วันที่ 11 เมษายน 2560 เวลา 13.30 นาฬิกา ณ บริเวณห้องโถง ชั้น 1 อาคารรัฐสภา 1 พลเอกดนัย มีชูเวท ประธานคณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ รับหนังสือร้องเรียนจากนายสุเทพ สุวรรณรัตน์ นายกสมาคมผู้เลี้ยงไก่ไข่ภาคใต้ และคณะ เพื่อขอให้ดำเนินการแก้ปัญหาความเดือดร้อนของเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่รายย่อยทั่วประเทศ เนื่องจากความไม่เป็นธรรมในระบบการผลิตและการตลาดของไก่ไข่ ที่มีผู้ประกอบธุรกิจทางการเกษตรรายใหญ่ส่งเสริมให้เกษตรกรทำการผลิตที่สูงกว่าความต้องการของตลาด ทำให้มีปริมาณไข่ไก่มาก และนำไข่ไก่ไปจำหน่ายในราคาต่ำกว่าต้นทุนการผลิตในทุกรูปแบบ ก่อให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรงแก่เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่รายย่อย ตั้งแต่ปี 2555 เป็นต้นมา จนกระทั่งในขณะนี้พบว่าปัญหาราคาตกต่ำส่งผลให้เกษตรกรรายย่อยที่ไม่สามารถแข่งขันด้านราคาขายที่ต่ำกว่าต้นทุนมีปัญหาการชำระหนี้ จนมีการเลิกเลี้ยงไปแล้วมากกว่า 5,000 ฟาร์ม
ทั้งนี้ เครือข่ายผู้เลี้ยงไก่ไข่รายย่อย(คขย.) เสนอนโยบายเพื่อการปฏิรูปโครงสร้างและกลไกดำเนินงานในการผลิตและการตลาดของไก่ไข่ เพื่อแก้ปัญหาให้เกิดความเป็นธรรมแก่เกษตรกรรายย่อยและผู้ประกอบธุรกิจทางการเกษตรรายใหญ่ในระยะยาว พร้อมทั้งขอความอนุเคราะห์และความช่วยเหลือจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการเร่งบูรณาการดำเนินการแก้ไขปัญหาราคาไข่ไก่ตกต่ำอย่างยั่งยืน โดยปรับโครงสร้าง กลไกที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพในการจัดทำแผนการผลิตและควบคุมให้เกิดความเหมาะสม ไม่ส่งผลกระทบต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง.
November 21, 2024
November 20, 2024
November 19, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
สนช. รับหนังสือร้องเรียนจากนายสุเทพ สุวรรณรัตน์ นายกสมาคมผู้เลี้ยงไก่ไข่ภาคใต้ และคณะ
วันที่ 11 เมษายน 2560 เวลา 13.30 นาฬิกา ณ บริเวณห้องโถง ชั้น 1 อาคารรัฐสภา 1 พลเอกดนัย มีชูเวท ประธานคณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ รับหนังสือร้องเรียนจากนายสุเทพ สุวรรณรัตน์ นายกสมาคมผู้เลี้ยงไก่ไข่ภาคใต้ และคณะ เพื่อขอให้ดำเนินการแก้ปัญหาความเดือดร้อนของเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่รายย่อยทั่วประเทศ เนื่องจากความไม่เป็นธรรมในระบบการผลิตและการตลาดของไก่ไข่ ที่มีผู้ประกอบธุรกิจทางการเกษตรรายใหญ่ส่งเสริมให้เกษตรกรทำการผลิตที่สูงกว่าความต้องการของตลาด ทำให้มีปริมาณไข่ไก่มาก และนำไข่ไก่ไปจำหน่ายในราคาต่ำกว่าต้นทุนการผลิตในทุกรูปแบบ ก่อให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรงแก่เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่รายย่อย ตั้งแต่ปี 2555 เป็นต้นมา จนกระทั่งในขณะนี้พบว่าปัญหาราคาตกต่ำส่งผลให้เกษตรกรรายย่อยที่ไม่สามารถแข่งขันด้านราคาขายที่ต่ำกว่าต้นทุนมีปัญหาการชำระหนี้ จนมีการเลิกเลี้ยงไปแล้วมากกว่า 5,000 ฟาร์ม
ทั้งนี้ เครือข่ายผู้เลี้ยงไก่ไข่รายย่อย(คขย.) เสนอนโยบายเพื่อการปฏิรูปโครงสร้างและกลไกดำเนินงานในการผลิตและการตลาดของไก่ไข่ เพื่อแก้ปัญหาให้เกิดความเป็นธรรมแก่เกษตรกรรายย่อยและผู้ประกอบธุรกิจทางการเกษตรรายใหญ่ในระยะยาว พร้อมทั้งขอความอนุเคราะห์และความช่วยเหลือจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการเร่งบูรณาการดำเนินการแก้ไขปัญหาราคาไข่ไก่ตกต่ำอย่างยั่งยืน โดยปรับโครงสร้าง กลไกที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพในการจัดทำแผนการผลิตและควบคุมให้เกิดความเหมาะสม ไม่ส่งผลกระทบต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมสืบสานประเพณีลอยกระทง สร้างความสุขทั่วอำเภอขนอม
November 21, 2024
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมส่งเสริมสุขภาพชุมชน สนับสนุนอบรม อสม.ใหม่/ทดแทน
November 21, 2024
อบจ.สงขลา ร่วมรับรางวัลประกาศเกียรติคุณ “ค่าของแผ่นดิน” ประจำปี 2566 ด้านการพัฒนาสังคมและส่งเสริมคุณภาพชีวิต จากโครงการ ...
November 20, 2024
อโกด้าเผย หาดใหญ่คว้าแชมป์เมืองท่องเที่ยวที่คุ้มค่าที่สุดในไทย ช่วงเทศกาลส่งท้ายปี
November 19, 2024