คณะมนุษยศาสตร์ฯ มรภ.สงขลา จัดโครงการเปิดประตูสู่อาชีพ ไขข้อข้องใจเรียนภาษาไทยทำงานอะไรได้บ้าง เผยผลสำรวจนักศึกษาส่วนใหญ่อยากเป็นครู แต่หลักสูตรไม่เอื้อ ชี้ยังมีอาชีพอื่นอีกหลากหลายให้เลือก
นายกีรกิต จิตสมบูรณ์ อาจารย์โปรแกรมวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) ผู้เสนอโครงการเปิดประตูสู่อาชีพ เปิดเผยว่า ตามที่ได้มีการสำรวจความต้องการในการประกอบอาชีพหลังสำเร็จการศึกษาของนักศึกษาโปรแกรมวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มรภ.สงขลา ผลการสำรวจพบว่ามีนักศึกษาจำนวนมากกว่าร้อยละ 90 ต้องการประกอบอาชีพเป็นครูผู้สอน ซึ่งไม่ใช่อาชีพหลักที่หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย ประสงค์จะให้ประกอบอาชีพในอนาคต เนื่องจากหลักสูตรไม่ได้ประสิทธิ์ประสาทวิชาในเนื้อหาเกี่ยวกับการสอน จึงทำให้นักศึกษาขาดความรู้และประสบการณ์ที่จะเป็นครูผู้สอน แต่หลักสูตรมุ่งหวังให้นักศึกษาประกอบอาชีพตามแนวทางของนักมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ อาทิ นักวิชาการทางภาษาและวรรณคดี นักสื่อสารมวลชน อาชีพเกี่ยวกับหนังสือ อาชีพเกี่ยวกับงานธุรการ เป็นต้น
นายกีรกิต กล่าวว่า สาเหตุที่นักศึกษาต้องการประกอบอาชีพครูผู้สอนภาษาไทยเป็นจำนวนมากนั้น เนื่องจากยังไม่เข้าใจและไม่ทราบขอบข่ายงานในศาสตร์แขนงนี้ ทางหลักสูตรจึงได้จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเปิดประตูสู่อาชีพ ให้แก่นักศึกษาโปรแกรมวิชาภาษาไทย จำนวน 215 คน โดยเชิญวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญในขอบข่ายงานข้างต้น ร่วมให้ความรู้และบอกเล่าประสบการณ์เพื่อเปิดมุมมองด้านอาชีพให้แก่นักศึกษา พร้อมทั้งฝึกปฏิบัติการ (Workshops) ใน 4 หัวข้อ คือ 1. ฉันคือเบอร์หนึ่งด้านงานธุรการ 2. สักวันฉันจะเป็นนักวิชาการ 3. จบ ศศ.บ. ภาษาไทย เชื่อไหมเป็นครูได้ และ 4. ฉันคือนักสื่อสารมวลชน นอกจากนั้น ทางคณะฯ ยังส่งเสริมให้นักศึกษาพัฒนาศักยภาพด้วยตนเอง กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาและการประกอบอาชีพต่างๆ ในอนาคต.
November 20, 2024
November 18, 2024
November 13, 2024
November 11, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
คณะมนุษย์ฯ มรภ.สงขลา เปิดประตูสู่อาชีพทางภาษาไทย
คณะมนุษยศาสตร์ฯ มรภ.สงขลา จัดโครงการเปิดประตูสู่อาชีพ ไขข้อข้องใจเรียนภาษาไทยทำงานอะไรได้บ้าง เผยผลสำรวจนักศึกษาส่วนใหญ่อยากเป็นครู แต่หลักสูตรไม่เอื้อ ชี้ยังมีอาชีพอื่นอีกหลากหลายให้เลือก
นายกีรกิต จิตสมบูรณ์ อาจารย์โปรแกรมวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) ผู้เสนอโครงการเปิดประตูสู่อาชีพ เปิดเผยว่า ตามที่ได้มีการสำรวจความต้องการในการประกอบอาชีพหลังสำเร็จการศึกษาของนักศึกษาโปรแกรมวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มรภ.สงขลา ผลการสำรวจพบว่ามีนักศึกษาจำนวนมากกว่าร้อยละ 90 ต้องการประกอบอาชีพเป็นครูผู้สอน ซึ่งไม่ใช่อาชีพหลักที่หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย ประสงค์จะให้ประกอบอาชีพในอนาคต เนื่องจากหลักสูตรไม่ได้ประสิทธิ์ประสาทวิชาในเนื้อหาเกี่ยวกับการสอน จึงทำให้นักศึกษาขาดความรู้และประสบการณ์ที่จะเป็นครูผู้สอน แต่หลักสูตรมุ่งหวังให้นักศึกษาประกอบอาชีพตามแนวทางของนักมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ อาทิ นักวิชาการทางภาษาและวรรณคดี นักสื่อสารมวลชน อาชีพเกี่ยวกับหนังสือ อาชีพเกี่ยวกับงานธุรการ เป็นต้น
นายกีรกิต กล่าวว่า สาเหตุที่นักศึกษาต้องการประกอบอาชีพครูผู้สอนภาษาไทยเป็นจำนวนมากนั้น เนื่องจากยังไม่เข้าใจและไม่ทราบขอบข่ายงานในศาสตร์แขนงนี้ ทางหลักสูตรจึงได้จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเปิดประตูสู่อาชีพ ให้แก่นักศึกษาโปรแกรมวิชาภาษาไทย จำนวน 215 คน โดยเชิญวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญในขอบข่ายงานข้างต้น ร่วมให้ความรู้และบอกเล่าประสบการณ์เพื่อเปิดมุมมองด้านอาชีพให้แก่นักศึกษา พร้อมทั้งฝึกปฏิบัติการ (Workshops) ใน 4 หัวข้อ คือ 1. ฉันคือเบอร์หนึ่งด้านงานธุรการ 2. สักวันฉันจะเป็นนักวิชาการ 3. จบ ศศ.บ. ภาษาไทย เชื่อไหมเป็นครูได้ และ 4. ฉันคือนักสื่อสารมวลชน นอกจากนั้น ทางคณะฯ ยังส่งเสริมให้นักศึกษาพัฒนาศักยภาพด้วยตนเอง กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาและการประกอบอาชีพต่างๆ ในอนาคต.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ เปิด”มุมหนังสือนายกสภามหาวิทยาลัย” ณ ห้องสมุด ศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล
November 20, 2024
มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ จับมือ WeStride เปิดตัว “FutureX” หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ออนไลน์ ...
November 18, 2024
โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดรับสมัครนักเรียนระดับบ้านสาธิตปฐมวัยและระดับปฐมวัย (อนุบาล 1) ปีการศึกษา ...
November 13, 2024
มรภ.สงขลา นำผลงานนวัตกรรม นศ.เกษตร “เครื่องหยอดเมล็ดข้าว-กิมจิเห็ดนางฟ้า-ข้าวเกรียบเห็ดรสกิมจิ” ถ่ายทอดสู่ชุมชน
November 11, 2024