งานบุญประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ ปี4 ในนามของสมาพันธ์จิตอาสาชาวใต้ ที่มี ดร.เกล้าสรวง สุพงษ์ธร เป็นประธาน /และเป็นประธานฝ่ายศาสนพิธีการแห่ผ้าขึ้นธาตุ ได้จัดขึ้นอย่างเรียบง่าย แต่ถือว่าสมบูรณ์แบบ และถูกค้องตามโบราณประเพณีปฏิบัติ ทุกคนที่เข้าร่วมมีความสุขใจและอิ่มในกุศลผลบุญที่ได้ทำ
ปีนี้ถือเป็นปีที่ 841 ของการแห่ผ้าขึ้นศาลที่ชาวนครศรีธรรมราชปฏิบัติสืบเนื่องกันมา และถือเป็นปีที่ 4 ของ “คนใต้พลัดถิ่น” ที่จัดร่วมกันมา โดยปีนี้ยังมีกิจกรรมเสริมเพิ่มขึ้นจากเดิมด้วย
โดยเวลา 10.30 น.ผ้าพระบฏถูกแห่มาจากกรุงเทพโดยสายการบิน ถึงสนามบินนครศรีธรรมราช /มีพิธีรับผ้าพระบฏ
จากนั้นแห่ผ้าพระบฏไปยังวัดอินทคีรี อ.พรหมคีรี เพื่อทำพิธีบวงสรวง /ซึ่งในวัดอินทคีรี ยังมีพิธีเสริมด้วยการทอดผ้าป่าด้วย เพื่อนำรายได้ไปสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ ที่หลังเก่าโดยไฟไหม้หมด ทางวัดกำลังสร้างหลังใหม่ขึ้นมาแทนบนที่เดิม
หลังจากนั้นก็แห่ผ้าพระบฏไปไว้ที่จวนผู้ว่าฯ เพื่อเตรียมความพร้อมในการนำผ้าพระบฏไปถวายพระเจ้าศรีธรรมโศกราชในตอนเย็น-ค่ำ
เวลา 16.00 น. คณะแรลลี่แห่ผ้าขึ้นธาตุ ที่มี พล.ต.อ.สุนทร ซ้ายขวัญ นายกสมาคมชาวปักษ์ใต้ในพระบรมราชูปถัมภ์ ดร.เกล้าสรวง สุพงษ์ธร ดร.ประวิทย์ ใจก้าว เป็นผู้หลักผู้ใหญ่เข้าร่วมพิธีพร้อมกันที่จวนผู้ว่าฯ
จนเวลา 18.00 น. นายจำเริญ ทิพยพงศ์ธาดา ผู้ว่าฯ นครศรีธรรมราช พร้อมด้วยนายกเหล่ากาชาดเดินทางมาถึง นำหน้าขบวนแห่ผ้าพระบฏ 9 ผืนไปยังสวนศรีธรรมโศกราช เพื่อถวายผ้าพระบฏต่อพระเจ้าศรีธรรมโศกราช
พิธีอันศักดิ์สิทธิ์ในการถวายผ้าพระบฏเริ่มขึ้น ผ้าพระบทถูกทยอยนำขึ้นไปถวายพระเจ้าศรีธรรมโศกราช โดยผืนใหญ่ผืนแรก ท่านผู้ว่าฯ เป็นคนอัญเชิญขึ้นไปถวาย
หลังจากผ้าพระบฏทั้ง 9 ผืนได้นำถวายต่อพระเจ้าศรีธรรมโศกราชแล้ว มีการจัดรำถวายของเหล่านางฟ้าต่อพระเจ้าศรีธรรมโศกราชด้วย /ส่วนเหล่าประชาชนก็นำดอกบัวไปถวายพระเจ้าศรีธรรมโศกราชด้วย
นี่คือพิธีอันศักดิ์สิทธิ์บนดินแดนอันศักดิ์สิทธิ์เพื่อให้ผ้าพระบฏเป็นผ้าของเจ้าเมือง นำไปห่มพระบรมธาตุ
เช้าของวันที่ 11 กุมภาพันธ์ คณะแรลลี่แห่ผ้าขึ้นธาตุ พร้อมที่จวนผู้ว่าฯ อีกครั้งเพื่อแห่ผ้าพระบฏไปห่มพระบรมธาตุตามประเพณี โดยขบวนแห่ผ่านไปตามถนนราชดำเนิน ท่ามกลางน้ำมนต์จากฟ้าชุ่มฉ่ำใจ แต่เมื่อขบวนผ้าพระบฏเข้าไปภายในวัดพระบรมธาตุ ฝนก็หยุดตกครับ ทำให้พิธีแห่ผ้าขึ้นห่มพระธาตุเป็นไปด้วยความเรียบร้อย สมบูรณ์ และทีความศักดิ์สิทธิ์ เคร่งขรึม ถูกต้องตามประเพณีทุกประการ
สำหรับงานบุญประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ หรือมาฆบูชาแห่ผ้าขึ้นธาตุ งานบุญใหญ่ เที่ยวสุขใจที่เมืองนคร โดยจังหวัดนครศรีธรรมราชจับมือ ททท. จัดงาน “มาฆบูชาแห่ผ้าขึ้นธาตุ” ปี 2560 ระหว่างวันที่ 7-11 ก.พ. 60 ณ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร และ สนามหน้าเมือง ภายในงานมีกิจกรรมสำคัญ อาทิ การกวนข้าวมธุปยาสยาคูณ การสมโภชผ้าพระบฏ และขบวนแห่ผ้าพระบฏพระในวันที่ 11 ก.พ. 60
งานประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นอีกหนึ่งงานบุญใหญ่ที่พุทธศาสนิกชนไม่ควรพลาด ด้วยพลังแห่งความเชื่อความศรัทธาหนึ่งเดียวในสยามบนดินแดนแห่งอารยธรรม และแผ่นดินที่ศักดิ์สิทธิ์ นาม “นครศรีธรรมราช”
สำหรับงาน “มาฆบูชาแห่ผ้าขึ้นธาตุ” ประจำปี พ.ศ.2560 กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 7-11 กุมภาพันธ์ 2560 ณ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร และสนามหน้าเมืองซึ่งถือกันว่าเป็นหนึ่งกิจกรรมมหากุศลที่ชาวพุทธพึงได้บำเพ็ญครั้งหนึ่งในชีวิตเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตและเป็นการสักการะองค์สัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างใกล้ชิด
“มาฆบูชาแห่ผ้าขึ้นธาตุ” งานบุญใหญ่ เที่ยวสุขใจที่เมืองนคร
ภายในงานประกอบด้วยกิจกรรมที่สำคัญได้แก่ การสมโภชผ้าพระบฎ การกวนข้าวมธุปยาสยาคูณวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร วัดบุญนารอบ วัดศาลามีชัย ในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2560 และกิจกรรมกวนข้าวสิบสองราศี สิบสองกระทะ ณ ตลาดริมน้ำเมืองลิกอร์ สนามหน้าเมืองพร้อมขบวนแห่ผ้าพระบฏพระในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 15.00 น. จากสนามหน้าเมือง – วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร
นายจำเริญ ทิพญพงค์ธาดา ผู้ว่าฯนครศรีธรรมราช กล่าวว่า นครศรีธรรมราช เป็นเมืองเก่าแก่ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 1,800 ปี และมีความสำคัญทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ศาสนา มายาวนานตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันเป็นนครที่ตั้งอยู่ บนความเหมาะเจาะของความรุ่งเรืองทางการค้าที่มาบรรจบกับความรุ่งโรจน์แห่งธรรม ก่อเกิดเอกลักษณ์มากมาย ทั้งเมือง วัฒนธรรม ทั้งทางธรรมชาติที่น่าหลงใหล คำว่านครศรีธรรมราช หมายถึงนครอันงามสง่าแห่งพระราชผู้ทรงธรรม มีวัฒนธรรมและประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์มีพระบรมธาตุเจดีย์เป็นศูนย์รวมจิตใจของพุทธศาสนิกชนทุกหมู่เหล่า และทุกภาคส่วนต่างภูมิใจร่วมผลักดัน “พระบรมธาตุ สู่มรดกโลก” งานประเพณี “มาฆบูชาแห่ผ้าขึ้นธาตุ” ถือเป็นงานบุญที่สำคัญอีกงานหนึ่งที่มีการสืบสานประเพณีวัฒนธรรมจัดต่อเนื่องมายาวนานชาวเมืองนครศรีธรรมราช ได้สืบสานและพัฒนางานประเพณีมาฆบูชาแห่ผ้าขึ้นธาตุเป็นลำดับเพื่อให้ได้รับการยอมรับให้เป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาโลก
ด้านนายชาญชัย ดวงจิตต์ ผู้อำนวยการฝ่ายภูมิภาคภาคใต้ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กล่าวเพิ่มเติมว่า งานประเพณีนครศรีธรรมราชเป็น 1 ใน 12 เมืองต้องห้ามพลาด…พลัส งานมาฆบูชาแห่ผ้าขึ้นธาตุ เป็นเอกลักษณ์ของชาวนครศรีธรรมราชประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ… ที่เมืองนคร กิจกรรมที่พุทธศาสนิกชนไม่ควรพลาด
ทั้งนี้ผู้สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานนครศรีธรรมราช (พื้นที่รับผิดชอบนครศรีธรรมราช, พัทลุง) โทร. 0-7534-6515-6
กล่าวสำหรับงานประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุนั้น ประเพณีผ้าขึ้นธาตุ หมายถึง การนำผ้าผืนยาวขึ้นไปห่มองค์พระบรมธาตุเจดีย์ในวันสำคัญทางศาสนา ชาวนครได้ร่วมมือร่วมใจกันบริจาคเงินตามกำลังศรัทธานำเงินที่ได้ไปซื้อผ้ามาเย็บต่อกันเป็นแถวยาวนับพันหลา แล้วจัดเป็นขบวนแห่ผ้าขึ้นห่มพระบรมธาตุเจดีย์ ผ้าที่ขึ้นไปห่มองค์พระบรมธาตุเจดีย์เรียกว่า “ผ้าพระบฎ” (หรือ พระบต) นิยมใช้สีขาว สีเหลือง สีแดง สำหรับผ้าสีขาวนิยมเขียนภาพเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธประวัติตั้งแต่ประสูติ เสด็จออกบรรพชา ตรัสรู้ ปฐมเทศนา และปรินิพพาน ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุเป็นเอกลักษณ์ประจำเมืองนครศรีธรรมราช แก่นแท้อยู่ที่การบูชาพระพุทธเจ้าอย่างใกล้ชิด โดยใช้องค์พระบรมธาตุเจดีย์เป็นตัวแทน
ตามตำนานประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุมีว่า ในสมัยที่พระเจ้าสามพี่น้อง คือ พระเจ้าศรีธรรมโศกราช พระเจ้าจันทรภาณุ และพระเจ้าพงษาสุระ กำลังดำเนินการสมโภชพระบรมธาตุอยู่นั้น คลื่นได้ซัดผ้าแถบยาวชิ้นหนึ่ง ซึ่งมีลายเขียนเรื่องราวพุทธประวัติ (เรียกว่า พระบฎ หรือ พระบต) ขึ้นที่ชายหาดปากพนัง จึงนำผ้าผืนนั้นไปถวายพระเจ้าศรีธรรมโศกราช พระองค์จึงรับสั่งให้ซักจนสะอาด แต่ลายเขียนพุทธประวัติก็ไม่ลบเลือนยังคงสมบูรณ์ดีทุกประการ จึงรับสั่งให้ประกาศหาเจ้าของ ได้ความว่าชาวพุทธกลุ่มหนึ่ง จะเดินทางไปลังกา เพื่อนำพระบฎไปถวายเป็นพุทธบูชาพระทันตธาตุ คือ พระเขี้ยวแก้ว แต่เรือถูกมรสุมซัดแตกที่ชายฝั่งเมืองนครมีรอดชีวิต 10 คน ส่วนพระบฏถูกคลื่นซัดขึ้นฝั่งปากพนัง พระเจ้าศรีธรรมโศกราชทรงพิจารณาเห็นว่าควรจะนำขึ้นไปห่มพระบรมธาตุเจดีย์เนื่องในโอกาสสมโภชพระบรมธาตุ เจ้าของพระบฎที่รอดชีวิตก็ยินดีด้วย จึงโปรดให้ชาวเมืองนครจัดเครื่องประโคมแห่แหนผ้าห่มโอบฐานพระบรมธาตุเจดีย์ จึงเป็นประเพณีประจำเมืองนครสืบมาจนทุกวันนี้
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้มีการแห่ผ้าขึ้นธาตุในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 คือ วันวิสาขบูชา เรียกว่า “แห่พระบฎขึ้นธาตุ” มีการเวียนเทียนรอบองค์พระบรมธาตุ ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดให้มีการแห่ผ้าขึ้นธาตุ ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 คือ วันมาฆบูชา เพื่อให้พุทธศาสนิกชนที่อยู่ห่างไกลหรือไม่มีโอกาสกระทำพุทธบูชาในวันวิสาขบูชาได้มีโอกาสแห่ผ้าขึ้นธาตุในวันมาฆบูชาตามศรัทธาด้วย ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุของเมืองนครจึงมีปีละ 2 ครั้ง คือ ในวันเพ็ญเดือน 3 (วันมาฆบูชา) และในวันเพ็ญเดือน 6 (วันวิสาขบูชา) สืบมาจนทุกวันนี้
