วันที่ 17 พฤษภาคม 2560 เวลา 08.30 นาฬิกา ณ ห้องกมลทิพย์ 1 และ 2 ชั้น 2 โรงแรม เดอะ สุโกศล กรุงเทพฯ คณะกรรมาธิการการคมนาคม สภานิติบัญญัติแห่งชาติ โดยคณะอนุกรรมาธิการศึกษาด้านโลจิสติกส์ จัดสัมมนาร่วมกับการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ในหัวข้อเรื่อง “ Eastern Economic Corridor and SEZs : The new investment opportunity in Thailand” โดยมี พลเอกวรพงษ์ สง่าเนตร รองประธานคณะกรรมาธิการการคมนาคม สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในฐานะประธานอนุกรรมาธิการศึกษาด้านโลจิสติกส์ กล่าวรายงาน และพลโทจเรศักณิ์ อานุภาพ ประธานคณะกรรมาธิการการคมนาคม สภานิติบัญญัติแห่งชาติ กล่าวเปิดการสัมมนา
ทั้งนี้ การจัดสัมมนาดังกล่าวมีขึ้นเพื่อให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องรับทราบถึงความต้องการของภาคเอกชนที่เป็นสมาคมต่างชาติ นักลงทุนและนักธุรกิจชาวไทย ในการที่จะส่งเสริมการค้าและการลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) และเขตพัฒนาเศรษฐกิจชายแดน เนื่องจากคณะกรรมาธิการการคมนาคมได้พิจารณาเห็นว่าแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของไทย ฉบับที่ 2 (2556 – 2560) มีส่วนเกี่ยวข้องกับด้านคมนาคม คือ ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาบริการขนส่งและเครือข่ายโลจิสติกส์ตามเส้นทางยุทธศาสตร์ ซึ่งทางคณะอนุกรรมาธิการฯ ได้มีการศึกษาเรื่องระบบโลจิสติกส์ของประเทศ เช่น เรื่องของการเชื่อมต่อของท่าเรือแหลมฉบัง ท่าเรือมาบตาพุดและด่านการค้าที่สำคัญต่างๆ โดยเน้นเรื่องการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ที่เชื่อมต่อพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน กับแหล่งการผลิตต่างๆ รวมถึงการเชื่อมต่อกับแหล่งชายแดนที่สำคัญ โดยจะเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูลข้อเท็จจริงว่าจะเป็นปัญหามากน้อยแค่ไหน เนื่องจากพื้นที่ภาคตะวันออกของประเทศไทยเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพในการพัฒนาเศรษฐกิจและเป็นที่ตั้งของนิคมอุตสาหกรรมจำนวนมาก มีท่าเรือแหลมฉบัง ท่าเรือมาบตาพุด ที่เป็นประตูการค้า มีการส่งออกนำเข้าสินค้าสำคัญของประเทศ อีกทั้งมีสนามบินอู่ตะเภาที่รองรับการเดินทางและการขนส่งสินค้าอากาศยาน ซึ่งขณะนี้รัฐบาลได้เปิดโครงการนำร่องไปแล้วในสนามบินอู่ตะเภา นอกจากนั้นจะมีอีกหลายส่วนที่อยู่ในแผนการพัฒนาเศรษฐกิจตามนโยบายของรัฐบาล ทั้งหมดนี้ก็เพื่อเป็นการนำประเทศไทยไปสู่ Thailand 4.0 ให้ประเทศไทยก้าวข้ามกับดักประเทศที่มีรายได้ขั้นปานกลางไปสู่ประเทศที่รายได้ขั้นสูงต่อไป ซึ่งผลที่คาดว่าจะได้รับคือทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามนโยบายรัฐบาลเกี่ยวกับการพัฒนาและมีทิศทางที่ชัดเจนในการส่งเสริมการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ตลอดจนได้รับข้อมูลอันเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานของคณะกรรมาธิการการคมนาคม สภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลในการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ต่อไป.
