วันอังคารที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ.2560 เวลา 10.00-10.45 น. ณ ฝายบ้านโคกกราด ตำบลฉาง อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา นายนารายณ์ แก้วยี่ กำนันตำบลฉาง นายพนม แก้วศรี ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 8 บ้านทุ่งหม้อแตก ตำบลฉาง ร่วมกับบัณฑิตอาสาฯและช่างผู้ควบคุมงานลงพื้นที่ตรวจสอบความคืบหน้าโครงการสร้างฝายบ้านโคกกราด ซึ่งเป็นแนวพระราชดำริทฤษฎีการพัฒนาและฟื้นฟูป่าไม้ เป็นการอนุรักษ์น้ำตามวัฏจักรน้ำตามธรรมชาติ (Hydrological cycle) เป็นแนวคิดในการป้องกันอันตราย ลดความรุนแรงของการไหล่บ่าของน้ำตามธรรมชาติ เป็นแนวคิดในการใช้ประโยชน์น้ำ ทั้งบริโภคและอุปโภค โดยใช้ฝายเป็นที่กักเก็บน้ำขนาดเล็ก ในลักษณะตุ่มน้ำเล็กๆ กระจายทั่วพื้นที่เพื่อกักเก็บน้ำ โดยประโยชน์จากฝายชะลอน้ำได้แก่ 1.ชุมชนสามารถกักเก็บน้ำและสามารถนำน้ำที่จัดเก็บไว้จากการสร้างฝายต้นน้ำลำธารมาใช้เพื่อการเกษตรและอุปโภคบริโภคได้ 2.พื้นที่ป่ารอบๆ บริเวณที่สร้างฝายต้นน้ำลำธารอุดมสมบูรณ์ป่ามีความชุ่มชื้นตลอดปี 3.มีความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่เพิ่มมากขึ้นความหนาแน่นของพันธุ์พืชก็ย่อมจะมีมากขึ้นทำให้ชุมชนมีแหล่งอาหารส่งผลให้ความเป็นอยู่ของชุมชนดีขึ้น 4.ช่วยลดการพังทลายของดินและลดความรุนแรงของกระแสน้ำในลำห้วย ทำให้ระยะเวลาการไหลของน้ำและความชุ่มชื้นมีมากขึ้น 5.ช่วยกักเก็บตะกอนที่ไหลลงมากับน้ำในลำห้วยได้ดี 6.เป็นการช่วยยืดอายุแหล่งน้ำตอนล่างให้ตื้นเขินช้าลง คุณภาพของน้ำมีตะกอนปะปนน้อยลงการที่สามารถกักเก็บน้ำไว้ได้บางส่วนนี้ ทำให้เกิดเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ และใช้เป็นแหล่งน้ำเพื่อการบริโภคของมนุษย์และสัตว์ต่าง ๆ ตลอดจนนำไปใช้ในการเกษตรได้อีกด้วย ทั้งนี้โครงการดังกล่าวดำเนินงานแล้วเสร็จไปประมาณ 70%.
เว็บไซต์ Bankaonews.com
November 21, 2024
November 20, 2024
November 19, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
กำนันตำบลฉาง อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลาลงพื้นที่ตรวจสอบความคืบหน้าโครงการสร้างฝายบ้านโคกกราด
วันอังคารที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ.2560 เวลา 10.00-10.45 น. ณ ฝายบ้านโคกกราด ตำบลฉาง อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา นายนารายณ์ แก้วยี่ กำนันตำบลฉาง นายพนม แก้วศรี ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 8 บ้านทุ่งหม้อแตก ตำบลฉาง ร่วมกับบัณฑิตอาสาฯและช่างผู้ควบคุมงานลงพื้นที่ตรวจสอบความคืบหน้าโครงการสร้างฝายบ้านโคกกราด ซึ่งเป็นแนวพระราชดำริทฤษฎีการพัฒนาและฟื้นฟูป่าไม้ เป็นการอนุรักษ์น้ำตามวัฏจักรน้ำตามธรรมชาติ (Hydrological cycle) เป็นแนวคิดในการป้องกันอันตราย ลดความรุนแรงของการไหล่บ่าของน้ำตามธรรมชาติ เป็นแนวคิดในการใช้ประโยชน์น้ำ ทั้งบริโภคและอุปโภค โดยใช้ฝายเป็นที่กักเก็บน้ำขนาดเล็ก ในลักษณะตุ่มน้ำเล็กๆ กระจายทั่วพื้นที่เพื่อกักเก็บน้ำ โดยประโยชน์จากฝายชะลอน้ำได้แก่
1.ชุมชนสามารถกักเก็บน้ำและสามารถนำน้ำที่จัดเก็บไว้จากการสร้างฝายต้นน้ำลำธารมาใช้เพื่อการเกษตรและอุปโภคบริโภคได้
2.พื้นที่ป่ารอบๆ บริเวณที่สร้างฝายต้นน้ำลำธารอุดมสมบูรณ์ป่ามีความชุ่มชื้นตลอดปี
3.มีความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่เพิ่มมากขึ้นความหนาแน่นของพันธุ์พืชก็ย่อมจะมีมากขึ้นทำให้ชุมชนมีแหล่งอาหารส่งผลให้ความเป็นอยู่ของชุมชนดีขึ้น
4.ช่วยลดการพังทลายของดินและลดความรุนแรงของกระแสน้ำในลำห้วย ทำให้ระยะเวลาการไหลของน้ำและความชุ่มชื้นมีมากขึ้น
5.ช่วยกักเก็บตะกอนที่ไหลลงมากับน้ำในลำห้วยได้ดี
6.เป็นการช่วยยืดอายุแหล่งน้ำตอนล่างให้ตื้นเขินช้าลง คุณภาพของน้ำมีตะกอนปะปนน้อยลงการที่สามารถกักเก็บน้ำไว้ได้บางส่วนนี้ ทำให้เกิดเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ และใช้เป็นแหล่งน้ำเพื่อการบริโภคของมนุษย์และสัตว์ต่าง ๆ ตลอดจนนำไปใช้ในการเกษตรได้อีกด้วย ทั้งนี้โครงการดังกล่าวดำเนินงานแล้วเสร็จไปประมาณ 70%.
เว็บไซต์ Bankaonews.com
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมสืบสานประเพณีลอยกระทง สร้างความสุขทั่วอำเภอขนอม
November 21, 2024
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมส่งเสริมสุขภาพชุมชน สนับสนุนอบรม อสม.ใหม่/ทดแทน
November 21, 2024
อบจ.สงขลา ร่วมรับรางวัลประกาศเกียรติคุณ “ค่าของแผ่นดิน” ประจำปี 2566 ด้านการพัฒนาสังคมและส่งเสริมคุณภาพชีวิต จากโครงการ ...
November 20, 2024
อโกด้าเผย หาดใหญ่คว้าแชมป์เมืองท่องเที่ยวที่คุ้มค่าที่สุดในไทย ช่วงเทศกาลส่งท้ายปี
November 19, 2024