ผศ.ดร.ฆนัท ธาตุทอง อาจารย์ประจำโปรแกรมวิชาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
จากการสำรวจความต้องการครูที่จะทดแทนอัตราเกษียณอายุราชการตั้งแต่ปีพ.ศ.2557-2562 ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) แยกตามสาขาพบว่าสาขาคณิตศาสตร์มีความต้องการครูทดแทนสูงที่สุด (14,399 อัตรา) รองลงมาคือสาขาภาษาอังกฤษ(13,852 อัตรา) ประกอบกับผล O-Net ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2558 ในสังกัดสพฐ. ภาษาอังกฤษต่ำสุด (36.61) คณิตศาสตร์ 41.76 วิทยาศาสตร์ 41.55
นั่นเป็นส่วนหนึ่งของที่มาในการที่กระทรวงศึกษาธิการต้องเร่งรีบแก้ปัญหา เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา โดยการให้ผู้ที่จบการศึกษาในสาขาเฉพาะและยังไม่มีวุฒิครู ได้มีสิทธิ์สมัครสอบเข้ารับการคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งให้เป็นครูผู้ช่วย ในขณะที่หน่วยผลิตครูอย่างเช่น คณะครุศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ ได้ออกมาคัดค้าน ด้วยเห็นว่าวิชาชีพครูเป็นวิชาชีพชั้นสูง และนักศึกษาครูได้เข้าสู่ระบบการพัฒนาให้เป็นผู้ที่มีความพร้อมในการเป็นครู ตาม 11 เกณฑ์มาตรฐานของคุรุสภา ซึ่งใช้เวลาเรียน 5 ปี แล้วอยู่ ๆ ก็มีการเปิดโอกาสให้ผู้เรียน 4 ปี ในสาขาเฉพาะที่ไม่มีวุฒิครูมีสิทธิ์สมัครสอบได้ เมื่อได้แล้วค่อยส่งเข้าอบรมหลักสูตร ป.บัณฑิตวิชาชีพครู ซึ่งเห็นว่านักศึกษาครูมีความเสียเปรียบ เสียโอกาส ถูกแย่งงานจากผู้ที่เรียนมาแค่ 4 ปีนั้น ก็เป็นเหตุผลที่รับฟังได้
ประเด็น คือ จะทำอย่างไรที่ให้ประเทศชาติได้ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะสาขามาเป็นครู เพื่อแก้ปัญหาและช่วยยกระดับคุณภาพการศึกษา โดยที่ไม่กระทบกับระบบการผลิตครูและเป็นไปตามข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยการรับรองความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ เพื่อการประกอบวิชาชีพทางการศึกษา พ.ศ.2550 กับข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณวิชาชีพ พ.ศ.2548 โดยที่หน่วยผลิตครูและนักศึกษาครูไม่เกิดความรู้สึกว่าเสียโอกาสหรือถูกเอารัดเอาเปรียบทางวิชาชีพ วิทยาชาญ โมเดล มีฐานคิด ดังนี้ 1. วิชาชีพครูเป็นวิชาชีพชั้นสูง ที่ต้องพัฒนานักศึกษาครูทั้งเรื่องวิชาครู วิชาเอก และวิชาพื้นฐาน โดยมุ่งหวังให้ได้ครูดี ครูเก่ง สอนดี สอนเก่ง ดังภาพ 1
ภาพ 1 การพัฒนาครูให้เป็นวิชาชีพชั้นสูง เมื่อพิจารณาวิชาครู จะพบว่าหลักสูตรที่หน่วยผลิตสร้างหรือพัฒนาขึ้น ต้องมีความสอดคล้องและเป็นไปตาม 11 มาตรฐานที่คุรุสภากำหนด ประกอบกับยังต้องมีการปลูกฝังด้านจรรยาบรรณวิชาชีพครู และการปฏิบัติงาน ดังภาพ 2
2. ความลุ่มลึกในวิชาเอก จากการที่โครงสร้างหลักสูตรได้มีเนื้อหาตามเงื่อนไขที่มากพอสมควร จึงต้องแบ่งสัดส่วนของเนื้อหาและเวลาในการจัดการเรียนการสอนตามรายวิชาครู วิชาเอกและวิชาพื้นฐาน ให้ลงตัว ตรงนี้ต้องยอมรับว่าในความลุ่มลึกในศาสตร์สาขาเฉพาะของครู เมื่อเทียบหลักสูตรต่อหลักสูตรแล้วจะพบว่า ผู้ที่เรียนสาขาเฉพาะ (4 ปี) มีเนื้อหาในรายวิชาที่ลุ่มลึก สลับซับซ้อน มากกว่าของนักศึกษาครู 3. คุณภาพการศึกษาของประเทศต้องได้รับการยกระดับ ด้วยเหตุที่มาจากที่ได้ผลการประเมิน O-Net, PISA แสดงให้เห็นแนวโน้มในอนาคตทางการศึกษาไทยได้อย่างชัดเจน ด้วยสาเหตุและปัจจัยดังกล่าว ผู้เขียนจึงขอเสนอทางออกให้กับทุกฝ่ายด้วย “วิทยาชาญ โมเดล” ดังภาพ 3
