กฟผ. เสวนาสื่อมวลชน จ.กระบี่ หัวข้อ “กระบวนการมีส่วนร่วมและสิทธิชุมชน กรณีโรงไฟฟ้ากระบี่” เพื่อให้ข้อมูลความคืบหน้าโครงการโรงไฟฟ้าเทคโนโลยีถ่านหินสะอาด จ.กระบี่ ภายหลังนายกรัฐมนตรีและ กพช. อนุมัติให้ กฟผ. เดินหน้าโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน จ.กระบี่ จัดทำ EIA และEHIA ใหม่ ให้ข้อมูลสิทธิของชุมชน ร่วมแลกเปลี่ยนและรับฟังความคิดเห็นจากสื่อมวลชน ตลอดจนเพื่อให้สื่อมวลชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาโรงไฟฟ้ากับ กฟผ.
วันที่ 1 มีนาคม 2560 ฝ่ายสื่อสารองค์การ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จัดเสวนาสื่อมวลชนจังหวัดกระบี่ หัวข้อ “กระบวนการมีส่วนร่วมและสิทธิชุมชน กรณีโรงไฟฟ้ากระบี่” โดยมีผู้ร่วมเสวนา ประกอบด้วย นายนฤมิต คินิมาน ผู้อำนวยการฝ่ายสิ่งแวดล้อมโครงการ กฟผ. ผศ.พิเศษ พล.ต.ท.ดร.ณรงค์ กุลนิเทศ อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และอนุกรรมการไตรภาคีด้านการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน รศ.ภิญโญ มีชำนะ ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีถ่านหินสะอาด นายพิเชษฐ พันธุ์วิชาติกุล ผู้แทนด้านธุรกิจและด้านการเมือง นายกิจจา ทองทิพย์ ผู้ใหญ่บ้าน ม.3 ต.ปกาสัย อ.เหนือคลอง จ.กระบี่ ผู้แทนชุมชนรอบโรงไฟฟ้ากระบี่ และดำเนินการเสวนาโดยนางสาวหัสนะ ใบลาภ สื่อมวลชน จ.กระบี่ ณ ห้องธารา มาริไทม์ ปาร์ค แอนด์ สปา รีสอร์ท จ.กระบี่ มีนายเขมญาติ ยมานันตกุล ผู้อำนวยการโรงไฟฟ้าภาคใต้ นายศานิต นิยมาคม ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์การ กฟผ. ให้การต้อนรับสื่อมวลชนและชุมชนและผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วมเสวนาจำนวนกว่า 100 คน
นายศานิต นิยมาคม ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์การ กฟผ. กล่าวว่า การเสวนาในครั้งนี้ จัดขึ้นเพื่อให้ข้อมูลและสร้างความเข้าใจภารกิจของ กฟผ. สถานการณ์พลังงานไฟฟ้าของประเทศไทยและในพื้นที่ภาคใต้รวมถึงความจำเป็นในการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเทคโนโลยีสะอาด ขนาดกำลังผลิต 800 เมกะวัตต์ ในพื้นที่ อ.เหนือคลอง จ.กระบี่ โดยใช้ถ่านหินคุณภาพดีประเภทซับบิทูมินัสเป็นเชื้อเพลิง ตลอดจนให้ข้อมูล ความคืบหน้าโครงการ และการดำเนินโครงการฯ ภายหลังจากที่ นายกรัฐมนตรีและคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) อนุมัติให้ กฟผ. เดินหน้าโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน จ.กระบี่ ต่อไปตามกฎหมาย โดย กฟผ. จะต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment:EIA) และรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (Environmental Health Impact Assessment : EHIA) ใหม่ โดยให้มีกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนให้มากที่สุด ไม่ให้กระทบต่อสังคมชุมชนและสิ่งแวดล้อม รับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากสื่อมวลชน