มรภ.สงขลา ชนะเลิศประกวดวงมโหรีเครื่องเดี่ยว ระดับอุดมศึกษา ครองถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พ่วงรางวัลพิเศษอีกเพียบ หวังสร้างแรงบันดาลใจคนรุ่นใหม่ไม่ทอดทิ้งดนตรีไทย
ผศ.ไชยวุธ โกศล ประธานโปรแกรมวิชาดนตรีไทย คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดเผยว่า นักศึกษาโปรแกรมวิชาดนตรีไทย ได้รับรางวัลชนะเลิศประกวดดนตรีไทย ระดับภาคใต้ ประจำปี 2559 ประเภทวงมโหรีเครื่องเดี่ยว ระดับอุดมศึกษา เพลงเขมรปี่แก้ว 3 ชั้น ครองถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และรับเกียรติบัตร พร้อมเงินรางวัล 12,000 บาท จาก ผศ.ดร.ประโยชน์ คุปต์กาญจนากุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (มรส.) ซึ่งนักศึกษา มรภ.สงขลา สามารถทำผลงานได้อย่างยอดเยี่ยม ได้รับรางวัลพิเศษอื่นๆ อีก ได้แก่ รางวัลนักดนตรีไทยดีเด่น ประเภทขับร้อง นายศิริชัย เวชกุล ซอสามสาย นายพัทธดนย์ สัมฤทธิ์ ระนาดทุ้มมโหรี นายวรพล ธานีรัตน์ โทน-รำมะนา นายเอกรักษ์ นุราช โหม่ง นายทนงศักดิ์ รัตนพันธ์ ฉาบเล็ก น.ส.กิ่งกาญจน์ ถิกิจ นอกจากนั้น ยังได้รับรางวัลชนะเลิศประกวดเดี่ยวจะเข้ ระดับอุดมศึกษา เพลงจีนขิมใหญ่ 2 ชั้น โดยนายจักรกฤษ โยมเนียม รับโล่รางวัลจากผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มรส. และเกียรติบัตร พร้อมเงินรางวัล 3,000 บาท
ประธานโปรแกรมวิชาดนตรีไทย กล่าวว่า การประกวดครั้งนี้มีนักศึกษา มรภ.สงขลา เข้าร่วม 14 คน พร้อมด้วยอาจารย์ผู้ควบคุมวงและฝึกซ้อม 4 คน ได้แก่ ผศ.ไชยวุธ โกศล อ.บรรเทิง สิทธิแพทย์ อ.รัชวิช มุสิการุณ และ อ.สุณิสา ศิริรักษ์ รางวัลที่ได้มาถือเป็นความภูมิใจของทางโปรแกรมฯ สะท้อนให้เห็นถึงการจัดการเรียนการสอนที่มีคุณภาพ สามารถสร้างนักศึกษาและผลิตบัณฑิตทางดนตรีไทยที่มีความรู้ความสามารถ มีศักยภาพเพียงพอที่จะออกไปประกอบอาชีพด้านดนตรีไทยได้อย่างเต็มภาคภูมิ ทั้งยังสะท้อนให้เห็นถึงความมานะพยายาม ความตั้งใจ ความสามัคคีและความเสียสละ ร่วมแรงร่วมใจกันฝึกซ้อมจนประสบผลสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ แม้จะมีอุปสรรคในเรื่องการรวมตัวนักดนตรี เพราะเป็นการจัดในช่วงปิดภาคเรียน นักศึกษาส่วนใหญ่กลับบ้าน บางคนมีงานไปเล่นดนตรีกับคณะหนังตะลุง คณะโนราโรงครู แต่นักศึกษาก็จัดการโทรตามกันมา เครื่องไหนขาดก็หาคนที่พอเล่นได้มาเสริมให้เต็มวง
