วันที่ 20 มิถุนายน 2559 เวลา 14.20 น. นางสาวศศิธร เจริญศรี พร้อมตัวแทนชาวบ้านตำบลขุนตัดหวาย ได้เข้าร้องเรียนกับศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดสงขลา ถึงปัญหาความเดือดร้อนจากผลกระทบจากโรงไฟฟ้าชีวมวล ของบริษัท สงขลา ไบโอแมส จำกัด ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลขุนตัดหวาย อ.จะนะ จ.สงขลา และเปิดดำเนินการมาแล้วระยะหนึ่งโดยไม่มีการศึกษาผลกระทบ
นางสาวศศิธร เจริญศรี กล่าวว่า “ตั้งแต่มีการดำเนินงานผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าชีวมวลดังกล่าว ได้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและวิถีชีวิตของชาวบ้านในชุมชนตลอดจนสิ่งแวดล้อมโดยรอบพื้นที่ ล้วนได้รับผลกระทบอย่างมาก ทั้งเรื่องของมลพิษทางเสียง ฝุ่น ควัน และกลิ่น ที่ฟุ้งกระจายทั่วพื้นที่ชุมชน ทั้งยังมีการลักลอบปล่อยน้ำเสียทิ้ง ส่งผลให้สภาพแวดล้อมเสื่อมโทรมเป็นอย่างมาก”
“จากการที่กลุ่มชาวบ้านในพื้นที่ได้เฝ้าติดตามการดำเนินการของโรงไฟฟ้าดังกล่าวมาตลอด ทำให้มีข้อสงสัยว่า โรงไฟฟ้าดังกล่าวจะเดินเครื่องผลิตไฟฟ้า 9.9 เมกะวัตต์จริงหรือไม่ หรือมีการผลิตเกินกว่า 10 เมกะวัตต์หรือไม่ เพราะที่ผ่านมาโรงไฟฟ้าดังกล่าวมีการหลีกเลี่ยงกฏหมายสิ่งแวดล้อมที่กำหนดให้โรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าที่มีกำลังการผลิตติดตั้ง 10 เมกะวัตต์ขึ้นไป จะต้องจัดทำรายงานการวิเคราะหฺ์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) โดยโรงงานดังกล่าวได้ยื่นขออนุญาตไว้กับสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานเพียง 9.9 เมกะวัตต์ เพื่อหลีกเลี่ยงกฏหมายที่จะต้องทำอีไอเอหรือไม่ และล่าสุดยังมีความพยายามที่จะเปิดโรงไฟฟ้าแห่งที่ 2 ขนาด 9.9 เมกกะวัตต์เท่ากันในพื้นที่ห่างจากโรงแรกเพียงประมาณ 1 กโลเมตรเท่านั้น” “หลังจากนี้ชาวบ้านขุนตัดหวายจะนำเรื่องร้องเรียนปัญหาความเดือดร้อนของชาวบ้านและความไม่ชอบมาพากลในการดำเนินงานของโรงไฟฟ้าดังกล่าวว่าชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ไปร้องเรียนหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง พลังงานจังหวัดสงขลา อุตสาหกรรมจังหวัดสงขลา ศาลปกครอง เพื่อให้หลายๆ ส่วนได้เข้ามาตรวจสอบการดำเนินงานของโรงไฟฟ้าดังกล่าวอย่างจริงจังต่อไป.” นางศศิธรกล่าว.