เดิมการแห่ผ้าขึ้นธาตุกระทำกันโดยพร้อมเพรียงเป็นขบวนที่เอิกเกริกเพียงขบวนเดียว ต่อมาประชาชนมาจากหลายทิศหลายทาง แต่ละคนต่างเตรียมผ้ามาเองทำให้การแห่ผ้าขึ้นธาตุไม่พร้อมเพรียงเป็นขบวนเดียวกัน เพราะใครจะแห่ผ้าขึ้นธาตุในเวลาใดก็ได้ตามสะดวกตลอดทั้งวัน เมื่อขบวนแห่มาถึงวัดพระบรมธาตุวรมหาวิหาร ก็แห่ทักษิณาวัตรรอบองค์พระบรมธาตุเจดีย์ 3 รอบ แล้วนำผ้าเข้าสู่วิหารม้า ซึ่งมีบันไดขึ้นสู่ลานภายในกำแพงแก้วล้อมฐานพระบรมธาตุเจดีย์ เพื่อนำผ้าขึ้นห่มโอบฐานพระบรมธาตุเจดีย์ซึ่งบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ถือว่าเป็นการบูชาพระพุทธเจ้าอย่างใกล้ชิด.
เว็บไซต์ Bankaonews.com
November 24, 2024
November 21, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
แรลลี่แห่ผ้าขึ้นธาตุ เรียบง่าย สุขล้ำสำหรับนักบุญ
งานบุญประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ ปี4 ในนามของสมาพันธ์จิตอาสาชาวใต้ ที่มี ดร.เกล้าสรวง สุพงษ์ธร เป็นประธาน /และเป็นประธานฝ่ายศาสนพิธีการแห่ผ้าขึ้นธาตุ ได้จัดขึ้นอย่างเรียบง่าย แต่ถือว่าสมบูรณ์แบบ และถูกค้องตามโบราณประเพณีปฏิบัติ ทุกคนที่เข้าร่วมมีความสุขใจและอิ่มในกุศลผลบุญที่ได้ทำ
ปีนี้ถือเป็นปีที่ 841 ของการแห่ผ้าขึ้นศาลที่ชาวนครศรีธรรมราชปฏิบัติสืบเนื่องกันมา และถือเป็นปีที่ 4 ของ “คนใต้พลัดถิ่น” ที่จัดร่วมกันมา โดยปีนี้ยังมีกิจกรรมเสริมเพิ่มขึ้นจากเดิมด้วย
โดยเวลา 10.30 น.ผ้าพระบฏถูกแห่มาจากกรุงเทพโดยสายการบิน ถึงสนามบินนครศรีธรรมราช /มีพิธีรับผ้าพระบฏ
จากนั้นแห่ผ้าพระบฏไปยังวัดอินทคีรี อ.พรหมคีรี เพื่อทำพิธีบวงสรวง /ซึ่งในวัดอินทคีรี ยังมีพิธีเสริมด้วยการทอดผ้าป่าด้วย เพื่อนำรายได้ไปสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ ที่หลังเก่าโดยไฟไหม้หมด ทางวัดกำลังสร้างหลังใหม่ขึ้นมาแทนบนที่เดิม
หลังจากนั้นก็แห่ผ้าพระบฏไปไว้ที่จวนผู้ว่าฯ เพื่อเตรียมความพร้อมในการนำผ้าพระบฏไปถวายพระเจ้าศรีธรรมโศกราชในตอนเย็น-ค่ำ
เวลา 16.00 น. คณะแรลลี่แห่ผ้าขึ้นธาตุ ที่มี พล.ต.อ.สุนทร ซ้ายขวัญ นายกสมาคมชาวปักษ์ใต้ในพระบรมราชูปถัมภ์ ดร.เกล้าสรวง สุพงษ์ธร ดร.ประวิทย์ ใจก้าว เป็นผู้หลักผู้ใหญ่เข้าร่วมพิธีพร้อมกันที่จวนผู้ว่าฯ
จนเวลา 18.00 น. นายจำเริญ ทิพยพงศ์ธาดา ผู้ว่าฯ นครศรีธรรมราช พร้อมด้วยนายกเหล่ากาชาดเดินทางมาถึง นำหน้าขบวนแห่ผ้าพระบฏ 9 ผืนไปยังสวนศรีธรรมโศกราช เพื่อถวายผ้าพระบฏต่อพระเจ้าศรีธรรมโศกราช
