อาจารย์ทางคอมพิวเตอร์ มรภ.สงขลา นำเสนองานมาเลเซีย สร้างเครือข่ายประชุมระดับนานาชาติ ปิ๊งไอเดียดันวิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ สตูล เป็นศูนย์กลางจัดประชุม ชูจุดขายค่าใช้จ่ายถูก สถานที่พร้อม แหล่งท่องเที่ยวรองรับ
ผศ.ดร.ศศลักษณ์ ทองขาว อาจารย์ประจำโปรแกรมวิชาคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ตนได้เข้าร่วมนำเสนอผลงานทางวิชาการ IEEE ICOS 2016 ที่ลังกาวี ประเทศมาเลเซีย เพื่อสร้างเครือข่ายการจัดการประชุมระดับนานาชาติทางวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ รวมไปถึงการนำไอทีมาใช้ในการเรียนการสอน หรืองานที่เกี่ยวกับการรู้ดิจิทัล (digital literacy) ไม่ว่าจะสำหรับบุคคลทั่วไป หรือ สำหรับผู้สูงอายุ นอกจากนี้ การสนับสนุนงานทางด้านโบราณคดี ศิลปวัฒนธรรม ท้องถิ่น ล้วนเป็นที่สนใจของนานาชาติ หน้าที่ของ มรภ.สงขลา คือ ส่งเสริม สนับสนุน ให้สิ่งเหล่านี้คงอยู่ในท้องถิ่น เพื่อความยั่งยืนของชุมชน สังคม ตลอดจนเผยแพร่ให้นานาชาติได้รับรู้ถึงสิ่งดีๆ ที่เรามี ซึ่งจากการเข้าร่วมประชุมทางวิชาการ (Conference) มาหลายครั้ง และได้พูดคุยกับผู้จัดงานหลายประเทศ ทำให้ได้แนวคิดว่าสำหรับสถาบันการศึกษาเกิดใหม่อย่างวิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ สตูล แม้ขณะนี้จะยังไม่พร้อมเรื่องหลักสูตรและจำนวนนักศึกษา แต่สามารถสร้างชื่อเสียงในทางวิชาการอย่างอื่นได้ก่อน โดยใช้ความได้เปรียบด้านความสวยงามของสถานที่ การท่องเที่ยว แหล่งธรรมชาติ ตลอดจนค่าใช้จ่ายที่ถูกกว่า จากนั้นจึงดึงนักศึกษาจากที่ต่างๆ มาทำวิจัยในพื้นที่
อาจารย์ประจำโปรแกรมวิชาคอมพิวเตอร์ กล่าวว่า การเข้าร่วมประชุมทางวิชาการที่ลังกาวี ประเทศมาเลเซีย ในครั้งนี้ เป็นการสร้างความเชื่อมั่นกับประเทศเพื่อนบ้านว่า มรภ.สงขลา สามารถจัดงานในลักษณะนี้ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ สตูล ซึ่งอยู่ในยุทธศาสตร์ที่สามารถดึงงานประชุมวิชาการระดับชาติและระดับนานาชาติ มาลงได้ ไม่ใช่เพียงทางด้านคอมพิวเตอร์เท่านั้น ด้านอื่นๆ ก็สามารถทำได้เช่นกัน ทั้งนี้ การไปประชุมทางวิชาการไม่อยากให้แค่เข้าร่วมงานเพียงอย่างเดียว แต่อยากให้สร้างเครือข่ายนำการประชุมมาจัดที่เรา ซึ่งวิทยาลัยนวัตกรรมฯ มีความพร้อม โดยงานประชุมอาจเป็นทางด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ เรามีจุดแข็งมากมายที่สามารถนำเสนอสู่เวทีนานาชาติได้ เมื่อเรามีเครือข่ายกับนานาชาติ เขาย่อมสนใจอยากจะมาเข้าร่วมในสถานที่ใหม่ๆ อยู่แล้ว การท่องเที่ยวเราก็ดี สามารถใช้ตรงนี้เป็นจุดขายของวิทยาลัยนวัตกรรมฯ ได้ ทำให้เกิดกิจกรรมในระดับนานาชาติ เป็นเครือข่ายวิจัยในด้านต่างๆ ดึงคนมาคอนเฟอเรนซ์ โดยอาจจัดเป็นประจำทุกปีหรือทุก 2-3 ปี และมีการท่องเที่ยวร่วมด้วย อีกอย่างสตูลเป็นเมืองมุสลิมที่มีอาหารฮาลาลจำนวนมาก การจัดคอนเฟอร์เรนซ์ร่วมกับมาเลเซีย จึงเป็นจุดหนึ่งที่น่าสนใจ อาหารพร้อม คนพร้อม สถานที่พร้อม เที่ยวพร้อม เมื่อมีคนเข้ามามากขึ้น หลักสูตรต่างๆ ก็จะเกิดขึ้นเอง เช่นเดียวกับนักศึกษาที่สนใจมาเรียนเพิ่มขึ้น.
