OBEC AWARD รางวัลทรงคุณค่าของ สพฐ. เป็นรางวัลที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) มอบให้แก่หน่วยงานและบุคลากรในสังกัด เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีในการปฏิบัติหน้าที่ราชการครองตน ครองคน และครองงาน ด้วยความอุตสาหะ ทุ่มเท เสียสละ มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ ซึ่งมี 3 ระดับ คือ ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ระดับภาค และระดับชาติ ซึ่งจัดต่อเนื่องมาปีการศึกษา 2559 นับเป็นปีที่ 6 แล้ว
นางสกุณา นองมณี ครู คศ.3 โรงเรียนอนุบาลละงู จ.สตูล เป็นผู้หนึ่งที่ได้รับคัดเลือกเข้ารับรางวัล OBEC AWARD รางวัลระดับเหรียญทอง ครูผู้สอนด้านวิชาการยอดเยี่ยม ระดับประถมศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ประจำปีการศึกษา 2559 ซึ่งผลการที่ได้รับคัดเลือก คือ การคิดนวัตกรรมแก้ปัญหาในวิชาภาษาไทย ช่วยเหลือนักเรียนที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ตามระดับชั้นเรียน ซึ่งเกิดกับนักเรียนที่เป็นเด็กพิเศษเรียนร่วมตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จากที่ครูประจำชั้นและครูการศึกษาพิเศษร่วมกันคัดกรอง มีนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ทั้งหมด 68 คน เพื่อเข้าสู่การจัดการเรียนการสอนโดยจัดทำแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) และจากการทดสอบการอ่านด้วยแบบทดสอบการอ่านเทียร่า (TERA) พบว่า นักเรียนกลุ่มแรก จะอ่านและเขียนคำในแม่ ก.กา ไม่ได้เลย จึงได้ผลิตหนังสือส่งเสริมการอ่าน ชื่อชุด ก กาพาเพลิน เพื่อใช้สอนกับนักเรียนในกลุ่มนี้ ซึ่งมี 3 เล่ม ประกอบด้วย เล่มที่ 1 อักษรกลางหรรษา เล่มที่ 2 อักษรสูงสุขสันต์ เล่มที่3 อักษรต่ำจำมั่น ส่วนนักเรียนอีกกลุ่มไม่สามารถอ่านและเขียนคำที่มีตัวสะกดได้ จึงได้ผลิตหนังสือส่งเสริมการอ่านขึ้นชื่อชุดอ่านสะกดคำจำได้ มี 7 เล่ม ประกอบด้วย เล่มที่ 1 อักษรกลางต้องฝึกฝน เล่มที่ 2 มากล้นคำอักษรสูง เล่มที่ 3 ชักจูงอ่านอักษรต่ำ เล่มที่ 4 อ่านสะกดซ้ำเพิ่มสระ เล่มที่ 5 เพิ่มพยัญชนะตัวสะกด เล่มที่ 6 สดใสสระประสม เล่มที่ 7 ชื่นชมการอ่านคำ
สำหรับการจัดการเรียนการสอน นอกจากครูสกุณาจะใช้หนังสือส่งเสริมการอ่านฯ ที่ผลิตขึ้นแล้ว ยังใช้สื่อต่าง ๆ ประกอบกระบวนการสอนในรูปแบบการวิจัยอีกด้วย
นางสกุณา กล่าวว่า จากการใกล้ชิดคลุกคลีกับเด็กพิเศษมากว่า10 ปี พบเด็กพิเศษมีปัญหาคือไม่รู้จักพยัญชนะ ไม่รู้จักสระ จึงทำให้ไม่สามารถประสมคำได้ เป็นปัญหาสำคัญสำหรับ สำหรับการอ่านและการเรียนภาษาไทย ชึ่งเป็นวิชาพื้นฐานในการเรียนรู้วิชาอื่นๆ ฉะนั้นในการสอนจะต้องสอนให้เด็กนักเรียนที่มีปัญหาเหล่านี้เริ่มต้นการฝึกอ่านด้วยการฝึกอ่านแจกลูกในแม่ ก.กาให้ได้ก่อน แล้วจึงสอนอ่านแจกลุกสะคำด้วยตัวสะกด และไปสู่การสอนสระเปลี่ยนรูป ลดรูป ก็จะทำให้เด็กพิเศษสามารถอ่านหนังสือได้ตามศักยภาพของเขาในระดับหนึ่ง ที่สำคัญในการสอนเด็กพิเศษ เรื่องสมาธิเป็นสิ่งสำคัญ จึงได้จัดกิจกรรมให้นักเรียนได้ฝึกสมาธิทุกเช้าก่อนเข้าเรียนวันละ 1 ชั่วโมง ใช้ดนตรีและศิลปะสลับกันสอนทุกวัน ซึ่งจะทำให้นักเรียนสามารถเรียนได้อย่างมีสมาธิขึ้น” นางสกุณากล่าวทิ้งท้าย.
