คณะวิทยาการจัดการ มรภ.สงขลา จัดสัมมนาความท้าทายในการเป็นผู้ประกอบการมืออาชีพ เตรียมความพร้อมนักศึกษาขึ้นแท่นนักธุรกิจหน้าใหม่
ผศ.นิตยา จิตรักษ์ธรรม คณบดีคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดเผยถึงการสัมมนาความท้าทายในการเป็นผู้ประกอบการอย่างมืออาชีพ ในวันที่ 23 พ.ย.59 ณ หอประชุมเฉลิมพระเกียรติฯ ว่า วัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษารู้ถึงวิธีการจัดการและการปรับตัวของภาคธุรกิจ ฝึกเป็นผู้ประกอบการ สามารถนำองค์ความรู้ไปประยุกต์ใช้กับธุรกิจของตนเองหรือปรับใช้ในการดำเนินชีวิต เนื่องจากสภาวะปัจจุบันประเทศไทยได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโลก ส่งผลต่อการประกอบการของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ซึ่งนำไปสู่ปัญหาการเลิกกิจการ มีผลให้เกิดผู้ว่างงานหรือผู้ถูกเลิกจ้างเป็นจำนวนมาก และส่งผลกระทบกับธุรกิจรายใหม่ที่เพิ่งเริ่มธุรกิจไม่สามารถอยู่รอดได้ ภาครัฐจึงมีนโยบายในการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของ SMEs โดยถือเป็นกลยุทธ์สำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว ด้วยการสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ขณะเดียวกันก็ช่วยเหลือพัฒนาผู้ประกอบการเดิมที่ยังคงมีศักยภาพให้อยู่รอด เพื่อให้ SMEs ทั้งรายใหม่และรายเดิมสามารถอยู่รอดได้
คณบดีคณะวิทยาการจัดการ ในอดีตผู้ที่มีการศึกษาสูงมักมุ่งประกอบอาชีพเป็นพนักงานหรือลูกจ้างในขณะที่ผู้ที่มีการศึกษาไม่สูงนักมักเลือกประกอบอาชีพอิสระเป็นผู้ประกอบการ ซึ่งมักจะมีพื้นฐานความรู้ไม่เพียงพอที่จะบริหารจัดการและปรับปรุงพัฒนากิจการให้มีขีดความสามารถเพียงพอที่จะแข่งขันได้ภายใต้ระบบการค้าเสรียุคใหม่ กลยุทธ์ใหม่ในการพัฒนาส่งเสริม SMEs จึงมุ่งเชิญชวนผู้ที่มีการศึกษาดี มีประสบการณ์ และมีความรู้ความสามารถให้ก้าวเข้ามาเป็นผู้ประกอบการ ดังนั้น การเสริมสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่จึงถือเป็นหัวใจสำคัญในการสร้างธุรกิจใหม่ๆ ขึ้นในระบบเศรษฐกิจของประเทศ ให้เติบโตและมีความเข้มแข็งยิ่งขึ้น ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจของประเทศสามารถฟื้นตัวและมีภูมิคุ้มกันสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยทางคณะฯ ได้เชิญ นายนิธิศ สมทรัพย์ เจ้าของธุรกิจส่วนตัวด้านอสังหาริมทรัพย์ และ นายรัฐนคร ปิยะศิริโสพัส เจ้าของธุรกิจ ร้านขนมไทย สอง-แสน มาถ่ายทอดประสบการณ์ด้านธุรกิจให้แก่นักศึกษา
ด้านนายนฤมิต ตรึกตรอง นักศึกษาโปรแกรมวิชาการจัดการ มรภ.