November 20, 2024
November 18, 2024
November 13, 2024
November 11, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
นักวิชาการ มรภ.สงขลา สร้างเครือข่ายทางคอมพิวเตอร์ ชูวิทยาลัยนวัตกรรมฯ สตูล ศูนย์กลางจัดประชุมนานาชาติ
อาจารย์ทางคอมพิวเตอร์ มรภ.สงขลา นำเสนองานมาเลเซีย สร้างเครือข่ายประชุมระดับนานาชาติ ปิ๊งไอเดียดันวิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ สตูล เป็นศูนย์กลางจัดประชุม ชูจุดขายค่าใช้จ่ายถูก สถานที่พร้อม แหล่งท่องเที่ยวรองรับ
ผศ.ดร.ศศลักษณ์ ทองขาว อาจารย์ประจำโปรแกรมวิชาคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ตนได้เข้าร่วมนำเสนอผลงานทางวิชาการ IEEE ICOS 2016 ที่ลังกาวี ประเทศมาเลเซีย เพื่อสร้างเครือข่ายการจัดการประชุมระดับนานาชาติทางวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ รวมไปถึงการนำไอทีมาใช้ในการเรียนการสอน หรืองานที่เกี่ยวกับการรู้ดิจิทัล (digital literacy) ไม่ว่าจะสำหรับบุคคลทั่วไป หรือ สำหรับผู้สูงอายุ นอกจากนี้ การสนับสนุนงานทางด้านโบราณคดี ศิลปวัฒนธรรม ท้องถิ่น ล้วนเป็นที่สนใจของนานาชาติ หน้าที่ของ มรภ.สงขลา คือ ส่งเสริม สนับสนุน ให้สิ่งเหล่านี้คงอยู่ในท้องถิ่น เพื่อความยั่งยืนของชุมชน สังคม ตลอดจนเผยแพร่ให้นานาชาติได้รับรู้ถึงสิ่งดีๆ ที่เรามี ซึ่งจากการเข้าร่วมประชุมทางวิชาการ (Conference) มาหลายครั้ง และได้พูดคุยกับผู้จัดงานหลายประเทศ ทำให้ได้แนวคิดว่าสำหรับสถาบันการศึกษาเกิดใหม่อย่างวิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ สตูล แม้ขณะนี้จะยังไม่พร้อมเรื่องหลักสูตรและจำนวนนักศึกษา แต่สามารถสร้างชื่อเสียงในทางวิชาการอย่างอื่นได้ก่อน โดยใช้ความได้เปรียบด้านความสวยงามของสถานที่ การท่องเที่ยว แหล่งธรรมชาติ ตลอดจนค่าใช้จ่ายที่ถูกกว่า จากนั้นจึงดึงนักศึกษาจากที่ต่างๆ มาทำวิจัยในพื้นที่
อาจารย์ประจำโปรแกรมวิชาคอมพิวเตอร์ กล่าวว่า การเข้าร่วมประชุมทางวิชาการที่ลังกาวี ประเทศมาเลเซีย ในครั้งนี้ เป็นการสร้างความเชื่อมั่นกับประเทศเพื่อนบ้านว่า มรภ.สงขลา สามารถจัดงานในลักษณะนี้ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ สตูล ซึ่งอยู่ในยุทธศาสตร์ที่สามารถดึงงานประชุมวิชาการระดับชาติและระดับนานาชาติ มาลงได้ ไม่ใช่เพียงทางด้านคอมพิวเตอร์เท่านั้น ด้านอื่นๆ ก็สามารถทำได้เช่นกัน ทั้งนี้ การไปประชุมทางวิชาการไม่อยากให้แค่เข้าร่วมงานเพียงอย่างเดียว แต่อยากให้สร้างเครือข่ายนำการประชุมมาจัดที่เรา ซึ่งวิทยาลัยนวัตกรรมฯ มีความพร้อม โดยงานประชุมอาจเป็นทางด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ เรามีจุดแข็งมากมายที่สามารถนำเสนอสู่เวทีนานาชาติได้ เมื่อเรามีเครือข่ายกับนานาชาติ เขาย่อมสนใจอยากจะมาเข้าร่วมในสถานที่ใหม่ๆ อยู่แล้ว การท่องเที่ยวเราก็ดี สามารถใช้ตรงนี้เป็นจุดขายของวิทยาลัยนวัตกรรมฯ ได้ ทำให้เกิดกิจกรรมในระดับนานาชาติ เป็นเครือข่ายวิจัยในด้านต่างๆ ดึงคนมาคอนเฟอเรนซ์ โดยอาจจัดเป็นประจำทุกปีหรือทุก 2-3 ปี และมีการท่องเที่ยวร่วมด้วย อีกอย่างสตูลเป็นเมืองมุสลิมที่มีอาหารฮาลาลจำนวนมาก การจัดคอนเฟอร์เรนซ์ร่วมกับมาเลเซีย จึงเป็นจุดหนึ่งที่น่าสนใจ อาหารพร้อม คนพร้อม สถานที่พร้อม เที่ยวพร้อม เมื่อมีคนเข้ามามากขึ้น หลักสูตรต่างๆ ก็จะเกิดขึ้นเอง เช่นเดียวกับนักศึกษาที่สนใจมาเรียนเพิ่มขึ้น.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ เปิด”มุมหนังสือนายกสภามหาวิทยาลัย” ณ ห้องสมุด ศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล
November 20, 2024
มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ จับมือ WeStride เปิดตัว “FutureX” หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ออนไลน์ ...
November 18, 2024
โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดรับสมัครนักเรียนระดับบ้านสาธิตปฐมวัยและระดับปฐมวัย (อนุบาล 1) ปีการศึกษา ...
November 13, 2024
มรภ.สงขลา นำผลงานนวัตกรรม นศ.เกษตร “เครื่องหยอดเมล็ดข้าว-กิมจิเห็ดนางฟ้า-ข้าวเกรียบเห็ดรสกิมจิ” ถ่ายทอดสู่ชุมชน
November 11, 2024