เพื่อนำมาพัฒนาการทำงานตลอดจนสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่าง กฟผ. กับสื่อมวลชนต่อไป และขอขอบคุณสื่อมวลชน ผู้เกี่ยวข้องและวิทยากรทุกท่านที่มาร่วมเสวนาในครั้งนี้ ภารกิจสำคัญของ กฟผ. คือ การหาแหล่งพลังงานและผลิตไฟฟ้าเพื่อความสุขของคนไทยทุกคน ตลอดระยะเวลา 50 ปี ที่ผ่านมา กฟผ. กระบี่ได้อยู่ร่วมกับชาวกระบี่อย่างมีความสุขมีความเข้าใจกัน และมีส่วนร่วมในการดำเนินงานระหว่างกันตลอดมา กฟผ. ขอยืนยันว่าจะดูแลสังคมชุมชนและสิ่งแวดล้อมอย่างดีที่สุดตลอดไป เพื่อชุมชนอยู่ดีมีสุข อย่างยั่งยืน
นายพิเชษฐ พันธุ์วิชาติกุล ผู้แทนด้านธุรกิจและการเมือง กล่าวว่า เรื่อง พลังงานเป็นเรื่องสำคัญที่สุดของทุกประเทศ ในอดีตจังหวัดกระบี่บริเวณคลองขนาดมีแร่ลิกไนต์จำนวนมากที่โรงไฟฟ้าลิกไนต์กระบี่สามารถใช้ผลิตไฟฟ้าได้ยาวนาน คนกระบี่มีความเกี่ยวข้องกับการไฟฟ้าเป็นจำนวนมาก ทั้งทำงานในโรงไฟฟ้า ทั้งเป็นลูก เป็นญาติ หรือแม้กระทั่งไม่มีงบประมาณในการพัฒนาหรือใช้จ่ายอะไร ขาดการสนับสนุนตรงไหน ก็มาขอให้การไฟฟ้าช่วยเหลือ ชุมชนและโรงไฟฟ้ากระบี่มีความเกี่ยวข้องกันมานานหลายสิบปี ถ้าขาดโรงไฟฟ้าจังหวัดกระบี่ก็ไม่อาจจะเจริญเติบโตขึ้นได้ ตั้งแต่เริ่มโรงไฟฟ้ากระบี่โรงแรกที่ใช้เชื้อเพลิงถ่านหินลิกไนต์ ไม่เคยมีมลพิษ อากาศไม่เสีย ไม่มีคนป่วย บางคนพูดว่าโรงไฟฟ้าทำให้เกิดโรคมะเร็ง ซึ่งไม่ว่าที่ไหนของประเทศก็เกิดโรคมะเร็งได้ทั้งนั้นไม่จำเป็นต้องแค่ที่กระบี่ และโรงไฟฟ้ากระบี่โรงที่ 2 ก็ใช้เชื้อเพลิงน้ำมันเตา ซึ่งก็ไม่ก่อให้เกิดมลพิษใดๆ ไม่มีอากาศเสีย และก็ใกล้หมดอายุเช่นกัน ซึ่ง กฟผ. จำเป็นจะต้องสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินโรงใหม่ที่มีความสำคัญและจำเป็นต่อจังหวัดกระบี่ ในอดีตเกาะลันตาเคยใช้เพียงแค่ตะเกียงน้ำมันเพื่อให้แสงสว่าง เด็กๆ และประชาชนสูดดมควันจากน้ำมันตะเกียงจนจมูกดำกันไปหมด เมื่อมีโรงไฟฟ้าเกาะลันตาก็เจริญเพราะมีกำลังไฟฟ้าที่เพียงพอ เมื่อโรงไฟฟ้าน้ำมันเตาใกล้จะหมดอายุ พวกเราจะทิ้งโรงไฟฟ้าไปเลยหรือ…. เรามีประสบการณ์ไฟฟ้าดับในภาคใต้ ผู้ประกอบการต้องสูญเสียเงินจำนวนมาก จากวัสดุ อุปกรณ์ อาหาร ต่างๆ เกิดความเสียหายไปทั่ว โรงไฟฟ้ากระบี่โรงใหม่ที่จะสร้างขึ้นมานั้นใช้ถ่านหินคุณภาพดี ซึ่งทั่วโลกเองก็มุ่งเป้ามาใช้ถ่านหินกันจำนวนมาก เพราะเป็นพลังงานที่ราคาถูกที่สุด บางประเทศที่ยกเลิกโรงไฟฟ้าจำนวนมากเพราะว่าโรงไฟฟ้าหมดอายุ และกำลังจะสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินใหม่ขึ้นมาทดแทน ประเทศไทยเองเป็นผู้นำอาเซียน แต่ใกล้จะต้องเป็นเมืองขึ้นโดยการขอซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้านเพื่อมาใช้ในประเทศเพราะไม่มีพลังงานเพียงพอที่จะผลิตใช้เองในประเทศ ถ้าไม่มีโรงไฟฟ้ากระบี่แห่งใหม่ จังหวัดกระบี่ในอนาคตจะเป็นเช่นไร…. ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาประชาชนรอบโรงไฟฟ้าเองทราบดีว่าได้อะไรบ้างจากโรงไฟฟ้า ทั้งถนน ทั้งน้ำอุปโภคบริโภค ไฟฟ้า เมืองที่เจริญมากขึ้น เป็นผลจากโรงไฟฟ้าทั้งสิ้น และโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่แห่งใหม่ ก็นำเข้าถ่านหินคุณภาพดีจากอินโดนีเซีย ซึ่งมีราคาถูก และมีระยะทางขนส่งใกล้กับประเทศไทย อีกทั้งเส้นทางในการลำเรียงถ่านหินนั้นเป็นเส้นทางเดิมที่เคยใช้ในการขนส่งน้ำมันเตา ทั้งนี้โรงไฟฟ้าที่กำลังจะเกิดขึ้นมีมูลค่ามหาศาล จะทำให้เกิดการจ้างงานจำนวนมาก และเศรษฐกิจจะเติบโตมากขึ้นด้วย