ภาพ 3 วิทยาชาญ โมเดล
คำว่า “วิทยาชาญ” มาจาก “วิทยากร” ที่ทำหน้าที่เป็น “ครู-อาจารย์” ที่มีความ “เชี่ยวชาญในสาขาเฉพาะ” รูปแบบการแก้ปัญหาเพื่อบรรจุผู้ที่ไม่มีวุฒิครูให้เป็นครูนี้ มี 4 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นที่ 1 สอบคัดเลือกวิทยาชาญ จากบุคคลที่มีความรู้ความสามารถเฉพาะสาขา แต่ไม่ได้มีวุฒิครู โดยที่ยังไม่ได้บรรจุแต่งตั้งให้เป็นครูผู้ช่วยในทันที
ขั้นที่ 2 ปฏิบัติการสอน โดยที่วิทยาชาญที่ผ่านการคัดเลือกในขั้นที่ 1 ต้องปฏิบัติงานสอนในสถานศึกษาเป็นระยะเวลา 1 ปีการศึกษา และในระหว่างนั้นต้องเข้ารับการอบรมในหลักสูตร ป.บัณฑิตวิชาชีพครู
ทั้งนี้ ในการประเมินการปฏิบัติการสอน ให้มีการประเมินเกี่ยวกับการปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการ การตัดสินใจ ความมุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียน การพัฒนาแผนการสอน การพัฒนาสื่อการเรียนการสอน การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การรายงานผลการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน การปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ความร่วมมือกับผู้อื่นในสถานศึกษาและในชุมชน การแสวงหาและใช้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนา และการสร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในทุกสถานการณ์ ซึ่งเป็นสิ่งเดียวกับที่นักศึกษาครูได้รับการพัฒนา สำหรับการอบรมในหลักสูตร ป.บัณฑิตวิชาชีพครู นั้น เป็นการพัฒนาตนเองให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพที่คุรุสภากำหนด ซึ่งก็จะเป็นสิ่งเดียวกับที่นักศึกษาครูได้รับการพัฒนาเช่นกัน
ขั้นที่ 3 ประเมินความเป็นครู ในขั้นตอนนี้ให้มีการประเมินจิตวิญญาณความเป็นครู และจรรยาบรรณวิชาชีพ คุณธรรม จริยธรรม ต่อตนเอง ต่อวิชาชีพ ต่อผู้รับบริการ ต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพและต่อสังคม
ขั้นที่ 4 การบรรจุแต่งตั้งให้เป็นครูผู้ช่วย โดยพิจารณาจากผลการดำเนินงานในขั้นตอนที่ 2 และ 3 ทั้งนี้ ไม่ต้องมีการทดลองปฏิบัติราชการแล้ว เพราะในระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา นั่นถือว่าได้เป็นการทดลองราชการแล้ว หากทำได้เช่นนี้ จะมีความเท่าเทียมกันระหว่างวิทยาชาญกับนักศึกษาครู ดังตาราง 1
บทสรุป วิทยาชาญ โมเดล เป็นรูปแบบการแก้ปัญหาเพื่อบรรจุผู้ที่ไม่มีวุฒิครูให้เป็นครู ด้วยการดำเนินการ 4 ขั้น โดยที่ทั้งวิทยาชาญและนักศึกษาครู จะได้รับการพัฒนาให้เป็นไปตามมาตรฐานวิชาชีพที่คุรุสภากำหนดเช่นกัน ประกอบกับเป็นการแก้ปัญหาเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของประเทศไทย ที่ทุกฝ่ายหันหน้าเข้าหากัน เพื่อให้สมกับหลักการที่ว่า “ครูเป็นวิชาชีพชั้นสูง”.
