นักวิชาการ มรภ.สงขลา วิทยาเขตสตูล เขียนบทความปฐมบทหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการสิ่งแวดล้อมและภัยธรรมชาติ ชี้ประเทศไทยสูญเสียมูลค่าทางเศรษฐกิจจากสาธารณภัยเป็นเงินมหาศาล แนะพัฒนาองค์ความรู้เตรียมพร้อมรับมือ
ดร.อาชารินทร์ แป้นสุข อาจารย์ประจำวิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) วิทยาเขตจังหวัดสตูล กล่าวไว้ในบทความวิชาการเรื่อง อนาคตภาพการสื่อสารหลักสูตรส่งเสริมแห่งดินแดนเขตพัฒนาเฉพาะกิจชายแดนใต้ : ปฐมบทหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการสิ่งแวดล้อมและภัยธรรมชาติ ว่า สืบเนื่องจากปัจจุบันนวัตกรรมการสื่อสารปัญหาภัยธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมนับวันยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น ประเทศไทยจัดเป็นลำดับต้นๆ ของโลก ที่กำลังสูญเสียมูลค่าทางเศรษฐกิจจากการรับผลกระทบกรณีสาธารณภัยต่างๆ คิดเป็นเงิน 135 หมื่นล้านบาท จัดเป็นลำดับที่ 4 ของโลก และมีประชากรจำนวน 72 ล้านคน ได้รับผลกระทบจากสาธารณภัย พื้นที่ภาคใต้ได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติหลากหลายประเภท ได้แก่ สึนามิ แผ่นดินไหว หมอกควันจากไฟไหม้ป่าในประเทศอินโดนิเซีย นอกจากนั้น ยังมีภัยจากดินถล่ม ถ้ำถล่ม หลุมยุบ ถ้ำยุบ การกัดเซาะชายฝั่ง อุทกภัย และวาตภัย เป็นต้น ดังนั้น วิทยาลัยนวัตกรรมฯ ซึ่งมีบทบาทเชิงวิชาการในระดับท้องถิ่น จึงควรมีบทบาทต่อการพัฒนาองค์ความรู้และฐานข้อมูลเพื่อรองรับภัย รวมทั้งศึกษาวิจัยเพื่อสร้างระบบบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้มีประสิทธิภาพ และเตรียมพัฒนานักวิชาการ/บุคลากรให้กับภาครัฐและเอกชน เพื่อรองรับกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นในระดับท้องถิ่น เพื่อให้มีนักวางแผน พัฒนา นักวิจัย ผู้ประสานงานและจัดการที่สามารถบูรณาการความรู้จากศาสตร์ต่างๆ เพื่อสร้างองค์ความรู้ในระดับชุมชนที่สามารถต่อยอดและเชื่อมโยงสู่ระดับชาติและอาเซียนได้
ดร.อาชารินทร์ กล่าวว่า การจัดการศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อมและภัยธรรมชาติ เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญต่อการตอบสนองความต้องการทั้งด้านนโยบาย สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงและสนองต่อความต้องการของท้องถิ่น โดยบูรณาการศาสตร์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ภายใต้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ พื้นฐานนิเวศวิทยา นวัตกรรมการสื่อสาร เทคโนโลยีในการจัดการสิ่งแวดล้อม หรือด้านสังคมศาสตร์อื่นๆ ได้แก่ การใช้นโยบายหรือมาตรการต่างๆ รวมถึงภูมิปัญญาและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หลักสูตรดังกล่าวได้รับความสนใจจากนักวิชาการและนักวิจัยเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะท้องถิ่นในพื้นที่เขตพัฒนาเฉพาะกิจชายแดนใต้ ที่มีความแตกต่างทางด้านความเป็นพื้นที่ชายแดนติดกับประเทศมาเลเชีย ซึ่งมีความหลากหลายทางภาษาและวัฒนธรรม นอกจากนั้น จากภาวการณ์ขาดแคลนทุนทรัพย์และสถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษาในพื้นที่ ทำให้เยาวชนต้องเสียค่าใช้จ่ายในการลงทุนทางด้านการศึกษามาก เป็นเหตุให้ขาดโอกาสทางการศึกษา และจากปัจจัยแวดล้อมที่ขาดบทบาทในการสนับสนุนการศึกษาต่อ ส่งผลให้เยาวชนในพื้นที่ง่ายต่อการถูกชักนำไปสู่กิจกรรมที่ก่อให้เกิดปัญหาสังคมในรูปแบบต่างๆ การตั้งมหาวิทยาลัยในพื้นที่ จึงเป็นแนวทางสำคัญในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างยั่งยืนให้แก่ชุมชนที่ส่งผลกระทบเชิงลบในระดับบุคคลและสังคม
“จากผลการวิจัยและงานบริการในเขตพื้นที่ จ.สตูล ชี้ให้เห็นว่าควรจัดการเรียนการสอนในเชิงองค์รวม ซึ่งสอดรับกับปรากฏการณ์ทางการสื่อสารในปัจจุบัน อาทิ หลักสูตรที่ดำเนินการเปิดตามแผนเสนอของนักศึกษาทุนสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาที่ต้องการให้เปิดการเรียนการสอนที่วิทยาลัยนวัตกรรมฯ สูงสุด 5 อันดับแรก คือ 1. หลักสูตรการจัดการการท่องเที่ยว 2. หลักสูตรการจัดการสิ่งแวดล้อม 3. หลักสูตรการจัดการ 4. หลักสูตรอุดมศึกษา และ 5. หลักสูตรการสอนภาษาอังกฤษ ทั้งนี้ ความคาดหวังของชุมชนที่ส่งผลต่อการตัดสินใจส่งบุตรหลานเข้าเรียนในระดับอุดมศึกษาในเขตพื้นที่ จ.สตูล ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการได้รับโอกาสในการทำงานภายหลังสำเร็จการศึกษา ซึ่งเป็นอีกแนวทางในการจัดการศึกษา สำหรับเตรียมตำแหน่งงานในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อรองรับบัณฑิตต่อไปในอนาคต”
อาจารย์ประจำวิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ กล่าวและว่า มรภ.สงขลา ได้ตั้งเจตนารมณ์ที่จะขยายโอกาสทางการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น โดยพัฒนาหลักสูตรเปิดสาขาวิชาที่ตอบสนองและสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่เป็นประโยชน์กับท้องถิ่นในบริบทของวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. ผลิตบัณฑิตตามความต้องการของท้องถิ่น พัฒนา จ.สตูล จังหวัดชายแดนภาคใต้ และการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน 2. รองรับการผลิตบัณฑิตที่สอดคล้องต่อการพัฒนา 5 กลุ่มอาชีพ ด้านเกษตรกรรม ด้านอุตสาหกรรม ด้านพาณิชยกรรม ด้านความคิดสร้างสรรค์ ด้านวิชาการและวิชาชีพควบคุม ตามนโยบายรัฐบาล 3. บริการวิชาการโดยร่วมมือมือกับผู้ประกอบการ กลุ่มอุตสาหกรรม และหน่วยงานในพื้นที่เพื่อการพัฒนาฝีมือแรงงาน ภาษาต่างประเทศ คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ กิจการวิสาหกิจ การบริการและการท่องเที่ยว 4. พัฒนากายภาพมหาวิทยาลัย สาธารณูปโภค และโครงสร้างพื้นฐาน 5. ร่วมจัดทำแผนยุทธศาสตร์พัฒนา ที่สอดคล้องกับบริบทของการเปลี่ยนแปลงและการแข่งขันของประเทศ 6. พัฒนางานวิจัย สร้างองค์ความรู้ที่ตอบสนองต่อชุมชน ท้องถิ่น โดยใช้ฐานองค์ความรู้ชุมชนและการวิจัยชุมชน เพื่อใช้ประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ 7. เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการทำนุบำรุง ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิตในบริบทของชุมชน ท้องถิ่น อัตลักษณ์ของพื้นที่ และ 8. เป็นแหล่งเรียนรู้ต้นแบบใหม่ด้านนวัตกรรมการสื่อสารและความปลอดภัย.
