คสช. จัดเวทีสร้างความรู้ ความเข้าใจ และรับทราบความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์ความมั่นคงด้านพลังงานในพื้นที่ภาคใต้ พร้อมกัน 3 ที่ 3 เวทีคือ เวที จ.สุราษฎร์ธานี ที่โรงแรมไดมอนด์พลาซ่า เวที จ.สงขลา ที่ศูนย์ประชุมนานาชาติ ฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และเวที จ.กระบี่ ที่โรงแรมมาริไทม์ ปาร์คแอนด์สปารีสอร์ท เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2560 ช่วงเช้าจะเป็นการนำเสนอข้อมูลจากหน่วยงานของรัฐ ประกอบด้วย กระทรวงพลังงาน โดย สำนักนโยบายและแผนพลังงาน นำเสนอสถานการณ์การใช้ไฟฟ้าในพื้นที่ภาคใต้ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย นำเสนอทางเลือกที่เหมาะสมและความเป็นไปได้เกี่ยวกับการสร้างโรงไฟฟ้า กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นำเสนอข้อพิจารณาผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ส่วนช่วงบ่ายเป็นการนำเสนอโดยภาคประชาสังคม ภาคประชาชนและผู้นำชุมชนและผู้นำองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นเและ นักวิชาการที่เกี่ยวข้อง
โดยสรุป สถานการณ์ใช้ไฟฟ้าในภาคใต้ ใช้ไฟฟ้าสูงสุดภาคใต้ 14 จังหวัด 2,630 เมกะวัตต์ สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ 2,619 เมกะวัตต์ เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 5 สาเหตุสำคัญมาจากความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงเนื่องจากอากาศที่ร้อนอบอ้าวการขยายตัวของ เศรษฐกิจ การท่องเที่ยว การใช้พลังงานหมุนเวียนจากพลังทดแทน เช่น พลังงาน ลม แสดงแดด น้ำ ชีวะมูล เป็นพลังงาน ที่ไม่เสถียร นอยู่กับฤดูกาล ปริมาณ ไม่เพียงพอ ต้นทุนสูง ไม่มีความมั่นคงทางด้านพลังงาน
ภาคประชาชน ภาคประชาสังคม ผู้นำชุมชนและผู้นำองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นเและ นักวิชาการที่เกี่ยวข้อง มีทั้งต้องการให้สร้างโรงงานไฟฟ้า และไม่ต้องการให้สร้างโรงไฟฟ้า นอกจากนี้ ต้องการให้สร้างพลังงานทดแทนมากกว่าเช่น พลังงานแสงแดด และ พลังงานลม
นักวิชาการ เรียกร้องให้ความสำคัญกับทรัพยากรมนุษย์ในพื้นที่ ให้มีอาชัพและมีงานทำ เพื่อเป็นการแก้ปัญหาด้านยาเสพติด และ ให้ประชาชนในพื้นที่มีส่วนร่วม ตั้งแต่เริ่มต้นโครงการโรงไฟฟ้า โดยให้มีการจัดองค์กรที่ทำหน้าที่สร้างความเข้าใจ ข้อเท็จจริง และ ข้อมูลที่ถูกต้องให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้แก่ชุมชน ซึ่งต้องใช้เวลาอธิบายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