สงขลา ผู้เสนอโครงการ กล่าวว่า การประกอบอาชีพถือเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะอาชีพคือสิ่งที่ทำให้เกิดรายได้ ดังนั้น หากจะประกอบอาชีพเราจึงจำเป็นต้องเป็นผู้ประกอบการที่ดี มีความพร้อม และเพิ่มศักยภาพให้กับตัวเอง จึงได้มีการดำเนินกิจกรรมการสัมมนาในหัวข้อ การเป็นผู้ประกอบการอย่างมืออาชีพ เพื่อพัฒนาผู้ประกอบการทางธุรกิจให้สามารถเป็นผู้นำด้านการประกอบอาชีพที่มีความเข้มแข็งและยั่งยืน พร้อมทั้งเพิ่มพูนความรู้ใหม่ที่นักศึกษาสามารถนำไปใช้ประกอบอาชีพหลังจบการศึกษาได้ โดยมุ่งส่งเสริมและสนับสนุนผู้ว่างงาน ผู้ถูกเลิกจ้าง นักศึกษาจบใหม่ จากนั้นจะเข้าสู่กระบวนการเพิ่มทักษะการประกอบการ เพื่อพัฒนาแนวคิดสู่การปฏิบัติ หรือความเป็นจริงมากขึ้น โดยจะได้รับการดูแลและให้คำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญและผู้มีประสบการณ์ในการดำเนินธุรกิจ เพื่อวิเคราะห์และชี้แนะเทคนิคการประกอบการอย่างมืออาชีพและยั่งยืน นอกจากนี้ ทางโครงการยังจัดให้มีบริการช่วยเหลือต่อเนื่องผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย ทั้งนี้เพื่อให้สามารถจัดตั้งหรือขยายธุรกิจได้สำเร็จ อาทิ การจัดกิจกรรมเปิดตัวธุรกิจสินค้าและบริการ เพื่อสร้างโอกาสทางการตลาด และการเชื่อมประสานกับแหล่งเงินทุน รวมทั้งการจับคู่เจรจาธุรกิจ การเชื่อมโยงเครือข่ายธุรกิจระหว่างผู้ประกอบการใหม่และผู้ประกอบการเดิม เป็นต้น.
November 20, 2024
November 18, 2024
November 13, 2024
November 11, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
มรภ.สงขลา สัมมนาสร้างผู้ประกอบการมืออาชีพ
คณะวิทยาการจัดการ มรภ.สงขลา จัดสัมมนาความท้าทายในการเป็นผู้ประกอบการมืออาชีพ เตรียมความพร้อมนักศึกษาขึ้นแท่นนักธุรกิจหน้าใหม่
ผศ.นิตยา จิตรักษ์ธรรม คณบดีคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดเผยถึงการสัมมนาความท้าทายในการเป็นผู้ประกอบการอย่างมืออาชีพ ในวันที่ 23 พ.ย.59 ณ หอประชุมเฉลิมพระเกียรติฯ ว่า วัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษารู้ถึงวิธีการจัดการและการปรับตัวของภาคธุรกิจ ฝึกเป็นผู้ประกอบการ สามารถนำองค์ความรู้ไปประยุกต์ใช้กับธุรกิจของตนเองหรือปรับใช้ในการดำเนินชีวิต เนื่องจากสภาวะปัจจุบันประเทศไทยได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโลก ส่งผลต่อการประกอบการของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ซึ่งนำไปสู่ปัญหาการเลิกกิจการ มีผลให้เกิดผู้ว่างงานหรือผู้ถูกเลิกจ้างเป็นจำนวนมาก และส่งผลกระทบกับธุรกิจรายใหม่ที่เพิ่งเริ่มธุรกิจไม่สามารถอยู่รอดได้ ภาครัฐจึงมีนโยบายในการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของ SMEs โดยถือเป็นกลยุทธ์สำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว ด้วยการสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ขณะเดียวกันก็ช่วยเหลือพัฒนาผู้ประกอบการเดิมที่ยังคงมีศักยภาพให้อยู่รอด เพื่อให้ SMEs ทั้งรายใหม่และรายเดิมสามารถอยู่รอดได้
