มรภ.สงขลา จัดอบรมสืบค้น-เลือกวารสารเพื่อตีพิมพ์ผลงานระดับนานาชาติ ฝึกอาจารย์ใช้ฐานข้อมูลออนไลน์ เข้าถึงงานวิจัยสถาบันการศึกษาทั่วโลก
น.ส.ปิยกุล บุญญาศรีรัตน์ รองผู้อำนวยการงานวิทยบริการ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) ผู้เสนอโครงการอบรมสืบค้นข้อมูลและเลือกวารสารเพื่อตีพิมพ์ผลงานระดับนานาชาติ เปิดเผยว่า การอบรมดังกล่าวจะมีขึ้นในวันที่ 26 ม.ค. 60 ณ อาคารศูนย์ภาษาและคอมพิวเตอร์ มรภ.สงขลา วัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มความรู้ความเข้าใจและทักษะการสืบค้นฐานข้อมูลออนไลน์ ช่วยให้อาจารย์สามารถเลือกวารสารระดับนานาชาติที่มีคุณภาพในการเผยแพร่ผลงาน โดยผู้เข้าอบรมจะได้ฝึกใช้งานฐานข้อมูล PQDT Global (ProQuest Dissertations & Theses Global) ที่รวบรวมวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโทและปริญญาเอก ของสถาบันการศึกษาทั่วโลก ฝึกใช้งานฐานข้อมูล Web of Science ซึ่งบริการบรรณานุกรมและสาระสังเขป ครอบคลุมสาขาวิชาหลักทางวิทยาศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ เรียนรู้การเลือกวารสารระดับนานาชาติเพื่อการตีพิมพ์ โดยใช้เครื่องมือต่างๆ เช่น Journal Citation Report, Impact Factor, keyword ตลอดจนฝึกส่งต้นฉบับทางเว็บ (Submit Manuscript)
รองผู้อำนวยการงานวิทยบริการ กล่าวว่า ภารกิจหลักประการหนึ่ง ของ มรภ.สงขลา คือ การผลิตและเผยแพร่ผลงานวิจัยที่มีคุณภาพ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่างานวิจัยจะมีคุณภาพหรือไม่นั้น เป็นผลมาจากองค์ประกอบสำคัญ 2 ประการ คือ แหล่งข้อมูลที่นำมาประกอบการทำวิจัย และวารสารที่นำผลงานไปตีพิมพ์ ในการนี้ สำนักวิทยบริการฯ ซึ่งมีหน้าที่ในการคัดเลือก จัดหา และให้บริการฐานข้อมูลออนไลน์ ตระหนักถึงความสำคัญของการผลิตและเผยแพร่ผลงานวิจัยที่มีคุณภาพ จึงได้จัดอบรมสืบค้นข้อมูลและเลือกวารสารเพื่อตีพิมพ์ผลงานระดับนานาชาติในครั้งนี้ขึ้น โดยมีกลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วมโครงการเป็นอาจารย์ มรภ.สงขลา ที่มีความรู้พื้นฐานภาษาอังกฤษ จำนวน 50 คน.
May 3, 2025
May 1, 2025
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
มรภ.สงขลา ติวอาจารย์เลือกวารสารตีพิมพ์ผลงานระดับนานาชาติ
มรภ.สงขลา จัดอบรมสืบค้น-เลือกวารสารเพื่อตีพิมพ์ผลงานระดับนานาชาติ ฝึกอาจารย์ใช้ฐานข้อมูลออนไลน์ เข้าถึงงานวิจัยสถาบันการศึกษาทั่วโลก
น.ส.ปิยกุล บุญญาศรีรัตน์ รองผู้อำนวยการงานวิทยบริการ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) ผู้เสนอโครงการอบรมสืบค้นข้อมูลและเลือกวารสารเพื่อตีพิมพ์ผลงานระดับนานาชาติ เปิดเผยว่า การอบรมดังกล่าวจะมีขึ้นในวันที่ 26 ม.ค. 60 ณ อาคารศูนย์ภาษาและคอมพิวเตอร์ มรภ.สงขลา วัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มความรู้ความเข้าใจและทักษะการสืบค้นฐานข้อมูลออนไลน์ ช่วยให้อาจารย์สามารถเลือกวารสารระดับนานาชาติที่มีคุณภาพในการเผยแพร่ผลงาน โดยผู้เข้าอบรมจะได้ฝึกใช้งานฐานข้อมูล PQDT Global (ProQuest Dissertations & Theses Global) ที่รวบรวมวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโทและปริญญาเอก ของสถาบันการศึกษาทั่วโลก ฝึกใช้งานฐานข้อมูล Web of Science ซึ่งบริการบรรณานุกรมและสาระสังเขป ครอบคลุมสาขาวิชาหลักทางวิทยาศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ เรียนรู้การเลือกวารสารระดับนานาชาติเพื่อการตีพิมพ์ โดยใช้เครื่องมือต่างๆ เช่น Journal Citation Report, Impact Factor, keyword ตลอดจนฝึกส่งต้นฉบับทางเว็บ (Submit Manuscript)
รองผู้อำนวยการงานวิทยบริการ กล่าวว่า ภารกิจหลักประการหนึ่ง ของ มรภ.สงขลา คือ การผลิตและเผยแพร่ผลงานวิจัยที่มีคุณภาพ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่างานวิจัยจะมีคุณภาพหรือไม่นั้น เป็นผลมาจากองค์ประกอบสำคัญ 2 ประการ คือ แหล่งข้อมูลที่นำมาประกอบการทำวิจัย และวารสารที่นำผลงานไปตีพิมพ์ ในการนี้ สำนักวิทยบริการฯ ซึ่งมีหน้าที่ในการคัดเลือก จัดหา และให้บริการฐานข้อมูลออนไลน์ ตระหนักถึงความสำคัญของการผลิตและเผยแพร่ผลงานวิจัยที่มีคุณภาพ จึงได้จัดอบรมสืบค้นข้อมูลและเลือกวารสารเพื่อตีพิมพ์ผลงานระดับนานาชาติในครั้งนี้ขึ้น โดยมีกลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วมโครงการเป็นอาจารย์ มรภ.สงขลา ที่มีความรู้พื้นฐานภาษาอังกฤษ จำนวน 50 คน.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
“สรายุทธ กูลเกื้อ” นักวิชาการคอมพิวเตอร์ มรภ.สงขลา คว้ารางวัลระดับดีเด่น จากผลงานพัฒนาระบบย่อลิงก์ออนไลน์ฯ เวทีนำเสนอแนวปฏิบัติที่ดีในงานประชุมเครือข่ายสำนักวิทยบริการฯ
May 3, 2025
นศ.ครุฯ มรภ.สงขลา ออกค่ายครูอาสาพัฒนา “รร.ตชด.ยูงทองรัฐประชาสรรค์” สร้างสื่อการเรียนการสอนส่งเสริมการเรียนรู้ ต่อยอดสู่วิชาชีพครู
May 3, 2025
มรภ.สงขลา คว้ารางวัลมหาวิทยาลัยดีเด่น ด้านการให้ข้อมูลเชิงลึกครบถ้วนสมบูรณ์ โครงการพัฒนาระบบบริหารงานการเงินและแนวทางการเพิ่มรายได้ “สถาบันอุดมศึกษากลุ่มพัฒนาชุมชนท้องถิ่นหรือชุมชนอื่น” กลุ่ม 3
May 3, 2025
มรภ.สงขลา ใช้แนวทาง “PTRU Model 17 สมรรถนะ” ยกระดับคุณภาพครู ...
May 1, 2025