สวัสดีค่ะ ดิฉันชื่อ นางสาวสุนทรียา ลาสสวัสดิ์ ชื่อเล่น “น้ำเพชร” นักศึกษาชั้นปีที่ 2 โปรแกรมวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ละสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา)
คำว่า ราชภัฏ แปลว่า “คนของพระราชา ข้าของแผ่นดิน” ความหมายอันตราตรึงใจของชื่อสถาบันการศึกษานี้ หากตระหนักและพิจารณาอย่างลึกซึ้ง จะเห็นถึงนัยยะสำคัญและภาระหน้าที่อันยิ่งใหญ่ในภายภาคหน้า สิ่งที่ต้องคิดคือทำตัวอย่างไรให้เหมาะสมกับประโยค “คนของพระราชา” และพร้อมหรือยังกับการเตรียมตัวรับใช้ “แผ่นดินบ้านเกิด” แม้อาจไม่ใช่มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงโด่งดังในฝันของใครหลายคน แต่ที่แห่งนี้คือความภาคภูมิใจ และเป็นเกียรติยิ่งใหญ่ของเด็กราชภัฏทั่วประเทศ
“อยู่ที่ไหนก็ได้ แต่ให้เป็นคนเก่งของที่นั่น” จากคำพูดของ อ.วินัย จันทร์พริ้ม ผู้สอนวิชาศิลปะการพูดและการฟัง เมื่อตอนสมัยเรียนปีหนึ่ง เทอมสอง ยังคงจดจำมาตลอดจนถึงตอนนี้ เหมือนเป็นเครื่องเตือนใจเตือนสติให้ตระหนักในหน้าที่นักศึกษารั้วขาว-แดง และเป็นเครื่องยืนยันว่า “เราคิดไม่ผิดที่เลือกสถาบันการศึกษาแห่งนี้ เป็นแหล่งสานฝัน”
หลายคนคงเคยคิดว่าชีวิตมหา’ลัยคงจะโดดเดี่ยวใช่ไหม? เมื่อก่อนก็เคยคิดแบบนั้นเหมือนกัน แต่หลังจากเหยียบเข้ารั้ว มรภ.สงขลา ทำให้ทัศนคตินี้หายไป อย่างแรกนับตั้งแต่โทรมาสอบถามรายละเอียดต่างๆ ที่นี่ให้ข้อมูลดีมาก ไม่ขึ้นเสียง ไม่ใส่อารมณ์ คงเข้าใจความรู้สึกแรกของเด็ก ม.6 ที่ยังเคว้งคว้างหาที่เรียนไม่ได้กันนะ มันทำให้อุ่นใจ ความกลัวก็หายไปครึ่งหนึ่งแล้ว หลังจากนั้นคือการเข้าสู่ชีวิตมหา’ลัยอย่างเต็มรูปแบบ ด้วยความเป็นเด็กชุมพรมาไกลมากสำหรับการดั้นด้นมาเรียนถึงสงขลา โดยไม่ได้มีการวางแผน ไม่รู้จักพื้นที่ ไม่รู้จักเส้นทาง และไม่รู้จักใครเลยในมหา’ลัย ทุกอย่างเป็นเหมือนความฝันช่างดูลางเลือน และเลื่อนลอยในตอนนั้น
