“สามารถ” แนะสังคมจับตาประมูล “บีอาร์ที” จี้ กทม.ตอบ 2 ข้อ หวั่นล็อกสเปก ให้เจ้าเก่า “บีทีเอส”
เมื่อวันที่ 28 เม.ย.60 นายสามารถ ราชพลสิทธิ์ อดีตส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวตั้งข้อสังเกตถึงการประมูลรถประจำทางด่วนพิเศษ (บีอาร์ที ของกรุงเทพมหานคร (กทม.) ว่า โครงการนี้ กทม.ได้ว่าจ้างบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด (เคที) ซึ่งเป็นบริษัทของ กทม.เป็นผู้บริหารจัดการเดินรถตาม สัญญาจ้างบริหารจัดการเดินรถ เลขที่ 22-13-53 ลงวันที่ 10 ก.พ. 2553 ว่าจ้างรวม 7 ปี ตั้งแต่วันที่ 29 พ.ค. 53 ถึง 28 พ.ค. 60 เป็นเงิน 1,553,267,380 บาท หรือเฉลี่ยปีละราว 222 ล้านบาท ที่สำคัญ ค่าจ้างจำนวนนี้ได้รวมค่าจัดหารถบีอาร์ทีจำนวน 25-30 คัน วงเงิน 213-249 ล้านบาท ไว้ด้วยแล้ว
ขณะเดียวกัน ในวันที่ 10 ก.พ. 53 เคที ได้ทำสัญญาว่าจ้างบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอส เป็นผู้เดินรถแทนตนเองตามสัญญาจ้างผู้เดินรถพร้อมจัดหารถโดยสารเลขที่ กธ.ส.001/53 เป็นเวลา 7 ปี ระหว่างวันที่ 29 พ.ค. 53-28 พ.ค. 60 เช่นเดียวกันโดยสัญญาฉบับนี้ระบุให้บีทีเอสส่งมอบรถบีอาร์ทีจำนวน 10 คัน ภายในวันที่ 24 เม.ย.53 และอีก 15 คัน ภายในวันที่ 30 เม.ย.53 โดยใช้เงินที่เคทีได้รับมาจาก กทม. แต่ได้รับข้อมูลว่ารถบีอาร์ทีทั้งหมดแทนที่จะตกเป็นของ กทม. กลับเป็นของบีทีเอส ซึ่งได้ตรวจสอบข้อมูลกับกรมการขนส่งทางบกแล้ว จึงเป็นเรื่องแปลกเพราะใช้เงินของ กทม.ซื้อ โดย 28 พ.ค.60 สัญญาว่าจ้างเคที และบีทีเอสจะสิ้นสุด กทม.มอบหมายให้เคที บริหารจัดการรถต่อไป โดยมีผู้สนใจเข้าประมูลแข่งรวม 4 ราย รวมทั้งบีทีเอสด้วย
นายสามารถ กล่าวต่อว่า ในการเปิดประมูลปกติต้องเปิดกว้าง เป็นธรรมทั้งด้านราคาและคุณภาพ แต่กลับไม่เป็นเช่นนั้น เพราะข้อกำหนดของผู้ว่าจ้าง หรือทีโออาร์ที่ เคทีใช้ในการประมูล มีสาระสำคัญที่ไม่เป็นธรรมในข้อ 9.6 ที่ระบุว่า “ผู้รับสิทธิจะต้องจัดให้มีรถโดยสารอย่างน้อย 25 คัน โดยรถโดยสารมีคุณสมบัติที่สำคัญคือ 1. ลักษณะของตัวรถโดยสารเป็นไปตามมาตรฐานของกรมการขนส่งทางบก 2. มีประตูทางเข้า-ออก ด้านขวาอย่างน้อย 1 ฝั่ง 3. พื้นรถมีความสูงจากระดับพื้นถนน 90 เซนติเมตร เพื่อให้อยู่ในระดับเดียวกับชานชาลาสถานี” ซึ่งเป็นสเปกรถเฉพาะของบีทีเอส เท่านั้นที่สามารถร่วมประมูลได้ เพราะมีรถสเปกนี้อยู่ในมือแล้ว