November 20, 2024
November 18, 2024
November 13, 2024
November 11, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
มรภ.สงขลาห่วงภัยธรรมชาติทำเศรษฐกิจสูญเสียหนัก ชูแนวคิด “สาขาจัดการสิ่งแวดล้อมฯ” เตรียมพร้อมรับมือ
นักวิชาการ มรภ.สงขลา วิทยาเขตสตูล เขียนบทความปฐมบทหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการสิ่งแวดล้อมและภัยธรรมชาติ ชี้ประเทศไทยสูญเสียมูลค่าทางเศรษฐกิจจากสาธารณภัยเป็นเงินมหาศาล แนะพัฒนาองค์ความรู้เตรียมพร้อมรับมือ
ดร.อาชารินทร์ แป้นสุข อาจารย์ประจำวิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) วิทยาเขตจังหวัดสตูล กล่าวไว้ในบทความวิชาการเรื่อง อนาคตภาพการสื่อสารหลักสูตรส่งเสริมแห่งดินแดนเขตพัฒนาเฉพาะกิจชายแดนใต้ : ปฐมบทหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการสิ่งแวดล้อมและภัยธรรมชาติ ว่า สืบเนื่องจากปัจจุบันนวัตกรรมการสื่อสารปัญหาภัยธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมนับวันยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น ประเทศไทยจัดเป็นลำดับต้นๆ ของโลก ที่กำลังสูญเสียมูลค่าทางเศรษฐกิจจากการรับผลกระทบกรณีสาธารณภัยต่างๆ คิดเป็นเงิน 135 หมื่นล้านบาท จัดเป็นลำดับที่ 4 ของโลก และมีประชากรจำนวน 72 ล้านคน ได้รับผลกระทบจากสาธารณภัย พื้นที่ภาคใต้ได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติหลากหลายประเภท ได้แก่ สึนามิ แผ่นดินไหว หมอกควันจากไฟไหม้ป่าในประเทศอินโดนิเซีย นอกจากนั้น ยังมีภัยจากดินถล่ม ถ้ำถล่ม หลุมยุบ ถ้ำยุบ การกัดเซาะชายฝั่ง อุทกภัย และวาตภัย เป็นต้น ดังนั้น วิทยาลัยนวัตกรรมฯ ซึ่งมีบทบาทเชิงวิชาการในระดับท้องถิ่น จึงควรมีบทบาทต่อการพัฒนาองค์ความรู้และฐานข้อมูลเพื่อรองรับภัย รวมทั้งศึกษาวิจัยเพื่อสร้างระบบบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้มีประสิทธิภาพ และเตรียมพัฒนานักวิชาการ/บุคลากรให้กับภาครัฐและเอกชน เพื่อรองรับกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นในระดับท้องถิ่น เพื่อให้มีนักวางแผน พัฒนา นักวิจัย ผู้ประสานงานและจัดการที่สามารถบูรณาการความรู้จากศาสตร์ต่างๆ เพื่อสร้างองค์ความรู้ในระดับชุมชนที่สามารถต่อยอดและเชื่อมโยงสู่ระดับชาติและอาเซียนได้
ดร.อาชารินทร์ กล่าวว่า การจัดการศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อมและภัยธรรมชาติ เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญต่อการตอบสนองความต้องการทั้งด้านนโยบาย สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงและสนองต่อความต้องการของท้องถิ่น โดยบูรณาการศาสตร์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ภายใต้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ พื้นฐานนิเวศวิทยา นวัตกรรมการสื่อสาร เทคโนโลยีในการจัดการสิ่งแวดล้อม หรือด้านสังคมศาสตร์อื่นๆ ได้แก่ การใช้นโยบายหรือมาตรการต่างๆ รวมถึงภูมิปัญญาและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หลักสูตรดังกล่าวได้รับความสนใจจากนักวิชาการและนักวิจัยเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะท้องถิ่นในพื้นที่เขตพัฒนาเฉพาะกิจชายแดนใต้ ที่มีความแตกต่างทางด้านความเป็นพื้นที่ชายแดนติดกับประเทศมาเลเชีย ซึ่งมีความหลากหลายทางภาษาและวัฒนธรรม นอกจากนั้น จากภาวการณ์ขาดแคลนทุนทรัพย์และสถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษาในพื้นที่ ทำให้เยาวชนต้องเสียค่าใช้จ่ายในการลงทุนทางด้านการศึกษามาก เป็นเหตุให้ขาดโอกาสทางการศึกษา และจากปัจจัยแวดล้อมที่ขาดบทบาทในการสนับสนุนการศึกษาต่อ ส่งผลให้เยาวชนในพื้นที่ง่ายต่อการถูกชักนำไปสู่กิจกรรมที่ก่อให้เกิดปัญหาสังคมในรูปแบบต่างๆ การตั้งมหาวิทยาลัยในพื้นที่ จึงเป็นแนวทางสำคัญในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างยั่งยืนให้แก่ชุมชนที่ส่งผลกระทบเชิงลบในระดับบุคคลและสังคม
