สุดยอด! นักเรียนโรงเรียนอนุบาลละงู จ.สตูล ประดิษฐ์ “เครื่องตัดไข่ครอบ” หรือ“อุปกรณ์ ตัดเปลือกไข่เป็ดสำหรับการทำไข่ครอบ” สามารถพิชิตรางวัลเหรียญทองชนะเลิศการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ ประเภทสิ่งประดิษฐ์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 (กลุ่มโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา) ในงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ระดับชาติ ครั้งที่ 66 ปีการศึกษา 2559 เวทีแห่งการแสดงศักยภาพทางการศึกษาขั้นพื้นฐานของนักเรียน ครู จากทุกภูมิภาคของประเทศ ซึ่งจัดโดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ระหว่างวันที่ 29-31 มกราคม 2560 ภายใต้แนวคิด “สืบสานศิลปหัตถกรรมไทยเลิศหล้า 5 แผ่นดิน” ณ ศูนย์ประชุมมหา วิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต จังหวัดปทุมธานี
เจ้าของโครงงานสิ่งประดิษฐ์ “เครื่องตัดไข่ครอบ” ที่กล่าวถึงนี้คือ ด.ช.ธีทัต เล่งเจ๊ะ ชั้นมัธยม ศึกษาปีที่ 1 ด.ญ.ชลธิชา แดหวัน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และด.ญ.ศศิวิมล ปราบปัจจะ ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 2 ซึ่งมีคุณครูอามาลีนา มานะกล้า และคุณครูนางสาวนิภา แอหลัง เป็นผู้ให้คำปรึกษาและแนะนำจนทำให้โครงงานประสบผลสำเร็จ
เครื่องตัดไข่ครอบที่เด็ก ๆ ประดิษฐ์ขึ้นนี้ สามารถตัดเปลือกไข่เป็ดสด ได้ครั้งละ 8 ฟอง ใช้เวลาเพียง 1 นาที โดย 1 ชั่วโมง สามารถตัดได้ 450 ฟอง อีกทั้งเปลือกไข่ที่ตัดจะมีขอบเรียบสวยทั้งเปลือกส่วนบนและเปลือกส่วนล่าง และขนาดเท่ากันทุกฟอง ขณะที่วิธีแบบเดิมๆ ใช้การกะเทาะเปลือกไข่ส่วนบนให้แตก แล้วใช้กรรไกรตัดแต่งเปลือกไข่ส่วนลางให้เรียบเสมอกัน
ส่วนกระบวนการทำไข่ของเด็ก ๆ จะนำไข่เป็ดจากการตัด มาแยกเอาเฉพาะไข่แดง และนำไปแช่น้ำเกลือในกะละมังสแตนเลส (ใช้เกลือป่นละลายในน้ำสะอาด) เด็ก ๆบอกว่าวิธีนี้จะทำให้ไข่แดงจับตัวและไม่แตก แช่ไว้ประมาณ 5-7 นาที หลังจากนั้นนำไข่แดง 2 ฟอง ใส่ในเปลือกไข่เป็ดส่วนล่างที่ล้างสะอาด หยอดเกลืออีกนิดหน่อย ปิดด้วยเปลือกไข่ส่วนบน แล้วนำไปนึ่งด้วยน้ำใส่ใบเตยประมาณ 7 นาที จะได้ไข่ครอบรสชาติแสนอร่อย น่ากิ๊น น่ากิน แถมมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ของใบเตยด้วย
ด.ญ.ชลธิชา แดหวัน เล่าถึงเหตุผลที่คิดโครงงานประดิษฐ์ “เครื่องตัดไข่ครอบ” ว่าเกิดจากการไปทัศนศึกษาดูการผลิตไข่ครอบภูมิปัญญาท้องถิ่นหมู่บ้านแถบริมทะเลสาบสงขลา เมื่อกลับมาก็คิดว่าจะทำยังไงที่จะสามารถตัดไข่เป็ดให้ได้จำนวนมากและใช้เวลาให้น้อยลง เมื่อคุณครูให้ทำโครงงานก็นำความคิดนำเสนอ ช่วยกันคิด ช่วยกันศึกษาวิธีการ และลงมือทำ
“เครื่องตัดไข่ครอบ” ใช้เวลาในการคิดและทดลอง ประมาณ 2-3 เดือน วัสดุหลักที่ใช้ เช่น วงล้อรถจักรยานยนต์ ยางในล้อรถจักรยานยนต์ มอเตอร์พัดลมแอร์รถยนต์ มอเตอร์ที่ปัดน้ำฝนรถยนต์ ใบตัดหินแกรนิต โมเลย์เครื่องซักผ้า ลูกปืน กะละมัง ฯลฯ ใช้พื้นฐานความรู้ทางวิทยาศาสตร์แรงกิริยา แรงปฏิกิริยา แรงหมุน แรงสู่ศูนย์กลาง เป็นส่วนสำคัญในการประดิษฐ์ มีต้นทุนที่ 2,000 บาท
