นักวิจัย มรภ.สงขลา ศึกษาอิทธิพลเศรษฐกิจต่ออัตราอาชญากรรมประเภทคดีประทุษร้ายต่อทรัพย์ รับรางวัลบทความวิจัยดีเด่น สาขานิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ ชี้ทุนนิยมสร้างความเหลื่อมล้ำทางรายได้ แนะรัฐเปิดโซนป้องกันตนเอง รณรงค์ประชาชนเลี่ยงทำกิจกรรมพื้นที่เสี่ยง
ดร.อิสระ ทองสามสี อาจารย์ประจำโปรแกรมวิชาพัฒนาชุมชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) ได้รับรางวัลบทความวิจัยดีเด่น สาขานิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ จากงานวิจัยเรื่อง “อิทธิพลปฏิสัมพันธ์ระหว่างสภาพเศรษฐกิจและสภาพสังคมที่มีต่ออัตราอาชญากรรมประเภทคดีประทุษร้ายต่อทรัพย์ในประเทศไทย พ.ศ.2557” ในงานประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 7 ณ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ เมื่อเร็วๆ นี้ โดยงานวิจัยดังกล่าวมุ่งอธิบายความผันแปรของอัตราอาชญากรรมประเภทคดีประทุษร้ายต่อทรัพย์ในแต่ละพื้นที่ อันเนื่องมาจากอิทธิพลปฏิสัมพันธ์ระหว่างสภาพเศรษฐกิจและสภาพสังคม ผลการวิจัยที่ได้จะเป็นประโยชน์ต่อรัฐบาลในการกำหนดนโยบายและวางแผนสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการป้องปรามและแก้ไขปัญหาอาชญากรรม เพื่อเป้าหมายสูงสุดคือคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนทั้งประเทศ
ดร.อิสระ กล่าวว่า การวิจัยอาศัยสถิติรายจังหวัด พ.ศ.2557 จำนวน 77 จังหวัด เป็นหน่วยวิเคราะห์ ข้อมูลดังกล่าวรวบรวมจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งข้อมูลคดีอาชญากรรมประเภทคดีประทุษร้ายต่อทรัพย์ตามการจับกุม ประกอบด้วย คดีลักทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์ กรรโชกทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ และ ทำให้เสียทรัพย์ ข้อมูลสภาพเศรษฐกิจ ได้แก่ จำนวนคนว่างงาน และค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือนต่อครัวเรือน ข้อมูลสภาพสังคม ได้แก่ ความเป็นเมือง และความหนาแน่นประชากร ผลการวิจัยพบว่า สภาพเศรษฐกิจส่งผลต่ออัตราอาชญากรรมประเภทคดีประทุษร้ายต่อทรัพย์ ในขณะที่สภาพสังคมและอิทธิพลปฏิสัมพันธ์ระหว่างสภาพเศรษฐกิจและสภาพสังคมไม่ส่งผลต่ออัตราอาชญากรรม สะท้อนว่าสภาพเศรษฐกิจไม่ดีทำให้อัตราอาชญากรรมเพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้เพราะมีผู้ว่างงานจำนวนมาก ทำให้เกิดแรงจูงใจที่จะกระทำผิดเพื่อนำเงินทองมาใช้จ่ายในการดำรงชีวิต
ผลการวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะสำหรับนำไปใช้ประโยชน์ กล่าวคือ สภาพเศรษฐกิจแบบทุนนิยมส่งผลให้การพัฒนาพื้นที่ต่าง ๆ เกิดความเหลื่อมล้ำด้านรายได้และโอกาสการเข้าถึงบริการภาครัฐที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งนำไปสู่ความขัดแย้งในสังคมและเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและความมั่นคงทางสังคมของประเทศ พื้นที่ดังกล่าวเป็นบริเวณที่มีความสุ่มเสี่ยงต่อการถูกคุกคามสิทธิและเสรีภาพและการเกิดอาชญากรรม การป้องกันอาชญากรรมจึงควรมุ่งให้ความใส่ใจกับพื้นที่เหล่านี้ ซึ่งทำได้โดยการกำหนดนโยบายให้บริเวณนี้เป็น “พื้นที่แห่งการป้องกันตนเอง” (Defensible space) อาทิ ติดตั้งกล้องวงจรปิดเพื่อช่วยสอดส่องอาชญากรรม การเพิ่มไฟส่องสว่างให้ทั่วถึง และรณรงค์ให้ประชาชนหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมในพื้นที่เสี่ยงเป็นเวลานาน เป็นต้น.