“อุปสรรคอีกอย่างคือ ด้วยความที่เป็นงานด่วนเราจึงไม่ได้ตั้งงบประมาณไว้ ทีแรกจะไม่ส่งแล้ว จนสุดท้ายก่อนประกวดสักอาทิตย์ นักศึกษามาบอกว่ารวมตัวกันได้แล้วจะขอไปประกวด ตนจึงประสาน นายวีระศักดิ์ อักษรถึง คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ ของบประมาณสนับสนุน ซึ่งต้องขอขอบคุณ ดร.ครวญ บัวคีรี รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและวิจัย ที่ให้ความอนุเคราะห์จัดสรรงบประมาณเป็นค่าเช่าเหมารถบัสและค่าเบี้ยเลี้ยงสำหรับนักศึกษาในการไปประกวด รวมทั้งขอบคุณสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มรส. ที่อนุเคราะห์จัดหาที่พักให้ นักศึกษาของเราแม้จะมีจำนวนน้อย เป็นกลุ่มคนเล็กๆ ในมหาวิทยาลัยที่ไม่ค่อยมีบทบาทสักเท่าไหร่ แต่ก็เป็นบุคคลที่มีคุณภาพ ทุกคนทุ่มเทพลังกาย พลังใจ ยอมเหน็ดเหนื่อยเพื่อฟันฝ่าอุปสรรคไปให้ได้ เราในฐานะครูเมื่อได้เห็นความตั้งใจอย่างนี้แล้วรู้สึกชื่นชมต่อลูกศิษย์ คิดว่าเด็กๆ เหล่านี้จะสามารถจบออกไปเป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพอย่างแน่นอน” ผศ.ไชยวุธ กล่าวและว่า
ปัจจุบันเยาวชนให้ความสนใจต่อดนตรีไทยค่อนข้างน้อย เด็กหลายคนยังไม่รู้จักเครื่องดนตรีไทย ไม่รู้จักวงดนตรีไทย และแน่นอนที่สุดไม่รู้จักเพลงไทย แต่ต้องย้อนถามกลับมาว่าเพราะเหตุใดเด็กจึงไม่ค่อยรู้จักดนตรีไทย คิดว่าเหตุผลสำคัญมากที่สุดน่าจะเป็นเพราะไม่มีโอกาสได้สัมผัสกับดนตรีไทย สังเกตได้ว่ากิจกรรมทางดนตรีไทยมีน้อย เด็กหาโอกาสที่จะดู จะฟังดนตรีไทยได้ยาก ต่างจากดนตรีสากลที่เปิดกรอกหูเราอยู่ทุกวัน เราย่อมคุ้นเคยกับดนตรีสากลมากกว่าอยู่ดี ดังนั้น หากสร้างโอกาส สร้างสถานการณ์ให้เด็กและเยาวชนได้สัมผัสดนตรีมากขึ้น ทั้งการเรียนในระบบโรงเรียน กิจกรรมเสริมการเรียนรู้ กิจกรรมทางสังคม เพิ่มโอกาสให้ดนตรีไทยได้เข้าไปอยู่ในสื่อโฆษณา สื่อประชาสัมพันธ์ต่างๆ เด็กๆ รวมทั้งคนทั่วไปก็จะคุ้นเคยกับดนตรีไทยไปเอง ในที่สุดดนตรีไทยก็จะอยู่ในวิถีชีวิต อยู่ในความรู้สึก ความเข้าใจ ความซาบซึ้ง ความรักความหวงแหนในวัฒนธรรมไทยก็จะเกิดขึ้นเอง ขอฝากไปยังผู้หลักผู้ใหญ่หรือผู้ที่ดูแลด้านนโยบายให้สนับสนุนการจัดกิจกรรมทางดนตรีให้มากขึ้น เปิดโอกาสให้ดนตรีมีที่ยืน มีที่เล่น มั่นใจได้เลยว่าดนตรีไทยจะคงอยู่คู่สังคมไทย ไม่สูญหายไปอย่างแน่นอน
ด้าน นายจักรกฤษ โยมเนียม นักศึกษาโปรแกรมวิชาดนตรีไทย กล่าวว่า ไม่คาดหวังว่าจะได้รางวัล การประกวดดนตรีไทยในครั้งนี้ถือเป็นเวทีใหญ่ที่สุดที่ได้เข้าร่วม ตนและเพื่อนๆ ใช้เวลาฝึกซ้อมประมาณ 1 อาทิตย์ เมื่ออยู่บนเวทีพยายามทำให้ดีที่สุด เพราะกรรมการจะดูจากทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นบุคลิกภาพ ความพร้อมเพรียงในการแสดง และที่สำคัญคือ ความไพเราะทางดนตรี
นายพัทธดนย์ สัมฤทธิ์ นักศึกษาดนตรีไทยอีกคนหนึ่ง กล่าวว่า รู้สึกดีใจมากที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ คุ้มค่าที่พยายามฝึกฝนอย่างหนักเป็นเวลาหลายปีกว่าจะมีวันนี้ ถือเป็นความสำเร็จสูงสุดของชีวิต จากนี้ไปสิ่งที่ยากกว่าคือการรักษาแชมป์ไว้ให้ได้ ดังนั้น จึงต้องหมั่นฝึกซ้อมเพื่อรักษามาตรฐาน ตนอยากเป็นครูสอนดนตรี เพื่อถ่ายทอดความรู้ให้กับเยาวชนรุ่นหลัง
