ข้อเรียกร้องให้ดำเนินการแก้ไขปัญหามลพิษจากการดำเนินการของโรงงานผลิตนำ้มันพืชและโรงไฟฟ้าชีวมวล ไททาโลว์
มลพิษด้านอากาศ 1/ให้แก้ไขไม่ให้มีฝุ่น ควัน ไดๆ เกิดขึ้นตลอดช่วงเวลาของการดำเนินกิจกรรมของบริษัทฯ ไม่ว่าจะเป็นช่วง อุ่นเตา(Heat up) ช่วงเดินเพิ่มภาระโหลด(load) หรือช่วงเดินเครื่องจักรขณะเต็มกำลังการผลิต(Full Capacity) โดยขอให้ดำเนินการปรับปรุง 1.1/ ให้ปรับปรุงกระบวนการอุ่นเตาโการใช้เชื้อเพลิงที่เผาไหม้ได้โดยง่ายและไม่มีผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม เช่น แก้ส หรือนำ้มันดีเซล ในการอุ่นเตาหลังจากนั้นจึงใช้เชื้อเพลิงหลักในการต้มนำ้เพื่อการผลิตไฟฟ้าต่อไป 1.2/ ให้ดำเนินการติดตั้งเครื่องกรองฝุ่นที่มีประสิทธิภาพและเพียงพอต่อการกำจัดแกสพิษและฝุ่นละอองโดยให้ดำเนินการติดตั้งเครื่องกรองฝุ่นประเภทถุงกรองฝุ่น(Bag Filter) หรือเครื่องกรองฝุ่นประเภทดักจับด้วยไฟฟ้าสถิต(Electro Static Precipitator-ESP) อย่างไดอย่างหนึ่ง ที่ซึ่งกระบวนการผลิตไฟฟ้าโดยชีวมวลโดยทั่วไปที่มุ่งดำเนินงานอย่างรับผิดชอบต่อสังคมได้นำมาใช้งานในกระบวนการผลิต 1.3/ให้มีการตรวจวัดฝุ่น ควันที่เกิดจากการเผาไหม้ที่ปล่อยออกปล่อง(Exhaust gas) และควบคุมให้อยู่ในเกณฑ์กฎหมายกำหนดโดยติดตั้งเครื่องมือวัด SOx, CO, Dust เป็นอย่างน้อย โดยควบคุมและบันทึกผลให้สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ และให้มีการบำรุงรักษาเครื่องมือวัดให้เที่ยงตรงตลอดเวลาโดยมีการรับรองผลการ Calibrate เครื่องมือวัดจาก 3rd party ที่น่าเชื่อถือรวมทั้งให้มีการตรวจวัด Dioxin และ NOx ขณะเครื่องจักรเดินเต็มกำลังการผลิตจาก 3rd party ที่น่าเชื่อถืออย่างน้อยปีละครั้ง โดยผลการตรวจวัดให้เปิดเผยต่อชุมชนรับรู้ 1.4/ในระหว่าการทดลองเดินเครื่องจักรหรือระหว่างเดินเครื่องจักรปกติให้มีการวัดคุณภาพอากาศ เช่น Dust concentration CO SOx เพื่อเฝ้าระวังไม่ให้มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หากพบว่ามีการชี้บ่งไม่ว่าจากเครื่องมือวัดหรือจากการสัมผัสได้ทางไดทางหนึ่ง เช่นมองเห็นด้วตาอย่างชัดเจนให้หยุดดำเนินการโดยทันทีและให้ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขให้แล้วเสร็จก่อนดำเนินการใหม่
มลพิษด้านนำ้ 1/ให้ติดตั้งมีเตอร์วัดปริมาณนำ้ที่สูบขึ้นจากคลองการะเกดและควบคุมการใช้นำ้ให้น้อยที่สุดหรือไม่ใช้เลย โดยให้รายงานผลการใช้นำ้ต่อชุมชนรายเดือน 2/ห้ามปล่อยนำ้ที่เกิดจากการดำเนินกิจกรรมของบริษัทฯ ออกนอกบริเวณเขตพื้นที่ของบริษัทฯ ไม่ว่าขณะไดๆ ทั้งสิ้น และขอให้บริษัทฯ ควบคุมนำ้ฝนชะล้างพื้นที่ในบริษัทฯไม่ให้ไหลออกนอกเขตพื้นที่บริษัทฯด้วยเช่นกัน 3/ให้บริษัทฯดำเนินการกำจัดนำ้เสียให้ถูกต้องตามหลักสากลโดยไม่ให้มีผลกระทบทางด้านกลิ่นต่อชุมชนและการปนเปื้อนของสารพิษในดิน