ขณะที่อีก 3 บริษัทไม่สามารถจัดหารถสเปกดังกล่าวได้ทันเวลา ที่สุดจะส่งผลกระทบต่อผู้ใช้บริการจึงขอเรียกร้องให้ กทม.ดำเนินการ 1. ตรวจสอบว่าใครเป็นเจ้าของรถบีอาร์ทีกันแน่ เพราะใช้เงินของ กทม.ซื้อรถบีอาร์ทีทั้งหมด 2. แก้ไขทีโออาร์ให้เกิดความเป็นธรรม ให้มีการแข่งขันทั้งด้านราคาและคุณภาพเพื่อประโยชน์ต่อผู้ใช้บริการ หาก กทม. ไม่สามารถแก้ไขทีโออาร์ได้ ก็เซ็นสัญญาว่าจ้างบีทีเอสโดยตรงไปเลย จะเปิดประมูลให้เสียเวลาทำไม เพราะบริษัทอื่นไม่สามารถเข้าร่วมประมูลด้วยได้ ที่พูดเพราะเป็นห่วง กทม. ที่อาจจะถูกกล่าวหาได้ว่าล็อกสเปกให้บีทีเอสเท่านั้นเอง.
ภาพ/ข่าว ไทยรัฐออนไลน์
November 21, 2024
November 20, 2024
November 19, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
‘สามารถ’ จี้จับตาประมูล ‘บีอาร์ที’ ส่อล็อกสเปกให้เจ้าเก่า ‘บีทีเอส’
“สามารถ” แนะสังคมจับตาประมูล “บีอาร์ที” จี้ กทม.ตอบ 2 ข้อ หวั่นล็อกสเปก ให้เจ้าเก่า “บีทีเอส”
เมื่อวันที่ 28 เม.ย.60 นายสามารถ ราชพลสิทธิ์ อดีตส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวตั้งข้อสังเกตถึงการประมูลรถประจำทางด่วนพิเศษ (บีอาร์ที ของกรุงเทพมหานคร (กทม.) ว่า โครงการนี้ กทม.ได้ว่าจ้างบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด (เคที) ซึ่งเป็นบริษัทของ กทม.เป็นผู้บริหารจัดการเดินรถตาม สัญญาจ้างบริหารจัดการเดินรถ เลขที่ 22-13-53 ลงวันที่ 10 ก.พ. 2553 ว่าจ้างรวม 7 ปี ตั้งแต่วันที่ 29 พ.ค. 53 ถึง 28 พ.ค. 60 เป็นเงิน 1,553,267,380 บาท หรือเฉลี่ยปีละราว 222 ล้านบาท ที่สำคัญ ค่าจ้างจำนวนนี้ได้รวมค่าจัดหารถบีอาร์ทีจำนวน 25-30 คัน วงเงิน 213-249 ล้านบาท ไว้ด้วยแล้ว
ขณะเดียวกัน ในวันที่ 10 ก.พ. 53 เคที ได้ทำสัญญาว่าจ้างบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอส เป็นผู้เดินรถแทนตนเองตามสัญญาจ้างผู้เดินรถพร้อมจัดหารถโดยสารเลขที่ กธ.ส.001/53 เป็นเวลา 7 ปี ระหว่างวันที่ 29 พ.ค. 53-28 พ.ค. 60 เช่นเดียวกันโดยสัญญาฉบับนี้ระบุให้บีทีเอสส่งมอบรถบีอาร์ทีจำนวน 10 คัน ภายในวันที่ 24 เม.ย.53 และอีก 15 คัน ภายในวันที่ 30 เม.