มรภ.สงขลา ชวนคนไทยเข้าใจเมียนมาในฐานะมหามิตร ชี้ภาพรับรู้การเสียกรุงศรีอยุธยาในอดีตกลายเป็นประวัติศาสตร์บาดหมางจนถึงปัจจุบัน ดึงนักศึกษาเข้ารับภูมิรู้ที่ถูกต้อง
นายวสิน ทับวงษ์ รองประธานคณะทำงานโครงการจัดตั้งศูนย์อาเซียนศึกษาแห่งมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดเผยถึงการอบรม เข้าถึง เข้าใจ อาเซียน : มองเมียนมา มหามิตร ณ ห้องประชุมคณะเทคโนโลยีการเกษตร มรภ.สงขลา เมื่อไม่นานมานี้ว่า มีที่มาจากการเล็งเห็นว่าแม้ประชาคมอาเซียนซึ่งมีสถานะเป็นประชาคมโดยสมบูรณ์ตั้งแต่วันที่ 31 ธ.ค.58 แต่ความเข้าใจในมิติต่างๆ ของประชาคมที่มีประเทศสมาชิกถึง 10 ประเทศ ยังไม่ทั่วถึงและรอบด้าน อีกทั้งการเรียนการสอนภาคบังคับระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ยังถูกกำหนดด้วยนโยบายการศึกษาจากส่วนกลาง ภาพการรับรู้เกี่ยวกับประเทศเพื่อนบ้านดำเนินไปในทิศทางที่สะท้อนความดีกว่า พัฒนากว่าของประเทศไทย เมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน ย่อมส่งผลต่อโลกทัศน์อันเป็นแนวทางชาตินิยม กระทั่งกลายเป็นกรอบความคิดซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาที่แท้จริงของคนไทยในฐานะพลเมืองอาเซียน ยกตัวอย่างความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับเมียนมาในระดับประชาชน ภาพการรับรู้เรื่องการเสียกรุงศรีอยุธยา พ.ศ. 2310 ยังคงถูกบรรจุว่าเป็นความโหดร้ายทารุณของชาวพม่า จนกระทั่งบางส่วนรู้สึกรังเกียจและชิงชังแรงงานชาวเมียนมาในประเทศไทย ทั้งที่เป็นชุดความคิดที่ถูกสร้างขึ้นในยุคที่ประเทศสยามถูกคุกคามด้วยจักรวรรดินิยมตะวันตก จนต้องสร้างจุดศูนย์รวมและสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ครั้นเมื่อวันเวลาผ่านพ้นไปยุคอาณานิคมจบสิ้นไป ประเทศเพื่อนบ้านทั้งหลายได้รับเอกราชครบถ้วน แต่ชุดความคิดดังกล่าวยังคงถูกตราตรึงและแทบจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงไปได้ กลายเป็นประวัติศาสตร์บาดหมาง ระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้านไปในที่สุด
นายวสิน กล่าวว่า คณาจารย์ผู้สอนรายวิชาวิถีอาเซียน กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มรภ.สงขลา ตระหนักดีว่าหนึ่งในพันธกิจหลักนอกจากจะสอนและบรรยายเนื้อหาของรายวิชาฯ แล้ว ยังจำเป็นจะต้องเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่นักศึกษาที่เรียนในรายวิชาดังกล่าว รวมถึงนักศึกษาที่เรียนในรายวิชาอื่นๆ ที่มีความสนใจ ตลอดจนบุคลากรทั้งสายวิชาการและสายสนับสนุนที่สนใจจะได้รับโอกาสเพื่อพัฒนาตนเอง โดยร่วมกับคณะทำงานโครงการจัดตั้งศูนย์อาเซียนศึกษาฯ จัดโครงการเข้าถึงเข้าใจอาเซียน ในปีการศึกษา 2558 โดยเน้นประเด็นไทย-อินโดนีเซีย และประสบความสำเร็จมาแล้ว ด้วยเหตุนี้ ในปีการศึกษา 2559 คณะทำงานฯ เล็งเห็นถึงกรณีแรงงานจากประเทศเมียนมาที่มีอยู่จำนวนมากในประเทศไทยและโดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคอุตสาหกรรม ประมง เกษตรกรรม การค้า ตลอดจนธุรกิจการก่อสร้าง ใน จ.สงขลา จึงตระหนักว่านักศึกษาจำเป็นจะต้องมีภูมิรู้ที่ถูกต้อง และเห็นความสำคัญของประชากรจากประเทศเพื่อนบ้าน ในฐานะเพื่อนมนุษย์ที่เท่าเทียมกับคนไทย จึงได้จัดอบรมในครั้งนี้ขึ้น โดยเชิญวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิด้านพม่าศึกษามาบรรยายพิเศษ และจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ บันเทิงไทยในพม่า และบันเทิงพม่าในไทย ซึ่งเป็นสื่อสำคัญที่จะสามารถเข้าถึงประชาชนได้ง่ายที่สุด โดยสื่อละคร เช่น เพลิงพระนาง และภาพยนตร์ เป็นเสมือนการบรรจุชุดความคิดและสร้างกระแสการรับรู้ อันจะเป็นผลดีต่อการสร้างความเข้าใจต่อประชาชนของทั้งสองประเทศ.