พิธีอันศักดิ์สิทธิ์ในการถวายผ้าพระบฏเริ่มขึ้น ผ้าพระบทถูกทยอยนำขึ้นไปถวายพระเจ้าศรีธรรมโศกราช โดยผืนใหญ่ผืนแรก ท่านผู้ว่าฯ เป็นคนอัญเชิญขึ้นไปถวาย
หลังจากผ้าพระบฏทั้ง 9 ผืนได้นำถวายต่อพระเจ้าศรีธรรมโศกราชแล้ว มีการจัดรำถวายของเหล่านางฟ้าต่อพระเจ้าศรีธรรมโศกราชด้วย /ส่วนเหล่าประชาชนก็นำดอกบัวไปถวายพระเจ้าศรีธรรมโศกราชด้วย
นี่คือพิธีอันศักดิ์สิทธิ์บนดินแดนอันศักดิ์สิทธิ์เพื่อให้ผ้าพระบฏเป็นผ้าของเจ้าเมือง นำไปห่มพระบรมธาตุ
เช้าของวันที่ 11 กุมภาพันธ์ คณะแรลลี่แห่ผ้าขึ้นธาตุ พร้อมที่จวนผู้ว่าฯ อีกครั้งเพื่อแห่ผ้าพระบฏไปห่มพระบรมธาตุตามประเพณี โดยขบวนแห่ผ่านไปตามถนนราชดำเนิน ท่ามกลางน้ำมนต์จากฟ้าชุ่มฉ่ำใจ แต่เมื่อขบวนผ้าพระบฏเข้าไปภายในวัดพระบรมธาตุ ฝนก็หยุดตกครับ ทำให้พิธีแห่ผ้าขึ้นห่มพระธาตุเป็นไปด้วยความเรียบร้อย สมบูรณ์ และทีความศักดิ์สิทธิ์ เคร่งขรึม ถูกต้องตามประเพณีทุกประการ
สำหรับงานบุญประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ หรือมาฆบูชาแห่ผ้าขึ้นธาตุ งานบุญใหญ่ เที่ยวสุขใจที่เมืองนคร โดยจังหวัดนครศรีธรรมราชจับมือ ททท. จัดงาน “มาฆบูชาแห่ผ้าขึ้นธาตุ” ปี 2560 ระหว่างวันที่ 7-11 ก.พ. 60 ณ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร และ สนามหน้าเมือง ภายในงานมีกิจกรรมสำคัญ อาทิ การกวนข้าวมธุปยาสยาคูณ การสมโภชผ้าพระบฏ และขบวนแห่ผ้าพระบฏพระในวันที่ 11 ก.พ. 60
งานประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นอีกหนึ่งงานบุญใหญ่ที่พุทธศาสนิกชนไม่ควรพลาด ด้วยพลังแห่งความเชื่อความศรัทธาหนึ่งเดียวในสยามบนดินแดนแห่งอารยธรรม และแผ่นดินที่ศักดิ์สิทธิ์ นาม “นครศรีธรรมราช”
สำหรับงาน “มาฆบูชาแห่ผ้าขึ้นธาตุ” ประจำปี พ.ศ.2560 กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 7-11 กุมภาพันธ์ 2560 ณ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร และสนามหน้าเมืองซึ่งถือกันว่าเป็นหนึ่งกิจกรรมมหากุศลที่ชาวพุทธพึงได้บำเพ็ญครั้งหนึ่งในชีวิตเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตและเป็นการสักการะองค์สัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างใกล้ชิด
“มาฆบูชาแห่ผ้าขึ้นธาตุ” งานบุญใหญ่ เที่ยวสุขใจที่เมืองนคร
ภายในงานประกอบด้วยกิจกรรมที่สำคัญได้แก่ การสมโภชผ้าพระบฎ การกวนข้าวมธุปยาสยาคูณวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร วัดบุญนารอบ วัดศาลามีชัย ในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2560 และกิจกรรมกวนข้าวสิบสองราศี สิบสองกระทะ ณ ตลาดริมน้ำเมืองลิกอร์ สนามหน้าเมืองพร้อมขบวนแห่ผ้าพระบฏพระในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 15.00 น. จากสนามหน้าเมือง – วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร
นายจำเริญ ทิพญพงค์ธาดา ผู้ว่าฯนครศรีธรรมราช กล่าวว่า นครศรีธรรมราช เป็นเมืองเก่าแก่ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 1,800 ปี และมีความสำคัญทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ศาสนา มายาวนานตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันเป็นนครที่ตั้งอยู่ บนความเหมาะเจาะของความรุ่งเรืองทางการค้าที่มาบรรจบกับความรุ่งโรจน์แห่งธรรม ก่อเกิดเอกลักษณ์มากมาย ทั้งเมือง วัฒนธรรม ทั้งทางธรรมชาติที่น่าหลงใหล คำว่านครศรีธรรมราช หมายถึงนครอันงามสง่าแห่งพระราชผู้ทรงธรรม มีวัฒนธรรมและประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์มีพระบรมธาตุเจดีย์เป็นศูนย์รวมจิตใจของพุทธศาสนิกชนทุกหมู่เหล่า และทุกภาคส่วนต่างภูมิใจร่วมผลักดัน “พระบรมธาตุ สู่มรดกโลก” งานประเพณี “มาฆบูชาแห่ผ้าขึ้นธาตุ” ถือเป็นงานบุญที่สำคัญอีกงานหนึ่งที่มีการสืบสานประเพณีวัฒนธรรมจัดต่อเนื่องมายาวนานชาวเมืองนครศรีธรรมราช ได้สืบสานและพัฒนางานประเพณีมาฆบูชาแห่ผ้าขึ้นธาตุเป็นลำดับเพื่อให้ได้รับการยอมรับให้เป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาโลก
ด้านนายชาญชัย ดวงจิตต์ ผู้อำนวยการฝ่ายภูมิภาคภาคใต้ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กล่าวเพิ่มเติมว่า งานประเพณีนครศรีธรรมราชเป็น 1 ใน 12 เมืองต้องห้ามพลาด…พลัส งานมาฆบูชาแห่ผ้าขึ้นธาตุ เป็นเอกลักษณ์ของชาวนครศรีธรรมราชประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ… ที่เมืองนคร กิจกรรมที่พุทธศาสนิกชนไม่ควรพลาด
ทั้งนี้ผู้สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานนครศรีธรรมราช (พื้นที่รับผิดชอบนครศรีธรรมราช, พัทลุง) โทร. 0-7534-6515-6
กล่าวสำหรับงานประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุนั้น ประเพณีผ้าขึ้นธาตุ หมายถึง การนำผ้าผืนยาวขึ้นไปห่มองค์พระบรมธาตุเจดีย์ในวันสำคัญทางศาสนา ชาวนครได้ร่วมมือร่วมใจกันบริจาคเงินตามกำลังศรัทธานำเงินที่ได้ไปซื้อผ้ามาเย็บต่อกันเป็นแถวยาวนับพันหลา แล้วจัดเป็นขบวนแห่ผ้าขึ้นห่มพระบรมธาตุเจดีย์ ผ้าที่ขึ้นไปห่มองค์พระบรมธาตุเจดีย์เรียกว่า “ผ้าพระบฎ” (หรือ พระบต) นิยมใช้สีขาว สีเหลือง สีแดง สำหรับผ้าสีขาวนิยมเขียนภาพเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธประวัติตั้งแต่ประสูติ เสด็จออกบรรพชา ตรัสรู้ ปฐมเทศนา และปรินิพพาน ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุเป็นเอกลักษณ์ประจำเมืองนครศรีธรรมราช แก่นแท้อยู่ที่การบูชาพระพุทธเจ้าอย่างใกล้ชิด โดยใช้องค์พระบรมธาตุเจดีย์เป็นตัวแทน
ตามตำนานประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุมีว่า ในสมัยที่พระเจ้าสามพี่น้อง คือ พระเจ้าศรีธรรมโศกราช พระเจ้าจันทรภาณุ และพระเจ้าพงษาสุระ กำลังดำเนินการสมโภชพระบรมธาตุอยู่นั้น คลื่นได้ซัดผ้าแถบยาวชิ้นหนึ่ง ซึ่งมีลายเขียนเรื่องราวพุทธประวัติ (เรียกว่า พระบฎ หรือ พระบต) ขึ้นที่ชายหาดปากพนัง จึงนำผ้าผืนนั้นไปถวายพระเจ้าศรีธรรมโศกราช พระองค์จึงรับสั่งให้ซักจนสะอาด แต่ลายเขียนพุทธประวัติก็ไม่ลบเลือนยังคงสมบูรณ์ดีทุกประการ จึงรับสั่งให้ประกาศหาเจ้าของ ได้ความว่าชาวพุทธกลุ่มหนึ่ง จะเดินทางไปลังกา เพื่อนำพระบฎไปถวายเป็นพุทธบูชาพระทันตธาตุ คือ พระเขี้ยวแก้ว แต่เรือถูกมรสุมซัดแตกที่ชายฝั่งเมืองนครมีรอดชีวิต 10 คน ส่วนพระบฏถูกคลื่นซัดขึ้นฝั่งปากพนัง พระเจ้าศรีธรรมโศกราชทรงพิจารณาเห็นว่าควรจะนำขึ้นไปห่มพระบรมธาตุเจดีย์เนื่องในโอกาสสมโภชพระบรมธาตุ เจ้าของพระบฎที่รอดชีวิตก็ยินดีด้วย จึงโปรดให้ชาวเมืองนครจัดเครื่องประโคมแห่แหนผ้าห่มโอบฐานพระบรมธาตุเจดีย์ จึงเป็นประเพณีประจำเมืองนครสืบมาจนทุกวันนี้
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้มีการแห่ผ้าขึ้นธาตุในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 คือ วันวิสาขบูชา เรียกว่า “แห่พระบฎขึ้นธาตุ” มีการเวียนเทียนรอบองค์พระบรมธาตุ ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดให้มีการแห่ผ้าขึ้นธาตุ ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 คือ วันมาฆบูชา เพื่อให้พุทธศาสนิกชนที่อยู่ห่างไกลหรือไม่มีโอกาสกระทำพุทธบูชาในวันวิสาขบูชาได้มีโอกาสแห่ผ้าขึ้นธาตุในวันมาฆบูชาตามศรัทธาด้วย ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุของเมืองนครจึงมีปีละ 2 ครั้ง คือ ในวันเพ็ญเดือน 3 (วันมาฆบูชา) และในวันเพ็ญเดือน 6 (วันวิสาขบูชา) สืบมาจนทุกวันนี้
เดิมการแห่ผ้าขึ้นธาตุกระทำกันโดยพร้อมเพรียงเป็นขบวนที่เอิกเกริกเพียงขบวนเดียว ต่อมาประชาชนมาจากหลายทิศหลายทาง แต่ละคนต่างเตรียมผ้ามาเองทำให้การแห่ผ้าขึ้นธาตุไม่พร้อมเพรียงเป็นขบวนเดียวกัน เพราะใครจะแห่ผ้าขึ้นธาตุในเวลาใดก็ได้ตามสะดวกตลอดทั้งวัน เมื่อขบวนแห่มาถึงวัดพระบรมธาตุวรมหาวิหาร ก็แห่ทักษิณาวัตรรอบองค์พระบรมธาตุเจดีย์ 3 รอบ แล้วนำผ้าเข้าสู่วิหารม้า ซึ่งมีบันไดขึ้นสู่ลานภายในกำแพงแก้วล้อมฐานพระบรมธาตุเจดีย์ เพื่อนำผ้าขึ้นห่มโอบฐานพระบรมธาตุเจดีย์ซึ่งบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ถือว่าเป็นการบูชาพระพุทธเจ้าอย่างใกล้ชิด.
เว็บไซต์ Bankaonews.com
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลภาคที่ 2 ช่วยเหลือเหตุเรืออับปางในทะเล บริเวณทางทิศตะวันออกของร่องน้ำสงขลา
November 24, 2024
JUBILEE DIAMOND ฉลองครบรอบ 95 ปี เปิดบ้าน THE ...
November 24, 2024
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมสืบสานประเพณีลอยกระทง สร้างความสุขทั่วอำเภอขนอม
November 21, 2024
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมส่งเสริมสุขภาพชุมชน สนับสนุนอบรม อสม.ใหม่/ทดแทน
November 21, 2024