นักศึกษา มรภ.สงขลา สุดเจ๋ง กวาด 8 รางวัลนำเสนอผลงานวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเกษตร เชื่อเป็นเวทีสั่งสมประสบการณ์ บ่มเพาะนักวิจัยคุณภาพประดับท้องถิ่น
ดร.มงคล เทพรัตน์ คณบดีคณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ตัวแทนนักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะเทคโนโลยีการเกษตร มรภ.สงขลา จำนวน 12 คน เข้าร่วมโครงการนำเสนอผลงานทางวิชาการระดับปริญญาบัณฑิต ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร ครั้งที่ 4 ณ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ผลปรากฏว่า มรภ.สงขลา สามารถคว้ามาได้ 8 รางวัล แบ่งเป็นระดับดีเยี่ยม 4 รางวัล ได้แก่ 1. น.ส.วาสนา เอียดแอ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร นำเสนอผลงานภาคบรรยาย กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร/อุตสาหกรรมเกษตร จากผลงาน การใช้ประโยชน์จากสารสกัดจากเปลือกเงาะ มังคุด และทับทิม ในการยืดอายุการเก็บรักษากุ้งขาว 2. นายธนวัฒน์ วรรณโร สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ นำเสนอภาคโปสเตอร์ กลุ่มสัตวศาสตร์ จากผลงาน ความหลากหลายทางชีวภาพของสุกรพื้นเมืองในจังหวัดสงขลา 3. น.ส.ปวีณา ฤทธิ์โต สาขาวิชาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การนำเสนอภาคโปสเตอร์ กลุ่มประมง จากผลงาน การทดลองใช้น้ำมันกานพลูเป็นยาสลบปลานิล และ 4. น.ส.ฮูสนา บาบู สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร นำเสนอภาคโปสเตอร์ กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร/อุตสาหกรรมเกษตร จากผลงาน ผลของแป้งพรีเจลและไฮโดรคอลลอยด์ต่อคุณภาพการปรุงสุกของเส้นพาสต้าปราศจากกลูเตน
ดร.มงคล กล่าวว่า สำหรับรางวัลระดับดีเด่น นักศึกษา มรภ.สงขลา คว้ามาได้ 2 รางวัล คือ น.ส.สุจิตรา หมะเต๊ะ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร นำเสนอภาคบรรยาย กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร/อุตสาหกรรมเกษตร จากผลงาน ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อกิจกรรมของเอนไซม์ปาเปนจากเปลือกมะละกอผง และ นายณัฐพล ธีระกุล สาขาวิชาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ นำเสนอผลงานภาคโปสเตอร์ กลุ่มประมง จากผลงาน เปรียบเทียบการเจริญเติบโตของกุ้งก้ามแดง โดยใช้อาหารปลากินพืชผสมสาหร่ายสไปรูไลน่าในปริมาณต่างกัน นอกจากนั้น นักศึกษาคณะเทคโนโลยีการเกษตร มรภ.สงขลา ยังได้รับรางวัลระดับดี 1 รางวัล คือ น.ส. เรวดี บินดีน สาขาวิชาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ในการนำเสนอผลงานภาคโปสเตอร์ กลุ่มประมง จากผลงาน เปรียบเทียบความพึงพอใจในกลิ่นและรสชาติของน้ำสาหร่ายสไปรูลิน่าสดพร้อมดื่ม และ น.ส.วิภาดา เพชรรักษ์ สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร แขนงวิชาการผลิตพืช ได้รับรางวัลระดับชมเชย การนำเสนอผลงานภาคบรรยาย กลุ่มพืชศาสตร์ จากผลงาน การพัฒนาปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดจากตะกอนชีวภาพเพื่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของผักกาดขาว
คณบดีคณะเทคโนโลยีการเกษตร กล่าวว่า มรภ.สงขลา ได้รับคำเชิญจาก มรภ.เพชรบุรี ในการเป็นเจ้าภาพร่วมจัดประชุมวิชาการในครั้งนี้ อันเป็นกิจกรรมภายใต้ข้อตกลงความร่วมมือทางการศึกษา งานวิจัย การให้บริการวิชาการ การพัฒนาคุณภาพนักศึกษา ด้านเทคโนโลยีการเกษตร และการประกันคุณภาพ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายทางวิชาการ ระหว่าง 10 สถาบันการศึกษาในเขตภาคกลางตอนล่างและภาคใต้ โดยเปิดเวทีให้นักศึกษาได้มีโอกาสเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากงานวิจัย ที่เกิดจากการบ่มเพาะร่วมกับอาจารย์ที่ปรึกษา นำไปสู่การแสวงหาและค้นพบองค์ความรู้ใหม่ ทำให้นักศึกษามีความมั่นใจในการก้าวสู่นักวิจัยที่มีศักยภาพ ซึ่งจะเห็นได้ว่าในภาคการเกษตรมีความจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนและขับเคลื่อนเพื่อให้เกิดความมั่นคง สถาบันการศึกษาจึงเป็นกลไกสำคัญในการผลิตบุคลากร สร้างสรรค์งานวิจัยและนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีการเกษตร.
