มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) ดำเนินโครงการจัดตั้งวิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ โดยได้รับการอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัย เพื่อรองรับการพัฒนาจังหวัดให้สอดคล้องตามประเด็นยุทธศาสตร์จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยให้ประสานงบประมาณดำเนินงานจากทุกภาคส่วนทั้งในระดับชาติและระดับจังหวัด ณ พื้นที่สาธารณประโยชน์ ทุ่งใหญ่สารภี ต.ละงู อ.ละงู จ.สตูล มีเจตนารมณ์ในการขยายโอกาสทางการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น โดยพัฒนาหลักสูตรเปิดสาขาวิชาที่ตอบสนองและสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในเขตพัฒนาเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนใต้ ที่เป็นประโยชน์กับท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาประเทศชาติอย่างยั่งยืน
วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ มรภ.สงขลา วิทยาเขตสตูล เป็นวิทยาลัยแห่งใหม่ในพื้นที่เขตพัฒนาเฉพาะกิจชายแดนใต้ และเป็นหนึ่งในโครงการใต้สันติสุขในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบ ลดความขัดแย้งและความรุนแรงที่เกิดขึ้นในเขตพัฒนาเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ต้องเป็นการแก้ปัญหาในเชิงบูรณาการของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เครื่องมือที่สำคัญที่สุดในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวและรัฐบาลได้มีนโยบายให้เร่งรัดให้เกิดการขับเคลื่อนการพัฒนาการศึกษาในทุกระดับที่สอดคล้องกับความต้องการ วิถีชีวิตและวัฒนธรรมของพื้นที่อย่างแท้จริง โครงการวิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ มุ่งการแก้ไขปัญหาในการพัฒนาการศึกษาในเขตพัฒนาเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างจริงจังและเร่งด่วน เพื่อให้สามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้ทันที อีกทั้งได้ให้ความสำคัญในการพัฒนาการศึกษาในเขตพัฒนาเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนใต้อย่างจริงจัง
โดยได้ผลักดันบุคคลากรสายวิชาการในโครงการพัฒนาอาจารย์และบุคคลากรสำหรับสถาบันอุดมศึกษาในเขตพัฒนาเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ หลักสูตรปริญญาเอกร่วมในประเทศ-ต่างประเทศ และหลักสูตรปริญญาเอกในประเทศ เพื่อให้โครงการวิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ เป็นสถาบันเพื่อผลิตและพัฒนาอาจารย์ให้มีความเข็มแข็งทางด้านวิชาการและความสามารถในการสอน โดยเฉพาะในสาขาที่รองรับการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจสามฝ่ายประกอบด้วยประเทศอินโดนีเซีย ประเทศมาเลเซียและประเทศไทย อีกทั้งเพื่อเป็นการผลิตผลงานวิจัยในการแก้ปัญหาเพื่อลดความรุนแรงของสถานการณ์ในภาคใต้และช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจ ประการสุดท้ายเพื่อวางระบบบริหารโครงการที่มีความคล่องตัวและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด การคิดและดำเนินวิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ จะต้องไม่ติดคุกอยู่กับอดีตและคร่ำเครียดอยู่กับปัจจุบัน หากมุ่งมั่นไปสู่อนาคตที่ดีกว่าเสมอ ด้วยความรัก ด้วยความสุขและความภาคภูมิใจกับวิทยาลัยแห่งนี้ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต และวิทยาลัยแห่งนี้จะเป็นสถานที่แห่งศาสตร์วิชาสากลที่สร้างความเชื่อมั่นและความใฝ่ฝันทีดีที่สุดในเขตพัฒนาเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้