นอกจากนี้ ดร.สุชาติ มั่นคงพิทักษ์กุล1 นักวิชาการอิสระ ด้านวิเคราะห์นโยบายสาธารณะ และ การจัดการเชิงกลยุทธ์ ได้นำเสนอแนวคิด ต่อ คสช. ในกิจกรรมสร้างความรู้ ความเข้าใจ และรับทราบความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์พลังงานไฟฟ้าในพื้นที่ภาคใต้ มองว่า ทางรัฐบาลควรจะบอกประชาชนว่า พลังานไฟฟ้าในพื้นที่ภาคใต้ถึงขั้นวิกฤติแล้วยัง และประชาชนได้รับทราบหรือไม่ว่า ประชาชนอาจได้รับผลกระทบต่อการขาดแคลนพลังงานไฟฟ้า เมื่อถึงขั้นวิกฤติจริงๆ แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ดร.สุชาติ ได้กล่าวย้ำว่า โครงการสร้างไฟฟ้า ทั้ง จะนะ และ จังหวัดกระบี่ จะต้องสร้างคุณค่าสาธารณะ (Public Value) ในการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างจริงจัง ตั้งแต่การเริ่มก่อนโยบาบสร้างพลังงานไฟฟ้าถ่านหิน มีความจริงใจต่อประชาชน พร้อมไปกับการสร้างการเรียนรู้การสร้างโรงงานไฟฟ้าไปพร้อม ๆ กัน อย่างบูรณาการ มีการสร้างอาชีพที่มั่นคงให้กับประชาชนในชุมชน ที่มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่
นอกจากนี้ ยังได้นำเสนอแนวคิด แผนพัฒนาพลังงานไฟฟ้าในพื้นที่ภาคใต้ ดังต่อไปนี้ 1. ให้ รัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. ได้กำหนดให้เป็นวาระแห่งชาติ ในการแก้ไขปัญหาวิกฤติพลังงานไฟฟ้าในพื้นที่ภาคใต้ อย่างเช่น การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งใน 3 จังหวัดภาคใต้ หรือ วิกฤติการเมืองไทย ถึงขั้นต้องมีการปฎิรูปการเมืองไทย เป็นต้น 2. ให้มีการกำหนดนโยบายพัฒนาพลังงานไฟฟ้าในพื้นที่ภาคใต้ ให้สอดคล้องและอยู่ในกรอบ กับแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 12 3. การสร้างความมีส่วนร่วมทุกภาคส่วนในทุกระดับของชุมชนในพื้นที่ที่เกี่ยวข้องและมีส่วนได้ส่วนเสีย ตลอดจนถึงสร้างคุณค่าทางสาธารณะให้เกิดขึ้นกับประชาชนทั่วทั้งประเทศ 4. การสร้างการสื่อข้อความ (Communication) จะต้องมีการสื่อสารข้อมูล ข้อเท็จจริง อย่างถูกต้อง เที่ยงตรง และชัดเจน เพื่อไม่ทำให้เกิดการบิดเบือนของข้อมูลเกิดขึ้นในทุกระดับของนโยบาย โดยการสร้างองค์กรที่คอยกำกับดูแลการนำเสนอข้อมูล ตั้งแต่เริ่มต้นจนกระทั่งจบโครงการสร้างโรงไฟฟ้า มีการนำเสนอข้อมูล ให้เห็นเป็นประจักษ์ในเรื่องเกี่ยวกับวิกฤติของพลังงานไฟฟ้าในพื้นที่ภาคใต้ เช่น นำประชาชนที่มีส่วนได้ส่วนเสีย ชมโรงงานไฟฟ้า ที่เห็นสถานะของพลังงานไฟฟ้าในปัจจุบัน และ ทำความเข้าใจเทคโนโลยีโรงไฟฟ้าถ่านหินสะอาด 5. นำเสนอให้มีการสร้างพลังงานทดแทน เช่น พลังงานแสงแดด พลังงานลม อย่างเป็นระบบและมีขนาดใหญ่ ครอบคลุมทั่งว14 จังหวัดภาคใต้ 6. นำเสนอข้อมูลผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบที่เกิดขึ้น เมื่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน และ คาดการณ์ผลกระทบทั้งทางบวกและลบที่อาจจะไม่เกิดขึ้น โดยให้มีการกำหนดแผนในการแก้ไขผลกระทบที่เกิดขึ้น และสร้างความเข้าใจให้กับประชาชน 7. ให้มีการกำหนดองค์กรภายนอกพื้นที่ โดยเมีคณะกรรมการที่ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรง เข้ามาตรวจสอบ โครงการ ตั้งแต่เริ่มต้น จนโครงการสำเร็จเรียบร้อย และ ดำเนินการประเมินผลกระทบทั้งทางบวกและลบ เป็นไปตามที่ตั้งไว้หรือไม่ อย่างไร 8. ให้จัดตั้งกองทุน เพื่อสนับสนุน เสริมสร้างคุณภาพชีวิต ประชาชนในชุมชน และ กองทุนเพื่อรับผิดชอบเมื่อโรงไฟฟ้า ได้สร้างความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมและประชาชนในพื้นที่ โดยให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการกองทุน สุดท้าย ดร.