มรภ.สงขลา ดึงนักศึกษาหอพักซักซ้อมรับมืออัคคีภัย สอนวิธีสังเกต เอาตัวรอด เพิ่มความมั่นใจเผชิญเหตุ ลดการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน
ผศ.อ้อยทิพย์ พลศรี รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดเผยถึงการอบรมป้องกันและช่วยเหลือผู้ประสบอัคคีภัยในหอพักนักศึกษา เมื่อเร็วๆ นี้ว่า วัตถุประสงค์เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้นักศึกษาหอพักตระหนักถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการสาธารณภัยเบื้องต้น และฝึกซ้อมเพื่อเตรียมรับมือกับภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้นในพื้นที่ การปฏิบัติตัวในภาวะฉุกเฉินขณะเกิดภัย รวมถึงการอพยพไปสู่พื้นที่ปลอดภัย อันเป็นการเตรียมความพร้อมและเพิ่มศักยภาพของนักศึกษาในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เพื่อลดภยันตรายที่อาจเกิดขึ้นทั้งชีวิตและทรัพย์สินของตนเองและส่วนรวม
น.ส.สุภาพร ขุนทอง เจ้าหน้าที่หน่วยหอพักนักศึกษา มรภ.สงขลา ผู้เสนอโครงการ กล่าวว่า การอบรมในครั้งนี้มีนักศึกษาหอพักและอาจารย์เข้าร่วมจำนวน 250 คน โดยมีเจ้าหน้าที่จากเทศบาลเมืองเขารูปช้าง จ.สงขลา เป็นวิทยากรบรรยายพิเศษเรื่อง การป้องกันและระงับอัคคีภัย สารเคมี วัตถุอันตรายเบื้องต้น พร้อมทั้งให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติการดับเพลิงเบื้องต้น ฝึกประงับภัยน้ำมัน แก๊ส ไฟฟ้า ฝึกการช่วยเหลือและอพยพเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัยในอาคารสูง ซึ่งเป็นการสร้างความมั่นใจที่จะเผชิญเหตุ สามารถลดการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน และส่วนราชการในเขตพื้นที่ได้
ด้าน น.ส.มีนา ราชพิบูลย์ นักศึกษาปี 3 คณะครุศาสตร์ มรภ.สงขลา หอพักปาริฉัตร กล่าวว่า การเข้าร่วมอบรมอัคคีภัยทำให้รู้ถึงวิธีการป้องกันและหลีกเลี่ยงก่อนที่จะเกิดเหตุ เช่น การวางแผนเตรียมความพร้อมเกี่ยวกับอาคารสถานที่ ที่พักอาศัย ควรรู้เส้นทางเข้า-ออกในสถานที่นั้นๆ พอสมควร โดยรู้จักสังเกตสิ่งรอบตัวและเตรียมตนเองให้พร้อม ต้องมีสติในการรับมือ เมื่อเกิดอัคคีภัยก็สามารถที่จะเอาตัวรอดออกไปได้ เพราะอัคคีภัยนั้นสามารถเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ โดยที่เราอาจไม่ตั้งตัว หรือหากเกิดเหตุการณ์ขึ้นแล้วจะมีวิธีการเอาตัวรอดอย่างไร ได้รู้ถึงสาเหตุของอัคคีภัยว่ามีองค์ประกอบสำคัญอะไรบ้าง เพื่อที่จะสามารถหลีกเลี่ยงสิ่งเหล่านั้นที่อาจก่อให้เกิดอัคคีภัยได้