ขณะที่ น.ส.สิรินดา พรหมสถิต นักศึกษาผู้เป่าขลุ่ยเพียงออให้กับวง กล่าวว่า ตอนนี้ผู้หญิงเลือกเรียนดนตรีไทยน้อยลง จำนวนนักศึกษาที่สนใจเรียนด้านนี้ก็ดูเหมือนจะน้อยลงเรื่อยๆ อยากให้เยาวชนหันมาเรียนดนตรีไทยกันเยอะๆ ซึ่งโปรแกรมวิชาดนตรีไทยของ มรภ.สงขลา มีศักยภาพในการเรียนการสอนไม่ด้อยไปกว่าสถาบันการศึกษาอื่นๆ
นายเทพธาดา สิทธิแพทย์ ผู้ตีระนาดเอกมโหรี กล่าวว่า มรภ.สงขลา มีความพร้อมในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นสถานที่ อาจารย์ผู้สอน ตลอดจนหลักสูตรที่เน้นให้นักศึกษามีโอกาสได้สั่งสมประสบการณ์ทางดนตรีนอกห้องเรียน อาทิ งานรับเสด็จสมเด็จพระเทพฯ งานดนตรีไทยอุดมศึกษา งานแสดงดนตรีไทยที่ประเทศสิงคโปร์ ซึ่งเป็นการเผยแพร่วัฒนธรรมไทยให้ชาวต่างชาติได้รู้จัก และได้รับการตอบรับจากผู้ชมอย่างดีมาก.
November 20, 2024
November 18, 2024
November 13, 2024
November 11, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
มรภ.สงขลา ผงาดเวทีประกวดดนตรีไทย ครองถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพฯ
มรภ.สงขลา ชนะเลิศประกวดวงมโหรีเครื่องเดี่ยว ระดับอุดมศึกษา ครองถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พ่วงรางวัลพิเศษอีกเพียบ หวังสร้างแรงบันดาลใจคนรุ่นใหม่ไม่ทอดทิ้งดนตรีไทย
ผศ.ไชยวุธ โกศล ประธานโปรแกรมวิชาดนตรีไทย คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดเผยว่า นักศึกษาโปรแกรมวิชาดนตรีไทย ได้รับรางวัลชนะเลิศประกวดดนตรีไทย ระดับภาคใต้ ประจำปี 2559 ประเภทวงมโหรีเครื่องเดี่ยว ระดับอุดมศึกษา เพลงเขมรปี่แก้ว 3 ชั้น ครองถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และรับเกียรติบัตร พร้อมเงินรางวัล 12,000 บาท จาก ผศ.ดร.ประโยชน์ คุปต์กาญจนากุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (มรส.) ซึ่งนักศึกษา มรภ.สงขลา สามารถทำผลงานได้อย่างยอดเยี่ยม ได้รับรางวัลพิเศษอื่นๆ อีก ได้แก่ รางวัลนักดนตรีไทยดีเด่น ประเภทขับร้อง นายศิริชัย เวชกุล ซอสามสาย นายพัทธดนย์ สัมฤทธิ์ ระนาดทุ้มมโหรี นายวรพล ธานีรัตน์ โทน-รำมะนา นายเอกรักษ์ นุราช โหม่ง นายทนงศักดิ์ รัตนพันธ์ ฉาบเล็ก น.ส.กิ่งกาญจน์ ถิกิจ นอกจากนั้น ยังได้รับรางวัลชนะเลิศประกวดเดี่ยวจะเข้ ระดับอุดมศึกษา เพลงจีนขิมใหญ่ 2 ชั้น โดยนายจักรกฤษ โยมเนียม รับโล่รางวัลจากผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มรส. และเกียรติบัตร พร้อมเงินรางวัล 3,000 บาท