มลพิษด้านเสียง 1/ให้ควมคุมเสียงจากการดำเนินกิจกรรมที่ก่อให้เกิดเสียงดังที่เกิดอันตรายและที่ก่อให้เกิดความรำคาญโดยติดตั้งไซเลนเซอร์(silencer) ขนาดที่ใหญ่พอลดเสียงจากการ blow ทิ้งไอนำ้ในทุกจุดและให้ใช้ผลการตรวจวัดความดังขณะปล่อยไอนำ้สูงสุดและวัดระยะห่างจากแหล่งกำเหนิดเสียง 1 เมตร เสียงดังต้องตำ่กว่า 75 เดซิเบล ส่วนเสียงที่ก่อให้เกิดความรำคาญให้ปรับปรุงเครื่องจักรแหล่งกำเหนิดเสียง เช่น มอร์เตอร์ พัดลม เจนเนอร์เรเตอร์ หรืออื่นๆ ให้ลดเสียงดังหรือป้องกันการแพร่กระจายเสียง โดยเมื่อวัดที่รั้วโรงงานเสียงดังต้องตำ่กว่า 10 เดซิเบล 2/การตรวจวัดให้ดำเนินการโดย 3rd party ที่น่าเชื่อถือเช่น มหาวิทยาลัยชั้นนำ หรือ Accredited body ที่ทางราชการรับรอง
มลพิษด้านกลิ่น ให้ควบคุมกลิ่นทั้งการเผาไหม้จากปล่องและจากดำเนินกิจกรรมไม่ให้มีผลกระทบต่อชุมชนและให้มีการตรวจวัดตามาตรฐานสากล
การกำจัดของเสีย ให้กำจัดของเสียที่เกิดจากกิจจกรรมของบริษัท เช่น ขี้เถ้า นำ้เสีย ฯลฯ ให้ถูกต้องตามที่ราชการกำหนด
การควบคุมกระบวนการ 1/ให้โรงงานแสดงความมุ่งมั่นให้ปรากฎเป็นที่ประจักษ์ ในการทำกิจกรรมการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ชุมชน อย่างยั่งยืน เช่นมีแผนงานในการลดการใช้ทรัพยากรนำ้ การกำจัดของเสียอย่างมีระบบ ฯลฯ ประกาศและดำเนินการตามแผนอย่างเคร่งครัดเห็นได้อย่างชัดเจน 2/ให้บริษัทฯ ขอการรับรองการจัดการสิ่งแวดล้อมตามระบบ ISO14001 และให้ใช้ Accredited body ที่เป็นที่น่าเชื่อถือและเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป.
November 21, 2024
November 20, 2024
November 19, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
โรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม ที่ ต.การะเกด อ.เชียรใหญ่ จ.นครศรธรรมราชปล่อยมลพิษ
ข้อเรียกร้องให้ดำเนินการแก้ไขปัญหามลพิษจากการดำเนินการของโรงงานผลิตนำ้มันพืชและโรงไฟฟ้าชีวมวล ไททาโลว์
มลพิษด้านอากาศ
1/ให้แก้ไขไม่ให้มีฝุ่น ควัน ไดๆ เกิดขึ้นตลอดช่วงเวลาของการดำเนินกิจกรรมของบริษัทฯ ไม่ว่าจะเป็นช่วง อุ่นเตา(Heat up) ช่วงเดินเพิ่มภาระโหลด(load) หรือช่วงเดินเครื่องจักรขณะเต็มกำลังการผลิต(Full Capacity) โดยขอให้ดำเนินการปรับปรุง
1.1/ ให้ปรับปรุงกระบวนการอุ่นเตาโการใช้เชื้อเพลิงที่เผาไหม้ได้โดยง่ายและไม่มีผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม เช่น แก้ส หรือนำ้มันดีเซล ในการอุ่นเตาหลังจากนั้นจึงใช้เชื้อเพลิงหลักในการต้มนำ้เพื่อการผลิตไฟฟ้าต่อไป
1.2/ ให้ดำเนินการติดตั้งเครื่องกรองฝุ่นที่มีประสิทธิภาพและเพียงพอต่อการกำจัดแกสพิษและฝุ่นละอองโดยให้ดำเนินการติดตั้งเครื่องกรองฝุ่นประเภทถุงกรองฝุ่น(Bag Filter) หรือเครื่องกรองฝุ่นประเภทดักจับด้วยไฟฟ้าสถิต(Electro Static Precipitator-ESP) อย่างไดอย่างหนึ่ง ที่ซึ่งกระบวนการผลิตไฟฟ้าโดยชีวมวลโดยทั่วไปที่มุ่งดำเนินงานอย่างรับผิดชอบต่อสังคมได้นำมาใช้งานในกระบวนการผลิต
1.3/ให้มีการตรวจวัดฝุ่น ควันที่เกิดจากการเผาไหม้ที่ปล่อยออกปล่อง(Exhaust gas) และควบคุมให้อยู่ในเกณฑ์กฎหมายกำหนดโดยติดตั้งเครื่องมือวัด SOx, CO, Dust เป็นอย่างน้อย โดยควบคุมและบันทึกผลให้สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ และให้มีการบำรุงรักษาเครื่องมือวัดให้เที่ยงตรงตลอดเวลาโดยมีการรับรองผลการ Calibrate เครื่องมือวัดจาก 3rd party ที่น่าเชื่อถือรวมทั้งให้มีการตรวจวัด Dioxin และ NOx ขณะเครื่องจักรเดินเต็มกำลังการผลิตจาก 3rd party ที่น่าเชื่อถืออย่างน้อยปีละครั้ง โดยผลการตรวจวัดให้เปิดเผยต่อชุมชนรับรู้