November 20, 2024
November 18, 2024
November 13, 2024
November 11, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
ครูภาษาไทยยอดเยี่ยม OBEC AWARD ปีการศึกษา 2559
OBEC AWARD รางวัลทรงคุณค่าของ สพฐ. เป็นรางวัลที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) มอบให้แก่หน่วยงานและบุคลากรในสังกัด เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีในการปฏิบัติหน้าที่ราชการครองตน ครองคน และครองงาน ด้วยความอุตสาหะ ทุ่มเท เสียสละ มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ ซึ่งมี 3 ระดับ คือ ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ระดับภาค และระดับชาติ ซึ่งจัดต่อเนื่องมาปีการศึกษา 2559 นับเป็นปีที่ 6 แล้ว
นางสกุณา นองมณี ครู คศ.3 โรงเรียนอนุบาลละงู จ.สตูล เป็นผู้หนึ่งที่ได้รับคัดเลือกเข้ารับรางวัล OBEC AWARD รางวัลระดับเหรียญทอง ครูผู้สอนด้านวิชาการยอดเยี่ยม ระดับประถมศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ประจำปีการศึกษา 2559 ซึ่งผลการที่ได้รับคัดเลือก คือ การคิดนวัตกรรมแก้ปัญหาในวิชาภาษาไทย ช่วยเหลือนักเรียนที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ตามระดับชั้นเรียน ซึ่งเกิดกับนักเรียนที่เป็นเด็กพิเศษเรียนร่วมตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จากที่ครูประจำชั้นและครูการศึกษาพิเศษร่วมกันคัดกรอง มีนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ทั้งหมด 68 คน เพื่อเข้าสู่การจัดการเรียนการสอนโดยจัดทำแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) และจากการทดสอบการอ่านด้วยแบบทดสอบการอ่านเทียร่า (TERA) พบว่า นักเรียนกลุ่มแรก จะอ่านและเขียนคำในแม่ ก.กา ไม่ได้เลย จึงได้ผลิตหนังสือส่งเสริมการอ่าน ชื่อชุด ก กาพาเพลิน เพื่อใช้สอนกับนักเรียนในกลุ่มนี้ ซึ่งมี 3 เล่ม ประกอบด้วย เล่มที่ 1 อักษรกลางหรรษา เล่มที่ 2 อักษรสูงสุขสันต์ เล่มที่3 อักษรต่ำจำมั่น ส่วนนักเรียนอีกกลุ่มไม่สามารถอ่านและเขียนคำที่มีตัวสะกดได้ จึงได้ผลิตหนังสือส่งเสริมการอ่านขึ้นชื่อชุดอ่านสะกดคำจำได้ มี 7 เล่ม ประกอบด้วย เล่มที่ 1 อักษรกลางต้องฝึกฝน เล่มที่ 2 มากล้นคำอักษรสูง เล่มที่ 3 ชักจูงอ่านอักษรต่ำ เล่มที่ 4 อ่านสะกดซ้ำเพิ่มสระ เล่มที่ 5 เพิ่มพยัญชนะตัวสะกด เล่มที่ 6 สดใสสระประสม เล่มที่ 7 ชื่นชมการอ่านคำ
สำหรับการจัดการเรียนการสอน นอกจากครูสกุณาจะใช้หนังสือส่งเสริมการอ่านฯ ที่ผลิตขึ้นแล้ว ยังใช้สื่อต่าง ๆ ประกอบกระบวนการสอนในรูปแบบการวิจัยอีกด้วย
นางสกุณา กล่าวว่า จากการใกล้ชิดคลุกคลีกับเด็กพิเศษมากว่า10 ปี พบเด็กพิเศษมีปัญหาคือไม่รู้จักพยัญชนะ ไม่รู้จักสระ จึงทำให้ไม่สามารถประสมคำได้ เป็นปัญหาสำคัญสำหรับ สำหรับการอ่านและการเรียนภาษาไทย ชึ่งเป็นวิชาพื้นฐานในการเรียนรู้วิชาอื่นๆ ฉะนั้นในการสอนจะต้องสอนให้เด็กนักเรียนที่มีปัญหาเหล่านี้เริ่มต้นการฝึกอ่านด้วยการฝึกอ่านแจกลูกในแม่ ก.กาให้ได้ก่อน แล้วจึงสอนอ่านแจกลุกสะคำด้วยตัวสะกด และไปสู่การสอนสระเปลี่ยนรูป ลดรูป ก็จะทำให้เด็กพิเศษสามารถอ่านหนังสือได้ตามศักยภาพของเขาในระดับหนึ่ง ที่สำคัญในการสอนเด็กพิเศษ เรื่องสมาธิเป็นสิ่งสำคัญ จึงได้จัดกิจกรรมให้นักเรียนได้ฝึกสมาธิทุกเช้าก่อนเข้าเรียนวันละ 1 ชั่วโมง ใช้ดนตรีและศิลปะสลับกันสอนทุกวัน ซึ่งจะทำให้นักเรียนสามารถเรียนได้อย่างมีสมาธิขึ้น” นางสกุณากล่าวทิ้งท้าย.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ เปิด”มุมหนังสือนายกสภามหาวิทยาลัย” ณ ห้องสมุด ศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล
November 20, 2024
มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ จับมือ WeStride เปิดตัว “FutureX” หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ออนไลน์ ...
November 18, 2024
โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดรับสมัครนักเรียนระดับบ้านสาธิตปฐมวัยและระดับปฐมวัย (อนุบาล 1) ปีการศึกษา ...
November 13, 2024
มรภ.สงขลา นำผลงานนวัตกรรม นศ.เกษตร “เครื่องหยอดเมล็ดข้าว-กิมจิเห็ดนางฟ้า-ข้าวเกรียบเห็ดรสกิมจิ” ถ่ายทอดสู่ชุมชน
November 11, 2024