20 ธันวาคม 2555 ณ หน้าศาลากลางจังหวัดสงขลา อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา แนวร่วมเครือข่ายธรรมาภิบาลด้านพลังงาน จังหวัดสงขลา รวมพลังคนสงขลาค้านการขึ้นราคาก๊าซหุงต้ม (LPG) ในย่านเศรษฐกิจใจกลางเมืองหาดใหญ่ และสงขลา ที่รัฐบาลจะเริ่มปรับราคาในปี 2556 ซึ่งจะส่งผลให้ประชาชนผู้บริโภคต้องได้รับความเดือดร้อน โดยนายกฤษฎา บุญราช ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ได้รับหนังสือจากแนวร่วม เพื่อดำเนินการต่อไป
โดยแกนนำได้เข้ายื่นจดหมายเปิดผนึกผ่านนายกฤษฎา บุญราช ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ไปยังนายกรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ให้หยุดนโยบายปรับขึ้นราคาก๊าซหุงต้ม อ้างเหตุผล 5 ข้อ
1. ให้รัฐบาลหยุดนโยบายปรับขึ้นราคา LPG กับภาคครัวเรือนและภาคยานยนต์ เนื่องจากการให้สัมปทานปิโตรเลียมของประเทศไทยเป็นระบบสัมปทานที่รัฐได้รับผลประโยชน์ตอบแทนต่ำที่สุดในอาเซียน ทำให้ผู้รับสัมปทานมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำ มีต้นทุนการผลิตแอลพีจีบวกกำไรของผู้รับสัมปทานอยู่ที่ประมาณ 9 บาท ต่อ กิโลกรัมเท่านั้น ขณะที่ราคาค้าปลีก LPG ที่จำหน่ายให้กับภาคครัวเรือนและยานยนต์ ซึ่งรวมกำไรของผู้ค้าและภาษีอยู่ที่กิโลกรัมละ 18.13 บาท ต่อกิโลกรัม และ 21.38 บาท ต่อ กิโลกรัม ตามลำดับ จึงเป็นราคาที่ผู้ค้าได้กำไรอยู่แล้ว
2. ก๊าซ LPG ที่ผลิตจากโรงแยกก๊าซธรรมชาติ รัฐบาลควรจัดให้ภาคประชาชนได้ใช้ก่อน เนื่องจากวัตถุดิบในการผลิตมาจากแผ่นดินไทยถือเป็นทรัพยากรของประชาชน ทั้งนี้ ในปี 2554 โรงแยกก๊าซ มีกำลังการผลิต 3.60 ล้านตัน ประชาชนใช้ 3.57 ล้านตัน และปี 2555 คาดว่าจะผลิตได้ 3.88 ล้านตัน ซึ่งเพียงพอต่อการใช้ของภาคประชาชนอยู่แล้ว ส่วนที่เหลือให้จำหน่ายกับภาคอุตสาหกรรมได้ หากไม่เพียงพอให้ภาคอุตสาหกรรมเป็นผู้รับภาระในการนำเข้าเอง
3. ให้เลิกนำเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ไปอุดหนุนการใช้ LPG เป็นวัตถุดิบของการผลิตปิโตรเคมี ในราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาดโลก ประมาณร้อยละ 40 การนำเงินกองทุนน้ำมันฯ ไปอุดหนุนปิโตรเคมีดังกล่าว เป็นการกระทำที่ผิดวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งกองทุนน้ำมันฯ ตั้งแต่แรกเริ่มที่มีขึ้นเพื่อรักษาระดับราคาพลังงาน มิใช่เพื่อไปอุดหนุนราคาวัตถุดิบในอุตสาหกรรมใดโดยเฉพาะ จึงเป็นการกระทำที่ไม่เป็นธรรมต่ออุตสาหกรรมอื่นที่ไม่ได้รับการอุดหนุน และยังเป็นการเอาเปรียบประชาชนผู้เป็นเจ้าของกองทุนน้ำมันฯ อีกด้วย