สตูลเป็นจังหวัดที่มีศักยภาพและมีแนวโน้มในการขยายตัวทางเศรษฐกิจเพิ่มมากขึ้นจากการลงทุนทั้งทางภาครัฐและภาคเอกชนในด้านต่าง ๆ เช่นด้านการศึกษา ด้านเศรษฐกิจ และด้านสังคม ดังนั้น ปัญหาที่มีความจำเป็นอย่างเร่งด่วนเพื่อเตรียมการสำหรับรองรับการขยายตัวโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านเศรษฐกิจของสตูลและจังหวัดใกล้เคียงในเขตพื้นที่ภาคใต้ฝั่งตะวันตกคือ การพัฒนาให้คนมีศักยภาพและมีทักษะในการทำงาน รวมถึงประสบการณ์ เพื่อรองรับ ความต้องการของตลาดแรงงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะสหพันธรัฐมาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย บรูไน และประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก การจัดตั้งวิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ (The College of Innovion and Management ) ใน จ.สตูล ที่จะดำเนินการสอนใน พ.ศ.2561 นั้น เป็นอีกหนึ่งยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยสู่การเรียนรู้ระดับสากลเพื่อพัฒนาท้องถิ่นสอดรับกับทิศทางแผนการก่อตั้งวิทยาลัย เพื่อเป็นแนวทางการพัฒนา ดำเนินการในการผลิตบุคลากรและเป็นสถาบันการศึกษาที่มุ่งเน้นการพัฒนาความชำนาญเฉพาะด้านเพื่อการพัฒนาคนและพัฒนาองค์ความรู้อันมีผลต่อการส่งเสริมและพัฒนาความรู้และศักยภาพคนในเขตพื้นที่ จ.สตูลและภาคใต้ เพื่อความเป็นเลิศในการประกอบอาชีพและพัฒนาสังคมต่อไปในอนาคต
ทั้งยังเป็นการส่งเสริมโอกาสต่อชุมชนรอบวิทยาเขตโครงการก่อสร้างวิทยาเขตที่มีขนาดใหญ่เช่นนี้ จะต้องก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงต่อประชากรในชุมชนเดิมรอบๆวิทยาเขต อย่างแน่นอนทั้งทางด้านบวกและลบ จึงควรเตรียมการประชาสัมพันธ์เพื่อความเข้าใจอันดีต่อกันและวางกุศโลบายที่จะทำให้ชุมชนมีศรัทธาและให้ความร่วมมือในการดำเนินการทุกๆขั้นตอนด้วยดี เปิดโอกาสให้ชุมชนมีรายได้เพิ่มเติม เช่นการจ้างแรงงานท้องถิ่น การลงทุนในธุรกิจบริการ เช่น บ้านพัก หอพัก ร้านค้าปลีก ฯลฯ ให้ความเอาใจใส่กับผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนจากการก่อสร้างโดยไม่ชักช้าและยุติธรรม ความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและสังคม ทั้งภาครัฐและเอกชนด้วยแรงขับเคลื่อนจากกระแสโลกาภิวัฒน์และสังคมสารสนเทศ จำเป็นจะต้องอาศัยสร้างวิสัยทัศน์และ พันธกิจ กำหนดเป้าหมายการพัฒนาสังคมไทยสู่สังคมเศรษฐกิจฐานความรู้ ซึ่งจะต้องพัฒนาความสามารถทางนวัตกรรมเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการสร้างความได้เปรียบหรือโอกาสทางการแข่งขันด้านข้อมูลข่าวสารเทคโนโลยี ทรัพยากรมนุษย์ องค์ความรู้เท่าทันกระแสโลกาภิวัตน์ ที่มุ่งเน้นทางด้านนวัตกรรมการสื่อสาร จึงสำคัญและจำเป็นจะต้องมีขึ้นเพื่อรองรับการพัฒนาประเทศ เพราะการสื่อสารสามารถส่องแสงและชี้นำองค์การการศึกษาไปสู่อนาคตที่ดีกว่าได้ ……………………………………………………………………………………………………………………… * ตัดทอนจากบทความเรื่อง อุดมการณ์สู่อนาคต : ปฐมบทวิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา เขียนโดย ดร.อาชารินทร์ แป้นสุข อาจารย์ประจำวิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ ตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนมกราคม-มิถุนายน 2559
* ดร.อาชารินทร์ แป้นสุข.