สุชาติ ได้ สรุปว่า เวทีสร้างความรู้ ความเข้าใจ และรับทราบความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณความมั่นคงด้านพลังงานในพื้นที่ภาคใต้ ในครั้งนี้ จะต้องสรุปสาระสำคัญ ในเวทีทั้ง 3แห่ง อย่างเป็นข้อเท็จจริง และ ขอให้นำข้อมูลดังกล่าวไป ทำวิจัยเพิ่มเติมเพื่อให้เกิดความแม่นยำและน่าเชื่อถือทางวิชาการมากขึ้น
นักวิชาการอิสระ ด้านนโยบายสาธาณะ การบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ เศรษฐกิจดิจิทัล Thailand 4.0 การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งใน 3จังหวัดชายแดนภาคใต้ NIDA Deep South Model ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง Black Ocean Strategy.
November 21, 2024
November 20, 2024
November 19, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
เวทีสร้างความรู้ความใจและรับทราบความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์พลังงานไฟฟ้าในพื้นที่ภาคใต้ โดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช.
คสช. จัดเวทีสร้างความรู้ ความเข้าใจ และรับทราบความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์ความมั่นคงด้านพลังงานในพื้นที่ภาคใต้ พร้อมกัน 3 ที่ 3 เวทีคือ เวที จ.สุราษฎร์ธานี ที่โรงแรมไดมอนด์พลาซ่า เวที จ.สงขลา ที่ศูนย์ประชุมนานาชาติ ฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และเวที จ.กระบี่ ที่โรงแรมมาริไทม์ ปาร์คแอนด์สปารีสอร์ท เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2560 ช่วงเช้าจะเป็นการนำเสนอข้อมูลจากหน่วยงานของรัฐ ประกอบด้วย กระทรวงพลังงาน โดย สำนักนโยบายและแผนพลังงาน นำเสนอสถานการณ์การใช้ไฟฟ้าในพื้นที่ภาคใต้ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย นำเสนอทางเลือกที่เหมาะสมและความเป็นไปได้เกี่ยวกับการสร้างโรงไฟฟ้า กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นำเสนอข้อพิจารณาผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ส่วนช่วงบ่ายเป็นการนำเสนอโดยภาคประชาสังคม ภาคประชาชนและผู้นำชุมชนและผู้นำองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นเและ นักวิชาการที่เกี่ยวข้อง
โดยสรุป สถานการณ์ใช้ไฟฟ้าในภาคใต้ ใช้ไฟฟ้าสูงสุดภาคใต้ 14 จังหวัด 2,630 เมกะวัตต์ สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ 2,619 เมกะวัตต์ เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 5 สาเหตุสำคัญมาจากความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงเนื่องจากอากาศที่ร้อนอบอ้าวการขยายตัวของ เศรษฐกิจ การท่องเที่ยว การใช้พลังงานหมุนเวียนจากพลังทดแทน เช่น พลังงาน ลม แสดงแดด น้ำ ชีวะมูล เป็นพลังงาน ที่ไม่เสถียร นอยู่กับฤดูกาล ปริมาณ ไม่เพียงพอ ต้นทุนสูง ไม่มีความมั่นคงทางด้านพลังงาน
