณ งานวิจัยเรื่องนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากกองทุนวิจัย มรภ.สงขลา ที่ร่วมมือกับ อบจ.สตูล ซึ่งที่ผ่านมายังไม่มีการศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในจำปาดะ พืชท้องถิ่นของจังหวัด ดังนั้น งานวิจัยนี้จึงหาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในจำปาดะสายพันธุ์พื้นเมืองและสายพันธุ์น้ำดอกไม้ โดยศึกษาในส่วนของเนื้อ เมล็ด ขน เปลือก และแกน เพื่อพัฒนาคุณค่าผลิตภัณฑ์จากจำปาดะให้กับชุมชน.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
บริษัท ผลิตไฟฟ้าขนอม จำกัด ต้อนรับคณะอาจารย์และนักศึกษา ม.วลัยลักษณ์ ศึกษาดูงานด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
July 18, 2025
OR เปิดศูนย์การเรียนรู้ “Together รักษ์ แอท ท่าเสา” ขับเคลื่อนชุมชนด้วยพลังความร่วมมืออย่างยั่งยืน
July 18, 2025
บริษัท ผลิตไฟฟ้าขนอม จำกัด ต้อนรับคณะวิทยาลัยการปกครอง ศึกษาดูงานการผลิตพลังงานเพื่อชุมชน
July 18, 2025
บริษัท ผลิตไฟฟ้าขนอม จำกัด สานต่อ โครงการ ส่งเสริมทักษะภาษาอังกฤษ “Khanom ...
July 18, 2025