November 20, 2024
November 18, 2024
November 13, 2024
November 11, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
อุดมการณ์สู่อนาคต : ปฐมบทวิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ มรภ.สงขลา
มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) ดำเนินโครงการจัดตั้งวิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ โดยได้รับการอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัย เพื่อรองรับการพัฒนาจังหวัดให้สอดคล้องตามประเด็นยุทธศาสตร์จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยให้ประสานงบประมาณดำเนินงานจากทุกภาคส่วนทั้งในระดับชาติและระดับจังหวัด ณ พื้นที่สาธารณประโยชน์ ทุ่งใหญ่สารภี ต.ละงู อ.ละงู จ.สตูล มีเจตนารมณ์ในการขยายโอกาสทางการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น โดยพัฒนาหลักสูตรเปิดสาขาวิชาที่ตอบสนองและสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในเขตพัฒนาเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนใต้ ที่เป็นประโยชน์กับท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาประเทศชาติอย่างยั่งยืน
วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ มรภ.สงขลา วิทยาเขตสตูล เป็นวิทยาลัยแห่งใหม่ในพื้นที่เขตพัฒนาเฉพาะกิจชายแดนใต้ และเป็นหนึ่งในโครงการใต้สันติสุขในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบ ลดความขัดแย้งและความรุนแรงที่เกิดขึ้นในเขตพัฒนาเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ต้องเป็นการแก้ปัญหาในเชิงบูรณาการของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เครื่องมือที่สำคัญที่สุดในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวและรัฐบาลได้มีนโยบายให้เร่งรัดให้เกิดการขับเคลื่อนการพัฒนาการศึกษาในทุกระดับที่สอดคล้องกับความต้องการ วิถีชีวิตและวัฒนธรรมของพื้นที่อย่างแท้จริง โครงการวิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ มุ่งการแก้ไขปัญหาในการพัฒนาการศึกษาในเขตพัฒนาเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างจริงจังและเร่งด่วน เพื่อให้สามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้ทันที อีกทั้งได้ให้ความสำคัญในการพัฒนาการศึกษาในเขตพัฒนาเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนใต้อย่างจริงจัง
โดยได้ผลักดันบุคคลากรสายวิชาการในโครงการพัฒนาอาจารย์และบุคคลากรสำหรับสถาบันอุดมศึกษาในเขตพัฒนาเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ หลักสูตรปริญญาเอกร่วมในประเทศ-ต่างประเทศ และหลักสูตรปริญญาเอกในประเทศ เพื่อให้โครงการวิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ เป็นสถาบันเพื่อผลิตและพัฒนาอาจารย์ให้มีความเข็มแข็งทางด้านวิชาการและความสามารถในการสอน โดยเฉพาะในสาขาที่รองรับการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจสามฝ่ายประกอบด้วยประเทศอินโดนีเซีย ประเทศมาเลเซียและประเทศไทย อีกทั้งเพื่อเป็นการผลิตผลงานวิจัยในการแก้ปัญหาเพื่อลดความรุนแรงของสถานการณ์ในภาคใต้และช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจ ประการสุดท้ายเพื่อวางระบบบริหารโครงการที่มีความคล่องตัวและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด การคิดและดำเนินวิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ จะต้องไม่ติดคุกอยู่กับอดีตและคร่ำเครียดอยู่กับปัจจุบัน หากมุ่งมั่นไปสู่อนาคตที่ดีกว่าเสมอ ด้วยความรัก ด้วยความสุขและความภาคภูมิใจกับวิทยาลัยแห่งนี้ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต และวิทยาลัยแห่งนี้จะเป็นสถานที่แห่งศาสตร์วิชาสากลที่สร้างความเชื่อมั่นและความใฝ่ฝันทีดีที่สุดในเขตพัฒนาเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้