“จากผลการวิจัยและงานบริการในเขตพื้นที่ จ.สตูล ชี้ให้เห็นว่าควรจัดการเรียนการสอนในเชิงองค์รวม ซึ่งสอดรับกับปรากฏการณ์ทางการสื่อสารในปัจจุบัน อาทิ หลักสูตรที่ดำเนินการเปิดตามแผนเสนอของนักศึกษาทุนสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาที่ต้องการให้เปิดการเรียนการสอนที่วิทยาลัยนวัตกรรมฯ สูงสุด 5 อันดับแรก คือ 1. หลักสูตรการจัดการการท่องเที่ยว 2. หลักสูตรการจัดการสิ่งแวดล้อม 3. หลักสูตรการจัดการ 4. หลักสูตรอุดมศึกษา และ 5. หลักสูตรการสอนภาษาอังกฤษ ทั้งนี้ ความคาดหวังของชุมชนที่ส่งผลต่อการตัดสินใจส่งบุตรหลานเข้าเรียนในระดับอุดมศึกษาในเขตพื้นที่ จ.สตูล ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการได้รับโอกาสในการทำงานภายหลังสำเร็จการศึกษา ซึ่งเป็นอีกแนวทางในการจัดการศึกษา สำหรับเตรียมตำแหน่งงานในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อรองรับบัณฑิตต่อไปในอนาคต”
อาจารย์ประจำวิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ กล่าวและว่า มรภ.สงขลา ได้ตั้งเจตนารมณ์ที่จะขยายโอกาสทางการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น โดยพัฒนาหลักสูตรเปิดสาขาวิชาที่ตอบสนองและสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่เป็นประโยชน์กับท้องถิ่นในบริบทของวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. ผลิตบัณฑิตตามความต้องการของท้องถิ่น พัฒนา จ.สตูล จังหวัดชายแดนภาคใต้ และการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน 2. รองรับการผลิตบัณฑิตที่สอดคล้องต่อการพัฒนา 5 กลุ่มอาชีพ ด้านเกษตรกรรม ด้านอุตสาหกรรม ด้านพาณิชยกรรม ด้านความคิดสร้างสรรค์ ด้านวิชาการและวิชาชีพควบคุม ตามนโยบายรัฐบาล 3. บริการวิชาการโดยร่วมมือมือกับผู้ประกอบการ กลุ่มอุตสาหกรรม และหน่วยงานในพื้นที่เพื่อการพัฒนาฝีมือแรงงาน ภาษาต่างประเทศ คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ กิจการวิสาหกิจ การบริการและการท่องเที่ยว 4. พัฒนากายภาพมหาวิทยาลัย สาธารณูปโภค และโครงสร้างพื้นฐาน 5. ร่วมจัดทำแผนยุทธศาสตร์พัฒนา ที่สอดคล้องกับบริบทของการเปลี่ยนแปลงและการแข่งขันของประเทศ 6. พัฒนางานวิจัย สร้างองค์ความรู้ที่ตอบสนองต่อชุมชน ท้องถิ่น โดยใช้ฐานองค์ความรู้ชุมชนและการวิจัยชุมชน เพื่อใช้ประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ 7. เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการทำนุบำรุง ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิตในบริบทของชุมชน ท้องถิ่น อัตลักษณ์ของพื้นที่ และ 8. เป็นแหล่งเรียนรู้ต้นแบบใหม่ด้านนวัตกรรมการสื่อสารและความปลอดภัย.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ เปิด”มุมหนังสือนายกสภามหาวิทยาลัย” ณ ห้องสมุด ศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล
November 20, 2024
มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ จับมือ WeStride เปิดตัว “FutureX” หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ออนไลน์ ...
November 18, 2024
โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดรับสมัครนักเรียนระดับบ้านสาธิตปฐมวัยและระดับปฐมวัย (อนุบาล 1) ปีการศึกษา ...
November 13, 2024
มรภ.สงขลา นำผลงานนวัตกรรม นศ.เกษตร “เครื่องหยอดเมล็ดข้าว-กิมจิเห็ดนางฟ้า-ข้าวเกรียบเห็ดรสกิมจิ” ถ่ายทอดสู่ชุมชน
November 11, 2024