แต่ที่นี่เหมือนไม่ใช่รั้วมหาวิทยาลัย มันเป็นรั้วของครอบครัวใหญ่ เปรียบเหมือนบ้านหลังที่สองเสียมากกว่า พวกเราอยู่กันแบบระบบครอบครัว ความอบอุ่นนั้นสามารถเอาชนะความกลัวและความว้าเหว่ในใจลงได้ เพราะไม่ว่าจะเดินไปตรงไหนในรั้วมหา’ลัย ก็มีอาจารย์ที่เปรียบเหมือนเป็นพ่อแม่ คอยประคบประหงมดั่งไข่ในหิน แม้บางทีท่านจะเห็นพวกเราเป็นกระท้อนที่ยิ่งทุบก็ยิ่งหวาน นอกจากนี้ ก็มีรุ่นพี่รุ่นน้องที่ปรึกษากันได้ มีเพื่อนรุ่นเดียวกันที่พากันก้าวผ่านอุปสรรคต่างๆ และยิ่งบุคลากรในมหาลัยก็เหมือน คุณป้า น้า อา ในครอบครัว ที่อาจจะดุไปบ้าง แต่ก็เห็นพวกเราเหมือนลูกหลานของท่านคนหนึ่ง การปลูกฝังให้รักสามัคคีกันนั้นเป็นเรื่องสำคัญ ที่สัมผัสได้ตั้งแต่เริ่มเปิดใจในรั้วนี้ทันที
ประสบการณ์ดีๆ อีกอย่างหนึ่ง คือการเป็นเด็กหอพักในมหาวิทยาลัยตลอดหนึ่งปีเต็ม ตอนศึกษาชั้นปีที่ 1 เป็นความน่ารักของคนต่างที่มา ต่างภาษา เด็กหอในเรียกจะตัวเองว่า “เด็กในวัง” นั่นหมายถึงความใส่ใจ การดูแลที่ค่อนข้างพิเศษ เพราะเป็นหอมหา’ลัยที่มีกฎระเบียบที่เฉียบขาด เวลาเป็นเวลา ยิ่งกว่าบ้านบางหลังเสียอีก หลายคนที่ออกไปอยู่ที่อื่นในภายหลัง ด้วยเหตุผลและปัจจัยต่างๆ คงไม่ปฏิเสธว่าความทรงจำที่ดีที่สุดในหอพักนี้คือ “มิตรภาพ” เคยเสียน้ำตาเวลาพี่ดุ เคยยิ้มหัวเราะเสียงดัง จนอาจารย์หอต้องออกมาตักเตือน ใครว่าในมหา’ลัยจะหาเพื่อนแท้ไม่ได้ ในหอในนี่แหละมีเพื่อนที่เรียกว่า “เพื่อนมาม่าร่วมสาบาน” เราไม่ได้อยู่กันอย่างสบาย มีหน้าที่ที่ต้องทำ และกิจกรรมที่ต้องเข้าร่วมอยู่เสมอ ทุกคนบ่นกันเป็นเรื่องปกติ แต่กลับเรียกสถานที่แห่งนี้ว่า “บ้าน” ด้วยความผูกพันในใจสำหรับครั้งหนึ่งในชีวิต
การได้เรียนในสิ่งที่ตัวเองถนัดและสนใจ นับเป็นโชคดี เพราะสิ่งที่เรียนนั้นจะต้องอยู่กับเราไปตลอดชีวิต นี่เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้เลือกเรียน เอกภาษาไทย แม้จะผิดหวังในตอนแรกที่สอบไม่ติดคณะครุศาสตร์ แต่ก็ไม่ได้เป็นปมปัญหาในใจแต่อย่างใด กลายเป็นความโชคดีเสียด้วยซ้ำที่ได้ค้นพบตัวเองในอ้อมแขนเอกภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เนื่องจากเป็นคนไม่มีความฝันที่ชัดเจนมาก่อน รู้เพียงแค่อยากเป็นข้าราชการ แต่ตอนนี้เริ่มมีความคิดมากขึ้น