ภาคประชาชน ภาคประชาสังคม ผู้นำชุมชนและผู้นำองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นเและ นักวิชาการที่เกี่ยวข้อง มีทั้งต้องการให้สร้างโรงงานไฟฟ้า และไม่ต้องการให้สร้างโรงไฟฟ้า นอกจากนี้ ต้องการให้สร้างพลังงานทดแทนมากกว่าเช่น พลังงานแสงแดด และ พลังงานลม
นักวิชาการ เรียกร้องให้ความสำคัญกับทรัพยากรมนุษย์ในพื้นที่ ให้มีอาชัพและมีงานทำ เพื่อเป็นการแก้ปัญหาด้านยาเสพติด และ ให้ประชาชนในพื้นที่มีส่วนร่วม ตั้งแต่เริ่มต้นโครงการโรงไฟฟ้า โดยให้มีการจัดองค์กรที่ทำหน้าที่สร้างความเข้าใจ ข้อเท็จจริง และ ข้อมูลที่ถูกต้องให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้แก่ชุมชน ซึ่งต้องใช้เวลาอธิบายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
นอกจากนี้ ดร.สุชาติ มั่นคงพิทักษ์กุล1 นักวิชาการอิสระ ด้านวิเคราะห์นโยบายสาธารณะ และ การจัดการเชิงกลยุทธ์ ได้นำเสนอแนวคิด ต่อ คสช. ในกิจกรรมสร้างความรู้ ความเข้าใจ และรับทราบความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์พลังงานไฟฟ้าในพื้นที่ภาคใต้ มองว่า ทางรัฐบาลควรจะบอกประชาชนว่า พลังานไฟฟ้าในพื้นที่ภาคใต้ถึงขั้นวิกฤติแล้วยัง และประชาชนได้รับทราบหรือไม่ว่า ประชาชนอาจได้รับผลกระทบต่อการขาดแคลนพลังงานไฟฟ้า เมื่อถึงขั้นวิกฤติจริงๆ แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ดร.สุชาติ ได้กล่าวย้ำว่า โครงการสร้างไฟฟ้า ทั้ง จะนะ และ จังหวัดกระบี่ จะต้องสร้างคุณค่าสาธารณะ (Public Value) ในการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างจริงจัง ตั้งแต่การเริ่มก่อนโยบาบสร้างพลังงานไฟฟ้าถ่านหิน มีความจริงใจต่อประชาชน พร้อมไปกับการสร้างการเรียนรู้การสร้างโรงงานไฟฟ้าไปพร้อม ๆ กัน อย่างบูรณาการ มีการสร้างอาชีพที่มั่นคงให้กับประชาชนในชุมชน ที่มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่
นอกจากนี้ ยังได้นำเสนอแนวคิด แผนพัฒนาพลังงานไฟฟ้าในพื้นที่ภาคใต้ ดังต่อไปนี้
1. ให้ รัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. ได้กำหนดให้เป็นวาระแห่งชาติ ในการแก้ไขปัญหาวิกฤติพลังงานไฟฟ้าในพื้นที่ภาคใต้ อย่างเช่น การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งใน 3 จังหวัดภาคใต้ หรือ วิกฤติการเมืองไทย ถึงขั้นต้องมีการปฎิรูปการเมืองไทย เป็นต้น
2. ให้มีการกำหนดนโยบายพัฒนาพลังงานไฟฟ้าในพื้นที่ภาคใต้ ให้สอดคล้องและอยู่ในกรอบ กับแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 12
3. การสร้างความมีส่วนร่วมทุกภาคส่วนในทุกระดับของชุมชนในพื้นที่ที่เกี่ยวข้องและมีส่วนได้ส่วนเสีย ตลอดจนถึงสร้างคุณค่าทางสาธารณะให้เกิดขึ้นกับประชาชนทั่วทั้งประเทศ