November 20, 2024
November 18, 2024
November 13, 2024
November 11, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
วิทยาชาญ โมเดล: รูปแบบการแก้ปัญหาเพื่อบรรจุผู้ที่ไม่มีวุฒิครูให้เป็นครู
ผศ.ดร.ฆนัท ธาตุทอง อาจารย์ประจำโปรแกรมวิชาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
จากการสำรวจความต้องการครูที่จะทดแทนอัตราเกษียณอายุราชการตั้งแต่ปีพ.ศ.2557-2562 ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) แยกตามสาขาพบว่าสาขาคณิตศาสตร์มีความต้องการครูทดแทนสูงที่สุด (14,399 อัตรา) รองลงมาคือสาขาภาษาอังกฤษ(13,852 อัตรา) ประกอบกับผล O-Net ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2558 ในสังกัดสพฐ. ภาษาอังกฤษต่ำสุด (36.61) คณิตศาสตร์ 41.76 วิทยาศาสตร์ 41.55
นั่นเป็นส่วนหนึ่งของที่มาในการที่กระทรวงศึกษาธิการต้องเร่งรีบแก้ปัญหา เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา โดยการให้ผู้ที่จบการศึกษาในสาขาเฉพาะและยังไม่มีวุฒิครู ได้มีสิทธิ์สมัครสอบเข้ารับการคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งให้เป็นครูผู้ช่วย ในขณะที่หน่วยผลิตครูอย่างเช่น คณะครุศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ ได้ออกมาคัดค้าน ด้วยเห็นว่าวิชาชีพครูเป็นวิชาชีพชั้นสูง และนักศึกษาครูได้เข้าสู่ระบบการพัฒนาให้เป็นผู้ที่มีความพร้อมในการเป็นครู ตาม 11 เกณฑ์มาตรฐานของคุรุสภา ซึ่งใช้เวลาเรียน 5 ปี แล้วอยู่ ๆ ก็มีการเปิดโอกาสให้ผู้เรียน 4 ปี ในสาขาเฉพาะที่ไม่มีวุฒิครูมีสิทธิ์สมัครสอบได้ เมื่อได้แล้วค่อยส่งเข้าอบรมหลักสูตร ป.บัณฑิตวิชาชีพครู ซึ่งเห็นว่านักศึกษาครูมีความเสียเปรียบ เสียโอกาส ถูกแย่งงานจากผู้ที่เรียนมาแค่ 4 ปีนั้น ก็เป็นเหตุผลที่รับฟังได้
ประเด็น คือ จะทำอย่างไรที่ให้ประเทศชาติได้ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะสาขามาเป็นครู เพื่อแก้ปัญหาและช่วยยกระดับคุณภาพการศึกษา โดยที่ไม่กระทบกับระบบการผลิตครูและเป็นไปตามข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยการรับรองความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ เพื่อการประกอบวิชาชีพทางการศึกษา พ.ศ.2550 กับข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณวิชาชีพ พ.ศ.2548 โดยที่หน่วยผลิตครูและนักศึกษาครูไม่เกิดความรู้สึกว่าเสียโอกาสหรือถูกเอารัดเอาเปรียบทางวิชาชีพ
วิทยาชาญ โมเดล มีฐานคิด ดังนี้
1. วิชาชีพครูเป็นวิชาชีพชั้นสูง ที่ต้องพัฒนานักศึกษาครูทั้งเรื่องวิชาครู วิชาเอก และวิชาพื้นฐาน โดยมุ่งหวังให้ได้ครูดี ครูเก่ง สอนดี สอนเก่ง ดังภาพ 1
ภาพ 1 การพัฒนาครูให้เป็นวิชาชีพชั้นสูง
เมื่อพิจารณาวิชาครู จะพบว่าหลักสูตรที่หน่วยผลิตสร้างหรือพัฒนาขึ้น ต้องมีความสอดคล้องและเป็นไปตาม 11 มาตรฐานที่คุรุสภากำหนด ประกอบกับยังต้องมีการปลูกฝังด้านจรรยาบรรณวิชาชีพครู และการปฏิบัติงาน ดังภาพ 2
2. ความลุ่มลึกในวิชาเอก จากการที่โครงสร้างหลักสูตรได้มีเนื้อหาตามเงื่อนไขที่มากพอสมควร จึงต้องแบ่งสัดส่วนของเนื้อหาและเวลาในการจัดการเรียนการสอนตามรายวิชาครู วิชาเอกและวิชาพื้นฐาน ให้ลงตัว ตรงนี้ต้องยอมรับว่าในความลุ่มลึกในศาสตร์สาขาเฉพาะของครู เมื่อเทียบหลักสูตรต่อหลักสูตรแล้วจะพบว่า ผู้ที่เรียนสาขาเฉพาะ (4 ปี) มีเนื้อหาในรายวิชาที่ลุ่มลึก สลับซับซ้อน มากกว่าของนักศึกษาครู
3. คุณภาพการศึกษาของประเทศต้องได้รับการยกระดับ ด้วยเหตุที่มาจากที่ได้ผลการประเมิน O-Net, PISA แสดงให้เห็นแนวโน้มในอนาคตทางการศึกษาไทยได้อย่างชัดเจน