เพราะการเรียนภาษาไทยไม่ใช้แค่ต้องรู้ความหมายของคำ อ่านออกเขียนได้ตามหลัก และไม่ได้เรียนจบเพื่อไปเป็นครูอย่างเดียวตามที่หลายคนเข้าใจ ภาษาไทยมีความลึกซึ้ง คำทุกคำมีอารมณ์และความรู้สึกอยู่ในตัวเอง เราสามารถสัมผัสมันได้หากใช้ใจในการใช้ภาษา อาจารย์เอกภาษาไทยไม่เคยบอกให้เราต้องเป็นอย่างนั้น อย่างนี้ แต่ท่านทำให้คิดได้เองด้วยตัวเอง มีใบบอกทางให้เสมอ และพร้อมที่ที่สนับสนุนลูกศิษย์อยู่ข้างๆ สำหรับดิฉันแล้วภาษาไทยทำให้เข้าใจความรู้สึกของคนอื่นมากขึ้น แม้ไม่มีวิชานี้ในแผนการเรียน ยิ่งกว่านี้คือทำให้ได้เห็นมุมมองใหม่ๆ ในสังคมที่มีความเป็นสัจจะแท้จริง ทัศนะคติบางอย่างจึงเปลี่ยนไปตามการเรียนรู้ เช่น เมื่อก่อนเคยคิดว่าอาชีพนักเขียนเป็นอาชีพที่ไม่มั่นคง มีความเสี่ยง หลายคนก็คงจะคิดอย่างนี้ แต่การได้ศึกษางานของนักเขียนหลายท่าน กลับได้เรียนรู้ว่างานเขียนคือเครื่องมือสะท้อนสังคม และตัวตนอย่างดีเยี่ยม สำหรับดิฉันมันยิ่งใหญ่ เพราะไม่ใช่ว่าใครจะเป็นนักเขียนก็ได้ มันมีองค์ประกอบหลายอย่างที่หล่อหลอมจนกลายเป็นนักเขียนคุณภาพคนหนึ่ง เหมือนกับภาษาไทยก็เป็นมากกว่าภาษาประจำชาติ
มีคนเคยบอกว่าคนที่เรียนคณะนี้ค่อนข้าง “อินดี้ มีความเป็นตัวเองสูง” โดยเฉพาะเด็กเอกไทย ไม่แปลกใจเลยที่เพื่อนในเอกคนหนึ่งจะสะพายย่ามพระมาเรียน เพื่อนผู้หญิงเริ่มหันมาไว้ผมสั้น เพื่อนผู้ชายไว้หนวดเครารุงรังเกือบทุกคน แต่ความเป็นตัวเองของพวกเราก็ไม่เคยทำร้ายชื่อเสียงสถาบันให้ต้องหม่นหมอง และดิฉันก็เป็นคนหนึ่งที่หลายคนคิดว่า “มีโลกส่วนตัวสูง” ความจริงไม่ได้มีโลกอะไรส่วนตัว แค่ไม่ชอบตามกระแสสมัยนิยม ใช้ชีวิตเรียบง่ายตามที่มี คิดว่าเราสามารถทำอะไรก็ได้โดยไม่ทำให้ตัวเองและผู้อื่นเดือดร้อน อาจจะเกเรบ้างแต่ไม่ลืมหน้าที่ อยู่ในกฎระเบียบมหาวิทยาลัยแค่นี้ก็มีความสุขแล้ว
วิทยากรที่มาให้ความรู้เกี่ยวกับอาชีพนักเขียนท่านหนึ่งกล่าวว่า “เราสามารถบอกรัก โดยไม่ต้องใช้คำว่ารัก” ฉันเพิ่งเข้าใจความหมายของประโยคนี้อย่างลึกซึ้ง จากการเขียนบทความเรื่องราวของตัวเองในรั้ว มรภ.สงขลา ครั้งนี้นี่เอง.