1.4/ในระหว่าการทดลองเดินเครื่องจักรหรือระหว่างเดินเครื่องจักรปกติให้มีการวัดคุณภาพอากาศ เช่น Dust concentration CO SOx เพื่อเฝ้าระวังไม่ให้มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หากพบว่ามีการชี้บ่งไม่ว่าจากเครื่องมือวัดหรือจากการสัมผัสได้ทางไดทางหนึ่ง เช่นมองเห็นด้วตาอย่างชัดเจนให้หยุดดำเนินการโดยทันทีและให้ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขให้แล้วเสร็จก่อนดำเนินการใหม่
มลพิษด้านนำ้
1/ให้ติดตั้งมีเตอร์วัดปริมาณนำ้ที่สูบขึ้นจากคลองการะเกดและควบคุมการใช้นำ้ให้น้อยที่สุดหรือไม่ใช้เลย โดยให้รายงานผลการใช้นำ้ต่อชุมชนรายเดือน
2/ห้ามปล่อยนำ้ที่เกิดจากการดำเนินกิจกรรมของบริษัทฯ ออกนอกบริเวณเขตพื้นที่ของบริษัทฯ ไม่ว่าขณะไดๆ ทั้งสิ้น และขอให้บริษัทฯ ควบคุมนำ้ฝนชะล้างพื้นที่ในบริษัทฯไม่ให้ไหลออกนอกเขตพื้นที่บริษัทฯด้วยเช่นกัน
3/ให้บริษัทฯดำเนินการกำจัดนำ้เสียให้ถูกต้องตามหลักสากลโดยไม่ให้มีผลกระทบทางด้านกลิ่นต่อชุมชนและการปนเปื้อนของสารพิษในดิน
มลพิษด้านเสียง
1/ให้ควมคุมเสียงจากการดำเนินกิจกรรมที่ก่อให้เกิดเสียงดังที่เกิดอันตรายและที่ก่อให้เกิดความรำคาญโดยติดตั้งไซเลนเซอร์(silencer) ขนาดที่ใหญ่พอลดเสียงจากการ blow ทิ้งไอนำ้ในทุกจุดและให้ใช้ผลการตรวจวัดความดังขณะปล่อยไอนำ้สูงสุดและวัดระยะห่างจากแหล่งกำเหนิดเสียง 1 เมตร เสียงดังต้องตำ่กว่า 75 เดซิเบล ส่วนเสียงที่ก่อให้เกิดความรำคาญให้ปรับปรุงเครื่องจักรแหล่งกำเหนิดเสียง เช่น มอร์เตอร์ พัดลม เจนเนอร์เรเตอร์ หรืออื่นๆ ให้ลดเสียงดังหรือป้องกันการแพร่กระจายเสียง โดยเมื่อวัดที่รั้วโรงงานเสียงดังต้องตำ่กว่า 10 เดซิเบล
2/การตรวจวัดให้ดำเนินการโดย 3rd party ที่น่าเชื่อถือเช่น มหาวิทยาลัยชั้นนำ หรือ Accredited body ที่ทางราชการรับรอง
มลพิษด้านกลิ่น
ให้ควบคุมกลิ่นทั้งการเผาไหม้จากปล่องและจากดำเนินกิจกรรมไม่ให้มีผลกระทบต่อชุมชนและให้มีการตรวจวัดตามาตรฐานสากล
การกำจัดของเสีย
ให้กำจัดของเสียที่เกิดจากกิจจกรรมของบริษัท เช่น ขี้เถ้า นำ้เสีย ฯลฯ ให้ถูกต้องตามที่ราชการกำหนด
การควบคุมกระบวนการ
1/ให้โรงงานแสดงความมุ่งมั่นให้ปรากฎเป็นที่ประจักษ์ ในการทำกิจกรรมการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ชุมชน อย่างยั่งยืน เช่นมีแผนงานในการลดการใช้ทรัพยากรนำ้ การกำจัดของเสียอย่างมีระบบ ฯลฯ ประกาศและดำเนินการตามแผนอย่างเคร่งครัดเห็นได้อย่างชัดเจน
2/ให้บริษัทฯ ขอการรับรองการจัดการสิ่งแวดล้อมตามระบบ ISO14001 และให้ใช้ Accredited body ที่เป็นที่น่าเชื่อถือและเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมสืบสานประเพณีลอยกระทง สร้างความสุขทั่วอำเภอขนอม
November 21, 2024
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมส่งเสริมสุขภาพชุมชน สนับสนุนอบรม อสม.ใหม่/ทดแทน
November 21, 2024
อบจ.สงขลา ร่วมรับรางวัลประกาศเกียรติคุณ “ค่าของแผ่นดิน” ประจำปี 2566 ด้านการพัฒนาสังคมและส่งเสริมคุณภาพชีวิต จากโครงการ ...
November 20, 2024
อโกด้าเผย หาดใหญ่คว้าแชมป์เมืองท่องเที่ยวที่คุ้มค่าที่สุดในไทย ช่วงเทศกาลส่งท้ายปี
November 19, 2024