“เมื่อเกิดอัคคีภัยสิ่งที่ต้องปฏิบัติคือ หาที่มาของสถานที่เกิดเหตุเพลิงไหม้ หรือจุดกำเนิดเพลิงไหม้ และประเมินสถานการณ์ว่าสามารถควบคุมเพลิงได้หรือไม่อย่างไร หากสามารถควบคุมเองได้ให้รีบดับเพลิง โดยใช้วิธีที่เหมาะสมกับการเกิดเพลิงไหม้แต่ละประเภท แต่หากประเมินสถานการณ์แล้วว่าเกินความสามารถที่จะควบคุมได้ ให้เตือนผู้ที่อยู่ใกล้เคียงออกห่างจากพื้นที่ ไปรวมตัวกันในสถานที่ๆปลอดภัย โดยอาจตะโกนใช้เสียงหรือใช้สัญญาณแจ้งเตือนที่มีอยู่ในบริเวณนั้น เพื่อประกาศให้รู้ทั่วๆ กัน ซึ่งการออกจากตัวอาคารหรือพื้นที่ที่เกิดเพลิงไหม้ควรจะเลือกเส้นทางที่ปลอดภัยที่สุด เช่น ทางบันไดหนีไฟ และไม่ควรใช้ลิฟต์ เพราะระบบไฟฟ้าอาจจะขัดข้อง ผลที่ตามมาอาจทำให้เป็นอันตรายถึงชีวิตได้ จากนั้นทำการติดต่อประสานงานกับหน่วยงานที่รับผิดชอบ เช่น สถานีดับเพลิงและกู้ภัย การประปา ฯลฯ เพื่อรับทราบและดำเนินการควบคุมเพลิง และหากมีผู้ป่วยหรือมีคนติดอยู่ภายในตัวอาคารก็ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ที่ควบคุมเพลิงให้เร็วที่สุด เพื่อเข้าช่วยเหลืออย่างทันท่วงที” น.ส.มีนา กล่าว
น.ส.มาดีฮะ ศุทธิวรรณรักษ์ นักศึกษาปี 3 คณะวิทยาการจัดการ หอพักสบันงา กล่าวว่า จากการอบรมทำให้ตนได้เรียนรู้เกี่ยวกับวิธีป้องกันอันตรายที่จะเกิดจากไฟ และวิธีการรับมือหากเกิดขึ้นจริง
สิ่งแรกที่ต้องทำคือตั้งสติและหาต้นเหตุของไฟ พยายามหาคนเข้าช่วยเหลือหรือโทร 191 และรีบวิ่งลงมาทางบันไดหนีไฟทันทีแล้วรวมตัวกันข้างล่าง สำรวจสมาชิกว่ามากันครบหรือยัง จากนั้นรีบแจ้งเจ้าหน้าที่ที่ควบคุมเพลิงให้เร็วที่สุด เพื่อทำการช่วยเหลืออย่างทันท่วงที
ด้าน อ.นันธิดา ลิ่มเสฎโฐ อาจารย์ประจำหอพักสบันงา สังกัดโปรแกรมวิชาเคมีและเคมีประยุกต์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มรภ.สงขลา กล่าวว่า การอบรมครั้งนี้มีประโยชน์กับนักศึกษาและอาจารย์ในหอพักมาก เพราะภัยทุกๆ อย่างล้วนเป็นสิ่งที่เราไม่อาจคาดการณ์ล่วงหน้าได้ ไฟไหม้หรืออัคคีภัยก็เช่นเดียวกัน เป็นเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา เมื่อได้อบรมทำให้สมาชิกหอพักได้รับข้อมูลและความรู้ที่เป็นประโยชน์ สิ่งสำคัญสำหรับหอพักคือ เส้นทางหนีไฟและบันไดหนีไฟที่สามารถใช้ได้จริงเมื่อเกิดเหตุ รวมทั้งอุปกรณ์ดับเพลงที่พร้อมใช้งาน ซึ่งหวังอย่างยิ่งว่าสมาชิกหอพักจะได้เข้าร่วมกิจกรรมดีๆ เช่นนี้อีก
อาจารย์ประจำหอพักสบันงา กล่าวอีกว่า เมื่อเกิดเหตุอัคคีภัยสัญญานกระดิ่งของระบบความปลอดภัยจะดังเตือน จากนั้นสิ่งแรกที่ทุกๆ คนต้องทำคือตั้งสติและเดินไปยังทางหนีไฟ โดยระหว่างทางที่เดินไปควรส่งเสียงเตือน “ไฟไหม้” พร้อมเคาะห้องสมาชิกข้างเคียง และพยายามออกจากจุดเกิดเหตุให้เร็วที่สุด เดินลงบันไดหนีไฟแล้วออกไปรวมตัวที่ลานกว้าง ไม่พยายามเข้าไปยังจุดเกิดเหตุอีก ทั้งนี้ ฝ่ายอาคารสถานที่ควรตรวจเช็คสภาพเครื่องจับสัญญานควัน การทำงานของกริ่งเตือนภัย พร้อมทั้งตรวจเช็คถังดับเพลิงให้พร้อมใช้งาน (ไม่หมดอายุ) ส่วนเรื่องอื่นๆ ก็เป็นหน้าที่ของชาวสมาชิกหอพักที่ต้องคอยสอดส่องช่วยกันดูแล ไม่ให้เกิดเหตุอัคคีภัยได้.