November 20, 2024
November 18, 2024
November 13, 2024
November 11, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
ความภูมิใจ ในรั้วขาว-แดง “มรภ.สงขลา” ของ “น้ำเพชร” สุนทรียา ลาสสวัสดิ์
สวัสดีค่ะ ดิฉันชื่อ นางสาวสุนทรียา ลาสสวัสดิ์ ชื่อเล่น “น้ำเพชร” นักศึกษาชั้นปีที่ 2 โปรแกรมวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ละสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา)
คำว่า ราชภัฏ แปลว่า “คนของพระราชา ข้าของแผ่นดิน” ความหมายอันตราตรึงใจของชื่อสถาบันการศึกษานี้ หากตระหนักและพิจารณาอย่างลึกซึ้ง จะเห็นถึงนัยยะสำคัญและภาระหน้าที่อันยิ่งใหญ่ในภายภาคหน้า สิ่งที่ต้องคิดคือทำตัวอย่างไรให้เหมาะสมกับประโยค “คนของพระราชา” และพร้อมหรือยังกับการเตรียมตัวรับใช้ “แผ่นดินบ้านเกิด” แม้อาจไม่ใช่มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงโด่งดังในฝันของใครหลายคน แต่ที่แห่งนี้คือความภาคภูมิใจ และเป็นเกียรติยิ่งใหญ่ของเด็กราชภัฏทั่วประเทศ
“อยู่ที่ไหนก็ได้ แต่ให้เป็นคนเก่งของที่นั่น” จากคำพูดของ อ.วินัย จันทร์พริ้ม ผู้สอนวิชาศิลปะการพูดและการฟัง เมื่อตอนสมัยเรียนปีหนึ่ง เทอมสอง ยังคงจดจำมาตลอดจนถึงตอนนี้ เหมือนเป็นเครื่องเตือนใจเตือนสติให้ตระหนักในหน้าที่นักศึกษารั้วขาว-แดง และเป็นเครื่องยืนยันว่า “เราคิดไม่ผิดที่เลือกสถาบันการศึกษาแห่งนี้ เป็นแหล่งสานฝัน”
หลายคนคงเคยคิดว่าชีวิตมหา’ลัยคงจะโดดเดี่ยวใช่ไหม? เมื่อก่อนก็เคยคิดแบบนั้นเหมือนกัน แต่หลังจากเหยียบเข้ารั้ว มรภ.สงขลา ทำให้ทัศนคตินี้หายไป อย่างแรกนับตั้งแต่โทรมาสอบถามรายละเอียดต่างๆ ที่นี่ให้ข้อมูลดีมาก ไม่ขึ้นเสียง ไม่ใส่อารมณ์ คงเข้าใจความรู้สึกแรกของเด็ก ม.6 ที่ยังเคว้งคว้างหาที่เรียนไม่ได้กันนะ มันทำให้อุ่นใจ ความกลัวก็หายไปครึ่งหนึ่งแล้ว หลังจากนั้นคือการเข้าสู่ชีวิตมหา’ลัยอย่างเต็มรูปแบบ ด้วยความเป็นเด็กชุมพรมาไกลมากสำหรับการดั้นด้นมาเรียนถึงสงขลา โดยไม่ได้มีการวางแผน ไม่รู้จักพื้นที่ ไม่รู้จักเส้นทาง และไม่รู้จักใครเลยในมหา’ลัย ทุกอย่างเป็นเหมือนความฝันช่างดูลางเลือน และเลื่อนลอยในตอนนั้น
