“…เราไม่ควรให้ปลาแก่เขา แต่ควรให้เบ็ดตกปลาและสอนให้รู้จักวิธีตกปลาจะดีกว่า…” พระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลดุลยเดช ในเรื่องความพอเพียงและการรู้จักพึ่งพาตนเอง ที่โรงเรียนบ้านไร่ อ.ท่าแพ จ.สตูล น้อมนำเข้าสู่การจัดการเรียนการสอนในโรงเรียน เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ มีทักษะอาชีพที่พึ่งพาตนเองอย่างพอเพียงภายใต้วิถีชีวิตท้องถิ่นอยู่อาศัย และมีจิตสำนึกรักบ้านเกิด
นางสาวสุชดา แซ่ตั้ง ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านไร่ จึงได้นำการทำไซปู หรืออุปกรณ์ดักปู อาชีพหนึ่งในวิถีชีวิตชาวชุมชนบ้านไร่ เข้าสู่กระบวนการเรียนการสอนในกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ภายใต้แนวคิดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้นักเรียนมีทักษะอาชีพและสืบสานวีถีชีวิตท้องถิ่นให้คงอยู่ รู้จักใช้ประโยชน์จากป่าชายเลนทรัพยากร ธรรมชาติอย่างรู้คุณค่า มีความรักและหวงแหนท้องถิ่นของตนเอง
นายมะดาโอ๊ะ สาและ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่อาสามาช่วยสอนการทำไซปูให้กับนักเรียน สำหรับไซปูที่สอนเป็นไซที่ใช้ดักปูดำ มีลักษณะเป็นรูปทรงกลม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 40 เซนติเมตร สูง 20-25 เซนติเมตร สามารถพับเก็บง่าย ส่วนวัสดุที่ใช้ทำไซ ประกอบด้วย ลวดขนาดใหญ่ อวนเส้นใหญ่ตาขนาดกลาง ด้ายเย็บอวน และไม้ไผ่สำหรับหลักวางไซ
เมื่อนักเรียนทำไซปูได้จนชำนาญแล้ว “นายมะดาโอ๊ะ” จะพานักเรียนไปยังป่าชายเลน บริเวณคลองในหมู่บ้าน ซึ่งอยู่ไม่ห่างจากโรงเรียนบ้านไร่มากนัก เพื่อสอนวิธีการวางไซดักปูดำซึ่งทำได้ไม่ยากแค่ดูค่ำของดวงจันทร์ว่ากี่ค่ำ ซึ่งต้องเป็นช่วงน้ำใหญ่ คือ 11 ค่ำ จนถึง 5 ค่ำ เพราะน้ำเดินปูจะได้กลิ่นปลาสดที่ใช้เป็นเหยื่อล่อดักในไซ ส่วนวิธีการวางไซต้องไห้ปากของไซหันไปด้านเดียวกับน้ำ เมื่อปูได้กลิ่นเหยื่อก็จะเดินเข้ากับดักที่วางไว้
สำหรับปูดำที่นักเรียนวางไซได้ จะนำไปขายให้พ่อค้าคนกลางในราคา กิโลกรัมละ 100 บาท ทำให้มีรายได้ช่วยเหลือครอบครัว เฉลี่ยวันละ 200 บาท แต่การวางไซดักปูดำ ไม่ใช่จะทำได้ทุกวัน จะทำได้ก็เฉพาะช่วงน้ำใหญ่เท่านั้น
นายคอเล็ด บังเตะ ครู โรงเรียนบ้านไร่ กล่าวว่า การสอนทำไซปู เป็นการเสริมประสบการณ์วิชาชีพนอกห้องเรียน เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้อาชีพในท้องถิ่น รู้จักใช้เวลาว่างช่วงปิดเทอมไปทำไซดักปู เนื่องจากชุมชนบ้านไร่ เป็นหมู่บ้านที่ติดป่าชายเลนที่อุดมสมบูรณ์และมีคลองไหลผ่าน ซึ่งนักเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง สามารถต่อยอดเป็นอาชีพเสริมได้ในอนาคต สนองพระราชดำรัส “…เราไม่ควรให้ปลาแก่เขา แต่ควรให้เบ็ดตกปลาและสอนให้รู้จักวิธีตกปลาจะดีกว่า…” แห่งองค์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลดุลยเดช
เชื่อแน่ว่า! นักเรียนบ้านไร่ จะสามารถประกอบอาชีพที่พึ่งพาตนเองด้วยวิถีชีวิตพอเพียงในท้องถิ่น.