นายนฤมิต คินิมาน ผู้อำนวยการฝ่ายสิ่งแวดล้อมโครงการ กฟผ. กล่าวว่า เมื่อวันที่ 21 ก.พ. 2560 นายกรัฐมนตรีมีข้อสั่งการให้ กฟผ. ยกเลิกรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) และรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) ฉบับเดิม โดยให้ กฟผ. ไปศึกษาทำความเข้าใจใหม่ พร้อมกับทำ EIA และ EHIA ใหม่ โดยเน้นให้ประชาชนรวมถึงผู้เห็นต่างมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ และเกิดความโปร่งใสในการดำเนินงาน ซึ่งที่ผ่านมา กฟผ. ได้รับฟังข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์จากชุมชน มาทบทวนเพื่อปรับมาตรการในการดูแลผลกระทบสิ่งแวดล้อมให้มีความเหมาะสมกับชุมชนมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ กฟผ. ยังมีกองทุนพัฒนารอบโรงไฟฟ้า สำหรับประชาชนในรัศมี 5 กิโลเมตร รอบโครงการโรงไฟฟ้ากระบี่และท่าเทียบเรือเพื่อนำไปพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับชุมชน ให้โรงไฟฟ้าอยู่คู่กับชุมชนได้อย่างมีความสุข
ผศ. พล.ต.ท. ดร.ณรงค์ กุลนิเทศ อนุกรรมการไตรภาคีด้านการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน กล่าวว่า จากการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนกว่าแสนคน ในพื้นที่ อ.เหนือคลอง จ.กระบี่ ก่อนการจัดทำรายงาน EIAและ EHIA เมื่อปี 2555 พบว่า มีผู้เห็นด้วยกับการก่อสร้างโรงไฟฟ้ากระบี่มากถึงร้อยละ 51.2 กฟผ. จึงเริ่มทำการศึกษาเพื่อจัดทำรายงาน EIA และ EHIA มาอย่างต่อเนื่อง จนในปี 2559 รัฐบาลได้แต่ตั้งคณะกรรมการไตรภาคีฯ มีมติให้เดินหน้าโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้ากระบี่ พร้อมทำการศึกษาพลังงานทางเลือกคู่ขนานร่วมไปด้วย ปัจจุบัน โรงไฟฟ้าถ่านหินเทคโนโลยีสะอาดขนาดใหญ่ในต่างประเทศ ได้นำเทคโนโลยี Ultra Super Critical มาใช้ในกระบวนการผลิตไฟฟ้า ควบคู่ไปกับการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม ทำให้ประชาชนที่อาศัยอยู่รอบโรงไฟฟ้าถ่านหินฯ ดังกล่าว สามารถประกอบอาชีพตามวิถีดั้งเดิมอย่างที่เคยมีมาได้อย่างมีความสุข นอกจากนี้ โครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้ากระบี่ยังจัดตั้งกองทุนรอบโรงไฟฟ้าเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชนรอบโรงไฟฟ้าด้วย
รศ.ภิญโญ มีชำนะ (คณะกรรมการไตรภาคี และอนุกรรมการด้านสิ่งแวดล้อม / อดีตอาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตเรียม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีถ่านหินสะอาด กล่าวว่า ในทางวิชาการโรงไฟฟ้าถ่านหินเทคโนโลยีสะอาด รวมทั้งการขนส่งและลำเลียงถ่านหินระบบปิด สามารถป้องกันผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจากผลการศึกษาทางวิชาการและงานวิจัยในต่างประเทศพบว่า เมื่อถ่านหินตกน้ำจะเป็นเพียงแค่สิ่งปนเปื้อน ไม่ก่อให้เกิดมลพิษ จึงไม่ส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของสัตว์น้ำและไม่เป็นพิษต่อชีวิตมนุษย์ ซึ่งในกระบวนการผลิตน้ำประปามีการนำเอาถ่านหินมาใช้ประโยชน์ในการกรองและกำจัดสิ่งสกปรกในน้ำอุปโภคและบริโภค ทั้งนี้ การนำถ่านหินมาใช้ในกระบวนการผลิตไฟฟ้า จะช่วยกระจายสัดส่วนเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย ซึ่งพึ่งพาเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติสูงถึง ร้อยละ 70 ให้สมดุล เพื่อเสริมความมั่นคงและบริหารความเสี่ยงทางพลังงาน ตลอดจนพยุงราคาค่าไฟฟ้าของประเทศให้มีราคาเหมาะสม ซึ่งหากมีโรงไฟฟ้าเกิดขึ้นในพื้นที่ ชุมชนจะได้รับสิทธิประโยชน์จากเงินกองทุนพัฒนาหมู่บ้านในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนให้ดียิ่งขึ้น
นายกิจจา ทองทิพย์ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 3 ตำบลปกาสัย อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ กล่าวว่า อยู่กระบี่มาพร้อมๆ กับโรงไฟฟ้ากระบี่เกิดขึ้น อีกทั้งอยู่ในพื้นที่ใกล้โรงไฟฟ้า มีความใกล้ชิดกับโรงไฟฟ้า ประชาชนในพื้นที่ชุมชนนั้นรอคอยความเจริญก้าวหน้าของประเทศ รอคอยที่จะให้ลูกหลานเข้ามาเป็นบุคลากรของ กฟผ. ปัจจุบันพื้นที่รอบโรงไฟฟ้าทั้งตำบลปกาสัย ตำบลคลองขนาน ตำบลเกาะศรีบอยา และตำบลตลิ่งชัน ที่ผ่านมาก็มีความเจริญมากขึ้นและได้รับการดูแลจากกองทุนพัฒนารอบโรงไฟฟ้า เพื่อให้พี่น้องในชุมชนได้มีความสุขและความเจริญทัดเทียมนานาประเทศ ทุกชุมชนได้รับการช่วยเหลือจากโรงไฟฟ้าหลายด้าน ไม่ว่าจะมีผู้เจ็บป่วยหรือไม่สบาย ก็มี กฟผ. มาคอยดูแลโดยตลอด จากการที่รัฐบาลได้มีมติให้ศึกษา EHIA ใหม่ ทำให้ชุมชนรู้สึกหวั่นไหวว่าจังหวัดกระบี่จะเป็นอย่างไรต่อไปถ้าไม่มีโรงไฟฟ้าใหม่เกิดขึ้น บุคคลที่ทำให้เกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อนที่ไม่ใช่คนกระบี่ อยากพูดคุยทำความเข้าใจกับบุคคลเหล่านั้น
“ผมอยู่ใกล้ชิดกับโรงไฟฟ้ามาตลอดรู้เรื่องโรงไฟฟ้าเป็นอย่างดี แต่กลุ่มบุคคลภายนอกกลับมาใช้สิทธิแทนพี่น้องชาวกระบี่ซึ่งไม่สมควร บุคคลเหล่านี้มีความเข้าใจเรื่องของโรงไฟฟ้าถ่านหินหรือไม่ เคยเห็นโรงไฟฟ้าถ่านหินหรือไม่ มีข้อพิสูจน์ใดบ้างที่มีผู้ได้รับผลกระทบจากถ่านหิน รุ่นปูรุ่นย่าของชุมชนมีอายุยืนยาวกันถึงร้อยกว่าปีถึงจะเสียชีวิต และยังมีผู้สูงอายุที่มีอายุร้อยกว่าปีที่ยังมีชีวิตอยู่ อนาคตประเทศไทยจะต้องพัฒนาเพื่อที่จะไม่ต้องไปพึ่งพาไฟฟ้าจากต่างประเทศ อีกทั้งถ่านหินจากอินโดนีเซียก็เป็นถ่านหินที่มี่คุณภาพดี มีการพิสูจน์มาแล้ว ผมในฐานะผู้แทนผู้นำชุมชนจาก 4 ตำบล จะร่วมผลักดันให้เกิดโรงไฟฟ้าในพื้นที่จังหวัดกระบี่ และยืนเคียงข้างกับ กฟผ. เพื่อให้เกิดโรงไฟฟ้าถ่านหินเทคโนโลยีสะอาดจังหวัดกระบี่” นายกิจจา กล่าวในตอนท้าย.