แต่ที่นี่เหมือนไม่ใช่รั้วมหาวิทยาลัย มันเป็นรั้วของครอบครัวใหญ่ เปรียบเหมือนบ้านหลังที่สองเสียมากกว่า พวกเราอยู่กันแบบระบบครอบครัว ความอบอุ่นนั้นสามารถเอาชนะความกลัวและความว้าเหว่ในใจลงได้ เพราะไม่ว่าจะเดินไปตรงไหนในรั้วมหา’ลัย ก็มีอาจารย์ที่เปรียบเหมือนเป็นพ่อแม่ คอยประคบประหงมดั่งไข่ในหิน แม้บางทีท่านจะเห็นพวกเราเป็นกระท้อนที่ยิ่งทุบก็ยิ่งหวาน นอกจากนี้ ก็มีรุ่นพี่รุ่นน้องที่ปรึกษากันได้ มีเพื่อนรุ่นเดียวกันที่พากันก้าวผ่านอุปสรรคต่างๆ และยิ่งบุคลากรในมหาลัยก็เหมือน คุณป้า น้า อา ในครอบครัว ที่อาจจะดุไปบ้าง แต่ก็เห็นพวกเราเหมือนลูกหลานของท่านคนหนึ่ง การปลูกฝังให้รักสามัคคีกันนั้นเป็นเรื่องสำคัญ ที่สัมผัสได้ตั้งแต่เริ่มเปิดใจในรั้วนี้ทันที
ประสบการณ์ดีๆ อีกอย่างหนึ่ง คือการเป็นเด็กหอพักในมหาวิทยาลัยตลอดหนึ่งปีเต็ม ตอนศึกษาชั้นปีที่ 1 เป็นความน่ารักของคนต่างที่มา ต่างภาษา เด็กหอในเรียกจะตัวเองว่า “เด็กในวัง” นั่นหมายถึงความใส่ใจ การดูแลที่ค่อนข้างพิเศษ เพราะเป็นหอมหา’ลัยที่มีกฎระเบียบที่เฉียบขาด เวลาเป็นเวลา ยิ่งกว่าบ้านบางหลังเสียอีก หลายคนที่ออกไปอยู่ที่อื่นในภายหลัง ด้วยเหตุผลและปัจจัยต่างๆ คงไม่ปฏิเสธว่าความทรงจำที่ดีที่สุดในหอพักนี้คือ “มิตรภาพ” เคยเสียน้ำตาเวลาพี่ดุ เคยยิ้มหัวเราะเสียงดัง จนอาจารย์หอต้องออกมาตักเตือน ใครว่าในมหา’ลัยจะหาเพื่อนแท้ไม่ได้ ในหอในนี่แหละมีเพื่อนที่เรียกว่า “เพื่อนมาม่าร่วมสาบาน” เราไม่ได้อยู่กันอย่างสบาย มีหน้าที่ที่ต้องทำ และกิจกรรมที่ต้องเข้าร่วมอยู่เสมอ ทุกคนบ่นกันเป็นเรื่องปกติ แต่กลับเรียกสถานที่แห่งนี้ว่า “บ้าน” ด้วยความผูกพันในใจสำหรับครั้งหนึ่งในชีวิต
การได้เรียนในสิ่งที่ตัวเองถนัดและสนใจ นับเป็นโชคดี เพราะสิ่งที่เรียนนั้นจะต้องอยู่กับเราไปตลอดชีวิต นี่เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้เลือกเรียน เอกภาษาไทย แม้จะผิดหวังในตอนแรกที่สอบไม่ติดคณะครุศาสตร์ แต่ก็ไม่ได้เป็นปมปัญหาในใจแต่อย่างใด กลายเป็นความโชคดีเสียด้วยซ้ำที่ได้ค้นพบตัวเองในอ้อมแขนเอกภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เนื่องจากเป็นคนไม่มีความฝันที่ชัดเจนมาก่อน รู้เพียงแค่อยากเป็นข้าราชการ แต่ตอนนี้เริ่มมีความคิดมากขึ้น เพราะการเรียนภาษาไทยไม่ใช้แค่ต้องรู้ความหมายของคำ อ่านออกเขียนได้ตามหลัก และไม่ได้เรียนจบเพื่อไปเป็นครูอย่างเดียวตามที่หลายคนเข้าใจ ภาษาไทยมีความลึกซึ้ง คำทุกคำมีอารมณ์และความรู้สึกอยู่ในตัวเอง เราสามารถสัมผัสมันได้หากใช้ใจในการใช้ภาษา อาจารย์เอกภาษาไทยไม่เคยบอกให้เราต้องเป็นอย่างนั้น อย่างนี้ แต่ท่านทำให้คิดได้เองด้วยตัวเอง มีใบบอกทางให้เสมอ และพร้อมที่ที่สนับสนุนลูกศิษย์อยู่ข้างๆ