November 20, 2024
November 18, 2024
November 13, 2024
November 11, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
มรภ.สงขลาชวนคนไทยเข้าใจเมียนมา
มรภ.สงขลา ชวนคนไทยเข้าใจเมียนมาในฐานะมหามิตร ชี้ภาพรับรู้การเสียกรุงศรีอยุธยาในอดีตกลายเป็นประวัติศาสตร์บาดหมางจนถึงปัจจุบัน ดึงนักศึกษาเข้ารับภูมิรู้ที่ถูกต้อง
นายวสิน ทับวงษ์ รองประธานคณะทำงานโครงการจัดตั้งศูนย์อาเซียนศึกษาแห่งมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดเผยถึงการอบรม เข้าถึง เข้าใจ อาเซียน : มองเมียนมา มหามิตร ณ ห้องประชุมคณะเทคโนโลยีการเกษตร มรภ.สงขลา เมื่อไม่นานมานี้ว่า มีที่มาจากการเล็งเห็นว่าแม้ประชาคมอาเซียนซึ่งมีสถานะเป็นประชาคมโดยสมบูรณ์ตั้งแต่วันที่ 31 ธ.ค.58 แต่ความเข้าใจในมิติต่างๆ ของประชาคมที่มีประเทศสมาชิกถึง 10 ประเทศ ยังไม่ทั่วถึงและรอบด้าน อีกทั้งการเรียนการสอนภาคบังคับระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ยังถูกกำหนดด้วยนโยบายการศึกษาจากส่วนกลาง ภาพการรับรู้เกี่ยวกับประเทศเพื่อนบ้านดำเนินไปในทิศทางที่สะท้อนความดีกว่า พัฒนากว่าของประเทศไทย เมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน ย่อมส่งผลต่อโลกทัศน์อันเป็นแนวทางชาตินิยม กระทั่งกลายเป็นกรอบความคิดซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาที่แท้จริงของคนไทยในฐานะพลเมืองอาเซียน ยกตัวอย่างความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับเมียนมาในระดับประชาชน ภาพการรับรู้เรื่องการเสียกรุงศรีอยุธยา พ.ศ. 2310 ยังคงถูกบรรจุว่าเป็นความโหดร้ายทารุณของชาวพม่า จนกระทั่งบางส่วนรู้สึกรังเกียจและชิงชังแรงงานชาวเมียนมาในประเทศไทย ทั้งที่เป็นชุดความคิดที่ถูกสร้างขึ้นในยุคที่ประเทศสยามถูกคุกคามด้วยจักรวรรดินิยมตะวันตก จนต้องสร้างจุดศูนย์รวมและสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ครั้นเมื่อวันเวลาผ่านพ้นไปยุคอาณานิคมจบสิ้นไป ประเทศเพื่อนบ้านทั้งหลายได้รับเอกราชครบถ้วน แต่ชุดความคิดดังกล่าวยังคงถูกตราตรึงและแทบจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงไปได้ กลายเป็นประวัติศาสตร์บาดหมาง ระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้านไปในที่สุด
นายวสิน กล่าวว่า คณาจารย์ผู้สอนรายวิชาวิถีอาเซียน กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มรภ.สงขลา ตระหนักดีว่าหนึ่งในพันธกิจหลักนอกจากจะสอนและบรรยายเนื้อหาของรายวิชาฯ แล้ว ยังจำเป็นจะต้องเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่นักศึกษาที่เรียนในรายวิชาดังกล่าว รวมถึงนักศึกษาที่เรียนในรายวิชาอื่นๆ ที่มีความสนใจ ตลอดจนบุคลากรทั้งสายวิชาการและสายสนับสนุนที่สนใจจะได้รับโอกาสเพื่อพัฒนาตนเอง โดยร่วมกับคณะทำงานโครงการจัดตั้งศูนย์อาเซียนศึกษาฯ จัดโครงการเข้าถึงเข้าใจอาเซียน ในปีการศึกษา 2558 โดยเน้นประเด็นไทย-อินโดนีเซีย และประสบความสำเร็จมาแล้ว ด้วยเหตุนี้ ในปีการศึกษา 2559 คณะทำงานฯ เล็งเห็นถึงกรณีแรงงานจากประเทศเมียนมาที่มีอยู่จำนวนมากในประเทศไทยและโดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคอุตสาหกรรม ประมง เกษตรกรรม การค้า ตลอดจนธุรกิจการก่อสร้าง ใน จ.สงขลา จึงตระหนักว่านักศึกษาจำเป็นจะต้องมีภูมิรู้ที่ถูกต้อง และเห็นความสำคัญของประชากรจากประเทศเพื่อนบ้าน ในฐานะเพื่อนมนุษย์ที่เท่าเทียมกับคนไทย จึงได้จัดอบรมในครั้งนี้ขึ้น โดยเชิญวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิด้านพม่าศึกษามาบรรยายพิเศษ และจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ บันเทิงไทยในพม่า และบันเทิงพม่าในไทย ซึ่งเป็นสื่อสำคัญที่จะสามารถเข้าถึงประชาชนได้ง่ายที่สุด โดยสื่อละคร เช่น เพลิงพระนาง และภาพยนตร์ เป็นเสมือนการบรรจุชุดความคิดและสร้างกระแสการรับรู้ อันจะเป็นผลดีต่อการสร้างความเข้าใจต่อประชาชนของทั้งสองประเทศ.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ เปิด”มุมหนังสือนายกสภามหาวิทยาลัย” ณ ห้องสมุด ศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล
November 20, 2024
มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ จับมือ WeStride เปิดตัว “FutureX” หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ออนไลน์ ...
November 18, 2024
โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดรับสมัครนักเรียนระดับบ้านสาธิตปฐมวัยและระดับปฐมวัย (อนุบาล 1) ปีการศึกษา ...
November 13, 2024
มรภ.สงขลา นำผลงานนวัตกรรม นศ.เกษตร “เครื่องหยอดเมล็ดข้าว-กิมจิเห็ดนางฟ้า-ข้าวเกรียบเห็ดรสกิมจิ” ถ่ายทอดสู่ชุมชน
November 11, 2024