ประธานโปรแกรมวิชาดนตรีไทย กล่าวว่า การประกวดครั้งนี้มีนักศึกษา มรภ.สงขลา เข้าร่วม 14 คน พร้อมด้วยอาจารย์ผู้ควบคุมวงและฝึกซ้อม 4 คน ได้แก่ ผศ.ไชยวุธ โกศล อ.บรรเทิง สิทธิแพทย์ อ.รัชวิช มุสิการุณ และ อ.สุณิสา ศิริรักษ์ รางวัลที่ได้มาถือเป็นความภูมิใจของทางโปรแกรมฯ สะท้อนให้เห็นถึงการจัดการเรียนการสอนที่มีคุณภาพ สามารถสร้างนักศึกษาและผลิตบัณฑิตทางดนตรีไทยที่มีความรู้ความสามารถ มีศักยภาพเพียงพอที่จะออกไปประกอบอาชีพด้านดนตรีไทยได้อย่างเต็มภาคภูมิ ทั้งยังสะท้อนให้เห็นถึงความมานะพยายาม ความตั้งใจ ความสามัคคีและความเสียสละ ร่วมแรงร่วมใจกันฝึกซ้อมจนประสบผลสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ แม้จะมีอุปสรรคในเรื่องการรวมตัวนักดนตรี เพราะเป็นการจัดในช่วงปิดภาคเรียน นักศึกษาส่วนใหญ่กลับบ้าน บางคนมีงานไปเล่นดนตรีกับคณะหนังตะลุง คณะโนราโรงครู แต่นักศึกษาก็จัดการโทรตามกันมา เครื่องไหนขาดก็หาคนที่พอเล่นได้มาเสริมให้เต็มวง
“อุปสรรคอีกอย่างคือ ด้วยความที่เป็นงานด่วนเราจึงไม่ได้ตั้งงบประมาณไว้ ทีแรกจะไม่ส่งแล้ว จนสุดท้ายก่อนประกวดสักอาทิตย์ นักศึกษามาบอกว่ารวมตัวกันได้แล้วจะขอไปประกวด ตนจึงประสาน นายวีระศักดิ์ อักษรถึง คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ ของบประมาณสนับสนุน ซึ่งต้องขอขอบคุณ ดร.ครวญ บัวคีรี รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและวิจัย ที่ให้ความอนุเคราะห์จัดสรรงบประมาณเป็นค่าเช่าเหมารถบัสและค่าเบี้ยเลี้ยงสำหรับนักศึกษาในการไปประกวด รวมทั้งขอบคุณสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มรส. ที่อนุเคราะห์จัดหาที่พักให้ นักศึกษาของเราแม้จะมีจำนวนน้อย เป็นกลุ่มคนเล็กๆ ในมหาวิทยาลัยที่ไม่ค่อยมีบทบาทสักเท่าไหร่ แต่ก็เป็นบุคคลที่มีคุณภาพ ทุกคนทุ่มเทพลังกาย พลังใจ ยอมเหน็ดเหนื่อยเพื่อฟันฝ่าอุปสรรคไปให้ได้ เราในฐานะครูเมื่อได้เห็นความตั้งใจอย่างนี้แล้วรู้สึกชื่นชมต่อลูกศิษย์ คิดว่าเด็กๆ เหล่านี้จะสามารถจบออกไปเป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพอย่างแน่นอน” ผศ.ไชยวุธ กล่าวและว่า
ปัจจุบันเยาวชนให้ความสนใจต่อดนตรีไทยค่อนข้างน้อย เด็กหลายคนยังไม่รู้จักเครื่องดนตรีไทย ไม่รู้จักวงดนตรีไทย และแน่นอนที่สุดไม่รู้จักเพลงไทย แต่ต้องย้อนถามกลับมาว่าเพราะเหตุใดเด็กจึงไม่ค่อยรู้จักดนตรีไทย คิดว่าเหตุผลสำคัญมากที่สุดน่าจะเป็นเพราะไม่มีโอกาสได้สัมผัสกับดนตรีไทย สังเกตได้ว่ากิจกรรมทางดนตรีไทยมีน้อย เด็กหาโอกาสที่จะดู จะฟังดนตรีไทยได้ยาก ต่างจากดนตรีสากลที่เปิดกรอกหูเราอยู่ทุกวัน เราย่อมคุ้นเคยกับดนตรีสากลมากกว่าอยู่ดี ดังนั้น หากสร้างโอกาส สร้างสถานการณ์ให้เด็กและเยาวชนได้สัมผัสดนตรีมากขึ้น ทั้งการเรียนในระบบโรงเรียน กิจกรรมเสริมการเรียนรู้ กิจกรรมทางสังคม เพิ่มโอกาสให้ดนตรีไทยได้เข้าไปอยู่ในสื่อโฆษณา สื่อประชาสัมพันธ์ต่างๆ เด็กๆ รวมทั้งคนทั่วไปก็จะคุ้นเคยกับดนตรีไทยไปเอง ในที่สุดดนตรีไทยก็จะอยู่ในวิถีชีวิต อยู่ในความรู้สึก ความเข้าใจ ความซาบซึ้ง ความรักความหวงแหนในวัฒนธรรมไทยก็จะเกิดขึ้นเอง ขอฝากไปยังผู้หลักผู้ใหญ่หรือผู้ที่ดูแลด้านนโยบายให้สนับสนุนการจัดกิจกรรมทางดนตรีให้มากขึ้น เปิดโอกาสให้ดนตรีมีที่ยืน มีที่เล่น มั่นใจได้เลยว่าดนตรีไทยจะคงอยู่คู่สังคมไทย ไม่สูญหายไปอย่างแน่นอน