คณบดีคณะวิทยาการจัดการ ในอดีตผู้ที่มีการศึกษาสูงมักมุ่งประกอบอาชีพเป็นพนักงานหรือลูกจ้างในขณะที่ผู้ที่มีการศึกษาไม่สูงนักมักเลือกประกอบอาชีพอิสระเป็นผู้ประกอบการ ซึ่งมักจะมีพื้นฐานความรู้ไม่เพียงพอที่จะบริหารจัดการและปรับปรุงพัฒนากิจการให้มีขีดความสามารถเพียงพอที่จะแข่งขันได้ภายใต้ระบบการค้าเสรียุคใหม่ กลยุทธ์ใหม่ในการพัฒนาส่งเสริม SMEs จึงมุ่งเชิญชวนผู้ที่มีการศึกษาดี มีประสบการณ์ และมีความรู้ความสามารถให้ก้าวเข้ามาเป็นผู้ประกอบการ ดังนั้น การเสริมสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่จึงถือเป็นหัวใจสำคัญในการสร้างธุรกิจใหม่ๆ ขึ้นในระบบเศรษฐกิจของประเทศ ให้เติบโตและมีความเข้มแข็งยิ่งขึ้น ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจของประเทศสามารถฟื้นตัวและมีภูมิคุ้มกันสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยทางคณะฯ ได้เชิญ นายนิธิศ สมทรัพย์ เจ้าของธุรกิจส่วนตัวด้านอสังหาริมทรัพย์ และ นายรัฐนคร ปิยะศิริโสพัส เจ้าของธุรกิจ ร้านขนมไทย สอง-แสน มาถ่ายทอดประสบการณ์ด้านธุรกิจให้แก่นักศึกษา
ด้านนายนฤมิต ตรึกตรอง นักศึกษาโปรแกรมวิชาการจัดการ มรภ.สงขลา ผู้เสนอโครงการ กล่าวว่า การประกอบอาชีพถือเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะอาชีพคือสิ่งที่ทำให้เกิดรายได้ ดังนั้น หากจะประกอบอาชีพเราจึงจำเป็นต้องเป็นผู้ประกอบการที่ดี มีความพร้อม และเพิ่มศักยภาพให้กับตัวเอง จึงได้มีการดำเนินกิจกรรมการสัมมนาในหัวข้อ การเป็นผู้ประกอบการอย่างมืออาชีพ เพื่อพัฒนาผู้ประกอบการทางธุรกิจให้สามารถเป็นผู้นำด้านการประกอบอาชีพที่มีความเข้มแข็งและยั่งยืน พร้อมทั้งเพิ่มพูนความรู้ใหม่ที่นักศึกษาสามารถนำไปใช้ประกอบอาชีพหลังจบการศึกษาได้ โดยมุ่งส่งเสริมและสนับสนุนผู้ว่างงาน ผู้ถูกเลิกจ้าง นักศึกษาจบใหม่ จากนั้นจะเข้าสู่กระบวนการเพิ่มทักษะการประกอบการ เพื่อพัฒนาแนวคิดสู่การปฏิบัติ หรือความเป็นจริงมากขึ้น โดยจะได้รับการดูแลและให้คำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญและผู้มีประสบการณ์ในการดำเนินธุรกิจ เพื่อวิเคราะห์และชี้แนะเทคนิคการประกอบการอย่างมืออาชีพและยั่งยืน นอกจากนี้ ทางโครงการยังจัดให้มีบริการช่วยเหลือต่อเนื่องผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย ทั้งนี้เพื่อให้สามารถจัดตั้งหรือขยายธุรกิจได้สำเร็จ อาทิ การจัดกิจกรรมเปิดตัวธุรกิจสินค้าและบริการ เพื่อสร้างโอกาสทางการตลาด และการเชื่อมประสานกับแหล่งเงินทุน รวมทั้งการจับคู่เจรจาธุรกิจ การเชื่อมโยงเครือข่ายธุรกิจระหว่างผู้ประกอบการใหม่และผู้ประกอบการเดิม เป็นต้น.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ เปิด”มุมหนังสือนายกสภามหาวิทยาลัย” ณ ห้องสมุด ศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล
November 20, 2024
มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ จับมือ WeStride เปิดตัว “FutureX” หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ออนไลน์ ...
November 18, 2024
โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดรับสมัครนักเรียนระดับบ้านสาธิตปฐมวัยและระดับปฐมวัย (อนุบาล 1) ปีการศึกษา ...
November 13, 2024
มรภ.สงขลา นำผลงานนวัตกรรม นศ.เกษตร “เครื่องหยอดเมล็ดข้าว-กิมจิเห็ดนางฟ้า-ข้าวเกรียบเห็ดรสกิมจิ” ถ่ายทอดสู่ชุมชน
November 11, 2024