สตูลเป็นจังหวัดที่มีศักยภาพและมีแนวโน้มในการขยายตัวทางเศรษฐกิจเพิ่มมากขึ้นจากการลงทุนทั้งทางภาครัฐและภาคเอกชนในด้านต่าง ๆ เช่นด้านการศึกษา ด้านเศรษฐกิจ และด้านสังคม ดังนั้น ปัญหาที่มีความจำเป็นอย่างเร่งด่วนเพื่อเตรียมการสำหรับรองรับการขยายตัวโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านเศรษฐกิจของสตูลและจังหวัดใกล้เคียงในเขตพื้นที่ภาคใต้ฝั่งตะวันตกคือ การพัฒนาให้คนมีศักยภาพและมีทักษะในการทำงาน รวมถึงประสบการณ์ เพื่อรองรับ ความต้องการของตลาดแรงงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะสหพันธรัฐมาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย บรูไน และประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก การจัดตั้งวิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ (The College of Innovion and Management ) ใน จ.สตูล ที่จะดำเนินการสอนใน พ.ศ.2561 นั้น เป็นอีกหนึ่งยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยสู่การเรียนรู้ระดับสากลเพื่อพัฒนาท้องถิ่นสอดรับกับทิศทางแผนการก่อตั้งวิทยาลัย เพื่อเป็นแนวทางการพัฒนา ดำเนินการในการผลิตบุคลากรและเป็นสถาบันการศึกษาที่มุ่งเน้นการพัฒนาความชำนาญเฉพาะด้านเพื่อการพัฒนาคนและพัฒนาองค์ความรู้อันมีผลต่อการส่งเสริมและพัฒนาความรู้และศักยภาพคนในเขตพื้นที่ จ.สตูลและภาคใต้ เพื่อความเป็นเลิศในการประกอบอาชีพและพัฒนาสังคมต่อไปในอนาคต
ทั้งยังเป็นการส่งเสริมโอกาสต่อชุมชนรอบวิทยาเขตโครงการก่อสร้างวิทยาเขตที่มีขนาดใหญ่เช่นนี้ จะต้องก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงต่อประชากรในชุมชนเดิมรอบๆวิทยาเขต อย่างแน่นอนทั้งทางด้านบวกและลบ จึงควรเตรียมการประชาสัมพันธ์เพื่อความเข้าใจอันดีต่อกันและวางกุศโลบายที่จะทำให้ชุมชนมีศรัทธาและให้ความร่วมมือในการดำเนินการทุกๆขั้นตอนด้วยดี เปิดโอกาสให้ชุมชนมีรายได้เพิ่มเติม เช่นการจ้างแรงงานท้องถิ่น การลงทุนในธุรกิจบริการ เช่น บ้านพัก หอพัก ร้านค้าปลีก ฯลฯ ให้ความเอาใจใส่กับผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนจากการก่อสร้างโดยไม่ชักช้าและยุติธรรม
ความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและสังคม ทั้งภาครัฐและเอกชนด้วยแรงขับเคลื่อนจากกระแสโลกาภิวัฒน์และสังคมสารสนเทศ จำเป็นจะต้องอาศัยสร้างวิสัยทัศน์และ พันธกิจ กำหนดเป้าหมายการพัฒนาสังคมไทยสู่สังคมเศรษฐกิจฐานความรู้ ซึ่งจะต้องพัฒนาความสามารถทางนวัตกรรมเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการสร้างความได้เปรียบหรือโอกาสทางการแข่งขันด้านข้อมูลข่าวสารเทคโนโลยี ทรัพยากรมนุษย์ องค์ความรู้เท่าทันกระแสโลกาภิวัตน์ ที่มุ่งเน้นทางด้านนวัตกรรมการสื่อสาร จึงสำคัญและจำเป็นจะต้องมีขึ้นเพื่อรองรับการพัฒนาประเทศ เพราะการสื่อสารสามารถส่องแสงและชี้นำองค์การการศึกษาไปสู่อนาคตที่ดีกว่าได้
………………………………………………………………………………………………………………………
* ตัดทอนจากบทความเรื่อง อุดมการณ์สู่อนาคต : ปฐมบทวิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา เขียนโดย ดร.อาชารินทร์ แป้นสุข อาจารย์ประจำวิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ ตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนมกราคม-มิถุนายน 2559
* ดร.อาชารินทร์ แป้นสุข.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ เปิด”มุมหนังสือนายกสภามหาวิทยาลัย” ณ ห้องสมุด ศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล
November 20, 2024
มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ จับมือ WeStride เปิดตัว “FutureX” หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ออนไลน์ ...
November 18, 2024
โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดรับสมัครนักเรียนระดับบ้านสาธิตปฐมวัยและระดับปฐมวัย (อนุบาล 1) ปีการศึกษา ...
November 13, 2024
มรภ.สงขลา นำผลงานนวัตกรรม นศ.เกษตร “เครื่องหยอดเมล็ดข้าว-กิมจิเห็ดนางฟ้า-ข้าวเกรียบเห็ดรสกิมจิ” ถ่ายทอดสู่ชุมชน
November 11, 2024