November 20, 2024
November 18, 2024
November 13, 2024
November 11, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
มรภ.สงขลา ซักซ้อม นศ.หอพัก รับมืออัคคีภัย
มรภ.สงขลา ดึงนักศึกษาหอพักซักซ้อมรับมืออัคคีภัย สอนวิธีสังเกต เอาตัวรอด เพิ่มความมั่นใจเผชิญเหตุ ลดการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน
ผศ.อ้อยทิพย์ พลศรี รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดเผยถึงการอบรมป้องกันและช่วยเหลือผู้ประสบอัคคีภัยในหอพักนักศึกษา เมื่อเร็วๆ นี้ว่า วัตถุประสงค์เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้นักศึกษาหอพักตระหนักถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการสาธารณภัยเบื้องต้น และฝึกซ้อมเพื่อเตรียมรับมือกับภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้นในพื้นที่ การปฏิบัติตัวในภาวะฉุกเฉินขณะเกิดภัย รวมถึงการอพยพไปสู่พื้นที่ปลอดภัย อันเป็นการเตรียมความพร้อมและเพิ่มศักยภาพของนักศึกษาในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เพื่อลดภยันตรายที่อาจเกิดขึ้นทั้งชีวิตและทรัพย์สินของตนเองและส่วนรวม
น.ส.สุภาพร ขุนทอง เจ้าหน้าที่หน่วยหอพักนักศึกษา มรภ.สงขลา ผู้เสนอโครงการ กล่าวว่า การอบรมในครั้งนี้มีนักศึกษาหอพักและอาจารย์เข้าร่วมจำนวน 250 คน โดยมีเจ้าหน้าที่จากเทศบาลเมืองเขารูปช้าง จ.สงขลา เป็นวิทยากรบรรยายพิเศษเรื่อง การป้องกันและระงับอัคคีภัย สารเคมี วัตถุอันตรายเบื้องต้น พร้อมทั้งให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติการดับเพลิงเบื้องต้น ฝึกประงับภัยน้ำมัน แก๊ส ไฟฟ้า ฝึกการช่วยเหลือและอพยพเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัยในอาคารสูง ซึ่งเป็นการสร้างความมั่นใจที่จะเผชิญเหตุ สามารถลดการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน และส่วนราชการในเขตพื้นที่ได้
ด้าน น.ส.มีนา ราชพิบูลย์ นักศึกษาปี 3 คณะครุศาสตร์ มรภ.สงขลา หอพักปาริฉัตร กล่าวว่า การเข้าร่วมอบรมอัคคีภัยทำให้รู้ถึงวิธีการป้องกันและหลีกเลี่ยงก่อนที่จะเกิดเหตุ เช่น การวางแผนเตรียมความพร้อมเกี่ยวกับอาคารสถานที่ ที่พักอาศัย ควรรู้เส้นทางเข้า-ออกในสถานที่นั้นๆ พอสมควร โดยรู้จักสังเกตสิ่งรอบตัวและเตรียมตนเองให้พร้อม ต้องมีสติในการรับมือ เมื่อเกิดอัคคีภัยก็สามารถที่จะเอาตัวรอดออกไปได้ เพราะอัคคีภัยนั้นสามารถเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ โดยที่เราอาจไม่ตั้งตัว หรือหากเกิดเหตุการณ์ขึ้นแล้วจะมีวิธีการเอาตัวรอดอย่างไร ได้รู้ถึงสาเหตุของอัคคีภัยว่ามีองค์ประกอบสำคัญอะไรบ้าง เพื่อที่จะสามารถหลีกเลี่ยงสิ่งเหล่านั้นที่อาจก่อให้เกิดอัคคีภัยได้
“เมื่อเกิดอัคคีภัยสิ่งที่ต้องปฏิบัติคือ หาที่มาของสถานที่เกิดเหตุเพลิงไหม้ หรือจุดกำเนิดเพลิงไหม้ และประเมินสถานการณ์ว่าสามารถควบคุมเพลิงได้หรือไม่อย่างไร หากสามารถควบคุมเองได้ให้รีบดับเพลิง โดยใช้วิธีที่เหมาะสมกับการเกิดเพลิงไหม้แต่ละประเภท แต่หากประเมินสถานการณ์แล้วว่าเกินความสามารถที่จะควบคุมได้ ให้เตือนผู้ที่อยู่ใกล้เคียงออกห่างจากพื้นที่ ไปรวมตัวกันในสถานที่ๆปลอดภัย โดยอาจตะโกนใช้เสียงหรือใช้สัญญาณแจ้งเตือนที่มีอยู่ในบริเวณนั้น เพื่อประกาศให้รู้ทั่วๆ กัน