4. หนี้ของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงที่ปัจจุบันติดลบอยู่ประมาณ 17,000 ล้านบาท เกิดจากการนำเงินกองทุนน้ำมันฯ ไปอุดหนุนธุรกิจปิโตรเคมี ดังนั้นแทนที่รัฐบาลจะปรับขึ้นราคา LPG กับภาคขนส่งและครัวเรือน ปีละ 3-6 บาท ต่อกิโลกรัม รัฐฯ ควรสั่งให้ปิโตรเคมีที่ใช้ LPG อย่างน้อยปีละ 2,400 ล้านกิโลกรัม จ่ายเงินเข้ากองทุนน้ำมันอย่างน้อยกิโลกรัมละ 7 บาท เหมือนที่จัดเก็บจากโรงงานอุตสาหกรรมอื่น ๆ จะได้เงินถึงปีละ 16,800 ล้านบาท ทำให้หนี้กองทุนน้ำมันจะหมดภายใน 1 ปี และเพื่อความเป็นธรรมกับประชาชน รัฐบาลควรสั่งให้ ปตท.ส่งคืนเงินที่ได้รับชดเชยส่วนต่างราคา LPG นำเข้าไปแล้วประมาณ 1 แสนล้านบาท ให้แก่กองทุนน้ำมันโดยเร็วด้วย
5. ให้มีคำสั่งห้ามมิให้ปลัดกระทรวงพลังงานและข้าราชการระดับสูงของกระทรวงพลังงานที่มีหน้าที่กำกับดูแลกิจการพลังงานเป็นกรรมการในธุรกิจพลังงานทั้งหมด เนื่องจากการรับเงินเดือน โบนัส และเบี้ยประชุมจากบริษัทพลังงานของข้าราชการเหล่านี้เป็นการกระทำที่มีผลประโยชน์ทับซ้อนในการปฏิบัติหน้าที่ และเป็นการกระทำผิดหลักธรรมาภิบาลสากลอย่างร้ายแรง.
ภาพ/ข่าว วาสนา ปรีชา
ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์บ้านข่าว
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
เครือข่ายธรรมาภิบาลด้านพลังงานจังหวัดสงขลา ยื่นจดหมายค้านการขึ้นราคา LPG ของนายกรัฐมนตรี ผ่านผู้ว่าฯสงขลา
20 ธันวาคม 2555 ณ หน้าศาลากลางจังหวัดสงขลา อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา แนวร่วมเครือข่ายธรรมาภิบาลด้านพลังงาน จังหวัดสงขลา รวมพลังคนสงขลาค้านการขึ้นราคาก๊าซหุงต้ม (LPG) ในย่านเศรษฐกิจใจกลางเมืองหาดใหญ่ และสงขลา ที่รัฐบาลจะเริ่มปรับราคาในปี 2556 ซึ่งจะส่งผลให้ประชาชนผู้บริโภคต้องได้รับความเดือดร้อน โดยนายกฤษฎา บุญราช ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ได้รับหนังสือจากแนวร่วม เพื่อดำเนินการต่อไป
โดยแกนนำได้เข้ายื่นจดหมายเปิดผนึกผ่านนายกฤษฎา บุญราช ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ไปยังนายกรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ให้หยุดนโยบายปรับขึ้นราคาก๊าซหุงต้ม อ้างเหตุผล 5 ข้อ
1. ให้รัฐบาลหยุดนโยบายปรับขึ้นราคา LPG กับภาคครัวเรือนและภาคยานยนต์ เนื่องจากการให้สัมปทานปิโตรเลียมของประเทศไทยเป็นระบบสัมปทานที่รัฐได้รับผลประโยชน์ตอบแทนต่ำที่สุดในอาเซียน ทำให้ผู้รับสัมปทานมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำ มีต้นทุนการผลิตแอลพีจีบวกกำไรของผู้รับสัมปทานอยู่ที่ประมาณ 9 บาท ต่อ กิโลกรัมเท่านั้น ขณะที่ราคาค้าปลีก LPG ที่จำหน่ายให้กับภาคครัวเรือนและยานยนต์ ซึ่งรวมกำไรของผู้ค้าและภาษีอยู่ที่กิโลกรัมละ 18.13 บาท ต่อกิโลกรัม และ 21.38 บาท ต่อ กิโลกรัม ตามลำดับ จึงเป็นราคาที่ผู้ค้าได้กำไรอยู่แล้ว