November 20, 2024
November 18, 2024
November 13, 2024
November 11, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
มรภ.สงขลา คว้า 8 รางวัลนำเสนอผลงานวิชาการด้านวิทย์-เกษตร
นักศึกษา มรภ.สงขลา สุดเจ๋ง กวาด 8 รางวัลนำเสนอผลงานวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเกษตร เชื่อเป็นเวทีสั่งสมประสบการณ์ บ่มเพาะนักวิจัยคุณภาพประดับท้องถิ่น
ดร.มงคล เทพรัตน์ คณบดีคณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ตัวแทนนักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะเทคโนโลยีการเกษตร มรภ.สงขลา จำนวน 12 คน เข้าร่วมโครงการนำเสนอผลงานทางวิชาการระดับปริญญาบัณฑิต ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร ครั้งที่ 4 ณ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ผลปรากฏว่า มรภ.สงขลา สามารถคว้ามาได้ 8 รางวัล แบ่งเป็นระดับดีเยี่ยม 4 รางวัล ได้แก่ 1. น.ส.วาสนา เอียดแอ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร นำเสนอผลงานภาคบรรยาย กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร/อุตสาหกรรมเกษตร จากผลงาน การใช้ประโยชน์จากสารสกัดจากเปลือกเงาะ มังคุด และทับทิม ในการยืดอายุการเก็บรักษากุ้งขาว 2. นายธนวัฒน์ วรรณโร สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ นำเสนอภาคโปสเตอร์ กลุ่มสัตวศาสตร์ จากผลงาน ความหลากหลายทางชีวภาพของสุกรพื้นเมืองในจังหวัดสงขลา 3. น.ส.ปวีณา ฤทธิ์โต สาขาวิชาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การนำเสนอภาคโปสเตอร์ กลุ่มประมง จากผลงาน การทดลองใช้น้ำมันกานพลูเป็นยาสลบปลานิล และ 4. น.ส.ฮูสนา บาบู สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร นำเสนอภาคโปสเตอร์ กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร/อุตสาหกรรมเกษตร จากผลงาน ผลของแป้งพรีเจลและไฮโดรคอลลอยด์ต่อคุณภาพการปรุงสุกของเส้นพาสต้าปราศจากกลูเตน
ดร.มงคล กล่าวว่า สำหรับรางวัลระดับดีเด่น นักศึกษา มรภ.สงขลา คว้ามาได้ 2 รางวัล คือ น.ส.สุจิตรา หมะเต๊ะ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร นำเสนอภาคบรรยาย กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร/อุตสาหกรรมเกษตร จากผลงาน ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อกิจกรรมของเอนไซม์ปาเปนจากเปลือกมะละกอผง และ นายณัฐพล ธีระกุล สาขาวิชาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ นำเสนอผลงานภาคโปสเตอร์ กลุ่มประมง จากผลงาน เปรียบเทียบการเจริญเติบโตของกุ้งก้ามแดง โดยใช้อาหารปลากินพืชผสมสาหร่ายสไปรูไลน่าในปริมาณต่างกัน นอกจากนั้น นักศึกษาคณะเทคโนโลยีการเกษตร มรภ.สงขลา ยังได้รับรางวัลระดับดี 1 รางวัล คือ น.ส. เรวดี บินดีน สาขาวิชาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ในการนำเสนอผลงานภาคโปสเตอร์ กลุ่มประมง จากผลงาน เปรียบเทียบความพึงพอใจในกลิ่นและรสชาติของน้ำสาหร่ายสไปรูลิน่าสดพร้อมดื่ม และ น.ส.วิภาดา เพชรรักษ์ สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร แขนงวิชาการผลิตพืช ได้รับรางวัลระดับชมเชย การนำเสนอผลงานภาคบรรยาย กลุ่มพืชศาสตร์ จากผลงาน การพัฒนาปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดจากตะกอนชีวภาพเพื่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของผักกาดขาว
คณบดีคณะเทคโนโลยีการเกษตร กล่าวว่า มรภ.สงขลา ได้รับคำเชิญจาก มรภ.เพชรบุรี ในการเป็นเจ้าภาพร่วมจัดประชุมวิชาการในครั้งนี้ อันเป็นกิจกรรมภายใต้ข้อตกลงความร่วมมือทางการศึกษา งานวิจัย การให้บริการวิชาการ การพัฒนาคุณภาพนักศึกษา ด้านเทคโนโลยีการเกษตร และการประกันคุณภาพ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายทางวิชาการ ระหว่าง 10 สถาบันการศึกษาในเขตภาคกลางตอนล่างและภาคใต้ โดยเปิดเวทีให้นักศึกษาได้มีโอกาสเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากงานวิจัย ที่เกิดจากการบ่มเพาะร่วมกับอาจารย์ที่ปรึกษา นำไปสู่การแสวงหาและค้นพบองค์ความรู้ใหม่ ทำให้นักศึกษามีความมั่นใจในการก้าวสู่นักวิจัยที่มีศักยภาพ ซึ่งจะเห็นได้ว่าในภาคการเกษตรมีความจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนและขับเคลื่อนเพื่อให้เกิดความมั่นคง สถาบันการศึกษาจึงเป็นกลไกสำคัญในการผลิตบุคลากร สร้างสรรค์งานวิจัยและนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีการเกษตร.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ เปิด”มุมหนังสือนายกสภามหาวิทยาลัย” ณ ห้องสมุด ศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล
November 20, 2024
มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ จับมือ WeStride เปิดตัว “FutureX” หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ออนไลน์ ...
November 18, 2024
โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดรับสมัครนักเรียนระดับบ้านสาธิตปฐมวัยและระดับปฐมวัย (อนุบาล 1) ปีการศึกษา ...
November 13, 2024
มรภ.สงขลา นำผลงานนวัตกรรม นศ.เกษตร “เครื่องหยอดเมล็ดข้าว-กิมจิเห็ดนางฟ้า-ข้าวเกรียบเห็ดรสกิมจิ” ถ่ายทอดสู่ชุมชน
November 11, 2024