ซึ่งการออกจากตัวอาคารหรือพื้นที่ที่เกิดเพลิงไหม้ควรจะเลือกเส้นทางที่ปลอดภัยที่สุด เช่น ทางบันไดหนีไฟ และไม่ควรใช้ลิฟต์ เพราะระบบไฟฟ้าอาจจะขัดข้อง ผลที่ตามมาอาจทำให้เป็นอันตรายถึงชีวิตได้ จากนั้นทำการติดต่อประสานงานกับหน่วยงานที่รับผิดชอบ เช่น สถานีดับเพลิงและกู้ภัย การประปา ฯลฯ เพื่อรับทราบและดำเนินการควบคุมเพลิง และหากมีผู้ป่วยหรือมีคนติดอยู่ภายในตัวอาคารก็ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ที่ควบคุมเพลิงให้เร็วที่สุด เพื่อเข้าช่วยเหลืออย่างทันท่วงที” น.ส.มีนา กล่าว
น.ส.มาดีฮะ ศุทธิวรรณรักษ์ นักศึกษาปี 3 คณะวิทยาการจัดการ หอพักสบันงา กล่าวว่า จากการอบรมทำให้ตนได้เรียนรู้เกี่ยวกับวิธีป้องกันอันตรายที่จะเกิดจากไฟ และวิธีการรับมือหากเกิดขึ้นจริง
สิ่งแรกที่ต้องทำคือตั้งสติและหาต้นเหตุของไฟ พยายามหาคนเข้าช่วยเหลือหรือโทร 191 และรีบวิ่งลงมาทางบันไดหนีไฟทันทีแล้วรวมตัวกันข้างล่าง สำรวจสมาชิกว่ามากันครบหรือยัง จากนั้นรีบแจ้งเจ้าหน้าที่ที่ควบคุมเพลิงให้เร็วที่สุด เพื่อทำการช่วยเหลืออย่างทันท่วงที
ด้าน อ.นันธิดา ลิ่มเสฎโฐ อาจารย์ประจำหอพักสบันงา สังกัดโปรแกรมวิชาเคมีและเคมีประยุกต์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มรภ.สงขลา กล่าวว่า การอบรมครั้งนี้มีประโยชน์กับนักศึกษาและอาจารย์ในหอพักมาก เพราะภัยทุกๆ อย่างล้วนเป็นสิ่งที่เราไม่อาจคาดการณ์ล่วงหน้าได้ ไฟไหม้หรืออัคคีภัยก็เช่นเดียวกัน เป็นเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา เมื่อได้อบรมทำให้สมาชิกหอพักได้รับข้อมูลและความรู้ที่เป็นประโยชน์ สิ่งสำคัญสำหรับหอพักคือ เส้นทางหนีไฟและบันไดหนีไฟที่สามารถใช้ได้จริงเมื่อเกิดเหตุ รวมทั้งอุปกรณ์ดับเพลงที่พร้อมใช้งาน ซึ่งหวังอย่างยิ่งว่าสมาชิกหอพักจะได้เข้าร่วมกิจกรรมดีๆ เช่นนี้อีก
อาจารย์ประจำหอพักสบันงา กล่าวอีกว่า เมื่อเกิดเหตุอัคคีภัยสัญญานกระดิ่งของระบบความปลอดภัยจะดังเตือน จากนั้นสิ่งแรกที่ทุกๆ คนต้องทำคือตั้งสติและเดินไปยังทางหนีไฟ โดยระหว่างทางที่เดินไปควรส่งเสียงเตือน “ไฟไหม้” พร้อมเคาะห้องสมาชิกข้างเคียง และพยายามออกจากจุดเกิดเหตุให้เร็วที่สุด เดินลงบันไดหนีไฟแล้วออกไปรวมตัวที่ลานกว้าง ไม่พยายามเข้าไปยังจุดเกิดเหตุอีก ทั้งนี้ ฝ่ายอาคารสถานที่ควรตรวจเช็คสภาพเครื่องจับสัญญานควัน การทำงานของกริ่งเตือนภัย พร้อมทั้งตรวจเช็คถังดับเพลิงให้พร้อมใช้งาน (ไม่หมดอายุ) ส่วนเรื่องอื่นๆ ก็เป็นหน้าที่ของชาวสมาชิกหอพักที่ต้องคอยสอดส่องช่วยกันดูแล ไม่ให้เกิดเหตุอัคคีภัยได้.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ เปิด”มุมหนังสือนายกสภามหาวิทยาลัย” ณ ห้องสมุด ศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล
November 20, 2024
มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ จับมือ WeStride เปิดตัว “FutureX” หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ออนไลน์ ...
November 18, 2024
โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดรับสมัครนักเรียนระดับบ้านสาธิตปฐมวัยและระดับปฐมวัย (อนุบาล 1) ปีการศึกษา ...
November 13, 2024
มรภ.สงขลา นำผลงานนวัตกรรม นศ.เกษตร “เครื่องหยอดเมล็ดข้าว-กิมจิเห็ดนางฟ้า-ข้าวเกรียบเห็ดรสกิมจิ” ถ่ายทอดสู่ชุมชน
November 11, 2024