November 20, 2024
November 18, 2024
November 13, 2024
November 11, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
นักเรียนบ้านไร่ อ.ท่าแพ เรียนรู้การทำไซดักปูดำ วิถีชีวิตพอเพียงในท้องถิ่น
“…เราไม่ควรให้ปลาแก่เขา แต่ควรให้เบ็ดตกปลาและสอนให้รู้จักวิธีตกปลาจะดีกว่า…” พระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลดุลยเดช ในเรื่องความพอเพียงและการรู้จักพึ่งพาตนเอง ที่โรงเรียนบ้านไร่ อ.ท่าแพ จ.สตูล น้อมนำเข้าสู่การจัดการเรียนการสอนในโรงเรียน เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ มีทักษะอาชีพที่พึ่งพาตนเองอย่างพอเพียงภายใต้วิถีชีวิตท้องถิ่นอยู่อาศัย และมีจิตสำนึกรักบ้านเกิด
นางสาวสุชดา แซ่ตั้ง ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านไร่ จึงได้นำการทำไซปู หรืออุปกรณ์ดักปู อาชีพหนึ่งในวิถีชีวิตชาวชุมชนบ้านไร่ เข้าสู่กระบวนการเรียนการสอนในกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ภายใต้แนวคิดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้นักเรียนมีทักษะอาชีพและสืบสานวีถีชีวิตท้องถิ่นให้คงอยู่ รู้จักใช้ประโยชน์จากป่าชายเลนทรัพยากร ธรรมชาติอย่างรู้คุณค่า มีความรักและหวงแหนท้องถิ่นของตนเอง
นายมะดาโอ๊ะ สาและ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่อาสามาช่วยสอนการทำไซปูให้กับนักเรียน สำหรับไซปูที่สอนเป็นไซที่ใช้ดักปูดำ มีลักษณะเป็นรูปทรงกลม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 40 เซนติเมตร สูง 20-25 เซนติเมตร สามารถพับเก็บง่าย ส่วนวัสดุที่ใช้ทำไซ ประกอบด้วย ลวดขนาดใหญ่ อวนเส้นใหญ่ตาขนาดกลาง ด้ายเย็บอวน และไม้ไผ่สำหรับหลักวางไซ
เมื่อนักเรียนทำไซปูได้จนชำนาญแล้ว “นายมะดาโอ๊ะ” จะพานักเรียนไปยังป่าชายเลน บริเวณคลองในหมู่บ้าน ซึ่งอยู่ไม่ห่างจากโรงเรียนบ้านไร่มากนัก เพื่อสอนวิธีการวางไซดักปูดำซึ่งทำได้ไม่ยากแค่ดูค่ำของดวงจันทร์ว่ากี่ค่ำ ซึ่งต้องเป็นช่วงน้ำใหญ่ คือ 11 ค่ำ จนถึง 5 ค่ำ เพราะน้ำเดินปูจะได้กลิ่นปลาสดที่ใช้เป็นเหยื่อล่อดักในไซ ส่วนวิธีการวางไซต้องไห้ปากของไซหันไปด้านเดียวกับน้ำ เมื่อปูได้กลิ่นเหยื่อก็จะเดินเข้ากับดักที่วางไว้
สำหรับปูดำที่นักเรียนวางไซได้ จะนำไปขายให้พ่อค้าคนกลางในราคา กิโลกรัมละ 100 บาท ทำให้มีรายได้ช่วยเหลือครอบครัว เฉลี่ยวันละ 200 บาท แต่การวางไซดักปูดำ ไม่ใช่จะทำได้ทุกวัน จะทำได้ก็เฉพาะช่วงน้ำใหญ่เท่านั้น
นายคอเล็ด บังเตะ ครู โรงเรียนบ้านไร่ กล่าวว่า การสอนทำไซปู เป็นการเสริมประสบการณ์วิชาชีพนอกห้องเรียน เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้อาชีพในท้องถิ่น รู้จักใช้เวลาว่างช่วงปิดเทอมไปทำไซดักปู เนื่องจากชุมชนบ้านไร่ เป็นหมู่บ้านที่ติดป่าชายเลนที่อุดมสมบูรณ์และมีคลองไหลผ่าน ซึ่งนักเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง สามารถต่อยอดเป็นอาชีพเสริมได้ในอนาคต สนองพระราชดำรัส “…เราไม่ควรให้ปลาแก่เขา แต่ควรให้เบ็ดตกปลาและสอนให้รู้จักวิธีตกปลาจะดีกว่า…” แห่งองค์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลดุลยเดช
เชื่อแน่ว่า! นักเรียนบ้านไร่ จะสามารถประกอบอาชีพที่พึ่งพาตนเองด้วยวิถีชีวิตพอเพียงในท้องถิ่น.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ เปิด”มุมหนังสือนายกสภามหาวิทยาลัย” ณ ห้องสมุด ศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล
November 20, 2024
มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ จับมือ WeStride เปิดตัว “FutureX” หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ออนไลน์ ...
November 18, 2024
โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดรับสมัครนักเรียนระดับบ้านสาธิตปฐมวัยและระดับปฐมวัย (อนุบาล 1) ปีการศึกษา ...
November 13, 2024
มรภ.สงขลา นำผลงานนวัตกรรม นศ.เกษตร “เครื่องหยอดเมล็ดข้าว-กิมจิเห็ดนางฟ้า-ข้าวเกรียบเห็ดรสกิมจิ” ถ่ายทอดสู่ชุมชน
November 11, 2024