ย.53 โดยใช้เงินที่เคทีได้รับมาจาก กทม. แต่ได้รับข้อมูลว่ารถบีอาร์ทีทั้งหมดแทนที่จะตกเป็นของ กทม. กลับเป็นของบีทีเอส ซึ่งได้ตรวจสอบข้อมูลกับกรมการขนส่งทางบกแล้ว จึงเป็นเรื่องแปลกเพราะใช้เงินของ กทม.ซื้อ โดย 28 พ.ค.60 สัญญาว่าจ้างเคที และบีทีเอสจะสิ้นสุด กทม.มอบหมายให้เคที บริหารจัดการรถต่อไป โดยมีผู้สนใจเข้าประมูลแข่งรวม 4 ราย รวมทั้งบีทีเอสด้วย
นายสามารถ กล่าวต่อว่า ในการเปิดประมูลปกติต้องเปิดกว้าง เป็นธรรมทั้งด้านราคาและคุณภาพ แต่กลับไม่เป็นเช่นนั้น เพราะข้อกำหนดของผู้ว่าจ้าง หรือทีโออาร์ที่ เคทีใช้ในการประมูล มีสาระสำคัญที่ไม่เป็นธรรมในข้อ 9.6 ที่ระบุว่า “ผู้รับสิทธิจะต้องจัดให้มีรถโดยสารอย่างน้อย 25 คัน โดยรถโดยสารมีคุณสมบัติที่สำคัญคือ 1. ลักษณะของตัวรถโดยสารเป็นไปตามมาตรฐานของกรมการขนส่งทางบก 2. มีประตูทางเข้า-ออก ด้านขวาอย่างน้อย 1 ฝั่ง 3. พื้นรถมีความสูงจากระดับพื้นถนน 90 เซนติเมตร เพื่อให้อยู่ในระดับเดียวกับชานชาลาสถานี” ซึ่งเป็นสเปกรถเฉพาะของบีทีเอส เท่านั้นที่สามารถร่วมประมูลได้ เพราะมีรถสเปกนี้อยู่ในมือแล้ว
ขณะที่อีก 3 บริษัทไม่สามารถจัดหารถสเปกดังกล่าวได้ทันเวลา ที่สุดจะส่งผลกระทบต่อผู้ใช้บริการจึงขอเรียกร้องให้ กทม.ดำเนินการ 1. ตรวจสอบว่าใครเป็นเจ้าของรถบีอาร์ทีกันแน่ เพราะใช้เงินของ กทม.ซื้อรถบีอาร์ทีทั้งหมด 2. แก้ไขทีโออาร์ให้เกิดความเป็นธรรม ให้มีการแข่งขันทั้งด้านราคาและคุณภาพเพื่อประโยชน์ต่อผู้ใช้บริการ หาก กทม. ไม่สามารถแก้ไขทีโออาร์ได้ ก็เซ็นสัญญาว่าจ้างบีทีเอสโดยตรงไปเลย จะเปิดประมูลให้เสียเวลาทำไม เพราะบริษัทอื่นไม่สามารถเข้าร่วมประมูลด้วยได้ ที่พูดเพราะเป็นห่วง กทม. ที่อาจจะถูกกล่าวหาได้ว่าล็อกสเปกให้บีทีเอสเท่านั้นเอง.
ภาพ/ข่าว ไทยรัฐออนไลน์
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมสืบสานประเพณีลอยกระทง สร้างความสุขทั่วอำเภอขนอม
November 21, 2024
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมส่งเสริมสุขภาพชุมชน สนับสนุนอบรม อสม.ใหม่/ทดแทน
November 21, 2024
อบจ.สงขลา ร่วมรับรางวัลประกาศเกียรติคุณ “ค่าของแผ่นดิน” ประจำปี 2566 ด้านการพัฒนาสังคมและส่งเสริมคุณภาพชีวิต จากโครงการ ...
November 20, 2024
อโกด้าเผย หาดใหญ่คว้าแชมป์เมืองท่องเที่ยวที่คุ้มค่าที่สุดในไทย ช่วงเทศกาลส่งท้ายปี
November 19, 2024