สำหรับดิฉันแล้วภาษาไทยทำให้เข้าใจความรู้สึกของคนอื่นมากขึ้น แม้ไม่มีวิชานี้ในแผนการเรียน ยิ่งกว่านี้คือทำให้ได้เห็นมุมมองใหม่ๆ ในสังคมที่มีความเป็นสัจจะแท้จริง ทัศนะคติบางอย่างจึงเปลี่ยนไปตามการเรียนรู้ เช่น เมื่อก่อนเคยคิดว่าอาชีพนักเขียนเป็นอาชีพที่ไม่มั่นคง มีความเสี่ยง หลายคนก็คงจะคิดอย่างนี้ แต่การได้ศึกษางานของนักเขียนหลายท่าน กลับได้เรียนรู้ว่างานเขียนคือเครื่องมือสะท้อนสังคม และตัวตนอย่างดีเยี่ยม สำหรับดิฉันมันยิ่งใหญ่ เพราะไม่ใช่ว่าใครจะเป็นนักเขียนก็ได้ มันมีองค์ประกอบหลายอย่างที่หล่อหลอมจนกลายเป็นนักเขียนคุณภาพคนหนึ่ง เหมือนกับภาษาไทยก็เป็นมากกว่าภาษาประจำชาติ
มีคนเคยบอกว่าคนที่เรียนคณะนี้ค่อนข้าง “อินดี้ มีความเป็นตัวเองสูง” โดยเฉพาะเด็กเอกไทย ไม่แปลกใจเลยที่เพื่อนในเอกคนหนึ่งจะสะพายย่ามพระมาเรียน เพื่อนผู้หญิงเริ่มหันมาไว้ผมสั้น เพื่อนผู้ชายไว้หนวดเครารุงรังเกือบทุกคน แต่ความเป็นตัวเองของพวกเราก็ไม่เคยทำร้ายชื่อเสียงสถาบันให้ต้องหม่นหมอง และดิฉันก็เป็นคนหนึ่งที่หลายคนคิดว่า “มีโลกส่วนตัวสูง” ความจริงไม่ได้มีโลกอะไรส่วนตัว แค่ไม่ชอบตามกระแสสมัยนิยม ใช้ชีวิตเรียบง่ายตามที่มี คิดว่าเราสามารถทำอะไรก็ได้โดยไม่ทำให้ตัวเองและผู้อื่นเดือดร้อน อาจจะเกเรบ้างแต่ไม่ลืมหน้าที่ อยู่ในกฎระเบียบมหาวิทยาลัยแค่นี้ก็มีความสุขแล้ว
วิทยากรที่มาให้ความรู้เกี่ยวกับอาชีพนักเขียนท่านหนึ่งกล่าวว่า “เราสามารถบอกรัก โดยไม่ต้องใช้คำว่ารัก” ฉันเพิ่งเข้าใจความหมายของประโยคนี้อย่างลึกซึ้ง จากการเขียนบทความเรื่องราวของตัวเองในรั้ว มรภ.สงขลา ครั้งนี้นี่เอง.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ เปิด”มุมหนังสือนายกสภามหาวิทยาลัย” ณ ห้องสมุด ศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล
November 20, 2024
มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ จับมือ WeStride เปิดตัว “FutureX” หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ออนไลน์ ...
November 18, 2024
โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดรับสมัครนักเรียนระดับบ้านสาธิตปฐมวัยและระดับปฐมวัย (อนุบาล 1) ปีการศึกษา ...
November 13, 2024
มรภ.สงขลา นำผลงานนวัตกรรม นศ.เกษตร “เครื่องหยอดเมล็ดข้าว-กิมจิเห็ดนางฟ้า-ข้าวเกรียบเห็ดรสกิมจิ” ถ่ายทอดสู่ชุมชน
November 11, 2024