ด้วยสาเหตุและปัจจัยดังกล่าว ผู้เขียนจึงขอเสนอทางออกให้กับทุกฝ่ายด้วย “วิทยาชาญ โมเดล” ดังภาพ 3
ภาพ 3 วิทยาชาญ โมเดล
คำว่า “วิทยาชาญ” มาจาก “วิทยากร” ที่ทำหน้าที่เป็น “ครู-อาจารย์” ที่มีความ “เชี่ยวชาญในสาขาเฉพาะ” รูปแบบการแก้ปัญหาเพื่อบรรจุผู้ที่ไม่มีวุฒิครูให้เป็นครูนี้ มี 4 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นที่ 1 สอบคัดเลือกวิทยาชาญ จากบุคคลที่มีความรู้ความสามารถเฉพาะสาขา แต่ไม่ได้มีวุฒิครู โดยที่ยังไม่ได้บรรจุแต่งตั้งให้เป็นครูผู้ช่วยในทันที
ขั้นที่ 2 ปฏิบัติการสอน โดยที่วิทยาชาญที่ผ่านการคัดเลือกในขั้นที่ 1 ต้องปฏิบัติงานสอนในสถานศึกษาเป็นระยะเวลา 1 ปีการศึกษา และในระหว่างนั้นต้องเข้ารับการอบรมในหลักสูตร ป.บัณฑิตวิชาชีพครู
ทั้งนี้ ในการประเมินการปฏิบัติการสอน ให้มีการประเมินเกี่ยวกับการปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการ การตัดสินใจ ความมุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียน การพัฒนาแผนการสอน การพัฒนาสื่อการเรียนการสอน การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การรายงานผลการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน การปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ความร่วมมือกับผู้อื่นในสถานศึกษาและในชุมชน การแสวงหาและใช้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนา และการสร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในทุกสถานการณ์ ซึ่งเป็นสิ่งเดียวกับที่นักศึกษาครูได้รับการพัฒนา
สำหรับการอบรมในหลักสูตร ป.บัณฑิตวิชาชีพครู นั้น เป็นการพัฒนาตนเองให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพที่คุรุสภากำหนด ซึ่งก็จะเป็นสิ่งเดียวกับที่นักศึกษาครูได้รับการพัฒนาเช่นกัน
ขั้นที่ 3 ประเมินความเป็นครู ในขั้นตอนนี้ให้มีการประเมินจิตวิญญาณความเป็นครู และจรรยาบรรณวิชาชีพ คุณธรรม จริยธรรม ต่อตนเอง ต่อวิชาชีพ ต่อผู้รับบริการ ต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพและต่อสังคม
ขั้นที่ 4 การบรรจุแต่งตั้งให้เป็นครูผู้ช่วย โดยพิจารณาจากผลการดำเนินงานในขั้นตอนที่ 2 และ 3 ทั้งนี้ ไม่ต้องมีการทดลองปฏิบัติราชการแล้ว เพราะในระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา นั่นถือว่าได้เป็นการทดลองราชการแล้ว
หากทำได้เช่นนี้ จะมีความเท่าเทียมกันระหว่างวิทยาชาญกับนักศึกษาครู ดังตาราง 1
บทสรุป
วิทยาชาญ โมเดล เป็นรูปแบบการแก้ปัญหาเพื่อบรรจุผู้ที่ไม่มีวุฒิครูให้เป็นครู ด้วยการดำเนินการ 4 ขั้น โดยที่ทั้งวิทยาชาญและนักศึกษาครู จะได้รับการพัฒนาให้เป็นไปตามมาตรฐานวิชาชีพที่คุรุสภากำหนดเช่นกัน ประกอบกับเป็นการแก้ปัญหาเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของประเทศไทย ที่ทุกฝ่ายหันหน้าเข้าหากัน เพื่อให้สมกับหลักการที่ว่า “ครูเป็นวิชาชีพชั้นสูง”.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ เปิด”มุมหนังสือนายกสภามหาวิทยาลัย” ณ ห้องสมุด ศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล
November 20, 2024
มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ จับมือ WeStride เปิดตัว “FutureX” หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ออนไลน์ ...
November 18, 2024
โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดรับสมัครนักเรียนระดับบ้านสาธิตปฐมวัยและระดับปฐมวัย (อนุบาล 1) ปีการศึกษา ...
November 13, 2024
มรภ.สงขลา นำผลงานนวัตกรรม นศ.เกษตร “เครื่องหยอดเมล็ดข้าว-กิมจิเห็ดนางฟ้า-ข้าวเกรียบเห็ดรสกิมจิ” ถ่ายทอดสู่ชุมชน
November 11, 2024