จากนั้นนำสู่กระบวนการทดลอง 5 ครั้ง โดยวางสมมติฐานว่าการตัดเปลือกไข่ด้วยเครื่องตัดเปลือกไข่ครอบและกรรไกร กับระยะเวลา 1 ชั่วโมง จะได้ปริมาณไข่กี่ฟองและการแตกของไข่แดงเป็นอย่างไร พบว่าในเวลา 1 ชั่วโมง ถ้าใช้เครื่องตัดเปลือกไข่ จะได้ 450 ฟอง ส่วนถ้าใช้กรรไกร จะได้เพียง 64 ฟอง ส่วนอัตราการแตกของไข่แดงจะเท่ากัน
ขณะที่ นายปริญญา ดำเต๊ะ ผู้อำนวยการโรงเรียน กล่าวว่า รู้สึกภูมิใจที่นักเรียนใช้ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ต่าง ๆ สร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ ที่สร้างชื่อเสียงมาสู่โรงเรียนและจังหวัด นับเป็นมิติที่ดีในการก้าวสู่ประเทศไทย 4.0 และสู่สากล เด็กๆ กลุ่มนี้ยังได้รับโอกาสที่ดีจากสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ให้ไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ประเทศญี่ปุ่นในเร็วๆ นี้ ซึ่งในโอกาสต่อไป โรงเรียนจะขยายผลการเรียนรู้แบบโครงงานวิทยาศาสตร์ไปสู่นักเรียนทุกคน เพื่อผลิตพลเมืองไทยที่มีคุณภาพ ช่วยพัฒนาประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น.
November 20, 2024
November 18, 2024
November 13, 2024
November 11, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
สุดยอด! ร.ร.อนุบาลละงู คว้ารางวัลเหรียญทองชนะเลิศสิ่งประดิษฐ์ “เครื่องตัดไข่ครอบ”
สุดยอด! นักเรียนโรงเรียนอนุบาลละงู จ.สตูล ประดิษฐ์ “เครื่องตัดไข่ครอบ” หรือ“อุปกรณ์ ตัดเปลือกไข่เป็ดสำหรับการทำไข่ครอบ” สามารถพิชิตรางวัลเหรียญทองชนะเลิศการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ ประเภทสิ่งประดิษฐ์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 (กลุ่มโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา) ในงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ระดับชาติ ครั้งที่ 66 ปีการศึกษา 2559 เวทีแห่งการแสดงศักยภาพทางการศึกษาขั้นพื้นฐานของนักเรียน ครู จากทุกภูมิภาคของประเทศ ซึ่งจัดโดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ระหว่างวันที่ 29-31 มกราคม 2560 ภายใต้แนวคิด “สืบสานศิลปหัตถกรรมไทยเลิศหล้า 5 แผ่นดิน” ณ ศูนย์ประชุมมหา วิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต จังหวัดปทุมธานี
เจ้าของโครงงานสิ่งประดิษฐ์ “เครื่องตัดไข่ครอบ” ที่กล่าวถึงนี้คือ ด.ช.ธีทัต เล่งเจ๊ะ ชั้นมัธยม ศึกษาปีที่ 1 ด.ญ.ชลธิชา แดหวัน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และด.ญ.ศศิวิมล ปราบปัจจะ ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 2 ซึ่งมีคุณครูอามาลีนา มานะกล้า และคุณครูนางสาวนิภา แอหลัง เป็นผู้ให้คำปรึกษาและแนะนำจนทำให้โครงงานประสบผลสำเร็จ
เครื่องตัดไข่ครอบที่เด็ก ๆ ประดิษฐ์ขึ้นนี้ สามารถตัดเปลือกไข่เป็ดสด ได้ครั้งละ 8 ฟอง ใช้เวลาเพียง 1 นาที โดย 1 ชั่วโมง สามารถตัดได้ 450 ฟอง อีกทั้งเปลือกไข่ที่ตัดจะมีขอบเรียบสวยทั้งเปลือกส่วนบนและเปลือกส่วนล่าง และขนาดเท่ากันทุกฟอง ขณะที่วิธีแบบเดิมๆ ใช้การกะเทาะเปลือกไข่ส่วนบนให้แตก แล้วใช้กรรไกรตัดแต่งเปลือกไข่ส่วนลางให้เรียบเสมอกัน