4. การสร้างการสื่อข้อความ (Communication) จะต้องมีการสื่อสารข้อมูล ข้อเท็จจริง อย่างถูกต้อง เที่ยงตรง และชัดเจน เพื่อไม่ทำให้เกิดการบิดเบือนของข้อมูลเกิดขึ้นในทุกระดับของนโยบาย โดยการสร้างองค์กรที่คอยกำกับดูแลการนำเสนอข้อมูล ตั้งแต่เริ่มต้นจนกระทั่งจบโครงการสร้างโรงไฟฟ้า มีการนำเสนอข้อมูล ให้เห็นเป็นประจักษ์ในเรื่องเกี่ยวกับวิกฤติของพลังงานไฟฟ้าในพื้นที่ภาคใต้ เช่น นำประชาชนที่มีส่วนได้ส่วนเสีย ชมโรงงานไฟฟ้า ที่เห็นสถานะของพลังงานไฟฟ้าในปัจจุบัน และ ทำความเข้าใจเทคโนโลยีโรงไฟฟ้าถ่านหินสะอาด
5. นำเสนอให้มีการสร้างพลังงานทดแทน เช่น พลังงานแสงแดด พลังงานลม อย่างเป็นระบบและมีขนาดใหญ่ ครอบคลุมทั่งว14 จังหวัดภาคใต้
6. นำเสนอข้อมูลผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบที่เกิดขึ้น เมื่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน และ คาดการณ์ผลกระทบทั้งทางบวกและลบที่อาจจะไม่เกิดขึ้น โดยให้มีการกำหนดแผนในการแก้ไขผลกระทบที่เกิดขึ้น และสร้างความเข้าใจให้กับประชาชน
7. ให้มีการกำหนดองค์กรภายนอกพื้นที่ โดยเมีคณะกรรมการที่ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรง เข้ามาตรวจสอบ โครงการ ตั้งแต่เริ่มต้น จนโครงการสำเร็จเรียบร้อย และ ดำเนินการประเมินผลกระทบทั้งทางบวกและลบ เป็นไปตามที่ตั้งไว้หรือไม่ อย่างไร
8. ให้จัดตั้งกองทุน เพื่อสนับสนุน เสริมสร้างคุณภาพชีวิต ประชาชนในชุมชน และ กองทุนเพื่อรับผิดชอบเมื่อโรงไฟฟ้า ได้สร้างความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมและประชาชนในพื้นที่ โดยให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการกองทุน
สุดท้าย ดร.สุชาติ ได้ สรุปว่า เวทีสร้างความรู้ ความเข้าใจ และรับทราบความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณความมั่นคงด้านพลังงานในพื้นที่ภาคใต้ ในครั้งนี้ จะต้องสรุปสาระสำคัญ ในเวทีทั้ง 3แห่ง อย่างเป็นข้อเท็จจริง และ ขอให้นำข้อมูลดังกล่าวไป ทำวิจัยเพิ่มเติมเพื่อให้เกิดความแม่นยำและน่าเชื่อถือทางวิชาการมากขึ้น
นักวิชาการอิสระ ด้านนโยบายสาธาณะ การบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ เศรษฐกิจดิจิทัล Thailand 4.0 การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งใน 3จังหวัดชายแดนภาคใต้ NIDA Deep South Model ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง Black Ocean Strategy.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมสืบสานประเพณีลอยกระทง สร้างความสุขทั่วอำเภอขนอม
November 21, 2024
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมส่งเสริมสุขภาพชุมชน สนับสนุนอบรม อสม.ใหม่/ทดแทน
November 21, 2024
อบจ.สงขลา ร่วมรับรางวัลประกาศเกียรติคุณ “ค่าของแผ่นดิน” ประจำปี 2566 ด้านการพัฒนาสังคมและส่งเสริมคุณภาพชีวิต จากโครงการ ...
November 20, 2024
อโกด้าเผย หาดใหญ่คว้าแชมป์เมืองท่องเที่ยวที่คุ้มค่าที่สุดในไทย ช่วงเทศกาลส่งท้ายปี
November 19, 2024