November 24, 2024
November 21, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
กฟผ. เสวนาสื่อมวลชน จ.กระบี่ ให้ข้อมูลและแลกเปลี่ยนความเห็น “กระบวนการมีส่วนร่วมและสิทธิชุมชน กรณีโรงไฟฟ้ากระบี่”
กฟผ. เสวนาสื่อมวลชน จ.กระบี่ หัวข้อ “กระบวนการมีส่วนร่วมและสิทธิชุมชน กรณีโรงไฟฟ้ากระบี่” เพื่อให้ข้อมูลความคืบหน้าโครงการโรงไฟฟ้าเทคโนโลยีถ่านหินสะอาด จ.กระบี่ ภายหลังนายกรัฐมนตรีและ กพช. อนุมัติให้ กฟผ. เดินหน้าโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน จ.กระบี่ จัดทำ EIA และEHIA ใหม่ ให้ข้อมูลสิทธิของชุมชน ร่วมแลกเปลี่ยนและรับฟังความคิดเห็นจากสื่อมวลชน ตลอดจนเพื่อให้สื่อมวลชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาโรงไฟฟ้ากับ กฟผ.
วันที่ 1 มีนาคม 2560 ฝ่ายสื่อสารองค์การ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จัดเสวนาสื่อมวลชนจังหวัดกระบี่ หัวข้อ “กระบวนการมีส่วนร่วมและสิทธิชุมชน กรณีโรงไฟฟ้ากระบี่” โดยมีผู้ร่วมเสวนา ประกอบด้วย นายนฤมิต คินิมาน ผู้อำนวยการฝ่ายสิ่งแวดล้อมโครงการ กฟผ. ผศ.พิเศษ พล.ต.ท.ดร.ณรงค์ กุลนิเทศ อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และอนุกรรมการไตรภาคีด้านการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน รศ.ภิญโญ มีชำนะ ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีถ่านหินสะอาด นายพิเชษฐ พันธุ์วิชาติกุล ผู้แทนด้านธุรกิจและด้านการเมือง นายกิจจา ทองทิพย์ ผู้ใหญ่บ้าน ม.3 ต.ปกาสัย อ.เหนือคลอง จ.กระบี่ ผู้แทนชุมชนรอบโรงไฟฟ้ากระบี่ และดำเนินการเสวนาโดยนางสาวหัสนะ ใบลาภ สื่อมวลชน จ.กระบี่ ณ ห้องธารา มาริไทม์ ปาร์ค แอนด์ สปา รีสอร์ท จ.กระบี่ มีนายเขมญาติ ยมานันตกุล ผู้อำนวยการโรงไฟฟ้าภาคใต้ นายศานิต นิยมาคม ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์การ กฟผ. ให้การต้อนรับสื่อมวลชนและชุมชนและผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วมเสวนาจำนวนกว่า 100 คน
นายศานิต นิยมาคม ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์การ กฟผ. กล่าวว่า การเสวนาในครั้งนี้ จัดขึ้นเพื่อให้ข้อมูลและสร้างความเข้าใจภารกิจของ กฟผ. สถานการณ์พลังงานไฟฟ้าของประเทศไทยและในพื้นที่ภาคใต้รวมถึงความจำเป็นในการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเทคโนโลยีสะอาด ขนาดกำลังผลิต 800 เมกะวัตต์ ในพื้นที่ อ.เหนือคลอง จ.กระบี่ โดยใช้ถ่านหินคุณภาพดีประเภทซับบิทูมินัสเป็นเชื้อเพลิง ตลอดจนให้ข้อมูล ความคืบหน้าโครงการ และการดำเนินโครงการฯ ภายหลังจากที่ นายกรัฐมนตรีและคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) อนุมัติให้ กฟผ. เดินหน้าโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน จ.