ด้าน นายจักรกฤษ โยมเนียม นักศึกษาโปรแกรมวิชาดนตรีไทย กล่าวว่า ไม่คาดหวังว่าจะได้รางวัล การประกวดดนตรีไทยในครั้งนี้ถือเป็นเวทีใหญ่ที่สุดที่ได้เข้าร่วม ตนและเพื่อนๆ ใช้เวลาฝึกซ้อมประมาณ 1 อาทิตย์ เมื่ออยู่บนเวทีพยายามทำให้ดีที่สุด เพราะกรรมการจะดูจากทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นบุคลิกภาพ ความพร้อมเพรียงในการแสดง และที่สำคัญคือ ความไพเราะทางดนตรี
นายพัทธดนย์ สัมฤทธิ์ นักศึกษาดนตรีไทยอีกคนหนึ่ง กล่าวว่า รู้สึกดีใจมากที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ คุ้มค่าที่พยายามฝึกฝนอย่างหนักเป็นเวลาหลายปีกว่าจะมีวันนี้ ถือเป็นความสำเร็จสูงสุดของชีวิต จากนี้ไปสิ่งที่ยากกว่าคือการรักษาแชมป์ไว้ให้ได้ ดังนั้น จึงต้องหมั่นฝึกซ้อมเพื่อรักษามาตรฐาน ตนอยากเป็นครูสอนดนตรี เพื่อถ่ายทอดความรู้ให้กับเยาวชนรุ่นหลัง
ขณะที่ น.ส.สิรินดา พรหมสถิต นักศึกษาผู้เป่าขลุ่ยเพียงออให้กับวง กล่าวว่า ตอนนี้ผู้หญิงเลือกเรียนดนตรีไทยน้อยลง จำนวนนักศึกษาที่สนใจเรียนด้านนี้ก็ดูเหมือนจะน้อยลงเรื่อยๆ อยากให้เยาวชนหันมาเรียนดนตรีไทยกันเยอะๆ ซึ่งโปรแกรมวิชาดนตรีไทยของ มรภ.สงขลา มีศักยภาพในการเรียนการสอนไม่ด้อยไปกว่าสถาบันการศึกษาอื่นๆ
นายเทพธาดา สิทธิแพทย์ ผู้ตีระนาดเอกมโหรี กล่าวว่า มรภ.สงขลา มีความพร้อมในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นสถานที่ อาจารย์ผู้สอน ตลอดจนหลักสูตรที่เน้นให้นักศึกษามีโอกาสได้สั่งสมประสบการณ์ทางดนตรีนอกห้องเรียน อาทิ งานรับเสด็จสมเด็จพระเทพฯ งานดนตรีไทยอุดมศึกษา งานแสดงดนตรีไทยที่ประเทศสิงคโปร์ ซึ่งเป็นการเผยแพร่วัฒนธรรมไทยให้ชาวต่างชาติได้รู้จัก และได้รับการตอบรับจากผู้ชมอย่างดีมาก.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ เปิด”มุมหนังสือนายกสภามหาวิทยาลัย” ณ ห้องสมุด ศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล
November 20, 2024
มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ จับมือ WeStride เปิดตัว “FutureX” หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ออนไลน์ ...
November 18, 2024
โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดรับสมัครนักเรียนระดับบ้านสาธิตปฐมวัยและระดับปฐมวัย (อนุบาล 1) ปีการศึกษา ...
November 13, 2024
มรภ.สงขลา นำผลงานนวัตกรรม นศ.เกษตร “เครื่องหยอดเมล็ดข้าว-กิมจิเห็ดนางฟ้า-ข้าวเกรียบเห็ดรสกิมจิ” ถ่ายทอดสู่ชุมชน
November 11, 2024