November 20, 2024
November 18, 2024
November 13, 2024
November 11, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
นักวิจัย มรภ.สงขลา ชี้เศรษฐกิจส่งผลต่ออาชญากรรม คว้าบทความวิจัยดีเด่น สาขานิติศาสตร์และรัฐศาสตร์
นักวิจัย มรภ.สงขลา ศึกษาอิทธิพลเศรษฐกิจต่ออัตราอาชญากรรมประเภทคดีประทุษร้ายต่อทรัพย์ รับรางวัลบทความวิจัยดีเด่น สาขานิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ ชี้ทุนนิยมสร้างความเหลื่อมล้ำทางรายได้ แนะรัฐเปิดโซนป้องกันตนเอง รณรงค์ประชาชนเลี่ยงทำกิจกรรมพื้นที่เสี่ยง
ดร.อิสระ ทองสามสี อาจารย์ประจำโปรแกรมวิชาพัฒนาชุมชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) ได้รับรางวัลบทความวิจัยดีเด่น สาขานิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ จากงานวิจัยเรื่อง “อิทธิพลปฏิสัมพันธ์ระหว่างสภาพเศรษฐกิจและสภาพสังคมที่มีต่ออัตราอาชญากรรมประเภทคดีประทุษร้ายต่อทรัพย์ในประเทศไทย พ.ศ.2557” ในงานประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 7 ณ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ เมื่อเร็วๆ นี้ โดยงานวิจัยดังกล่าวมุ่งอธิบายความผันแปรของอัตราอาชญากรรมประเภทคดีประทุษร้ายต่อทรัพย์ในแต่ละพื้นที่ อันเนื่องมาจากอิทธิพลปฏิสัมพันธ์ระหว่างสภาพเศรษฐกิจและสภาพสังคม ผลการวิจัยที่ได้จะเป็นประโยชน์ต่อรัฐบาลในการกำหนดนโยบายและวางแผนสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการป้องปรามและแก้ไขปัญหาอาชญากรรม เพื่อเป้าหมายสูงสุดคือคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนทั้งประเทศ
ดร.อิสระ กล่าวว่า การวิจัยอาศัยสถิติรายจังหวัด พ.ศ.2557 จำนวน 77 จังหวัด เป็นหน่วยวิเคราะห์ ข้อมูลดังกล่าวรวบรวมจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งข้อมูลคดีอาชญากรรมประเภทคดีประทุษร้ายต่อทรัพย์ตามการจับกุม ประกอบด้วย คดีลักทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์ กรรโชกทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ และ ทำให้เสียทรัพย์ ข้อมูลสภาพเศรษฐกิจ ได้แก่ จำนวนคนว่างงาน และค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือนต่อครัวเรือน ข้อมูลสภาพสังคม ได้แก่ ความเป็นเมือง และความหนาแน่นประชากร ผลการวิจัยพบว่า สภาพเศรษฐกิจส่งผลต่ออัตราอาชญากรรมประเภทคดีประทุษร้ายต่อทรัพย์ ในขณะที่สภาพสังคมและอิทธิพลปฏิสัมพันธ์ระหว่างสภาพเศรษฐกิจและสภาพสังคมไม่ส่งผลต่ออัตราอาชญากรรม สะท้อนว่าสภาพเศรษฐกิจไม่ดีทำให้อัตราอาชญากรรมเพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้เพราะมีผู้ว่างงานจำนวนมาก ทำให้เกิดแรงจูงใจที่จะกระทำผิดเพื่อนำเงินทองมาใช้จ่ายในการดำรงชีวิต
ผลการวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะสำหรับนำไปใช้ประโยชน์ กล่าวคือ สภาพเศรษฐกิจแบบทุนนิยมส่งผลให้การพัฒนาพื้นที่ต่าง ๆ เกิดความเหลื่อมล้ำด้านรายได้และโอกาสการเข้าถึงบริการภาครัฐที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งนำไปสู่ความขัดแย้งในสังคมและเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและความมั่นคงทางสังคมของประเทศ พื้นที่ดังกล่าวเป็นบริเวณที่มีความสุ่มเสี่ยงต่อการถูกคุกคามสิทธิและเสรีภาพและการเกิดอาชญากรรม การป้องกันอาชญากรรมจึงควรมุ่งให้ความใส่ใจกับพื้นที่เหล่านี้ ซึ่งทำได้โดยการกำหนดนโยบายให้บริเวณนี้เป็น “พื้นที่แห่งการป้องกันตนเอง” (Defensible space) อาทิ ติดตั้งกล้องวงจรปิดเพื่อช่วยสอดส่องอาชญากรรม การเพิ่มไฟส่องสว่างให้ทั่วถึง และรณรงค์ให้ประชาชนหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมในพื้นที่เสี่ยงเป็นเวลานาน เป็นต้น.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ เปิด”มุมหนังสือนายกสภามหาวิทยาลัย” ณ ห้องสมุด ศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล
November 20, 2024
มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ จับมือ WeStride เปิดตัว “FutureX” หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ออนไลน์ ...
November 18, 2024
โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดรับสมัครนักเรียนระดับบ้านสาธิตปฐมวัยและระดับปฐมวัย (อนุบาล 1) ปีการศึกษา ...
November 13, 2024
มรภ.สงขลา นำผลงานนวัตกรรม นศ.เกษตร “เครื่องหยอดเมล็ดข้าว-กิมจิเห็ดนางฟ้า-ข้าวเกรียบเห็ดรสกิมจิ” ถ่ายทอดสู่ชุมชน
November 11, 2024