ส่วนกระบวนการทำไข่ของเด็ก ๆ จะนำไข่เป็ดจากการตัด มาแยกเอาเฉพาะไข่แดง และนำไปแช่น้ำเกลือในกะละมังสแตนเลส (ใช้เกลือป่นละลายในน้ำสะอาด) เด็ก ๆบอกว่าวิธีนี้จะทำให้ไข่แดงจับตัวและไม่แตก แช่ไว้ประมาณ 5-7 นาที หลังจากนั้นนำไข่แดง 2 ฟอง ใส่ในเปลือกไข่เป็ดส่วนล่างที่ล้างสะอาด หยอดเกลืออีกนิดหน่อย ปิดด้วยเปลือกไข่ส่วนบน แล้วนำไปนึ่งด้วยน้ำใส่ใบเตยประมาณ 7 นาที จะได้ไข่ครอบรสชาติแสนอร่อย น่ากิ๊น น่ากิน แถมมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ของใบเตยด้วย
ด.ญ.ชลธิชา แดหวัน เล่าถึงเหตุผลที่คิดโครงงานประดิษฐ์ “เครื่องตัดไข่ครอบ” ว่าเกิดจากการไปทัศนศึกษาดูการผลิตไข่ครอบภูมิปัญญาท้องถิ่นหมู่บ้านแถบริมทะเลสาบสงขลา เมื่อกลับมาก็คิดว่าจะทำยังไงที่จะสามารถตัดไข่เป็ดให้ได้จำนวนมากและใช้เวลาให้น้อยลง เมื่อคุณครูให้ทำโครงงานก็นำความคิดนำเสนอ ช่วยกันคิด ช่วยกันศึกษาวิธีการ และลงมือทำ
“เครื่องตัดไข่ครอบ” ใช้เวลาในการคิดและทดลอง ประมาณ 2-3 เดือน วัสดุหลักที่ใช้ เช่น วงล้อรถจักรยานยนต์ ยางในล้อรถจักรยานยนต์ มอเตอร์พัดลมแอร์รถยนต์ มอเตอร์ที่ปัดน้ำฝนรถยนต์ ใบตัดหินแกรนิต โมเลย์เครื่องซักผ้า ลูกปืน กะละมัง ฯลฯ ใช้พื้นฐานความรู้ทางวิทยาศาสตร์แรงกิริยา แรงปฏิกิริยา แรงหมุน แรงสู่ศูนย์กลาง เป็นส่วนสำคัญในการประดิษฐ์ มีต้นทุนที่ 2,000 บาท
จากนั้นนำสู่กระบวนการทดลอง 5 ครั้ง โดยวางสมมติฐานว่าการตัดเปลือกไข่ด้วยเครื่องตัดเปลือกไข่ครอบและกรรไกร กับระยะเวลา 1 ชั่วโมง จะได้ปริมาณไข่กี่ฟองและการแตกของไข่แดงเป็นอย่างไร พบว่าในเวลา 1 ชั่วโมง ถ้าใช้เครื่องตัดเปลือกไข่ จะได้ 450 ฟอง ส่วนถ้าใช้กรรไกร จะได้เพียง 64 ฟอง ส่วนอัตราการแตกของไข่แดงจะเท่ากัน
ขณะที่ นายปริญญา ดำเต๊ะ ผู้อำนวยการโรงเรียน กล่าวว่า รู้สึกภูมิใจที่นักเรียนใช้ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ต่าง ๆ สร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ ที่สร้างชื่อเสียงมาสู่โรงเรียนและจังหวัด นับเป็นมิติที่ดีในการก้าวสู่ประเทศไทย 4.0 และสู่สากล เด็กๆ กลุ่มนี้ยังได้รับโอกาสที่ดีจากสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ให้ไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ประเทศญี่ปุ่นในเร็วๆ นี้ ซึ่งในโอกาสต่อไป โรงเรียนจะขยายผลการเรียนรู้แบบโครงงานวิทยาศาสตร์ไปสู่นักเรียนทุกคน เพื่อผลิตพลเมืองไทยที่มีคุณภาพ ช่วยพัฒนาประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ เปิด”มุมหนังสือนายกสภามหาวิทยาลัย” ณ ห้องสมุด ศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล
November 20, 2024
มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ จับมือ WeStride เปิดตัว “FutureX” หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ออนไลน์ ...
November 18, 2024
โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดรับสมัครนักเรียนระดับบ้านสาธิตปฐมวัยและระดับปฐมวัย (อนุบาล 1) ปีการศึกษา ...
November 13, 2024
มรภ.สงขลา นำผลงานนวัตกรรม นศ.เกษตร “เครื่องหยอดเมล็ดข้าว-กิมจิเห็ดนางฟ้า-ข้าวเกรียบเห็ดรสกิมจิ” ถ่ายทอดสู่ชุมชน
November 11, 2024