มรภ.สงขลา จัดอบรมใช้โซเชียลมีเดียเพิ่มความสำเร็จธุรกิจ สอนทุกกระบวนการตั้งแต่ติดตั้งแอพพลิเคชัน โพสสินค้า จนถึงปิดการขาย เชื่อเป็นช่องทางที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัย เตรียม เตรียมต่อยอดสู่ชุมชนอื่น
ผศ.ดร.ศศลักษณ์ ทองขาว อาจารย์โปรแกรมวิชาคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) ผู้เสนอโครงการอบรมโซเชียลมีเดียสำหรับธุรกิจขนาดย่อม (SME) ระหว่างวันที่ 18-19 พ.ค.60 ณ อาคารศูนย์ภาษาและคอมพิวเตอร์ มรภ.สงขลา เปิดเผยว่า เป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับการนำโซเชียลมีเดียมาใช้ประโยชน์ในการทำธุรกิจ พร้อมทั้งฝึกปฏิบัติติดตั้งแอพพลิเคชัน การโพสและขาย การบูทโพส เทคนิคการขายและการโฆษณา การโต้ตอบกับลูกค้า และการปิดการขาย ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี จำนวน 30 คน ในชุมชนเทศบาล ต.เกาะแต้ว อ.เมือง จ.สงขลา ใช้ช่องทางโซเชียลมีเดียทำธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย ที่สำคัญ ทำให้การดำเนินธุรกิจสามารถทำได้โดยง่าย สร้างผลกำไรให้แก่ชุมชนและสังคม อีกทั้งรูปแบบการสร้างงานนี้จะเกิดการเชื่อมโยง และสามารถนำไปปรับใช้กับชุมชนอื่นได้อีกด้วย
ผศ.ดร.ศศลักษณ์ กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีมีความมุ่งมั่นที่จะใช้นวัตกรรมขับเคลื่อนเศรษฐกิจ โดยถักทอเชื่อมโยงเทคโนโลยีหลักที่ต้นน้ำ เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กับอุตสาหกรรมเป้าหมายที่อยู่กลางน้ำ และสตาร์ทอัพ (Startups) ต่างๆ ที่อยู่ปลายน้ำ โดยใช้พลังประชารัฐในการขับเคลื่อนประเทศไทย 4.0 เช่นเดียวกับแนวคิดของ รมช.พาณิชย์ ในการพัฒนาเครื่องยนต์เพื่อขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจชุดใหม่ (New Engines of Growth) ด้วยการแปลงความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบของประเทศที่มีอยู่ 2 ด้าน คือ ความหลากหลายเชิงชีวภาพและความหลากหลายเชิงวัฒนธรรม ให้เป็นความได้เปรียบในเชิงแข่งขัน โดยการเติมเต็มด้วยวิทยาการ ความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการวิจัยและพัฒนา แล้วต่อยอดความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบเป็น 5 กลุ่มเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมเป้าหมาย ประกอบด้วย 1. กลุ่มอาหาร เกษตร และเทคโนโลยีชีวภาพ 2. กลุ่มสาธารณสุข สุขภาพ และเทคโนโลยีทางการแพทย์ 3. กลุ่มเครื่องมืออุปกรณ์อัจฉริยะ หุ่นยนต์ และระบบเครื่องกลที่ใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ควบคุม 4. กลุ่มดิจิตอล เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตที่เชื่อมต่อและบังคับอุปกรณ์ต่างๆ ปัญญาประดิษฐ์และเทคโนโลยีสมองกลฝังตัว และ 5. กลุ่มอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ วัฒนธรรม และบริการที่มีมูลค่าสูง
อาจารย์โปรแกรมวิชาคอมพิวเตอร์ กล่าวอีกว่า ทั้ง 5 กลุ่มเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมเป้าหมาย จะเป็นแพลทฟอร์มในการสร้างนิวสตาร์ทอัพ (New Startups) ต่างๆ มากมาย อาทิ เทคโนโลยีการเกษตร เทคโนโลยีอาหาร เทคโนโลยีสุขภาพ เทคโนโลยีการแพทย์ สปา เทคโนโลยีหุ่นยนต์ เทคโนโลยีด้านการเงิน อุปกรณ์เชื่อมต่อออนไลน์โดยไม่ต้องใช้คน เทคโนโลยีการศึกษา อี-มาร์เก็ตเพลส (E–Marketplace) อี-คอมเมิร์ซ (E-Commerce) เทคโนโลยีการออกแบบ ธุรกิจไลฟ์สไตล์ เทคโนโลยีการท่องเที่ยว การเพิ่มประสิทธิภาพการบริการ เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ เพื่อเป็นการเพิ่มขีดความสามารถทั้ง 5 กลุ่มดังกล่าว ให้กับผู้ประกอบรายรายย่อยในชุมชนเทศบาล ต.เกาะแต้ว อ.เมือง จ.สงขลา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มรภ.สงขลา จึงได้จัดอบรมในครั้งนี้ขึ้น.