2. ก๊าซ LPG ที่ผลิตจากโรงแยกก๊าซธรรมชาติ รัฐบาลควรจัดให้ภาคประชาชนได้ใช้ก่อน เนื่องจากวัตถุดิบในการผลิตมาจากแผ่นดินไทยถือเป็นทรัพยากรของประชาชน ทั้งนี้ ในปี 2554 โรงแยกก๊าซ มีกำลังการผลิต 3.60 ล้านตัน ประชาชนใช้ 3.57 ล้านตัน และปี 2555 คาดว่าจะผลิตได้ 3.88 ล้านตัน ซึ่งเพียงพอต่อการใช้ของภาคประชาชนอยู่แล้ว ส่วนที่เหลือให้จำหน่ายกับภาคอุตสาหกรรมได้ หากไม่เพียงพอให้ภาคอุตสาหกรรมเป็นผู้รับภาระในการนำเข้าเอง
3. ให้เลิกนำเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ไปอุดหนุนการใช้ LPG เป็นวัตถุดิบของการผลิตปิโตรเคมี ในราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาดโลก ประมาณร้อยละ 40 การนำเงินกองทุนน้ำมันฯ ไปอุดหนุนปิโตรเคมีดังกล่าว เป็นการกระทำที่ผิดวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งกองทุนน้ำมันฯ ตั้งแต่แรกเริ่มที่มีขึ้นเพื่อรักษาระดับราคาพลังงาน มิใช่เพื่อไปอุดหนุนราคาวัตถุดิบในอุตสาหกรรมใดโดยเฉพาะ จึงเป็นการกระทำที่ไม่เป็นธรรมต่ออุตสาหกรรมอื่นที่ไม่ได้รับการอุดหนุน และยังเป็นการเอาเปรียบประชาชนผู้เป็นเจ้าของกองทุนน้ำมันฯ อีกด้วย
4. หนี้ของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงที่ปัจจุบันติดลบอยู่ประมาณ 17,000 ล้านบาท เกิดจากการนำเงินกองทุนน้ำมันฯ ไปอุดหนุนธุรกิจปิโตรเคมี ดังนั้นแทนที่รัฐบาลจะปรับขึ้นราคา LPG กับภาคขนส่งและครัวเรือน ปีละ 3-6 บาท ต่อกิโลกรัม รัฐฯ ควรสั่งให้ปิโตรเคมีที่ใช้ LPG อย่างน้อยปีละ 2,400 ล้านกิโลกรัม จ่ายเงินเข้ากองทุนน้ำมันอย่างน้อยกิโลกรัมละ 7 บาท เหมือนที่จัดเก็บจากโรงงานอุตสาหกรรมอื่น ๆ จะได้เงินถึงปีละ 16,800 ล้านบาท ทำให้หนี้กองทุนน้ำมันจะหมดภายใน 1 ปี และเพื่อความเป็นธรรมกับประชาชน รัฐบาลควรสั่งให้ ปตท.ส่งคืนเงินที่ได้รับชดเชยส่วนต่างราคา LPG นำเข้าไปแล้วประมาณ 1 แสนล้านบาท ให้แก่กองทุนน้ำมันโดยเร็วด้วย
5. ให้มีคำสั่งห้ามมิให้ปลัดกระทรวงพลังงานและข้าราชการระดับสูงของกระทรวงพลังงานที่มีหน้าที่กำกับดูแลกิจการพลังงานเป็นกรรมการในธุรกิจพลังงานทั้งหมด เนื่องจากการรับเงินเดือน โบนัส และเบี้ยประชุมจากบริษัทพลังงานของข้าราชการเหล่านี้เป็นการกระทำที่มีผลประโยชน์ทับซ้อนในการปฏิบัติหน้าที่ และเป็นการกระทำผิดหลักธรรมาภิบาลสากลอย่างร้ายแรง.
ภาพ/ข่าว วาสนา ปรีชา
ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์บ้านข่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
There is no related posts.