November 21, 2024
November 20, 2024
November 19, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
สนช.จัดสัมมนาร่วมกับการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ในหัวข้อเรื่อง “ Eastern Economic Corridor and SEZs : The new investment opportunity in Thailand”
วันที่ 17 พฤษภาคม 2560 เวลา 08.30 นาฬิกา ณ ห้องกมลทิพย์ 1 และ 2 ชั้น 2 โรงแรม เดอะ สุโกศล กรุงเทพฯ คณะกรรมาธิการการคมนาคม สภานิติบัญญัติแห่งชาติ โดยคณะอนุกรรมาธิการศึกษาด้านโลจิสติกส์ จัดสัมมนาร่วมกับการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ในหัวข้อเรื่อง “ Eastern Economic Corridor and SEZs : The new investment opportunity in Thailand” โดยมี พลเอกวรพงษ์ สง่าเนตร รองประธานคณะกรรมาธิการการคมนาคม สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในฐานะประธานอนุกรรมาธิการศึกษาด้านโลจิสติกส์ กล่าวรายงาน และพลโทจเรศักณิ์ อานุภาพ ประธานคณะกรรมาธิการการคมนาคม สภานิติบัญญัติแห่งชาติ กล่าวเปิดการสัมมนา
ทั้งนี้ การจัดสัมมนาดังกล่าวมีขึ้นเพื่อให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องรับทราบถึงความต้องการของภาคเอกชนที่เป็นสมาคมต่างชาติ นักลงทุนและนักธุรกิจชาวไทย ในการที่จะส่งเสริมการค้าและการลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) และเขตพัฒนาเศรษฐกิจชายแดน เนื่องจากคณะกรรมาธิการการคมนาคมได้พิจารณาเห็นว่าแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของไทย ฉบับที่ 2 (2556 – 2560) มีส่วนเกี่ยวข้องกับด้านคมนาคม คือ ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาบริการขนส่งและเครือข่ายโลจิสติกส์ตามเส้นทางยุทธศาสตร์ ซึ่งทางคณะอนุกรรมาธิการฯ ได้มีการศึกษาเรื่องระบบโลจิสติกส์ของประเทศ เช่น เรื่องของการเชื่อมต่อของท่าเรือแหลมฉบัง ท่าเรือมาบตาพุดและด่านการค้าที่สำคัญต่างๆ โดยเน้นเรื่องการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ที่เชื่อมต่อพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน กับแหล่งการผลิตต่างๆ รวมถึงการเชื่อมต่อกับแหล่งชายแดนที่สำคัญ โดยจะเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูลข้อเท็จจริงว่าจะเป็นปัญหามากน้อยแค่ไหน เนื่องจากพื้นที่ภาคตะวันออกของประเทศไทยเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพในการพัฒนาเศรษฐกิจและเป็นที่ตั้งของนิคมอุตสาหกรรมจำนวนมาก มีท่าเรือแหลมฉบัง ท่าเรือมาบตาพุด ที่เป็นประตูการค้า มีการส่งออกนำเข้าสินค้าสำคัญของประเทศ อีกทั้งมีสนามบินอู่ตะเภาที่รองรับการเดินทางและการขนส่งสินค้าอากาศยาน ซึ่งขณะนี้รัฐบาลได้เปิดโครงการนำร่องไปแล้วในสนามบินอู่ตะเภา นอกจากนั้นจะมีอีกหลายส่วนที่อยู่ในแผนการพัฒนาเศรษฐกิจตามนโยบายของรัฐบาล ทั้งหมดนี้ก็เพื่อเป็นการนำประเทศไทยไปสู่ Thailand 4.0 ให้ประเทศไทยก้าวข้ามกับดักประเทศที่มีรายได้ขั้นปานกลางไปสู่ประเทศที่รายได้ขั้นสูงต่อไป ซึ่งผลที่คาดว่าจะได้รับคือทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามนโยบายรัฐบาลเกี่ยวกับการพัฒนาและมีทิศทางที่ชัดเจนในการส่งเสริมการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ตลอดจนได้รับข้อมูลอันเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานของคณะกรรมาธิการการคมนาคม สภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลในการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ต่อไป.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมสืบสานประเพณีลอยกระทง สร้างความสุขทั่วอำเภอขนอม
November 21, 2024
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมส่งเสริมสุขภาพชุมชน สนับสนุนอบรม อสม.ใหม่/ทดแทน
November 21, 2024
อบจ.สงขลา ร่วมรับรางวัลประกาศเกียรติคุณ “ค่าของแผ่นดิน” ประจำปี 2566 ด้านการพัฒนาสังคมและส่งเสริมคุณภาพชีวิต จากโครงการ ...
November 20, 2024
อโกด้าเผย หาดใหญ่คว้าแชมป์เมืองท่องเที่ยวที่คุ้มค่าที่สุดในไทย ช่วงเทศกาลส่งท้ายปี
November 19, 2024