November 20, 2024
November 18, 2024
November 13, 2024
November 11, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
มรภ.สงขลา ติวเข้มเอสเอมอีใช้โซเชียลมีเดียทำธุรกิจ
มรภ.สงขลา จัดอบรมใช้โซเชียลมีเดียเพิ่มความสำเร็จธุรกิจ สอนทุกกระบวนการตั้งแต่ติดตั้งแอพพลิเคชัน โพสสินค้า จนถึงปิดการขาย เชื่อเป็นช่องทางที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัย เตรียม เตรียมต่อยอดสู่ชุมชนอื่น
ผศ.ดร.ศศลักษณ์ ทองขาว อาจารย์โปรแกรมวิชาคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) ผู้เสนอโครงการอบรมโซเชียลมีเดียสำหรับธุรกิจขนาดย่อม (SME) ระหว่างวันที่ 18-19 พ.ค.60 ณ อาคารศูนย์ภาษาและคอมพิวเตอร์ มรภ.สงขลา เปิดเผยว่า เป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับการนำโซเชียลมีเดียมาใช้ประโยชน์ในการทำธุรกิจ พร้อมทั้งฝึกปฏิบัติติดตั้งแอพพลิเคชัน การโพสและขาย การบูทโพส เทคนิคการขายและการโฆษณา การโต้ตอบกับลูกค้า และการปิดการขาย ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี จำนวน 30 คน ในชุมชนเทศบาล ต.เกาะแต้ว อ.เมือง จ.สงขลา ใช้ช่องทางโซเชียลมีเดียทำธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย ที่สำคัญ ทำให้การดำเนินธุรกิจสามารถทำได้โดยง่าย สร้างผลกำไรให้แก่ชุมชนและสังคม อีกทั้งรูปแบบการสร้างงานนี้จะเกิดการเชื่อมโยง และสามารถนำไปปรับใช้กับชุมชนอื่นได้อีกด้วย
ผศ.ดร.ศศลักษณ์ กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีมีความมุ่งมั่นที่จะใช้นวัตกรรมขับเคลื่อนเศรษฐกิจ โดยถักทอเชื่อมโยงเทคโนโลยีหลักที่ต้นน้ำ เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กับอุตสาหกรรมเป้าหมายที่อยู่กลางน้ำ และสตาร์ทอัพ (Startups) ต่างๆ ที่อยู่ปลายน้ำ โดยใช้พลังประชารัฐในการขับเคลื่อนประเทศไทย 4.0 เช่นเดียวกับแนวคิดของ รมช.พาณิชย์ ในการพัฒนาเครื่องยนต์เพื่อขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจชุดใหม่ (New Engines of Growth) ด้วยการแปลงความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบของประเทศที่มีอยู่ 2 ด้าน คือ ความหลากหลายเชิงชีวภาพและความหลากหลายเชิงวัฒนธรรม ให้เป็นความได้เปรียบในเชิงแข่งขัน โดยการเติมเต็มด้วยวิทยาการ ความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการวิจัยและพัฒนา แล้วต่อยอดความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบเป็น 5 กลุ่มเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมเป้าหมาย ประกอบด้วย 1. กลุ่มอาหาร เกษตร และเทคโนโลยีชีวภาพ 2. กลุ่มสาธารณสุข สุขภาพ และเทคโนโลยีทางการแพทย์ 3. กลุ่มเครื่องมืออุปกรณ์อัจฉริยะ หุ่นยนต์ และระบบเครื่องกลที่ใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ควบคุม 4. กลุ่มดิจิตอล เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตที่เชื่อมต่อและบังคับอุปกรณ์ต่างๆ ปัญญาประดิษฐ์และเทคโนโลยีสมองกลฝังตัว และ 5. กลุ่มอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ วัฒนธรรม และบริการที่มีมูลค่าสูง
อาจารย์โปรแกรมวิชาคอมพิวเตอร์ กล่าวอีกว่า ทั้ง 5 กลุ่มเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมเป้าหมาย จะเป็นแพลทฟอร์มในการสร้างนิวสตาร์ทอัพ (New Startups) ต่างๆ มากมาย อาทิ เทคโนโลยีการเกษตร เทคโนโลยีอาหาร เทคโนโลยีสุขภาพ เทคโนโลยีการแพทย์ สปา เทคโนโลยีหุ่นยนต์ เทคโนโลยีด้านการเงิน อุปกรณ์เชื่อมต่อออนไลน์โดยไม่ต้องใช้คน เทคโนโลยีการศึกษา อี-มาร์เก็ตเพลส (E–Marketplace) อี-คอมเมิร์ซ (E-Commerce) เทคโนโลยีการออกแบบ ธุรกิจไลฟ์สไตล์ เทคโนโลยีการท่องเที่ยว การเพิ่มประสิทธิภาพการบริการ เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ เพื่อเป็นการเพิ่มขีดความสามารถทั้ง 5 กลุ่มดังกล่าว ให้กับผู้ประกอบรายรายย่อยในชุมชนเทศบาล ต.เกาะแต้ว อ.เมือง จ.สงขลา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มรภ.สงขลา จึงได้จัดอบรมในครั้งนี้ขึ้น.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ เปิด”มุมหนังสือนายกสภามหาวิทยาลัย” ณ ห้องสมุด ศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล
November 20, 2024
มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ จับมือ WeStride เปิดตัว “FutureX” หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ออนไลน์ ...
November 18, 2024
โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดรับสมัครนักเรียนระดับบ้านสาธิตปฐมวัยและระดับปฐมวัย (อนุบาล 1) ปีการศึกษา ...
November 13, 2024
มรภ.สงขลา นำผลงานนวัตกรรม นศ.เกษตร “เครื่องหยอดเมล็ดข้าว-กิมจิเห็ดนางฟ้า-ข้าวเกรียบเห็ดรสกิมจิ” ถ่ายทอดสู่ชุมชน
November 11, 2024