กระบี่ ต่อไปตามกฎหมาย โดย กฟผ. จะต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment:EIA) และรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (Environmental Health Impact Assessment : EHIA) ใหม่ โดยให้มีกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนให้มากที่สุด ไม่ให้กระทบต่อสังคมชุมชนและสิ่งแวดล้อม รับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากสื่อมวลชน เพื่อนำมาพัฒนาการทำงานตลอดจนสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่าง กฟผ. กับสื่อมวลชนต่อไป และขอขอบคุณสื่อมวลชน ผู้เกี่ยวข้องและวิทยากรทุกท่านที่มาร่วมเสวนาในครั้งนี้ ภารกิจสำคัญของ กฟผ. คือ การหาแหล่งพลังงานและผลิตไฟฟ้าเพื่อความสุขของคนไทยทุกคน ตลอดระยะเวลา 50 ปี ที่ผ่านมา กฟผ. กระบี่ได้อยู่ร่วมกับชาวกระบี่อย่างมีความสุขมีความเข้าใจกัน และมีส่วนร่วมในการดำเนินงานระหว่างกันตลอดมา กฟผ. ขอยืนยันว่าจะดูแลสังคมชุมชนและสิ่งแวดล้อมอย่างดีที่สุดตลอดไป เพื่อชุมชนอยู่ดีมีสุข อย่างยั่งยืน
นายพิเชษฐ พันธุ์วิชาติกุล ผู้แทนด้านธุรกิจและการเมือง กล่าวว่า เรื่อง พลังงานเป็นเรื่องสำคัญที่สุดของทุกประเทศ ในอดีตจังหวัดกระบี่บริเวณคลองขนาดมีแร่ลิกไนต์จำนวนมากที่โรงไฟฟ้าลิกไนต์กระบี่สามารถใช้ผลิตไฟฟ้าได้ยาวนาน คนกระบี่มีความเกี่ยวข้องกับการไฟฟ้าเป็นจำนวนมาก ทั้งทำงานในโรงไฟฟ้า ทั้งเป็นลูก เป็นญาติ หรือแม้กระทั่งไม่มีงบประมาณในการพัฒนาหรือใช้จ่ายอะไร ขาดการสนับสนุนตรงไหน ก็มาขอให้การไฟฟ้าช่วยเหลือ ชุมชนและโรงไฟฟ้ากระบี่มีความเกี่ยวข้องกันมานานหลายสิบปี ถ้าขาดโรงไฟฟ้าจังหวัดกระบี่ก็ไม่อาจจะเจริญเติบโตขึ้นได้ ตั้งแต่เริ่มโรงไฟฟ้ากระบี่โรงแรกที่ใช้เชื้อเพลิงถ่านหินลิกไนต์ ไม่เคยมีมลพิษ อากาศไม่เสีย ไม่มีคนป่วย บางคนพูดว่าโรงไฟฟ้าทำให้เกิดโรคมะเร็ง ซึ่งไม่ว่าที่ไหนของประเทศก็เกิดโรคมะเร็งได้ทั้งนั้นไม่จำเป็นต้องแค่ที่กระบี่ และโรงไฟฟ้ากระบี่โรงที่ 2 ก็ใช้เชื้อเพลิงน้ำมันเตา ซึ่งก็ไม่ก่อให้เกิดมลพิษใดๆ ไม่มีอากาศเสีย และก็ใกล้หมดอายุเช่นกัน ซึ่ง กฟผ. จำเป็นจะต้องสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินโรงใหม่ที่มีความสำคัญและจำเป็นต่อจังหวัดกระบี่ ในอดีตเกาะลันตาเคยใช้เพียงแค่ตะเกียงน้ำมันเพื่อให้แสงสว่าง เด็กๆ และประชาชนสูดดมควันจากน้ำมันตะเกียงจนจมูกดำกันไปหมด เมื่อมีโรงไฟฟ้าเกาะลันตาก็เจริญเพราะมีกำลังไฟฟ้าที่เพียงพอ เมื่อโรงไฟฟ้าน้ำมันเตาใกล้จะหมดอายุ พวกเราจะทิ้งโรงไฟฟ้าไปเลยหรือ…. เรามีประสบการณ์ไฟฟ้าดับในภาคใต้ ผู้ประกอบการต้องสูญเสียเงินจำนวนมาก จากวัสดุ อุปกรณ์ อาหาร ต่างๆ เกิดความเสียหายไปทั่ว โรงไฟฟ้ากระบี่โรงใหม่ที่จะสร้างขึ้นมานั้นใช้ถ่านหินคุณภาพดี ซึ่งทั่วโลกเองก็มุ่งเป้ามาใช้ถ่านหินกันจำนวนมาก เพราะเป็นพลังงานที่ราคาถูกที่สุด บางประเทศที่ยกเลิกโรงไฟฟ้าจำนวนมากเพราะว่าโรงไฟฟ้าหมดอายุ และกำลังจะสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินใหม่ขึ้นมาทดแทน ประเทศไทยเองเป็นผู้นำอาเซียน แต่ใกล้จะต้องเป็นเมืองขึ้นโดยการขอซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้านเพื่อมาใช้ในประเทศเพราะไม่มีพลังงานเพียงพอที่จะผลิตใช้เองในประเทศ ถ้าไม่มีโรงไฟฟ้ากระบี่แห่งใหม่ จังหวัดกระบี่ในอนาคตจะเป็นเช่นไร…. ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาประชาชนรอบโรงไฟฟ้าเองทราบดีว่าได้อะไรบ้างจากโรงไฟฟ้า ทั้งถนน ทั้งน้ำอุปโภคบริโภค ไฟฟ้า เมืองที่เจริญมากขึ้น เป็นผลจากโรงไฟฟ้าทั้งสิ้น และโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่แห่งใหม่ ก็นำเข้าถ่านหินคุณภาพดีจากอินโดนีเซีย ซึ่งมีราคาถูก และมีระยะทางขนส่งใกล้กับประเทศไทย อีกทั้งเส้นทางในการลำเรียงถ่านหินนั้นเป็นเส้นทางเดิมที่เคยใช้ในการขนส่งน้ำมันเตา ทั้งนี้โรงไฟฟ้าที่กำลังจะเกิดขึ้นมีมูลค่ามหาศาล จะทำให้เกิดการจ้างงานจำนวนมาก และเศรษฐกิจจะเติบโตมากขึ้นด้วย