เว็บไซต์ Bankaonews.com
November 21, 2024
November 20, 2024
November 19, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
ชาวบ้านขุนตัดหวายเดือดร้อนจากโรงไฟฟ้าชีวมวล โร่ร้องเรียนศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดสงขลา
วันที่ 20 มิถุนายน 2559 เวลา 14.20 น. นางสาวศศิธร เจริญศรี พร้อมตัวแทนชาวบ้านตำบลขุนตัดหวาย ได้เข้าร้องเรียนกับศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดสงขลา ถึงปัญหาความเดือดร้อนจากผลกระทบจากโรงไฟฟ้าชีวมวล ของบริษัท สงขลา ไบโอแมส จำกัด ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลขุนตัดหวาย อ.จะนะ จ.สงขลา และเปิดดำเนินการมาแล้วระยะหนึ่งโดยไม่มีการศึกษาผลกระทบ
นางสาวศศิธร เจริญศรี กล่าวว่า “ตั้งแต่มีการดำเนินงานผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าชีวมวลดังกล่าว ได้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและวิถีชีวิตของชาวบ้านในชุมชนตลอดจนสิ่งแวดล้อมโดยรอบพื้นที่ ล้วนได้รับผลกระทบอย่างมาก ทั้งเรื่องของมลพิษทางเสียง ฝุ่น ควัน และกลิ่น ที่ฟุ้งกระจายทั่วพื้นที่ชุมชน ทั้งยังมีการลักลอบปล่อยน้ำเสียทิ้ง ส่งผลให้สภาพแวดล้อมเสื่อมโทรมเป็นอย่างมาก”
“จากการที่กลุ่มชาวบ้านในพื้นที่ได้เฝ้าติดตามการดำเนินการของโรงไฟฟ้าดังกล่าวมาตลอด ทำให้มีข้อสงสัยว่า โรงไฟฟ้าดังกล่าวจะเดินเครื่องผลิตไฟฟ้า 9.9 เมกะวัตต์จริงหรือไม่ หรือมีการผลิตเกินกว่า 10 เมกะวัตต์หรือไม่ เพราะที่ผ่านมาโรงไฟฟ้าดังกล่าวมีการหลีกเลี่ยงกฏหมายสิ่งแวดล้อมที่กำหนดให้โรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าที่มีกำลังการผลิตติดตั้ง 10 เมกะวัตต์ขึ้นไป จะต้องจัดทำรายงานการวิเคราะหฺ์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) โดยโรงงานดังกล่าวได้ยื่นขออนุญาตไว้กับสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานเพียง 9.9 เมกะวัตต์ เพื่อหลีกเลี่ยงกฏหมายที่จะต้องทำอีไอเอหรือไม่ และล่าสุดยังมีความพยายามที่จะเปิดโรงไฟฟ้าแห่งที่ 2 ขนาด 9.9 เมกกะวัตต์เท่ากันในพื้นที่ห่างจากโรงแรกเพียงประมาณ 1 กโลเมตรเท่านั้น” “หลังจากนี้ชาวบ้านขุนตัดหวายจะนำเรื่องร้องเรียนปัญหาความเดือดร้อนของชาวบ้านและความไม่ชอบมาพากลในการดำเนินงานของโรงไฟฟ้าดังกล่าวว่าชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ไปร้องเรียนหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง พลังงานจังหวัดสงขลา อุตสาหกรรมจังหวัดสงขลา ศาลปกครอง เพื่อให้หลายๆ ส่วนได้เข้ามาตรวจสอบการดำเนินงานของโรงไฟฟ้าดังกล่าวอย่างจริงจังต่อไป.” นางศศิธรกล่าว.
เว็บไซต์ Bankaonews.com
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมสืบสานประเพณีลอยกระทง สร้างความสุขทั่วอำเภอขนอม
November 21, 2024
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมส่งเสริมสุขภาพชุมชน สนับสนุนอบรม อสม.ใหม่/ทดแทน
November 21, 2024
อบจ.สงขลา ร่วมรับรางวัลประกาศเกียรติคุณ “ค่าของแผ่นดิน” ประจำปี 2566 ด้านการพัฒนาสังคมและส่งเสริมคุณภาพชีวิต จากโครงการ ...
November 20, 2024
อโกด้าเผย หาดใหญ่คว้าแชมป์เมืองท่องเที่ยวที่คุ้มค่าที่สุดในไทย ช่วงเทศกาลส่งท้ายปี
November 19, 2024