นายนฤมิต คินิมาน ผู้อำนวยการฝ่ายสิ่งแวดล้อมโครงการ กฟผ. กล่าวว่า เมื่อวันที่ 21 ก.พ. 2560 นายกรัฐมนตรีมีข้อสั่งการให้ กฟผ. ยกเลิกรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) และรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) ฉบับเดิม โดยให้ กฟผ. ไปศึกษาทำความเข้าใจใหม่ พร้อมกับทำ EIA และ EHIA ใหม่ โดยเน้นให้ประชาชนรวมถึงผู้เห็นต่างมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ และเกิดความโปร่งใสในการดำเนินงาน ซึ่งที่ผ่านมา กฟผ. ได้รับฟังข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์จากชุมชน มาทบทวนเพื่อปรับมาตรการในการดูแลผลกระทบสิ่งแวดล้อมให้มีความเหมาะสมกับชุมชนมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ กฟผ. ยังมีกองทุนพัฒนารอบโรงไฟฟ้า สำหรับประชาชนในรัศมี 5 กิโลเมตร รอบโครงการโรงไฟฟ้ากระบี่และท่าเทียบเรือเพื่อนำไปพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับชุมชน ให้โรงไฟฟ้าอยู่คู่กับชุมชนได้อย่างมีความสุข
ผศ. พล.ต.ท. ดร.ณรงค์ กุลนิเทศ อนุกรรมการไตรภาคีด้านการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน กล่าวว่า จากการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนกว่าแสนคน ในพื้นที่ อ.เหนือคลอง จ.กระบี่ ก่อนการจัดทำรายงาน EIAและ EHIA เมื่อปี 2555 พบว่า มีผู้เห็นด้วยกับการก่อสร้างโรงไฟฟ้ากระบี่มากถึงร้อยละ 51.2 กฟผ. จึงเริ่มทำการศึกษาเพื่อจัดทำรายงาน EIA และ EHIA มาอย่างต่อเนื่อง จนในปี 2559 รัฐบาลได้แต่ตั้งคณะกรรมการไตรภาคีฯ มีมติให้เดินหน้าโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้ากระบี่ พร้อมทำการศึกษาพลังงานทางเลือกคู่ขนานร่วมไปด้วย ปัจจุบัน โรงไฟฟ้าถ่านหินเทคโนโลยีสะอาดขนาดใหญ่ในต่างประเทศ ได้นำเทคโนโลยี Ultra Super Critical มาใช้ในกระบวนการผลิตไฟฟ้า ควบคู่ไปกับการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม ทำให้ประชาชนที่อาศัยอยู่รอบโรงไฟฟ้าถ่านหินฯ ดังกล่าว สามารถประกอบอาชีพตามวิถีดั้งเดิมอย่างที่เคยมีมาได้อย่างมีความสุข นอกจากนี้ โครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้ากระบี่ยังจัดตั้งกองทุนรอบโรงไฟฟ้าเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชนรอบโรงไฟฟ้าด้วย
รศ.ภิญโญ มีชำนะ (คณะกรรมการไตรภาคี และอนุกรรมการด้านสิ่งแวดล้อม / อดีตอาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตเรียม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีถ่านหินสะอาด กล่าวว่า ในทางวิชาการโรงไฟฟ้าถ่านหินเทคโนโลยีสะอาด รวมทั้งการขนส่งและลำเลียงถ่านหินระบบปิด สามารถป้องกันผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจากผลการศึกษาทางวิชาการและงานวิจัยในต่างประเทศพบว่า เมื่อถ่านหินตกน้ำจะเป็นเพียงแค่สิ่งปนเปื้อน ไม่ก่อให้เกิดมลพิษ จึงไม่ส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของสัตว์น้ำและไม่เป็นพิษต่อชีวิตมนุษย์ ซึ่งในกระบวนการผลิตน้ำประปามีการนำเอาถ่านหินมาใช้ประโยชน์ในการกรองและกำจัดสิ่งสกปรกในน้ำอุปโภคและบริโภค ทั้งนี้ การนำถ่านหินมาใช้ในกระบวนการผลิตไฟฟ้า จะช่วยกระจายสัดส่วนเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย ซึ่งพึ่งพาเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติสูงถึง ร้อยละ 70 ให้สมดุล เพื่อเสริมความมั่นคงและบริหารความเสี่ยงทางพลังงาน ตลอดจนพยุงราคาค่าไฟฟ้าของประเทศให้มีราคาเหมาะสม ซึ่งหากมีโรงไฟฟ้าเกิดขึ้นในพื้นที่ ชุมชนจะได้รับสิทธิประโยชน์จากเงินกองทุนพัฒนาหมู่บ้านในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนให้ดียิ่งขึ้น
นายกิจจา ทองทิพย์ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 3 ตำบลปกาสัย อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ กล่าวว่า อยู่กระบี่มาพร้อมๆ กับโรงไฟฟ้ากระบี่เกิดขึ้น อีกทั้งอยู่ในพื้นที่ใกล้โรงไฟฟ้า มีความใกล้ชิดกับโรงไฟฟ้า ประชาชนในพื้นที่ชุมชนนั้นรอคอยความเจริญก้าวหน้าของประเทศ รอคอยที่จะให้ลูกหลานเข้ามาเป็นบุคลากรของ กฟผ. ปัจจุบันพื้นที่รอบโรงไฟฟ้าทั้งตำบลปกาสัย ตำบลคลองขนาน ตำบลเกาะศรีบอยา และตำบลตลิ่งชัน ที่ผ่านมาก็มีความเจริญมากขึ้นและได้รับการดูแลจากกองทุนพัฒนารอบโรงไฟฟ้า เพื่อให้พี่น้องในชุมชนได้มีความสุขและความเจริญทัดเทียมนานาประเทศ ทุกชุมชนได้รับการช่วยเหลือจากโรงไฟฟ้าหลายด้าน ไม่ว่าจะมีผู้เจ็บป่วยหรือไม่สบาย ก็มี กฟผ. มาคอยดูแลโดยตลอด จากการที่รัฐบาลได้มีมติให้ศึกษา EHIA ใหม่ ทำให้ชุมชนรู้สึกหวั่นไหวว่าจังหวัดกระบี่จะเป็นอย่างไรต่อไปถ้าไม่มีโรงไฟฟ้าใหม่เกิดขึ้น บุคคลที่ทำให้เกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อนที่ไม่ใช่คนกระบี่ อยากพูดคุยทำความเข้าใจกับบุคคลเหล่านั้น
“ผมอยู่ใกล้ชิดกับโรงไฟฟ้ามาตลอดรู้เรื่องโรงไฟฟ้าเป็นอย่างดี แต่กลุ่มบุคคลภายนอกกลับมาใช้สิทธิแทนพี่น้องชาวกระบี่ซึ่งไม่สมควร บุคคลเหล่านี้มีความเข้าใจเรื่องของโรงไฟฟ้าถ่านหินหรือไม่ เคยเห็นโรงไฟฟ้าถ่านหินหรือไม่ มีข้อพิสูจน์ใดบ้างที่มีผู้ได้รับผลกระทบจากถ่านหิน รุ่นปูรุ่นย่าของชุมชนมีอายุยืนยาวกันถึงร้อยกว่าปีถึงจะเสียชีวิต และยังมีผู้สูงอายุที่มีอายุร้อยกว่าปีที่ยังมีชีวิตอยู่ อนาคตประเทศไทยจะต้องพัฒนาเพื่อที่จะไม่ต้องไปพึ่งพาไฟฟ้าจากต่างประเทศ อีกทั้งถ่านหินจากอินโดนีเซียก็เป็นถ่านหินที่มี่คุณภาพดี มีการพิสูจน์มาแล้ว ผมในฐานะผู้แทนผู้นำชุมชนจาก 4 ตำบล จะร่วมผลักดันให้เกิดโรงไฟฟ้าในพื้นที่จังหวัดกระบี่ และยืนเคียงข้างกับ กฟผ. เพื่อให้เกิดโรงไฟฟ้าถ่านหินเทคโนโลยีสะอาดจังหวัดกระบี่” นายกิจจา กล่าวในตอนท้าย.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลภาคที่ 2 ช่วยเหลือเหตุเรืออับปางในทะเล บริเวณทางทิศตะวันออกของร่องน้ำสงขลา
November 24, 2024
JUBILEE DIAMOND ฉลองครบรอบ 95 ปี เปิดบ้าน THE ...
November 24, 2024
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมสืบสานประเพณีลอยกระทง สร้างความสุขทั่วอำเภอขนอม
November 21, 2024
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมส่งเสริมสุขภาพชุมชน สนับสนุนอบรม อสม.ใหม่/ทดแทน
November 21, 2024